บทความล่าสุด

ทรัพย์สิน

ตรวจนับทรัพย์สินพบว่าของหาย ต้องทำอย่างไร?

กรณีที่ 1 – ทรัพย์สินมีประกัน ถือเป็นผลเสียหายอันอาจได้รับกลับคืนเนื่องจากการประกัน ดังนั้นจะตัดผลเสียหายดังกล่าวเป็นรายจ่ายทันทีไม่ได้ จะต้องรอจนกว่าจะได้รับค่าสินไหมที่ได้รับชดใช้จากบริษัทประกันภัยเสียก่อน ผลเสียหาย มากกว่า เงินประกันที่ได้รับ = บันทึกเป็นค่าใช้จ่าย ผลเสียหาย น้อยกว่า เงินประกันที่ได้รั้บ = บันทึกเป็นรายได้ กรณีที่ 2 – ทรัพย์สินไม่มีประกัน มูลค่าของต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สินนั้น ถือเป็นผลเสียหายจากการประกอบกิจการ กิจการมีสิทธิ์ตัดเป็นรายจ่ายได้ทั้งจำนวน มีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่าหายจริง สามารถบันทึกเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ ไม่มีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่าหายจริง ต้องเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวนภาษี นอกจากนี้ทรัพย์สินหายถือเป็นการจำหน่ายจ่ายอื่น จะต้องเสียภาษีขายตามราคาตลาดของทรัพย์สินที่สูญหาย บริษัทฯ ต้องนำส่ง VAT ขายในเดือนที่ตรวจพบ ถูกต้องแล้วครับ กรณีนี้ไม่ต้องออกใบกำกับภาษีขาย เพียงแค่แสดงในรายงานภาษีขาย หากไม่ทราบราคาตลาด ฐานภาษีขายสามารถใช้มูลค่าคงเหลือตามบัญชี ณ วันนั้น

by KKN การบัญชี

ใบหุ้น

อย่าลืมจัดทำใบหุ้นมอบให้ผู้ถือหุ้น

บริษัทจำกัดใด ไม่ทำใบหุ้นมอบให้เป็นคู่มือแก่ผู้ถือหุ้น หรือเรียกค่าธรรมเนียมเกินกว่าที่กำหนดไว้ หรือไม่ทำใบหุ้นตามที่กฏหมายกำหนด กฏหมายกำหนดให้ในใบหุ้นทุกใบต้องมีกรรมการอย่างน้อยหนึ่งคนลงลายมือชื่อเป็นสำคัญในใบหุ้นนั้นต้องมีข้อความต่อไปนี้ คือ ชื่อบริษัท เลขหมายหุ้นที่กล่าวถึงในใบหุ้นนั้น มูลค่าหุ้นหนึ่งเป็นเงินเท่าใด ถ้าและเป็นหุ้นที่ยังไม่ได้ใช้เงินเสร็จ ให้จดลงว่าได้ใช้เงินค่าหุ้นแล้วหุ้นละเท่าใด ชื่อผู้ถือหุ้น หรือคำแถลงว่าได้ออกใบหุ้นนั้นให้แก่ผู้ถือ บทลงโทษ : ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

by KKN การบัญชี

ภาษีธุรกิจเฉพาะ

เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการไม่ได้คิดดอกเบี้ยต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะหรือไม่

1.กรณีมีการคิดดอกเบี้ยกันจริง บริษัทฯ จะต้องบันทึกปรับปรุงรายได้ดอกเบี้ยค้างรับเข้าไปในงบการเงินตามอัตราที่ตกลงกัน และเมื่อบริษัทฯ ได้รับเงินค่าดอกเบี้ยก็มีหน้าที่จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจากการประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ 2.กรณีไม่ได้มีการคิดดอกเบี้ยกันจริง บริษัทฯ ไม่ควรบันทึกรายได้ดอกเบี้ยเข้าไปในงบการเงินแต่ให้ใช้วิธีปรับปรุงรายได้ดอกเบี้ยเข้าไปตอนยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 แทน สรุปสั้นๆ แม้จะไม่ได้มีการคิดดอกเบี้ย แต่ถ้าเข้าข่ายประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ (ไม่จำเป็นต้องเป็นเกณฑ์เงินสดเท่านั้น)

