บทความล่าสุด

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

หนีภาษีมาทั้งชีวิตปีนี้จะยื่นภาษีให้ถูกต้องดีมั้ย

ผู้ประกอบการที่กลับใจเสียภาษีถูกต้องมักจะกังวลเรื่องดังต่อไปนี้ ถ้ายื่นภาษีถูกต้องปีนี้ จะโดนสรรพากรตรวจย้อนหลังมั้ย เราควรกลับใจไปยื่นย้อนหลังในหลายปีที่ผ่านมามั้ย เกิดปีหน้ารายได้ลดลง หรือไม่มีรายได้จะโดนสรรพากรตรวจสอบมั้ย ถ้ายื่นปีนี้แล้ว ปีหน้าผมจะหนีภาษีไม่ได้แล้วใช่มั้ย สรุปผมควรยื่นเสียภาษีมั้ย ถ้ายื่นภาษีถูกต้องปีนี้ จะโดนสรรพากรตรวจย้อนหลังมั้ย เราควรกลับใจไปยื่นย้อนหลังในหลายปีที่ผ่านมามั้ย 2 คำถามนี้ไม่มีใครบอกได้แม้กระทั้งสรรพากรเอง เพราะในแต่ละปีมีคนยื่นภาษีกันเยอะมากไม่รู้ว่าใครจะซวยโดนตรวจสอบ ในกรณีที่คุณขายของออนไลน์เอาจริงๆ สรรพากรไม่รู้หรอก ว่าคุณมีรายได้กี่บาท แต่ถ้าคุณมีรายได้จากการให้บริการ เวลาคุณรับเงินจากบริษัทจะมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายเอาไว้ ข้อมูลรายได้ของคุณจะถูกเก็บไว้ที่สรรพากร สรรพากรคาดหวังว่าสิ้นปีคุณจะมายื่นภาษีที่ไม่น้อยกว่าในระบบของสรรพากร ดังนั้นสรุปว่า ถ้าภาษีย้อนหลังมีจำนวนไม่เยอะ ถ้าเสียถูกต้องไม่ได้ลำบากก็เสียภาษีย้อนหลังเลยคุณจะได้สบายใจ แต่ถ้าไม่ค่อยมีเงินการเริ่มต้นยื่นปีปัจจุบันเป็นต้นไปก็ไม่ใช่สิ่งที่แย่ เพราะคุณได้เริ่มต้นทำสิ่งที่ถูกต้องแล้ว เกิดปีหน้ารายได้ลดลง หรือไม่มีรายได้จะโดนสรรพากรตรวจสอบมั้ย ถ้ารายได้ลดลงหรือไม่มีรายได้จริงถึงสรรพากรเรียกตรวจสอบ เราก็ชี้แจ้งไปตามข้อมูลจริง สรรพากรจริงแล้วน่ารักทุกคนไม่ได้น่ากลัวจะโหดร้าย เค้าไม่สามารถบังคับให้เราเสียภาษีได้ครับ ถ้ายื่นปีนี้แล้ว ปีหน้าผมจะหนีภาษีไม่ได้แล้วใช่มั้ย คิดว่าสรรพากรคงจะรู้สึกแปลกๆ ว่าปีที่แล้วมีรายได้ทำไมมีนี้รายได้หายไป สรุปผมควรยื่นเสียภาษีมั้ย ถ้ายอดภาษีที่เสียคุณมีกำลังชำระได้ การทำสิ่งที่ถูกต้องได้ความสบายใจครับ

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

กรรมการยินยอมให้ใช้สถานที่ โดยไม่คิดค่าเช่า

ผู้ใช้สถานประกอบการ (ผู้เช่า) ภาษีเงินได้นิติบุคคลการที่บริษัทใช้สถานประกอบการโดยไม่เสียค่าเช่า แสดงว่าบริษัทมีผลประโยชน์อื่นใดจากการได้ใช้สถานประกอบการโดยไม่เสียเงิน เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรอาจจะประเมิณเป็นรายได้อื่น เพื่อนำไปรวมในการคำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ผู้ให้ใช้สถานประกอบการ (ผู้ให้เช่า) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การให้เช่าโดยไม่คิดค่าตอบแทนโดยไม่มีเหตุอันควรเจ้าหน้าที่สรรพากรอาจประเมินเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินตามราคาตลาด เพื่อการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 40 (5) วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร

