บทความล่าสุด

Uncategorized

ประเด็นภาษี “สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล”

สวัสดิการยอดฮิตที่บริษัทนิยมให้กับพนักงานเพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับพนักงานคงหนีไม่พ้น “สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล” วันนี้แอดมินจึงมาสรุปประเด็นภาษีที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล ที่บริษัทจ่ายให้กับพนักงาน สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม บริษัทจะต้องมีระเบียบการจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้พนักงานทุกคน ค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้หรือจ่ายแทนลูกจ้าง สำหรับการรักษาพยาบาลสำหรับลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดาน ซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะสำหรับการรักษาพยาบาลที่กระทำในประเทศไทย พนักงานที่ได้รับสวัสดิการดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมเป็นเงินได้เพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42 (17)

by KKN การบัญชี

ใบกำกับภาษี

สรุปการออกใบกำกับภาษี Shopee

เนื่องจากมีผู้ประกอบการหลายท่านยังสับสนกับการออกใบกำกับภาษีขาย กรณีขายสินค้าผ่าน Platform Shopee อยู่ ว่าจะต้องนำข้อมูลในส่วนไหนบ้างมาออกใบกำกับภาษีขายให้กับลูกค้า เพื่อให้ผู้ประกอบการได้เข้าใจง่ายขึ้น แอดมินได้หยิบตัวรายการคำสั่งซื้อจริงมาใช้เป็นข้อมูลในการยกตัวอย่างการออกใบกำกับภาษี

by KKN การบัญชี

ภ.ง.ด. 1ก

รายได้ประเภทใดต้องยื่น ภ.ง.ด. 1ก

แบบ ภ.ง.ด. 1ก คือ แบบสรุปการจ่ายเงินได้และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตลอดทั้งปี จากการจ่ายเงินได้ตามมาตรา 40(1)(2) เช่น เงินเดือน โบนัส ค่านายหน้า ค่าเบี้ยประชุม เป็นต้น โดยกรมสรรพากรกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้จะต้องสรุปข้อมูลส่งกรมสรรพากรปีละ 1 ครั้ง ไม่เกินวันที่ 28 กุมภาพันธ์ของทุกปี สำหรับสาเหตุที่กรมสรรพากรให้ผู้จ่ายเงินได้ต้องสรุปข้อมูลการจ่ายเงินได้มาตรา 40(1)(2) ให้กับกรมสรรพากรทุกปีนั้น เนื่องจากเงินได้มาตรา 40(1)(2) จะคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามอัตราก้าวหน้า ซึ่งถ้าบุคคลธรรมดามีรายได้ไม่ถึง 310,000 บาทต่อปี จะไม่โดนหักภาษี ณ ที่จ่าย ทำให้กรมสรรพากรไม่มีข้อมูลเงินได้ของผู้เสียภาษีในระบบกรมสรรพากร กรมสรรพากรเลยกำหนดให้ผู้ประกอบการที่จ่ายเงินได้มาตรา 40(1)(2) จะต้องทำสรุปข้อมูลการจ่ายเงินได้ปีละ 1 ครั้งส่งกรมสรรพากรด้วยแบบ ภ.ง.ด.1ก

by KKN การบัญชี

ตราประทับ

ข้อกำหนดตราประทับบริษัท

ตราประทับบริษัท (ตรายาง) เป็นตัวแทนบริษัทในการจดทะเบียนบริษัท การรับรองเอกสาร การทำสัญญา การทำธุรกรรม และนิติกรรม ซึ่งในส่วนนี้กฏหมายไม่ได้บังคับว่าทุกกิจการจะต้องมีตราประทับ นั่นหมายความว่าจะมีหรือไม่ดีก็ได้ ข้อดีของการมีตราประทับบริษัท จะช่วยสร้างความน่าเชื่อให้กับกิจการ และช่วยป้องกันการปลอมแปลงเอกสารได้ แต่ข้อเสียของการมีตราประทับมีก็อยู่ไม่ต้อง คือ ขาดความคล่องตัวในการทำธุรกรรมต่าง มีภาระที่จะต้องพกตราประทับติดตัวตลอด ถ้าตราประทับหายหรือสึกหรอก็เสียเวลาจัดทำขึ้นมาใหม่ กรณีที่บริษัทเลือกที่จะจดทะเบียนแบบมีตราประทับบริษัท จะต้องศึกษาข้อกำหนดของตราประทับที่สามารถทำได้ เพื่อไม่ให้เสียเวลาในการจดทะเบียนบริษัท

by KKN การบัญชี

แจกไฟล์

แจกไฟล์ “ประมวลรัษฎากร Excel”