by KKN การบัญชี

เงินได้พึงประเมิน

เงินได้ทั้ง 8 ประเภท

เงินได้พึงประเมิน คือ ประเภทเงินได้ 8 ประเภท ตามเงื่อนไขประมวลรัษฎากร ที่ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษี โดยการแบ่งกลุ่มรายได้ตามลักษณะอาชีพ หรืองานที่ทำให้เกิดเงินได้ก้อนนั้น ซึ่งทางกฎหมายมองว่าแต่ละอาชีพมีต้นทุนที่แตกต่างกัน โดยหน้าที่หลักของเงินได้ทั้ง 8 ประเภท จะเป็นตัวกำหนดว่าผู้มีเงินได้จะสามารถหักค่าใช้จ่ายด้สนวิธีไหนบ้าง และสามารถหักค่าใช้จ่ายแต่ละประเภทสูงสุดเท่าไหร่ครับ

by KKN การบัญชี

ใบกำกับภาษีอย่างย่อ

เครื่องออกใบกำกับภาษีอย่างย่อขัดข้อง สามารถเขียนมือได้หรือไม่

สำหรับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อบริษัทใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินบันทึกการเก็บเงินโดยใช้ต่อเชื่อมเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นเป็นระบบ POS แล้วเกิดกรณีที่เครื่องขัดข้องใช้การไม่ได้ เช่น เครื่องเสียหรือไฟฟ้าดับ  ผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อด้วยมือได้  โดยจะต้องประทับตราคำว่า “เครื่องขัดข้อง” ไว้ในใบกำกับภาษีอย่างย่อที่ออกด้วยมือ

by KKN การบัญชี

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

จ่ายค่าส่งพัสดุ/จดหมายให้ไปรษณีย์ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่

เมื่อจ่ายค่าบริการไปรษณีย์ เช่น ค่าส่งพัสดุ ส่งจดหมาย ให้กับไปรษณีย์ไทยหรือบริษัทอื่น เป็นการให้บริการพัสดุภัณฑ์จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง โดยไม่ได้ให้บริการและรับผิดอย่างอื่นนอกจากการขนส่ง  เข้าลักษณะเป็นการให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร  อยู่ในบังคับต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 1. บุคคลธรรมดา ไม่อยู่ในบังคับต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย  2. บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มูลนิธิหรือสมาคม หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1 3. นิติบุคคลอื่น เช่น นิติบุคคลอาคารชุด หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1 4. ส่วนราชการ หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1

by KKN การบัญชี

เปิดบริษัท

เปิดบริษัทต้องเตรียมค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

ค่าบริการเลิกกิจการ ราคาตลาดค่าบริการเลิกกิจการอยู่ที่ 15,000 – 20,000 บาท หมายเหตุ: กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม 3,000 – 5,000 บาท

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

คนขายไม่ออกบิลให้ทำอย่างไร?

เชื่อว่าผู้ประกอบการทุกคนจะต้องเจอปัญหานี้ไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน ผู้ประกอบการบางคนเจอจนท้อใจอุตส่าห์อยากจะเสียภาษีถูกต้องทำไมเราต้องมาเจอกับผู้ขายที่หนีภาษีไม่ยอมออกบิลให้ด้วย (ชีวิตมันเศร้ายิ่งกว่าละครช่อง 7) วันนี้ผมมาเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นให้ทุกคนลองไปใช้ดูกันครับ แม้จะยุ่งยากขึ้น แต่ก็ดีกว่าไม่มีค่าใช้จ่ายให้บันทึกบัญชี แต่อย่างไรก็ตามวิธีแก้ไขที่ได้ผลจริงๆคือการเปลี่ยนไปซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ขายที่ออกบิลถูกต้องไม่หนีภาษีครับ ใบสำคัญรับเงิน : ใช้กรณีผู้รับเงินไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินให้ได้ แต่ยินยอมจะลงลายมือชื่อในช่อง “ผู้รับเงิน” (ขอขอบคุณภาพจากกรมสรรพากร) ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน : ใช้กรณีใช้ในกรณีกิจการจ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือบริการเบ็ดเตล็ดแต่ไม่สามารถเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการได้ ต้องให้พนักงานของกิจการเป็นผู้รับรองการจ่ายเงินดังกล่าว (ขอขอบคุณภาพจากรมสรรพากร)