by KKN การบัญชี

งบการเงิน

อย่าลืมตรวจสอบ!!! หน้ารายงานผู้สอบบัญชี งบการเงินของคุณอาจมีปัญหา

คุณรู้หรือไม่หน้ารายงานผู้สอบบัญชีมี 4 ประเภท 1.รายงานของผู้สอบบัญชีที่แสดงความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไข 2.รายงานของผู้สอบบัญชีที่แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไข 3.รายงานของผู้สอบบัญชีที่แสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง 4.รายงานของผู้สอบบัญชีที่ไม่แสดงความเห็นต่องบการเงิน “ถ้างบการเงินของบริษัทคุณเป็นแบบที่ 3 และ 4แสดงว่างบการเงินของคุณมีปัญหา มีความเสี่ยงที่จะโดนสรรพากรตรวจ และการขอสินเชื่อกับธนาคารจะยากขึ้น”

by KKN การบัญชี

กรมสรรพากร

สรรพากรมีอำนาจตรวจสอบภาษีย้อนหลังได้กี่ปี??

อำนาจการตรวจสอบภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมิน สามารถแยกพิจารณาได้เป็น 2 กรณี ดังนี้ 1.กรณียื่นแบบภาษี แต่ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ โดยปกติเจ้าพนักงานมีสิทธิตรวจสอบย้อนหลังได้ไม่เกิน 2 ปี ไม่นับปีปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าปัจจุบันเป็นปี 2560 ก็ย้อนหลังได้คือปี 2559-2558 เป็นต้น แต่ถ้าตรวจสอบว่ามีการหลีกเลี่ยงภาษีจริง เจ้าพนักงานสรรพากรมีอำนาจขยายประเมินระยะเวลาได้ถึง 5 ปี 2.กรณีไม่ยื่นแบบภาษี  สรรพากรสามารถประเมินย้อนหลังได้ไม่เกิน 10 ปี

by KKN การบัญชี

Uncategorized

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายอธิบายแบบง่ายๆ ได้ใจความ

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไรภาษีที่ต้องจ่ายไปในทันทีเมื่อเรามีรายได้ แต่นิติบุคคลผู้จ่ายเงินจะเป็นผู้หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งภาษีให้กรมสรรพากร แทนผู้มีเงินได้ (ผู้จ่ายเงินโครตซวยยย อยู่ดีๆมีภาระขึ้นมา) หลักจำจ่ายๆนิติบุคคลเมื่อจ่ายค่าบริการจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งให้กรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป***บุคคลธรรมดาจ่ายเงินไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย นิติบุคคลจะทำภาษีหัก ณ ที่จ่ายจะต้องรู้ 2 เรื่อง 1.ผู้รับเงินคือใคร <<<< กระทบต่อชนิดแบบที่ยื่น2.ประเภทเงินได้ที่จ่าย <<<< กระทบต่ออัตราภาษีที่จะต้องหัก ตัวอย่าง : วันที่ 18 ส.ค. 60 บริษัทจ่ายค่าบริการทำบัญชี ให้กับบริษัทบัญชี จำนวน 2,000 บาท

by KKN การบัญชี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

รายได้ไม่ถึง 1.8 ล้านควรจดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่??

เป็นปัญหาที่มีคนสงสัยกันมาก ว่าทันทีที่จดทะเบียนบริษัทเราควรจะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเลยหรือไม่ ประเด็นหลักที่ควรจะคำนึงถึงก็คือเราสามารถผลักภาระ VAT 7% ให้กับลูกค้าได้หรือไม่ ถ้าไม่สามารถผลักภาระได้แล้วเราจะต้องควักเงินจ่ายเองการจด VAT จะทำให้กิจการกำไรน้อยลง วันนี้ได้สรุปมาแต่ละกรณีให้แล้ว เพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้ประกอบการนะครับ สำหรับบางบริษัทที่ยังไม่แน่ใจว่าจะมีรายได้เข้าบริษัทหรือไม่อย่าจด VAT โดยเด็ดขาดนะครับเพราะมันจะกลายมาเป็นภาระของคุณแม่คุณจะไม่มีรายได้หรือค่าใช้จ่ายเลยก็ตาม แต่กฏหมายก็ยังคงบังคับให้คุณต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มทุกเดือน และถ้าคุณทำเองไม่เป็นจะต้องเสียเงินจ้างสำนักงานบัญชีโดยที่กิจการของคุณไม่มีรายได้เลย

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

พนักงานยักยอกทรัพย์นำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่

ผลเสียหายที่เกิดขึ้น สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้โดยให้พิจารณาเพิ่มดังนี้

by KKN การบัญชี

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

พนักงานจ่ายค่าบริการแทนบริษัทต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่?