: https://www.dropbox.com/t/lHphYOEHVd3a7L3A สามารถพิมพ์คำที่ต้องการค้นหาได้เลย เช่น “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” โปรแกรมก็จะแสดงมาตราทั้งหมดที่เกี่ยวกับคำนั้นขึ้นมาให้ทันที >> พัฒนาโดยนายอธิฐ สุทธิปัญโญ <<

by KKN การบัญชี

SMEs

5 ขั้นตอนก่อนระดมทุนของธุรกิจ SMEs

เรื่องเงินทุนนั้นเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการ SMEs ควรมีการวางแผนมาเป็นอย่างดีตั้งแต่ต้นว่าจะหาแหล่งเงินทุนมาจากที่ใด ไม่ว่าจะเป็นเงินทุนของตัวเอง หรือจะหยิบยืมจากคนใกล้ตัว ซึ่งในการดำเนินธุรกิจ การพึ่งพาเพียงแหล่งเงินทุนภายในของกิจการ ก็อาจเกิดปัญหาเงินทุนหมุนเวียนไม่เพียงพอ และขาดสภาพคล่องได้ กิจการอาจต้องมีการระดมทุนเพื่อให้มีเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มเติม ซึ่งหากจะมีการระดมทุนแล้ว ผู้ประกอบการจะต้องมีการเตรียมพร้อมในทุกๆ ด้าน ดังต่อไปนี้

by KKN การบัญชี

กรมสรรพากร

ถูกสรรพากรเรียกพบ ต้องเตรียมตัวอย่างไร?

หลายๆ กิจการเมื่อได้รับเอกสารจากสรรพากรที่เรียกเข้าพบไปชี้แจงในบางเรื่องบางประเด็น ก็รู้สึกร้อนๆ หนาวๆ เพราะไม่รู้ว่าจะพบเจอกับอะไรบ้าง ทั้งที่ความจริงแล้ว บางกรณีการที่สรรพากรเรียกพบก็ไม่ได้เป็นเรื่องน่ากลัวอย่างที่คิด อาจเป็นการเรียกสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเท่านั้น ดังนั้นสิ่งสำคัญอันดับแรกก็คือการตั้งสติและเตรียมตัวให้พร้อมนั่นเอง ทำความเข้าใจประเด็นเรื่องที่สรรพากรขอเชิญพบ ก่อนอื่นผู้ประกอบการควรอ่านข้อความในเอกสารอย่างละเอียดและทำความเข้าใจว่าประเด็นที่กรมสรรพากรขอพบคือเรื่องใด เกี่ยวข้องกับภาษีประเภทใดบ้าง เช่น การขอเชิญพบเพื่อตรวจสอบการขอคืนภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นต้น ทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ที่กรมสรรพากรต้องการ ผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจว่ากรมสรรพากรมีความประสงค์ในการเรียกพบเพื่ออะไร เช่น ขอตรวจสอบ ขอข้อมูล หรือขอให้เป็นพยาน เป็นต้น เพื่อผู้ประกอบการจะได้จัดเตรียมข้อมูลต่างๆ ให้ครบถ้วน เตรียมหลักฐานที่กรมสรรพากรต้องการให้พร้อม เป็นการจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบกำกับภาษีซื้อ สำเนาใบกำกับภาษีขาย สำเนาใบเสร็จรับเงิน หลักฐานการรับเงิน หลักฐานการจ่ายเงิน เอกสารการบันทึกบัญชี เป็นต้น ในกรณีที่ผู้ประกอบการไม่สามารถเดินทางเข้าพบด้วยตนเองก็ต้องทำหนังสือมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการเข้าชี้แจงต่อกรมสรรพากร พร้อมสำเนาบัตรประชาชนรับรองสำเนาของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ เพื่อดำเนินการแทน กำหนดผู้รับผิดชอบในการชี้แจงต่อกรมสรรพากร ในการชี้แจงต่อกรมสรรพากร ผู้ประกอบการควรมอบหมายให้ผู้ที่มีความรู้ทางด้านภาษีในการชี้แจงต่อกรมสรรพากร ได้แก่ นักบัญชีหรือสำนักงานบัญชีที่รับทำบัญชีของกิจการซึ่งดูแลเรื่องภาษี ในกรณีที่มีประเด็นทางกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องอาจมีทนายความหรือผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายเข้าไปชี้แจงต่อเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรด้วย

