เตือนอย่าลืมยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ภ.ง.ด.94)
ใครบ้างต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ? บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้ 40(5)-(8 ) ในระหว่างวันที่ 1 ม.ค. ถึง 30 มิ.ย. ของทุกปีเกิน 60,000 บาท สำหรับคนโสด หรือในกรณีมีคู่สมรสจะต้องมีรายได้รวมกันเกิน 120,000 บาท (นับเฉพาะเงินได้ 40(5) – (8 ) ไม่ต้องนำเงินเดือนประจำมารวมคิด) ยื่นแบบนำส่งภาษีได้ตั้งแต่เมื่อไหร่ ? สามารถยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. – 2 ต.ค. 2566 (กรณียื่นแบบทางอินเทอร์เน็ตจะยื่นได้ถึงวันที่ 9 ต.ค. 2566) *กรณีไม่ยื่นแบบโทษปรับ 2,000 บาท และมีดอกเบี้ย อัตรา 1.5% ต่อเดือน*
by KKN การบัญชี
ถูกรางวัลชิงโชคดีใจเมื่อได้รับ แต่เศร้าใจเมื่อโดนภาษีย้อนหลัง
ผู้ถูกรางวัลชิงโชคส่วนใหญ่มักคิดว่าเมื่อได้รับรางวัลชิงโชค แล้วโดนหักภาษี ณ ที่จ่าย 5% ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการเสียภาษีให้กรมสรรพากรเรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องทำอะไรอีกเพราะจ่ายภาษีไปแล้ว สิ่งที่ถูกต้องคือ เงินได้จากการถูกรางวัลชิงโชค เป็นเงินได้ประเภทที่ 8 ผู้มีเงินได้มีหน้าที่นำรายได้ดังกล่าวมายื่นภาษีประจำปีด้วย แม้จะเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 แต่ไม่สามารถเหลือหักค่าใช้จ่าย 60% ได้ ต้องหักค่าใช้จ่ายตามจริงเท่านั้น แต่ส่วนใหญ่ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะเป็น 0 เพราะการถูกรางวัลชิงโชคมักไม่มีต้นทุน
by KKN การบัญชี
จ่ายเงินเดือนพนักงาน คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายอย่างไร
กรมสรรพากรกำหนดให้เงินได้มาตรา 40(1) ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส พวกนี้จะต้องคำนวนภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามอัตราก้าวหน้า หักภาษีตามอัตราก้าวหน้า คือ การประมาณรายได้พนักงานทั้งปี (อ้างอิงจากฐานเงินเดือนพนักงาน) แล้วหักด้วยค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนเพื่อหาเงินได้สุทธินำส่งนำไปคำนวณภาษี นำเงินได้สุทธิมาคูณอัตราภาษีตามอัตราก้าวหน้า (0%-35%) เมื่อได้ยอดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จะต้องเสีย จึงนำมาหารเฉลี่ยตามงวดที่จ่าย สำหรับบริษัทไหนที่มีจำนวนพนักงานเยอะ และการจ่ายค่าจ้างในแต่ละเดือนมีจำนวนไม่เท่ากัน เช่น มีเงินค่าคอมมิชชัน เบี้ยขยัน ทำให้การคำนวนภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นเรื่องยาก แต่เรื่องนี้จะเป็นเรื่องง่ายมากเมื่อใช้โปรแกรมบัญชี PEAK ซึ่งจะมีระบบ PEAK Payroll ให้ใช้งานฟรีเมื่อสมัครแพ็กเกจ PEAK PRO Plus คำนวนเงินเดือนอัตโนมัติ จ่ายเงินเดือนพร้อมลงบัญชีอัตโนมัติ สร้างไฟล์จ่ายเงินเดือนธนาคารออนไลน์สนใจทดลองใช้ฟรี 30 วัน ไม่มีข้อผูกมัดใดๆ >>https://bit.ly/3Hr5Vrg
by KKN การบัญชี
เจ้าของบ้านไม่ให้หัก ณ ที่จ่าย + ไม่อยากมีข้อมูลรายได้ในระบบกรมสรรพากรด้วย 😂 ทำอย่างไรดี???