กรณีที่ 1 บริษัทได้ออกใบสั่งซื้อหรือสั่งจ้างโดยตรง และให้พนักงานยืมเงินทดรองไปจ่ายให้กับผู้รับจ้างตามใบสั่งซื้อหรือสั่งจ้างนั้น บริษัทมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(4) หรือมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร กรณีที่ 2 กรณีพนักงานของบริษัท สำรองจ่ายเงินส่วนตัวเพื่อดำเนินการ จัดซื้อหรือจัดจ้างไปก่อนและบริษัทมิได้เป็นผู้ออกใบสั่งซื้อหรือสั่งจ้างโดยตรง พนักงานไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย (เลขที่หนังสือ: กค 0706/6175)

by KKN การบัญชี

กรมสรรพากร

บุคคลธรรมดาทำแบบนี้เสี่ยงโดนสรรพากรตรวจ

5 ข้อที่ควรระวังของบุคคลธรรมดา 1.มีรายได้ค่าบริการและโดนหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ไม่ได้ยื่นภาษีเงินได้ประจำปี 2.ยื่นภาษีบุคคลธรรมดาสิ้นปี น้อยกว่ายอดรายได้ที่โดนหักภาษี ณ ที่จ่าย 3.มีรายได้ในแบบ ภ.ง.ด.91 มากกว่า 1,800,000 บาท แต่ไม่ได้จด VAT 4.ยอดขายตามแบบ ภ.พ.30 มากกว่าเงินได้ตามแบบ ภ.ง.ด.91 5.ยื่นภาษีโดนเลือกใช้ค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นสมควร แทนค่าใช้จ่ายเหมาจ่าย

by KKN การบัญชี

ผู้ถือหุ้น

ผู้ถือหุ้น กรรมการ ต้องมีอายุอย่างน้อยกี่ปี!

ตามระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท พ.ศ. 2554 ข้อ 49 กำหนดไว้ดังนี้ นายทะเบียนจะรับจดทะเบียนผู้เยาว์เข้าเป็นหุ้นส่วน ผู้เริ่มก่อการ กรรมการ หรือผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทได้ เมื่อปรากฏว่า ผู้เยาว์มีอายุไม่น้อยกว่าสิบสองปี ผู้เยาว์ได้ลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน หรือเอกสารประกอบด้วยตนเอง ในกรณีผู้เยาว์เข้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนโดยการรับมรดก ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนเมื่อปรากฏว่า ผู้เยาว์ได้ลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน หรือเอกสารประกอบด้วยตนเอง หรือ ผู้เยาว์ที่มีอายุต่ำกว่าสิบสองปีโดยมีผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายมือชื่อแทนในคำขอจดทะเบียน หรือเอกสารประกอบ 

by KKN การบัญชี

ความเสี่ยงของกิจการ

กิจการไหนที่เข้าข่ายดังต่อไปนี้ บอกเลยว่าเสี่ยงมาก!

ประเด็นความเสี่ยงกรณีบุคคลธรรมดา มีจำนวนคนงานเพิ่มขึ้น แต่รายได้คงที่หรือลดลง ค่าลดหย่อนที่แสดงไม่สัมพันธ์กับเงินได้ที่ยื่นแบบ เลือกหักค่าใช้จ่ายไม่ถูกต้องตามประเภทเงินได้ เลือกหักค่าใช้จ่ายแบบตามจริง แต่ไม่มีเอกสารหลักฐานประกอบ มีข้อมูลภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย แต่ไม่ยื่นแบบแสดงรายการหรือแสดงเงินได้ไม่ครบถ้วน มีรายได้จากส่งเสริมการขาย แต่ไม่สัมพันธ์กับยอดรายได้ มีเงินได้เกิน 1.8 ล้านแต่ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญ ไม่มีการแบ่งส่วนกำไรหรือมีการแบ่งเงิน ส่วนแบ่งกำไร แต่ไม่ได้นำไปเป็นเงินได้ของผู้เป็นหุ้นส่วน ประเด็นความเสี่ยงกรณีนิติบุคคล ขาดทุนขั้นต้น ขาดทุนสะสมมากกว่าทุนที่ชำระ สินค้าคงเหลือมากผิดปกติเมื่อเทียบกับยอดรายได้ ยอดขายตาม ภพ.30 ต่างกับยอดรายรับในงบการเงิน มีเงินให้กู้ยืมแต่ไม่มีดอกเบี้ยรับ การทำรายจ่ายเท็จโดยนำบัตรประชาชนของผู้อื่นมารับเงิน มีค่าใช้จ่ายด้านที่ปรึกษา ค่านายหน้า ค่าขนส่ง ค่าใช้จ่ายพนักงาน สูงผิดปกติ มีค่าใช้จ่ายค้างจ่ายค้างนานหรือข้ามรอบบัญชี ไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50 ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51 ขาดไปเกิน 25% มียอดโดนหักภาษี ณ ที่จ่าย มากกว่ารายได้ในงบการเงิน