by KKN การบัญชี

เอกสารบัญชี

ใบเสนอราคา

ใบเสนอราคา เป็นเอกสารที่ผู้ขายสินค้าหรือให้บริการ ออกให้กับลูกค้าที่สนใจจะซื้อสินค้า เพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ใบเสนอราคาที่ดีจะต้องบอกรายละเอียดสินค้าหรือบริการ ราคา เงื่อนไขการจ่ายชำระเงิน การส่งมอบสินค้าหรือบริการ และเงื่อนไขการรับประกัน เพื่อให้ลูกค้าใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการ >>> เรื่องที่ต้องระมัดระวัง กรณีที่ใบเสนอราคาถูกเซ็นชื่อครบทั้ง 2 ฝั่ง (ผู้ขาย กับ ผู้ซื้อ) เรียบร้อยแล้วจะถือว่าใบเสนอราคาดังกล่าวเป็นสัญญา ถ้าเป็นการจ้างทำของ ผู้ให้บริการมีหน้าที่ติดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องครบถ้วน โดยมูลค่าสัญญาจ้างทำของทุก 1,000 บาท จะต้องปิดอากรแสตมป์ 1 บาท

by KKN การบัญชี

การลงประกาศหนังสือพิมพ์

วาระการประชุมที่ต้องลงประกาศหนังสือพิมพ์

ตาม ปพพ. มาตรา 1175 คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นต้องลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน เว้นแต่คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเพื่อลงมติพิเศษ ให้กระทำการดังกล่าวก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่นั้น ให้ระบุสถานที่ วัน เวลา และสภาพแห่งกิจการที่จะได้ประชุมปรึกษากันด้วย ตัวอย่าง วาระหัวข้อวาระการประชุม 1.ประชุมสามัญประจำปี (ประชุมงบการเงิน) 2.การแจ้งจ่ายเงินปันผล 3.การเลิกบริษัท 4.การแก้ไขวัตถุประสงค์ของบริษัท

by KKN การบัญชี

Uncategorized

5 เรื่อง ต้องรู้การวางแผนภาษีของกิจการ

การวางแผนภาษี คือ การเตรียมการเพื่อเสียภาษีให้ถูกต้อง และใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆ ที่กฎหมายกำหนดในการลดหย่อนภาษีประจำปี เพื่อบรรเทาภาระภาษีให้น้อยลง รวมถึงไม่ต้องเสียภาษีหรือเบี้ยปรับเพิ่มเติมโดยไม่จำเป็น หากกิจการมีการวางแผนภาษีดี ก็จะช่วยลดปัญหาทางการเงินที่จะทำให้กิจการขาดสภาพคล่องอีกด้วย ซึ่งก่อนที่จะเริ่มต้นวางแผนภาษีนั้น ผู้ประกอบการต้องมีการศึกษาปัจจัยต่างๆ อย่างรอบด้านเพื่อการปฏิบัติที่ถูกต้อง ซึ่งวันนี้เราจะมาดูกันว่าสิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมในการวางแผนภาษีนั้นมีอะไรบ้าง รู้จริง เรื่องภาษี เรื่องสำคัญประการแรกที่ผู้ประกอบการต้องทำ ก็คือการศึกษาหาความรู้เรื่องภาษี ว่ากิจการของเรานั้นจะต้องเสียภาษีประเภทใดบ้าง และภาษีแต่ประเภทมีหลักเกณฑ์อย่างไร ทั้งอัตราภาษีที่ต้องจ่าย และระยะเวลาที่ในการยื่นภาษี เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ เป็นต้น ซึ่งหากผู้ประกอบการไม่มีการศึกษาเรื่องภาษีที่ดีพอ ก็มีโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดได้สูง ซึ่งอาจมีโทษทางกฎหมายและค่าปรับต่างๆ ตามมา