by KKN การบัญชี

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

วิธีการเขียนหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย

หลังจากที่เราจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (บริษัท/หจก.) ทุกครั้งที่นิติบุคคลจ่ายค่าบริการจะต้องจำให้ขึ้นใจเลยก็คือเราจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรมสรรพากร หลังจากที่หักภาษี ณ ที่จ่ายนิติบุคคลก็จะต้องเขียนหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้กับผู้ให้บริการเพื่อเป็นหลักฐานว่าได้มีการหักภาษีเรียบร้อยแล้ว ปัญหาส่วนใหญ่ที่เจอก็คือผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ทีจ่ายเขียนอย่างไร วันนี้เราจะมาเรียนวิธีการเขียนหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อที่ทุกคนจะได้เขียนกันเป็นนะครับ  ตัวอย่างใบเสร็จรับเงินค่าบริการ ตัวอย่างการเขียนใบรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50ทวิ) ตัวอย่างการเขียนใบสำคัญจ่าย

by KKN การบัญชี

เปิดบริษัท

1 ที่อยู่จดได้กี่บริษัท???

ในการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเรื่องสำคัญมีอยู่แค่ 2 เรื่องเท่านั้นคือ หาผู้ถือหุ้นให้ได้ 3 คน (ถ้าหจก.ก็ 2 คน) หาที่อยู่ให้กับบริษัทสำหรับที่อยู่ในการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทนั้นเราสามารถใช้บ้าน ตึกแถว อาคารสำนักงาน เป็นที่อยู่ให้กับบริษัทได้ ยกเว้นคอนโด หอพัก อพาร์ทเม้น ห้ามใช้เป็นที่อยู่บริษัท (ตอนจดทะเบียนกับกรมพัฒน์ เจ้าหน้าที่อาจจะปล่อยให้จดทะเบียนได้ แต่พอเราจะไปจดทะเบียน VAT สรรพากรจะไม่ยอม)

by KKN การบัญชี

เปิดบริษัท

เปิดบริษัท จะต้องทำบัญชีอะไรบ้าง

ตามกฏหมายแล้วนิติบุคคลจะต้องจัดทำบัญชีดังต่อไปนี้ บัญชีรายวัน (ต้องบันทึกรายการภายใน 15 วันนับจากวันที่รายการนั้นเกิดรายการ) ได้แก่ บัญชีเงินสด บัญชีธนาคาร แยกเป็นแต่ละเลขที่บัญชีธนาคาร บัญชีรายวันซื้อ บัญชีรายวันขาย บัญชีรายวันทั่วไป บัญชีแยกประเภท (ต้องบันทึกรายการภายใน 15 วันนับจากวันสิ้นเดือนของเดือนที่รายการนั้นเกิดขึ้น) บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สินและทุน บัญชีแยกประเภทรายได้และค่าใช้จ่าย บัญชีแยกประเภทลูกหนี้ บัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้ บัญชีสินค้า (ต้องบันทึกรายการภายใน 15 วันนับจากวันสิ้นเดือนของเดือนที่รายการนั้นเกิดขึ้น) กฏหมายบอกว่าบัญชีรายวันต้องบันทึกรายการภายใน 15 วันนับจากวันที่รายการนั้นเกิดรายการ

by KKN การบัญชี

ภาษีขาย

อยากออกใบกำกับภาษีขาย แต่ลูกค้าไม่ให้ข้อมูล ทำอย่างไร

อยากจะเป็นคนดีของท่านสรรพากร แต่บางทีมันก็มีอุปสรรคซะเหลือเกิน  ทั้งๆที่ไม่อยากหนีภาษีเลยซักนิด ขายทุกครั้งอยากจะออกบิล แต่บางครั้งคุณลูกค้าก็ไม่ค่อยให้ความร่วมมือ ไม่อยากให้ข้อมูล วันนี้เลยเสนอประเด็นการแก้ปัญหากับลูกค้าที่เป็นบุคคลธรรมดา ที่ไม่ให้ข้อมูลเพื่อออกใบกำกับภาษีครับ 1.ไม่ออกใบกำกับภาษี (ไม่มีข้อมูลก็เลยไม่ออกมันซะเลย) ไม่จัดทำใบกำกับภาษี หรือจัดทำแล้วไม่ได้ส่งมอบให้ลูกค้า มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 2. เขียนชื่อลูกค้า “ลูกค้าเงินสด” ออกใบกำกับภาษีโดยมีรายการในส่วนที่เป็นสาระสำคัญไม่ครบถ้วน มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท 3. ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ กิจการที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ ได้แก่กิจการที่เป็นการขายสินค้าในลักษณะขายปลีก หรือกิจการให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมากสามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้ เช่น ร้านขายของชำ ร้านขายยา ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร 4. ไม่ต้องขาย บางครั้งกฏหมาย ก็ไม่เอื้ออำนวยกับผู้ประกอบการที่ต้องการจะเสียภาษีให้ถูกต้อง ก็ได้แต่หวังว่าจะมีการแก้กฏหมายใหม่ในเร็ววัน