by KKN การบัญชี

ภาษีซื้อ

ค่าน้ำมันรถเคลมภาษีซื้อได้หรือไม่

ค่าน้ำมันรถสามารถเคลมภาษีซื้อได้ เมื่อเข้าเงื่อนไขต่อไปนี้ 1.ค่าน้ำมันของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง ไม่สามารถเคลมภาษีซื้อ (เคลมได้แต่รถเชิงพาณิชย์เท่านั้น) 2.ต้องมีการบันทึกเลขทะเบียนรถที่เติมน้ำมันไว้ในใบกำกับภาษี 3.ต้องเป็นใบกำกับภาษีเต็มรูปเท่านั้น 4.ควรมีการจัดทำบันทึกการเดินทางของรถแต่ละคันในแต่ละวันว่าใช้รถในการทำอะไรบ้าง เผื่อพี่สรรพากรมาขอตรวจสอบ 5.ต้องนำมาใช้กับรถของกิจการหรือรถที่ได้ทำสัญญาเช่าใช้หรือยินยอมให้ใช้

by KKN การบัญชี

กรมสรรพากร

ขายต่ำกว่าราคาทุนทำได้หรือไม่

สรรพากรบอกว่า การขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุสมควร เจ้าหน้าที่สรรพากรมีอำนาจประเมินราคาสินค้าให้เป็นตามราคาตลาดในวันที่มีการขายสินค้าได้ เมื่อถูกเจ้าหน้าที่สรรพากรประเมินราคาขายเพิ่มขึ้นส่งผลทำให้กิจการจะต้องเสียภาษีมากขึ้น เหตุผลอันควรในการขายสินค้าที่ต่ำกว่าราคาตลาด มีอะไรบ้างเราไปดูกัน • สินค้าตกรุ่น • สินค้าใกล้หมดอายุ / หมดอายุแล้ว (ยังกล้าขายอีก) • สินค้ามีตำหนิ ไม่ได้มาตรฐาน ผู้ประกอบการสามารถขายสินค้าในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดได้ แต่ต้องทำบางอย่างเพิ่มดังนี้1. กรณีสินค้าตกรุ่น ต้องได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจในการพิจารณาให้เป็นสินค้าตกรุ่น และพิจารณาราคาตลาดที่เหมาะสมสำหรับสินค้าตกรุ่น 2.สินค้าใกล้หมดอายุ มีตำหนิไมได้มาตรฐาน จะต้องมีการตรวจสอบสภาพสินค้าตามเงื่อนไขที่บริษัทฯ กำหนดไว้ และให้ผู้มีอำนาจอนุมัติ พร้อมทั้งจะต้องมีบุคคลร่วมสังเกตการณ์ ประกอบด้วยฝ่ายคลังสินค้าและฝ่ายบัญชี โดยลงลายมือชื่อเป็นพยานในการขาย • การส่งเสริมการขายการขายสินค้าในช่วงส่งเสริมการขาย โดยลดราคาให้กับผู้ซื้อ ถือเป็นเหตุผลอันควรในการขายสินค้าที่ต่ำกว่าราคาตลาด แต่ควรจะมีหลักฐานประกอบดังนี้1.การจัดทำแผนการขายและอนุมัติแผนการขายโดยผู้มีอำนาจ -เหตุผลความจำเป็นในการทำแผนการขาย -วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และผลที่คาดว่าจะได้รับ -ชื่อ ชนิด ประเภท ราคา และมูลค่าของสินค้าที่จะลดราคา 2.รายงานผลการดำเนินงานของแผนการขาย 3.การส่งเสริมการขายควรให้กับลูกค้าทุกราย ไม่ใช่เพื่อลูกค้าบางรายโดยเฉพาะ

by KKN การบัญชี

ใบกำกับภาษี

ใบกำกับภาษีใช้ได้ 6 เดือนนับอย่างไร?