by KKN การบัญชี

SMEs

6 กลยุทธ์ สร้างความสำเร็จธุรกิจ SMEs

ในช่วงเวลาที่หลายๆ ธุรกิจต้องฝ่าฟันกับสภาวะเศรษฐกิจที่เต็มไปด้วยการแข่งขันนั้น ธุรกิจไหนมีกลยุทธ์ที่แข็งแกร่ง มีการบริหารจัดการที่ดี ก็มีโอกาสที่จะเติบโตได้ดังที่หวังตั้งใจ โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ที่กำลังเริ่มต้น จำเป็นต้องมีการงัด ทุกกลยุทธ์มาสร้างความสำเร็จให้กิจการไม่ว่าจะเป็น // สร้างแบรนด์ที่โดดเด่น // ให้ความสำคัญเรื่องการตลาด // สร้างกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ // พัฒนาการวางแผนภาษี // สร้างเครือข่ายพันธมิตรที่ดี // นำเทคโนโลยีมาใช้

by KKN การบัญชี

เอกสารบัญชี

ใบวางบิล/ใบแจ้งหนี้ คืออะไร

ใบวางบิลและใบแจ้งหนี้ เป็นเอกสารที่ผู้ประกอบการขายสินค้าหรือบริการ ออกให้กับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าทราบว่ามียอดหนี้ที่จะต้องชำระกี่บาท และชำระภายในวันที่เท่าไหร่ ลูกค้าจะได้ชำระหนี้ได้อย่างถูกต้อง ทุกครั้งที่มีการส่งมอบสินค้าหรือให้บริการ ผู้ประกอบการก็จะออกใบแจ้งหนี้ให้กับลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าทราบว่าจะต้องจ่ายชำระเงินจำนวนเท่าไหร่ ภายในวันที่เท่า พอถึงรอบวางบิล ผู้ประกอบการจะสรุปข้อมูลว่ามีใบแจ้งหนี้ใบไหนบ้างที่ถึงกำหนดที่ลูกค้าจะต้องชำระแล้วลงในเอกสารใบวางบิล ดังนั้นบวางบิลทำหน้าที่เป็นใบคุมว่ามีรายการใบแจ้งหนี้อะไรบ้างที่ลูกค้าจะต้องจ่ายในรอบนี้ กรณีที่มีใบแจ้งหนี้ใบเดียว ก็ไม่จำเป็นต้องจัดทำใบวางบิลก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามสอบถามลูกค้าเผื่อความชัวจะดีที่สุด

by KKN การบัญชี

Uncategorized

8 ประเภทเงินได้ที่ต้องเสียภาษี

เจ้าของกิจการหลายๆ ท่าน มีรายได้มาจากหลายช่องทาง ทั้งงานประจำ งานพิเศษ ค่านายหน้า ค่าหัวคิว ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ และรายได้จิปาถะอื่นๆ อีกมากมาย เคยทบทวนกันบ้างไหมว่ารายได้ทั้งหมดนี้ เราจ่ายภาษีครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ มาดูกันว่ารายได้ที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีให้ถูกต้องนั้นมีอยู่ทั้งหมดกี่ประเภท และมีอะไรบ้าง

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51)