by KKN การบัญชี

สำนักงานบัญชี

วิธีเลือกสำนักงานบัญชีที่ดี

เรามาดูกันดีกว่าว่าวิธีการเลือกสำนักงานบัญชีที่ดีนั้นมีปัจจัยอะไรบ้างที่ควรพิจารณา… สำนักงานบัญชีไม่ใช่มูลนิธิ ดังนั้นสำนักงานบัญชีที่ราคาถูกแบบผิดปกติ จะต้องมีอะไรซักอย่างซ่อนเร้น เช่น การเก็บเงินที่ยิบย่อย ค่าแฟ้ม ค่ากระดาษ ค่าไปยื่นแบบ และที่สำคัญบางสำนักงานค่าทำบัญชีรายเดือนถูก ค่าปิดงบ ค่าสอบบัญชี แทบร้องขอชีวิต ในส่วนนี้ให้เราขอราคาค่าบริการแบบรวมครบทุกอย่างจะช่วยให้เราไม่ตกเป็นเหยื่อได้ ให้เลือกสำนักงานบัญชีที่ราคาปานกลาง หรือแพงขึ้นมาหน่อย(แบบมีเหตุผล) เพราะสำนักงานบัญชีเหล่านี้จะมีสัดส่วนการรับงานที่ไม่ล้นมือ เมื่อเทียบกับสำนักงานบัญชีที่คิดค่าบริการถูก สำนักงานแต่ละแห่งจะมีความเชี่ยวชาญประเภทธุรกิจที่แตกต่างกันไป ยิ่งในสมัยนี้การค้าขายมีหลายรูปแบบ ถ้าสำนักงานบัญชีไม่เคยมีประสบการณ์อาจจะทำบัญชีให้เราผิดได้ เสี่ยงโดนสรรพากรปรับได้ ธุรกิจที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเป็นพิเศษ เช่น ธุรกิจนำเข้า-ส่งออก, ขายสินค้าผ่านตัวแทนเช่น Lazada, รับเหมาก่อสร้าง, Shipping ในการคุยกับสำนักงานบัญชีให้ลองคุยลองสอบถามกับคนที่จะบันทึกบัญชีให้เราโดยตรงด้วย เพราะบางครั้งเจ้าของสำนักงานเก่งมากเป็นผู้สอบบัญชี แต่ในการบันทึกบัญชีให้ลูกค้าเป็นพนักงานทั่วไปซึ่งอาจจะไม่ได้มีความรู้ก็ได้ สำนักงานบัญชีที่มีผู้สอบบัญชีเป็นเจ้าของจะมีข้อดีตรงมีความรู้หลากหลายธุรกิจเพราะประสบการณ์ตรวจสอบเยอะ แต่ส่วนใหญ่ผู้สอบบัญชีจะไม่ค่อยรับทำบัญชีเพราะงานมันจุกจิกและค่าตอบแทนน้อย เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ดูกันยากมาก ทุกปีผมจะได้รับสายจากลูกค้าว่าโดนสำนักงานบัญชีเก่า โกงเงินค่าภาษี เค้าโอนเงินไปให้จ่ายภาษีแต่ไม่ยอมจ่ายให้เค้าจนโดนสรรพากรเรียก หลักผมให้มองว่าเค้ามีสำนักงานที่อยู่เป็นหลักแหล่งหรือไม่ อย่าเชื่อ Website ที่ภาพสวยงาม อาจจะนัดเจอที่สำนักงานบัญชีครั้งแรกที่เซ็นสัญญา ถึงโกงเราก็ตามตัวได้ ผู้ประกอบการอาจจะสุ่มขอดูใบเสร็จจ่ายค่าภาษี หรือสมัยนี้มีการยื่นภาษีผ่านระบบออนไลน์ ก็ให้สำนักงานบัญชีส่ง pay slip มาคุณก็มาจ่ายภาษีเองสบายใจกว่าครับ ให้พยายามหลีกหนีจากสำนักงานบัญชี part time หมายถึงคนที่ทำงานประจำ และรับทำบัญชีเป็นงานเสริมหลังเลิกงาน […]

by KKN การบัญชี

Uncategorized

บุคคลธรรมดา กับ นิติบุคคล(SME) ใครเสียภาษีมากกว่ากัน?