หลายท่านอาจจะรู้ว่าใบกำกับภาษี เราสามารถนำใช้หักกับภาษีขายได้ไม่เกิน 6 เดือนนับแต่เดือนถัดจากเดือนที่ออกใบกำกับภาษี แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าไม่เกิน 6 เดือนนับอย่างไร วันนี้ผมเลยมาสอนวิธีการนับครับ ข้อควรระวังภาษีซื้อที่มิได้นำมาหักในเดือนภาษีจะต้องมีสาเหตุดังต่อไปนี้ เหตุจำเป็นซึ่งเกิดขึ้นตามประเพณีทางการค้า เหตุสุดวิสัย ได้รับใบกำกับภาษีในเดือนภาษีอื่นที่มิใช่เดือนภาษีที่ระบุไว้ในใบกำกับภาษี

by KKN การบัญชี

ใบกำกับภาษี

ใบกำกับภาษีกระดาษคาร์บอนทำอย่างไรเมื่อข้อความจางหาย

กรณีที่บริษัทได้เอกสารใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงิน ที่เมื่อเก็บไว้นานๆ ข้อความจะจางหายไป บริษัทควรถ่ายสำเนาเอกสารเก็บไว้พร้อมแนบใบเสร็จนั้นคู่เอาไว้ บริษัทควรถ่ายสำเนาเอกสารเก็บไว้พร้อมแนบใบเสร็จนั้นคู่เอาไว้ ควรมีการถ่ายรูปเก็บเอาไว้เพื่อยืนยันกับเจ้าหน้าที่ บริษัทสามารถขอคืนภาษีซื้อได้ถ้าค่าใช้จ่ายดังกล่าวเกี่ยวข้องกับกิจการ และเป็นใบกำกับภาษีเต็มรูป

by KKN การบัญชี

กรมสรรพากร

ขายของออนไลน์เจอพี่สรรพากรเรียกตรวจ

สรรพากรส่งจดหมายมาที่บ้าน เพื่อเรียกพบเรื่องการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เมื่อเข้าพบสรรพากรมีการ Print หน้าเว็บไซต์พร้อมเลขที่บัญชีธนาคารของร้านค้า (เรียกว่าหนักฐานแน่นหนาดิ้นไม่หลุด)สรรพากรสอนถามเกี่ยวกับธุรกิจขายของออนไลน์ พร้อมกับให้เราไปขอ Bank statement ทุกบัญชีที่แสดงในเว็บไซต์ย้อนหลังตั้งแต่เปิดร้าน (เจ้าของเพิ่งเปิดร้านได้ปีกว่า) เมื่อนำข้อมูลบัญชีธนาคารไปให้สรรพากร เจ้าหน้าที่ประเมินรายได้ของร้าน จากยอดเงินเข้าบัญชีธนาคารทั้งหมด และให้เราชี้แจ้งยอดที่ไม่ใช่รายการขาย. สรรพากรมีอำนาจในการขอให้เราส่ง Bank statement หรือไม่ เมื่อเจ้าหน้ามีมีเหตุอันควรให้เชื่อว่าผู้ใดยื่นแบบแสดงรายการภาษีไม่ถูกต้อง เจ้าหน้าทีมีอำนาจให้นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ เจ้าหน้าที่มีสิทธิประเมินรายได้ตามยอดเงินเข้าบัญชีหรือไม่ ตามกฎหมายแล้วเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินเงินภาษีอากร และแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ต้องชำระไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากร แต่ผู้เสียภาษีมีสิทธิ์ที่จะอุทรการประเมินนั้นได้ สรุปถ้าโดนตรวจแล้วต้องทำอย่างไร ไปพบเจ้าหน้าที่ตามที่ได้รับจดหมายเรียก (เจ้าหน้าที่ใจดีทุกคน) ไปขอ Bank statement ธนาคาร เช็คยอดรายรับใน Bank statement – ยอดไม่เกิน 1.8 ล้านต่อปี  ^_^ เสียภาษีชุดเล็ก – เกิน 1.8 ล้านต่อปี  T_T เตรียมร้องขอชีวิต พยายามหารายการที่ไม่ใช่ขายสินค้า เชื่อการโอนเงินระหว่างบัญชี รายการขอยืมเงิน เพื่อลดยอดรายรับ (รายการพวกนี้มันจะเป็นยอดเงินกลมๆ จำนวนเงินเยอะๆ) อ้อนวอนเจ้าหน้าที่ขอยกเว้นพวกเบี้ยปรับเงินเพิ่ม (ดราม่าความยากจน […]