ภ.ง.ด. 51 คือภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี กำหนดให้นิติบุคคลที่รอบระยะเวลาไม่น้อยกว่า 12 เดือนมีหน้าที่ต้องยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด. 51) โดยมีกำหนดระยะเวลายื่นแบบนำส่งภาษีภายใน 2 เดือนนับจากวันสิ้นสุดครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทจำกัด และห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นจะยื่นจากประมาณกำไรสุทธิ ซึ่งถ้าผู้ประกอบการประมาณกำไรสุทธิต่ำเกินกว่าร้อยละ 25 ของกำไรที่เกิดขึ้นจริงตอนสิ้นปี โดยไม่มีเหตุอันสมควรต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระ

by KKN การบัญชี

Uncategorized

กรรมการให้บริษัทกู้ยืมเงิน ต้องคิดดอกเบี้ยหรือไม่

ในเรื่องของกรรมการให้บริษัทกู้ยืมเงิน กรมสรรพากรไม่ได้มีการออกกฎบังคับให้ต้องคิดดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม ดังนั้นกรรมการจะคิดดอกเบี้ยหรือไม่คิดดอกเบี้ยก็ไม่ผิด แล้วคิดดอกเบี้ยกับไม่คิดดอกเบี้ย แบบไหนประหยัดภาษีกว่าครับ กรณีที่กรรมการใคิดดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม เวลาบริษัทจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับกรรมการจะต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 15 และนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายด้วยแบบ ภ.ง.ด.2 นั่นหมายความว่าถ้ากรรมการคิดดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมจะต้องเสียภาษี 15% ให้กับกรมสรรพากร ในส่วนนี้กรรมการสามารถเลือกให้ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% เป็น Final Tax ได้เลย ไม่ต้องนำรายได้ดอกเบี้ยไปรวมในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนสิ้นปี เมื่อบริษัทจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับกรรมการ ดอกเบี้ยจ่ายสามารถนำมาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทำให้กำไรสุทธิสำหรับคำนวนภาษีลดลงช่วยทำให้ประหยัดภาษีเงินได้นิติบุคคล 20% และช่วยทำให้กำไรสะสมลดลงทำให้ประหยัดภาษีเงินปันผลได้อีก 10% ของเงินปันผลที่จะต้องจ่าย (รวมแล้วการบันทึกดอกเบี้ยจ่ายช่วยประหยัดภาษีได้ถึง 28%)

by KKN การบัญชี

ภาษี

เปิดบริษัทต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

ข้อที่ควรรู้เกี่ยวกับภาษี ภาษีเงินได้นิติบุคคลกับภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ใช่ญาติกัน ดังนั้นในระหว่างเดือนเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว สิ้นปีก็ยังคงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลอยู่ดี ภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย คือภาษีนิติบุคคลที่บริษัทจ่ายล่วงหน้าให้กับกรมสรรพากร สิ้นปีคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้เท่าไหร่ ก็ให้นำภาษีถูกหัก ณ ที่จ่ายมาหักออก แล้วจ่ายส่วนต่างเพิ่ม กรณีภาษีถูกหักมากกว่าภาษีที่คำนวณได้สามารถขอคืนภาษีได้ (ถ้ากล้า) ภาษีมูลค่าเพิ่ม กับ ภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นญาติกัน รายได้ที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอีก หรือเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้วก็ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (เลือกเสียแค่ 1 ภาษีเท่านั้น

by KKN การบัญชี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

การขายสินค้าหรือการให้บริการที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี

โดยทั่วไปแล้วหลังจากที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักจำท่องเอาไว้ในใจเสมอว่า “ทุกครั้งที่ขายสินค้าหรือให้บริการ เราจะเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากลูกค้า และต้องออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้าเสมอ แม้ว่าลูกค้าจะไม่ต้องการก็ตาม” ในทางภาษีคำว่า ” ขาย ” หมายความว่า จำหน่าย จ่าย โอนสินค้า ไม่ว่าจะมีประโยชน์หรือค่าตอบแทนหรือไม่ จะเห็นว่าจากความหมายของขายมันดูโหดร้ายกับผู้ประกอบการมาก ยกตัวอย่างเช่น บริษัท A ในช่วงวิกฤตโควิด ได้บริจาคผ้าปากปิดโดยไม่ได้รับเงินตอบแทน ถ้ายึดนิยามคำว่าขาย จะถือว่าบริษัทได้จ่ายโอนสินค้าให้กับบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน ให้ถือเป็น “ขาย” ซึ่งจะต้องมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับกรมสรรพากร ซึ่งคงจะไม่มีคนอยากเป็นคนดีแน่ๆ ถ้าจะต้องเสียภาษีเพิ่มอีก กรมสรรพากรจึงได้กำหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี โดยออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เพื่อให้ความชัดเจนในเรื่องนี้ ซึ่งแอดมินได้รวบรวมข้อที่เกี่ยวข้องกับบริษัททั่วไปหรือที่เจอบ่อยเอาไว้ 14 ข้อ สำหรับท่านที่อยากอ่านฉบับเต็มเข้าไปดูได้ที่นี่ >> https://www.rd.go.th/3399.html