และโดยทั่วไปเวลาที่วางแผนภาษีเรามักจะเทียบเฉพาะภาษีเงินได้เท่านั้น โดยลืมคิดถึงภาษีเงินปันผลอีก 10% เอาเข้ามารวมด้วย ทำให้เกิดการวางแผนภาษีที่ผิดพลาด รู้หรือไม่? เมื่อเราทำธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคล (บริษัท/หจก.) เมื่อกิจการมีกำไรจากการดำเนินงานเจ้าของจะไม่สามารถนำเงินของกิจการออกมาใช้ได้ตามใจชอบ ถ้าอยากเอาผลกำไรของบริษัทออกมาใช้ส่วนตัว จะต้องทำการ “จ่ายเงินปันผล” รายได้เงินปันผล ผู้รับเงินปันผลจะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% ของเงินปันผลที่ได้รับ เป็นเหตุผลที่เวลาพิจารณาว่าบุคคลหรือนิติบุคคลใครเสียภาษีมากกว่ากันจะต้องนำภาษีเงินปันผลมารวมในการคิดด้วย วันนี้ผมได้ทำสรุปเป็นภาพให้ทุกคนได้เห็นกันชัดๆ ไปเลยว่าแต่ละช่วงกำไร บุคคล กับ นิติบุคคลต้องเสียภาษีเท่าไหร่ เพื่อใช้ในการวางแผนภาษีได้ถูกต้องครับ

by KKN การบัญชี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ธุรกิจอะไรบ้างที่ยอดขายเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 1. การขายสินค้าหรือให้บริการของผู้ประกอบการที่มีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี 2. การขายพืชผลทางการเกษตรภายในราชอาณาจักร เช่น ข้าว ผักและผลไม้ เป็นต้น 3. การขายสัตว์ทั้งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตภายในราชอาณาจักร เช่น หมู ไก่ ปลา เป็นต้น 4. การขายปุ๋ย 5. การขายปลาป่น อาหารสัตว์ 6. การขายยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ เพื่อบำรุงรักษาป้องกัน ทำลายหรือกำจัดศัตรูหรือโรคของพืชและสัตว์ 7. การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน 8. การนำเข้าสินค้าตาม 2. ถึง 7. 9. การให้บริการการศึกษาของสถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน 10. การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางน้ำหรือทางอากาศ 11. การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศทางบกและทางเรือซึ่งมิใช่เรือเดินทะเล 12. การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลทางราชการและเอกชน 13. การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ 14. การให้บริการจัดแข่งขันกีฬาสมัครเล่น 15. การให้บริการประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การว่าความ 16. การให้บริการของนักแสดงสาธารณะ […]

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

บริษัทซื้อรถแบบไหนถึงคุ้มภาษีที่สุด (เช่าซื้อ | ลีสซิ่ง)

มีหลายคนถามความแตกต่างระหว่างเช่าซื้อกับลีสซิ่ง ว่าแตกต่างกันอย่างไร และควรซื้อรถในรูปแบบไหนดี ถ้าจะสรุปความคุ้มค่าด้านภาษีจะได้ดังนี้ ถ้าเป็นรถเชิงพาณิชย์ เช่นกะบะ 2 ประตู รถกระบะ 4 ประตู รถตู้ รถบรรทุก ควรเลือกเช่าซื้อ ถ้าเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง เช่น รถเก๋ง สำหรับราคารถยนต์ไม่เกิน 1 ล้านบาทควรเลือกเช่าซื้อ แต่ถ้าราคารถยนต์เกิน 1 ล้านบาทควรเลือกลีสซิ่ง ปล. การซื้อรถยนต์แบบลีสซิ่งราคารถยนต์ที่จ่ายตลอดทั้งสัญญาจะสูงกว่าเช่าซื้อพอสมควร ดังนั้นจะต้องคำนวนเงินที่จ่ายทั้งหมดรวมกับภาษีที่ประหยัดได้ด้วยนะครับ

by KKN การบัญชี

ภาษีซื้อ

ซื้อของตามตลาดไม่มีบิล ทำอย่างไรดี?