by KKN การบัญชี

จัดตั้งบริษัท

ใช้คอนโดเป็นที่อยู่บริษัทได้หรือไม่?

ตามพ.ร.บ. อาคารชุดระบุไว้ชัดเจนว่าห้ามใช้คอนโดเพื่อประกอบการค้ายกเว้นจะเป็นห้องที่มีการจัดพื้นที่ไว้โดนเฉพาะ (ส่วนใหญ่จะเป็นห้องร้านค้า) ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้คอนโดเป็นที่ตั้งบริษัทได้

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ทำธุรกิจขาดทุนต้องเสียภาษีหรือไม่ ?

บุคคลธรรมดา เสียภาษีขั้นต่ำอัตรา 0.5% ของเงินได้ถ้าภาษีที่คำนวนได้ไม่ถึง 5,000 บาท ได้รับยกเว้นภาษี ผลขาดทุนสะสมไม่สามารถยกไปหักกับเงินได้ในปีถัดไป นิติบุคคล ไม่เสียภาษี ผลขาดทุนสามารถนำไปหักจากกำไรในปีอื่นได้ไม่เกิน 5 ปี

by KKN การบัญชี

เอกสารบัญชี

เอกสารบัญชี ต้องเก็บไว้กี่ปีกันแน่ ???

กรมพัฒน์ พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 กำหนดให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันปิดบัญชี แต่อธิบดีมีอำนาจกำหนดให้เก็บเอกสารเกิน 5 ปีแต่ไม่เกิน 7 ปีได้ กรมสรรพากร ประมวลรัษฎากร มาตรา 87/3 กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียน ต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการ ภาษีหรือวันทำรายงาน แล้วแต่กรณี และในกรณีที่เห็นสมควรอธิบดีจะกำหนดให้เก็บและรักษาไว้เกิน 5 ปี ก็ได้แต่ต้องไม่เกิน 7 ปี สรุป 5 ปีเท่านั้น เว้นแต่…โดนสั่งให้เก็บเพิ่มแต่ไม่เกิน 7 ปี