by KKN การบัญชี

เช่าซื้อ-ลิสซิ่ง

เช่าซื้อ VS ลีสซิ่ง กับประเด็นทางภาษี

เช่าซื้อ : คือการซื้อรถยนต์แบบผ่อนชำระ เมื่อผ่อนชำระหนี้ครบตามสัญญารถยนต์จะเป็นของบริษัททันที ลีสซิ่ง : คือการเช่ารถยนต์ โดยในสัญญาเช่าจะมีออฟชั่นพิเศษสามารถซื้อรถยนต์ได้ในราคาพิเศษ (ผู้เช่าจะตัดสินใจซื้อ หรือไม่ซื้อก็ได้) ในโลกของภาษีแบ่งรถยนต์ออกเป็น 2 ประเภทดังนี้ รถยนต์เชิงพาณิชย์ เช่น รถกระบะ รถบรรทุก พวกนี้เวลาซื้อขอคืนภาษีซื้อได้ และไม่มีเพดานเรื่องของการหักค่าใช้จ่าย รถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคน เช่น รถเก๋ง รถสปอร์ต รถเอสยูวี รถตู้ที่มีที่นั่งไม่เกิน10ที่นั่ง เวลาซื้อรถยนต์ไม่สามารถขอคืนภาษีซื้อได้ นอกจากนี้ยังมีการกำหนดเพดานค่าใช้จ่าย สามารถหักค่าเสื่อมราคาจากมูลค่าต้นทุนเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 1 ล้านบาทเท่านั้น โดยหักค่าเสื่อมราคาต่อปีสูงสุดได้ปีละ 200,000 บาท โดยจะต้องแบ่งหักเป็นค่าใช้จ่ายไม่น้อยกว่า 5 ปี หมายความว่าถ้าซื้อรถยนต์แบบเช่าซื้อราคา 3 ล้านบาท ก็สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายสูงสุดได้แค่ 1 ล้านบาทเท่านั้น ดังนั้นเวลาที่เราซื้อรถหรูที่ราคาเกิน 1 ล้านบาท เราก็จะรู้สึกขาดทุนที่ไม่สามารถนำมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย จึงเกิดการซื้อรถยนต์แบบลีสซิ่งขึ้นมา ลีสซิ่งถือเป็นการเช่า กรมสรรพากรได้กำหนดเพดานค่าใช้จ่ายสำหรับการเช่ารถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่งให้สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ไม่เกิน 1,200 บาทต่อวัน (หรือ 36,000 […]