หนึ่งในปัญหาที่ทำให้ผู้ประกอบการหลายคนปวดหัวที่สุดปัญหาหนึ่งก็คือ “จ่ายเงิน ซื้อของแต่ไม่ได้รับบิล หรือใบเสร็จจากผู้ขาย” เพราะปัญหานี้ทำให้ผู้ประกอบการไม่มีค่าใช้จ่ายไปหักรายได้ ส่งผลทำให้ผลประกอบการมีกำไรเสียภาษีมากกว่าความเป็นจริงของกิจการ และทำให้เสียภาษีมากขึ้น ยกตัวอย่างให้เห็นภาพกับความจริงของการซื้อของจากตลาด ในกรณีซื้อของจากตลาดสดแล้วไม่มีเอกสารใบเสร็จรับเงินจากแม่ค้า ซึ่งเรื่องนี้กรมสรรพากรได้เป็นผู้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้กับผู้ประกอบการ คือ สามารถใช้เอกสาร “ใบรับรองแทนใบเสร็จ” โดยให้พนักงานที่ไปซื้อสินค้าเขียนรายการสินค้าที่ซื้อ และให้ผู้ซื้อเซ็นชื่อรับรอง เพื่อที่ผู้ประกอบการทุกท่านจะได้บันทึกบัญชีตามผลประกอบการที่แท้จริงได้ค่ะ ในบางครั้งเจ้าหน้าที่อาจจะไม่มั่นใจว่าเราซื้อสินค้าหรือจริงไม่ เราสามารถเพิ่มความมั่นใจให้เจ้าหน้าที่ได้ค่ะ โดยเก็บหลักฐานเหล่านี้แสดงต่อเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร เพียงเท่านี้ผู้ประกอบการก็สามารถซื้อสินค้าได้อย่างสบายใจ และยังนำมาเป็นรายจ่ายทางภาษีได้อีกด้วยค่ะ

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ขายของในตลาดต้องเสียภาษีหรือไม่

มีลูกเพจขายของในตลาดสด inbox มาสอบถามว่าขายของในตลาดจะต้องเสียภาษีหรือไม่ เจ้าของตลาดบอกว่าจะไปคุยกับสรรพากรให้เหมาร้านละ 4,000 บาท ตอนนี้เรียกได้ว่าขวานป้า สะท้านทุกวงการไม่เว้นแม้กระทั้งสรรพากร แต่จริงๆ อาจจะไม่ได้เกี่ยวกับป้าก็ได้นะครับเพราะช่วงต้นปี ผมก็ได้ข่าวว่าสรรพากรจะเริ่มเก็บภาษีกับร้านค้าที่ขายของในตลาด อาจจะจังหวะเวลาพอดีกันก็ได้ 1.ขายของในตลาดจะต้องเสียภาษีหรือไม่บุคคลธรรมดามีรายได้จะต้องเสียภาษีทั้งหมดครับ ฝรั่งมักจะบอกว่าคนเรามีสองสิ่งที่จะหนีไม่พ้นก็คือความตายกับภาษี ในส่วนของภาษีที่ทางตลาดจะช่วยคุยกันร้านละ 4,000 บาท อันนี้ผมไม่แน่ใจว่า 4,000 บาทเข้ารัฐทั้งหมดรึเปล่า เพราะประเทศไทยไม่มีภาษีเหมานะ สำหรับกรณีนี้ผมแนะนำให้คนขายคำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยนำรายได้จากการขายทั้งหมด มาหาร 2 (เพราะทำ 2 คนกับแฟนรายได้จึงแบ่งครึ่งกัน) แล้วคำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาว่ามากหรือน้อยกว่า 4,000บาท ถ้าเสียภาษีน้อยกว่า 4,000บาท ก็ไปยื่นเองจะประหยัดกว่าครับ แต่ถ้าคำนวนแล้วเสียภาษีมากกว่า 4,000บาท ก็ให้ทางตลาดไปจัดการครับ 2.จ่ายค่าเช่าล็อคในตลาด แล้วต้องเสียภาษีอีกหรือไม่ค่าเช่าล็อคเจ้าของตลาดเป็นคนได้เงิน รัฐยังไม่ได้เงินจากคุณเลยครับ ดังนั้นก็เสียภาษีด้วยครับ แย่งส่วนกันครับ 3.ผมต้องไปจดทะเบียนร้านค้ากับกรมสรรพากรหรือไม่บุคคลธรรมดาเปิดร้านขายของ จะต้องไปจดทะเบียนร้านค้าด้วยครับ แต่ไม่ใช่ไปจดที่สรรพากรนะครับ ต้องไปจดทะเบียนร้านค้าที่สำนักงานเขต หรือเทศบาลครับ ต่อไปมาลุ้นกันว่าธุรกิจใดจะเป็นรายต่อไปหลังจากร้านทอง ร้านขายยา ร้านขายของในตลาด ให้ผมเดาคงอพาร์ทเม้นให้เช่าแน่ๆ

