views

หน้าที่ที่ต้องรู้เมื่อบุคคลธรรมดาเปลี่ยนเป็นนิติบุคคล

1.เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายใน 150 วัน
นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี และหากเป็นผู้ประกอบกิจการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเป็นปกติธุระเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องอื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีรายรับเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี

2.เสียภาษีจากกำไรสุทธิ (กรณีขาดทุนสุทธิไม่ต้องเสียภาษี)
ผลขาดทุนสุทธิยกมาได้ไม่เกิน 5 ปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน มาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้โดยคำนวณอัตราภาษีดังนี้
กรณีทั่วไป เสียภาษีจากกำไรสุทธิทั้งจำนวนร้อยละ 20
กรณี SMEs
– กำไรสุทธิไม่เกิน 300,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี
– กำไรสุทธิเกิน 300,000 บาท แต่ไม่เกิน 3 ล้านบาทเสียภาษีจากกำไรสุทธิร้อยละ 15
– กำไรสุทธิเกิน 3 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษีจากกำไรสุทธิร้อยละ 20

3.ต้องจัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543
ขึ้นอยู่กับประเภทนิติบุคคลที่จดทะเบียนว่าเป็นแบบไหน (ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัท ฯลฯ) บัญชีที่ต้องจัดทำประกอบด้วย
– งบแสดงฐานะการเงิน
– งบกำไรขาดทุน
– งบกระแสเงินสด
– งบการเงินรวม
– หมายเหตุประกอบงบการเงิน
– งบการเงินเปรียบเทียบกับปีก่อน
โดยมีผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี เป็นต้น

4.การตรวจสอบและรับรองบัญชี
เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือนำไปประกอบการตัดสินใจในการทำธุรกิจ และวางแผนทางธุรกิจอย่างเหมาะสมจำเป็นต้องมีผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีที่เป็นมาตรฐานการบัญชี
4.1กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
– มีทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท
– สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท
– รายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท
ต้องมีผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA) หรือผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) ตรวจสอบและรับรองบัญชี
4.2 กรณีเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มิใช่ตาม (4.1) ต้องมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) ตรวจสอบ และแสดงความเห็นในงบการเงิน

5.ยื่นงบการเงินที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กำหนดให้ยื่นภายใน 5 เดือนและกรมสรรพากรต้องขึ้นภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

หากผู้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Filing) ของกรมสรรพากรและนำส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว

ไม่ต้องยื่นงบการเงินต่อกรมสรรพากรอีก ตามประกาศอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 318) และจะได้รับการขยายกำหนดเวลาการยื่นแบนออกไปอีก 8 วันนับจากวันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบ

6.การโอนกิจการ
เดิมเป็นบุคคลธรรมดา และเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องการเลิกกิจการ และประสงค์โอนกิจการทั้งหมดให้ผู้รับโอนกิจการ (เป็นนิติบุคคล) และเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งผู้โอนกิจการ และผู้รับโอนกิจการต้องแจ้งเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มดังนี้
บุคคลธรรมดา (ผู้โอนกิจการ)
-ต้องยื่นคำขอแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.09
-แจ้งโอนกิจการและแจ้งเลิกประกอบกิจการ ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนวันโอนกิจการไม่น้อยกว่า 15 วันและต้องคืนใบทะเบียน
นิติบุคคล (ผู้รับโอนกิจการ)
-ต้องยื่นคำขอแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.09
-แจ้งการรับโอนกิจการและแจ้งการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ถ้ามี) ณ สถานที่ที่ผู้รับโอนได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนวันรับโอนกิจการ



February 9, 2021
by KKN การบัญชี

- ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต
- อาจารย์พิเศษให้กับสถาบันของรัฐและเอกชน


บทความที่น่าสนใจ