by KKN การบัญชี

เอกสารทางภาษี

เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ต้องขอเอกสารอะไรคืนบ้าง

การขอเอกสารและข้อมูลการบันทึกบัญชีของกิจการคืนจากสำนักงานบัญชีเดิม เป็นเรื่องที่สำคัญมากที่ผู้ประกอบการจะต้องให้ความใส่ใจ เนื่องจากบางสำนักงานบัญชีจะทำการลบข้อมูลของลูกค้าหลังจากเลิกให้บริการ ทำให้เมื่อผู้ประกอบการไปขอข้อมูลเพิ่มในภายหลังจะไม่ได้รับข้อมูล เราดูมากันว่าจะต้องขออะไรคืนจากสำนักงานบัญชีเดิมบ้าง เอกสารประกอบการบันทึกบัญชีทั้งหมดที่เคยส่งให้กับสำนักงานบัญชี รายการบันทึกบัญชีที่กิจการได้ว่าจ้างสำนักงานบัญชี รหัสผ่านที่ใช้สำหรับยื่นภาษี ประกันสังคม และงบการเงิน โดยปกติแล้วถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงสำนักงานบัญชีใหม่ ผู้ประกอบการก็ควรที่จะขอเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีและรายการบันทึกบัญชีคืนจากสำนักงานบัญชีทุกปี เพื่อความปลอดภัยและเป็นการช่วยสำนักงานบัญชีลดภาระเรื่องสถานที่จัดเก็บเอกสาร ในการเปลี่ยนสำนักงานบัญชีใหม่ผู้ประกอบการอาจใช้วิธีร้องขอให้สำนักงานบัญชีใหม่เป็นผู้ติดต่อประสานงานกับสำนักงานบัญชีเก่าได้ และด้วยความเป็นสำนักงานบัญชีด้วยกัน การพูดคุยรายละเอียดงาน การขอเอกสารต่างๆ ก็จะเป็นไปอย่างราบรืนได้ข้อมูลที่ครบถ้วน

by KKN การบัญชี

เอกสารทางภาษี

เก็บเอกสารบัญชีจะต้องมีแฟ้มอะไรบ้าง

เนื่องจากมีผู้ประกอบการสอบถามเข้ามาว่าอยากจัดเก็บเอกสารให้เป็นระเบียบเรียบร้อย จะต้องมีแฟ้มอะไรบ้าง และแต่ละแฟ้มใช้เก็บเอกสารอะไรบ้าง ปล. เห็นแฟ้มเยอะแบบนี้ไม่ต้องตกใจนะครับแอดมิน เอาข้อมูลจากหลายๆ ที่มาจำรวมกันเลยดูเยอะมาก เอาเป็นว่าใช้เป็นแนวทางในการจัดเก็บเอกสารและปรับใช้ให้เข้ากับกิจการของตัวเองดีกว่าครับ