by KKN การบัญชี

ภาษีขาย

ไม่ต้องออกใบกำกับภาษีก็ได้ ถ้ากิจการของคุณเข้าเงื่อนไขต่อไปนี้

เว้นแต่ กรณีดังต่อไปนี้ 1. การขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย กำหนดให้กิจการรายย่อยไม่ต้องออกใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือ การให้บริการที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท เว้นแต่ ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการจะเรียกร้องใบกำกับภาษี สำหรับกิจการดังต่อไปนี้ กิจการไม่เคยมีมูลค่าของฐานภาษีในเดือนใดถึง 300,000 บาท การขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งหน่วยขายเป็นรถเข็น แผงลอย การให้บริการการแสดง การเล่น การกีฬา การแข่งขัน การประกวดหรือ การกระทำใด ๆ ในลักษณะทำนองเดียวกันที่จัดขึ้นเพื่อเก็บเงินจากผู้ดู ผู้ฟัง ผู้เล่น หรือผู้เข้าแข่งขัน 2. การขายน้ำมันเชื้อเพลิงของสถานบริการน้ำมัน การขายน้ำมันเชื้อเพลิงของสถานบริการน้ำมันโดยผ่านมิเตอร์หัวจ่ายอันมีลักษณะเป็น การขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก มีสิทธิที่จะขายน้ำมันเชื้อเพลิงโดยไม่ต้องออกใบกำกับภาษีสำหรับการขายน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท เว้นแต่ผู้ซื้อสินค้าจะเรียกร้องใบกำกับภาษี