by KKN การบัญชี

50 ทวิ
Bitcoin
DBD Registered
e-filing
LTF
SME
SMEs
TFRS16
Uncategorized
Voucher
กท.20 ก
กรมสรรพากร
กองทุนรวม
ก่อสร้างอาคารบนที่ดินของกรรมการ
การขอรับบริจาค
การจัดสรรกำไรสะสม
การตัดหนี้สูญ
การบริจาค
การบันทึกบัญชีเงินสดรับ-จ่าย
การประมาณการกำไรสุทธิขาดไป
การลงทุน
การลงประกาศหนังสือพิมพ์
การลดหย่อนบริจาคทั่วไป
การเช่า
กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กิจการร่วมค้า และกิจการค้าร่วม
กิจการเพื่อสังคม
กิจการโรงแรม
ขนส่ง
ขอคืนเงินประกันไฟฟ้า
ขายกิจการ
ขายสินค้าต่ำกว่าทุน
ขายสินค้าส่งออกไปต่างประเทศ
ขายหนังสือแถมคอร์สเรียนออนไลน์
คริปโทเคอร์เรนซี
ความเสี่ยง-ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ความเสี่ยงของกิจการ
ค่าขนส่ง
ค้าขายออนไลน์
ค่าตรวจสุขภาพ
ค่าปรับ
ค่ารักษาพยาบาล
ค่ารับรอง
ค่าสินไหมทดแทน
ค่าเช่า
ค่าเช่ารับล่วงหน้า
ค่าเบี้ยประกันชีวิต
ค่าเสื่อมราคา
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายของกิจการ
ค่าใช้จ่ายทางภาษี
ค่าใช้จ่ายในการอบรม
งบการเงิน
งบการเงินส่วนบุคคล
จดทะเบียน
จดทะเบียนเพิ่มสาขา
จดภาษีมูลค่าเพิ่ม
จัดตั้งบริษัท
จ้างงานผู้สูงอายุ
จ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ
จ้างเด็กจบใหม่
ช้อปดีมีคืน
ดอกเบี้ยค้างรับ
ตราประทับ
ทรัพย์สิน
ทั่วไป
ทำประกันให้พนักงาน
ธุรกรรม
ธุรกิจขนส่ง
บริจาค
บริษัท กับ กรรมการ
บัญชีและภาษี
บิลเงินสด
ประกัน keyman
ประกันCovid-19
ประกันสังคม
ประชุมบริษัท
ประเภทเช็ค
ผลขาดทุน
ผู้ถือหุ้น
ผู้ประกอบการ
พร้อมเพย์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ฟรีแลนซ์
ภ.ง.ด. 1ก
ภ.ง.ด.1 ก
ภ.ง.ด.54
ภ.พ.36
ภาษี
ภาษี e-Service
ภาษีDropship
ภาษีกองทุนตราสารหนี้
ภาษีกับการออกจากงาน
ภาษีการรับมรดก
ภาษีของแพทย์
ภาษีขาย
ภาษีซื้อ
ภาษีซื้อต้องห้าม
ภาษีดอกเบีี้ย
ภาษีที่ดิน
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีนำเข้าสินค้า
ภาษีป้าย
ภาษีฟรีแลนซ์
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีรถยนต์
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีอากร
ภาษีอากรนำเข้า
ภาษีอีเพย์เมนต์
ภาษีเงินปันผล
ภาษีเงินได้จากการรับให้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ภาษีโรงแรม
มาตรการผู้กู้ยืม กยศ.
มูลค่าต้นทุน
ย้ายกิจการ
ยื่นแบบ
ยื่นแบบอย่างไรให้ประหยัดค่าปรับที่สุด
รถยนต์นั่ง
รถแลกเงิน
ระบบรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
ร้านกาแฟ-เสียภาษี
รายจ่ายค่าซ่อมแซม
รายจ่ายจริง
รายจ่ายต้องห้าม
รายได้อื่น
ลดหย่อนทางภาษี
ลดหย่อนภาษี
ลาออกจากงาน
วงจรเงินสด
วางระบบบัญชี
วางแผนภาษี
ศุลกากร
ส่งสินค้าทางไปรษณีย์
ส่งเสริมการขาย
สต็อกสินค้า
สรุปประเด็นภาษี
ส่วนลดกาาค้าและส่วนลดเงินสด
สวัสดิการพนักงาน
สวัสดิการอาหารพนักงาน
สัญญาขายฝาก
สัญญาซื้อ
สัญญาฝากทรัพย์
สัญญายินยอม
สัญญาเช่า
สัญญาเช่าที่ดิน
สำนักงานบัญชี
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
หนี้สิน
อั่งเปา
อากรแสตมป์
เกษตรกับวิธีเสียภาษี
เครื่องบันทึกการเก็บเงิน
เคลมภาษีซื้อ ค่าอบรม
เงินกู้ยืมกรรมการ
เงินค่าฝึกอบรม
เงินชดใช้ค่าเสียหาย
เงินทดรองจ่าย
เงินบำนาญชราภาพ
เงินบำเหน็จ
เงินปันผล
เงินมัดจำ
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
เงินสมทบประกันสังคม
เงินสำรองจ่าย
เงินเรียกเก็บล่วงหน้าจากการขายสินค้า
เงินได้พนักงาน
เงินได้พึงประเมิน
เช่าซื้อ-ลิสซิ่ง
เบี้ยประกัน
เบี้ยปรับ
เปิดบริษัท
เราเที่ยวด้วยกัน
เลขประจำตัวผู้เสียอากร
เลิกทำธุรกิจ
เสน่หากับภาษ๊
เอกสารการเบิกจ่ายเงิน
เอกสารทางภาษี
เอกสารบัญชี
แจกไฟล์
แรงงานต่างด้าว
โครงการคนละครึ่ง
โทษปรับ
ใบกำกับภาษี
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
ใบลดหนี้
ใบลดหนี้และใบเพิ่มหนี้
ใบสำคัญจ่าย
ใบหุ้น
ใบเสนอราคา
ใบเสร็จรับเงิน