by KKN การบัญชี

50 ทวิ
Bitcoin
DBD Registered
e-filing
LTF
SME
SMEs
TFRS16
Uncategorized
Voucher
กท.20 ก
กรมสรรพากร
กองทุนรวม
ก่อสร้างอาคารบนที่ดินของกรรมการ
การขอรับบริจาค
การจัดสรรกำไรสะสม
การตัดหนี้สูญ
การบริจาค
การบันทึกบัญชีเงินสดรับ-จ่าย
การประมาณการกำไรสุทธิขาดไป
การลงทุน
การลงประกาศหนังสือพิมพ์
การลดหย่อนบริจาคทั่วไป
การเช่า
กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กิจการร่วมค้า และกิจการค้าร่วม
กิจการเพื่อสังคม
กิจการโรงแรม
ขนส่ง
ขอคืนเงินประกันไฟฟ้า
ขายกิจการ
ขายสินค้าต่ำกว่าทุน
ขายสินค้าส่งออกไปต่างประเทศ
ขายหนังสือแถมคอร์สเรียนออนไลน์
คริปโทเคอร์เรนซี
ความเสี่ยง-ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ความเสี่ยงของกิจการ
ค่าขนส่ง
ค้าขายออนไลน์
ค่าตรวจสุขภาพ
ค่าปรับ
ค่ารักษาพยาบาล
ค่ารับรอง
ค่าสินไหมทดแทน
ค่าเช่า
ค่าเช่ารับล่วงหน้า
ค่าเบี้ยประกันชีวิต
ค่าเสื่อมราคา
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายของกิจการ
ค่าใช้จ่ายทางภาษี
ค่าใช้จ่ายในการอบรม
งบการเงิน
งบการเงินส่วนบุคคล
จดทะเบียน
จดทะเบียนเพิ่มสาขา
จดภาษีมูลค่าเพิ่ม
จัดตั้งบริษัท
จ้างงานผู้สูงอายุ
จ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ
จ้างเด็กจบใหม่
ช้อปดีมีคืน
ดอกเบี้ยค้างรับ
ตราประทับ
ทรัพย์สิน
ทั่วไป
ทำประกันให้พนักงาน
ธุรกรรม
ธุรกิจขนส่ง
บริจาค
บริษัท กับ กรรมการ
บัญชีและภาษี
บิลเงินสด
ประกัน keyman
ประกันCovid-19
ประกันสังคม
ประชุมบริษัท
ประเภทเช็ค
ผลขาดทุน
ผู้ถือหุ้น
ผู้ประกอบการ
พร้อมเพย์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ฟรีแลนซ์
ภ.ง.ด. 1ก
ภ.ง.ด.1 ก
ภ.ง.ด.54
ภ.พ.36
ภาษี
ภาษี e-Service
ภาษีDropship
ภาษีกองทุนตราสารหนี้
ภาษีกับการออกจากงาน
ภาษีการรับมรดก
ภาษีของแพทย์
ภาษีขาย
ภาษีซื้อ
ภาษีซื้อต้องห้าม
ภาษีดอกเบีี้ย
ภาษีที่ดิน
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีนำเข้าสินค้า
ภาษีป้าย
ภาษีฟรีแลนซ์
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีรถยนต์
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีอากร
ภาษีอากรนำเข้า
ภาษีอีเพย์เมนต์
ภาษีเงินปันผล
ภาษีเงินได้จากการรับให้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ภาษีโรงแรม
มาตรการผู้กู้ยืม กยศ.
มูลค่าต้นทุน
ย้ายกิจการ
ยื่นแบบ
ยื่นแบบอย่างไรให้ประหยัดค่าปรับที่สุด
รถยนต์นั่ง
รถแลกเงิน
ระบบรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
ร้านกาแฟ-เสียภาษี
รายจ่ายค่าซ่อมแซม
รายจ่ายจริง
รายจ่ายต้องห้าม
รายได้อื่น
ลดหย่อนทางภาษี
ลดหย่อนภาษี
ลาออกจากงาน
วงจรเงินสด
วางระบบบัญชี
วางแผนภาษี
ศุลกากร
ส่งสินค้าทางไปรษณีย์
ส่งเสริมการขาย
สต็อกสินค้า
สรุปประเด็นภาษี
ส่วนลดกาาค้าและส่วนลดเงินสด
สวัสดิการพนักงาน
สวัสดิการอาหารพนักงาน
สัญญาขายฝาก
สัญญาซื้อ
สัญญาฝากทรัพย์
สัญญายินยอม
สัญญาเช่า
สัญญาเช่าที่ดิน
สำนักงานบัญชี
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
หนี้สิน
อั่งเปา
อากรแสตมป์
เกษตรกับวิธีเสียภาษี
เครื่องบันทึกการเก็บเงิน
เคลมภาษีซื้อ ค่าอบรม
เงินกู้ยืมกรรมการ
เงินค่าฝึกอบรม
เงินชดใช้ค่าเสียหาย
เงินทดรองจ่าย
เงินบำนาญชราภาพ
เงินบำเหน็จ
เงินปันผล
เงินมัดจำ
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
เงินสมทบประกันสังคม
เงินสำรองจ่าย
เงินเรียกเก็บล่วงหน้าจากการขายสินค้า
เงินได้พนักงาน
เงินได้พึงประเมิน
เช่าซื้อ-ลิสซิ่ง
เบี้ยประกัน
เบี้ยปรับ
เปิดบริษัท
เราเที่ยวด้วยกัน
เลขประจำตัวผู้เสียอากร
เลิกทำธุรกิจ
เสน่หากับภาษ๊
เอกสารการเบิกจ่ายเงิน
เอกสารทางภาษี
เอกสารบัญชี
แจกไฟล์
แรงงานต่างด้าว
โครงการคนละครึ่ง
โทษปรับ
ใบกำกับภาษี
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
ใบลดหนี้
ใบลดหนี้และใบเพิ่มหนี้
ใบสำคัญจ่าย
ใบหุ้น
ใบเสนอราคา
ใบเสร็จรับเงิน