by KKN การบัญชี

50 ทวิ
Bitcoin
DBD Registered
e-filing
LTF
SME
SMEs
TFRS16
Uncategorized
Voucher
กท.20 ก
กรมสรรพากร
กองทุนรวม
ก่อสร้างอาคารบนที่ดินของกรรมการ
การขอรับบริจาค
การจัดสรรกำไรสะสม
การตัดหนี้สูญ
การบริจาค
การบันทึกบัญชีเงินสดรับ-จ่าย
การประมาณการกำไรสุทธิขาดไป
การลงทุน
การลงประกาศหนังสือพิมพ์
การลดหย่อนบริจาคทั่วไป
การเช่า
กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กิจการร่วมค้า และกิจการค้าร่วม
กิจการเพื่อสังคม
กิจการโรงแรม
ขนส่ง
ขอคืนเงินประกันไฟฟ้า
ขายกิจการ
ขายสินค้าต่ำกว่าทุน
ขายสินค้าส่งออกไปต่างประเทศ
ขายหนังสือแถมคอร์สเรียนออนไลน์
คริปโทเคอร์เรนซี
ความเสี่ยง-ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ความเสี่ยงของกิจการ
ค่าขนส่ง
ค้าขายออนไลน์
ค่าตรวจสุขภาพ
ค่าปรับ
ค่ารักษาพยาบาล
ค่ารับรอง
ค่าสินไหมทดแทน
ค่าเช่า
ค่าเช่ารับล่วงหน้า
ค่าเบี้ยประกันชีวิต
ค่าเสื่อมราคา
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายของกิจการ
ค่าใช้จ่ายทางภาษี
ค่าใช้จ่ายในการอบรม
งบการเงิน
งบการเงินส่วนบุคคล
จดทะเบียน
จดทะเบียนเพิ่มสาขา
จดภาษีมูลค่าเพิ่ม
จัดตั้งบริษัท
จ้างงานผู้สูงอายุ
จ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ
จ้างเด็กจบใหม่
ช้อปดีมีคืน
ดอกเบี้ยค้างรับ
ตราประทับ
ทรัพย์สิน
ทั่วไป
ทำประกันให้พนักงาน
ธุรกรรม
ธุรกิจขนส่ง
บริจาค
บริษัท กับ กรรมการ
บัญชีและภาษี
บิลเงินสด
ประกัน keyman
ประกันCovid-19
ประกันสังคม
ประชุมบริษัท
ประเภทเช็ค
ผลขาดทุน
ผู้ถือหุ้น
ผู้ประกอบการ
พร้อมเพย์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ฟรีแลนซ์
ภ.ง.ด. 1ก
ภ.ง.ด.1 ก
ภ.ง.ด.54
ภ.พ.36
ภาษี
ภาษี e-Service
ภาษีDropship
ภาษีกองทุนตราสารหนี้
ภาษีกับการออกจากงาน
ภาษีการรับมรดก
ภาษีของแพทย์
ภาษีขาย
ภาษีซื้อ
ภาษีซื้อต้องห้าม
ภาษีดอกเบีี้ย
ภาษีที่ดิน
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีนำเข้าสินค้า
ภาษีป้าย
ภาษีฟรีแลนซ์
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีรถยนต์
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีอากร
ภาษีอากรนำเข้า
ภาษีอีเพย์เมนต์
ภาษีเงินปันผล
ภาษีเงินได้จากการรับให้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ภาษีโรงแรม
มาตรการผู้กู้ยืม กยศ.
มูลค่าต้นทุน
ย้ายกิจการ
ยื่นแบบ
ยื่นแบบอย่างไรให้ประหยัดค่าปรับที่สุด
รถยนต์นั่ง
รถแลกเงิน
ระบบรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
ร้านกาแฟ-เสียภาษี
รายจ่ายค่าซ่อมแซม
รายจ่ายจริง
รายจ่ายต้องห้าม
รายได้อื่น
ลดหย่อนทางภาษี
ลดหย่อนภาษี
ลาออกจากงาน
วงจรเงินสด
วางระบบบัญชี
วางแผนภาษี
ศุลกากร
ส่งสินค้าทางไปรษณีย์
ส่งเสริมการขาย
สต็อกสินค้า
สรุปประเด็นภาษี
ส่วนลดกาาค้าและส่วนลดเงินสด
สวัสดิการพนักงาน
สวัสดิการอาหารพนักงาน
สัญญาขายฝาก
สัญญาซื้อ
สัญญาฝากทรัพย์
สัญญายินยอม
สัญญาเช่า
สัญญาเช่าที่ดิน
สำนักงานบัญชี
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
หนี้สิน
อั่งเปา
อากรแสตมป์
เกษตรกับวิธีเสียภาษี
เครื่องบันทึกการเก็บเงิน
เคลมภาษีซื้อ ค่าอบรม
เงินกู้ยืมกรรมการ
เงินค่าฝึกอบรม
เงินชดใช้ค่าเสียหาย
เงินทดรองจ่าย
เงินบำนาญชราภาพ
เงินบำเหน็จ
เงินปันผล
เงินมัดจำ
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
เงินสมทบประกันสังคม
เงินสำรองจ่าย
เงินเรียกเก็บล่วงหน้าจากการขายสินค้า
เงินได้พนักงาน
เงินได้พึงประเมิน
เช่าซื้อ-ลิสซิ่ง
เบี้ยประกัน
เบี้ยปรับ
เปิดบริษัท
เราเที่ยวด้วยกัน
เลขประจำตัวผู้เสียอากร
เลิกทำธุรกิจ
เสน่หากับภาษ๊
เอกสารการเบิกจ่ายเงิน
เอกสารทางภาษี
เอกสารบัญชี
แจกไฟล์
แรงงานต่างด้าว
โครงการคนละครึ่ง
โทษปรับ
ใบกำกับภาษี
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
ใบลดหนี้
ใบลดหนี้และใบเพิ่มหนี้
ใบสำคัญจ่าย
ใบหุ้น
ใบเสนอราคา
ใบเสร็จรับเงิน