วันนี้แอดมินมีแนวทางมาช่วยแก้ปัญหาสำหรับผู้ประกอบการที่เจอปัญหาเจ้าของบ้านหรือเจ้าของตึกที่เราต้องการจะเช่าต้องการหนีภาษีแบบสุดซอย ท่านใดมีไอเดียอื่นลองเสนอแนะนำเพิ่มมาได้นะครับ
by KKN การบัญชี
รู้หรือไม่❓ ฟรีแลน์ซ์โดนหักภาษี ณ ที่จ่าย สามารถขอคืนภาษีได้นะ
เวลาฟรีแลนซ์รับจ้างทำงานให้กับบริษัทต่างๆ เมื่อบริษัทจ่ายชำระเงินค่าบริการให้กับฟรีแลนซ์ ส่วนใหญ่แล้วฟรีแลนซ์จะได้รับเงินไม่เต็มจำนวนค่าบริการที่ตกลงกันไว้ เนื่องจากโดนหักภาษีเงินได้ ณ ที่่จ่ายเอาไว้บางส่วน เมื่อบริษัทหักภาษี ณ ที่จ่ายจะส่งหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้กับฟรีแลนซ์ เป็นเอกสารใบเล็กๆ มา 1 ใบเรียกว่า “หนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)” แอดมินแนะนำให้เก็บรวบรวมหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ที่ได้รับจากผู้ว่าจ้างในระหว่างปี จากนั้นมารวมยอดข้อมูลรายได้ และภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย ที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อเป็นข้อมูลในการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี สำหรับฟรีแลนซ์ที่มีรายได้ไม่สูงนัก มักจะได้ภาษีที่ถูกหักเอาไว้คืนจากกรมสรรพากร (ในส่วนนี้แอดมินลองคำนวนแล้วถ้ารายได้ไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี เวลายื่นภาษีมักจะได้ภาษีที่โดนหัก ณ ที่จ่ายไว้อื่น)
by KKN การบัญชี
ภาษี ณ ที่จ่ายกรณีการรับซื้อฝากที่ดิน
บริษัท(ผู้รับซื้อฝาก)– รับซื้อฝากอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน อาคาร– ผู้รับซื้อฝากมีหน้าที่คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในขณะที่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม– นำส่งต่อเจ้าพนักงานที่ดินโดยไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีผู้ขายฝากอสังหาริมทรัพย์เป็นบุคคลธรรมดา หักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย(ตามมาตรา 50 (5) แห่งประมวลรัษฎากร)ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) เฉพาะที่จ่ายให้แก่ผู้รับ ซึ่งขายอสังหาริมทรัพย์ ให้คำนวณหักดังต่อไปนี้ สำหรับอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา> ให้คำนวณภาษี (ตามเกณฑ์ในมาตรา 48(4) (ก))ให้หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 50 ของเงินได้ เหลือเท่าใดถือเป็นเงินได้สุทธิ แล้วหารด้วยจำนวนปีที่ถือครอง ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้คำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ ได้เท่าใดคูณด้วยจำนวนปีที่ถือครอง ผลลัพธ์ที่ได้เป็นเงินภาษีที่ต้องเสีย เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น (มาตรา 48(4) (ก)) ที่มาhttps://www.facebook.com/Suthep.Pongpitak/posts/3373724149345204https://www.rd.go.th/publish/5937.0.htmlhttps://www.rd.go.th/publish/5937.0.html
by KKN การบัญชี
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีแจกสินค้าเพื่อส่งเสริมการขาย และการโฆษณา
จัดรายการส่งเสริมการขายให้แก่ : ผู้แทนจำหน่าย ตัวแทนจำหน่ายรายย่อย หรือ ร้านค้าซึ่งได้ซื้อสินค้าไปเพื่อขายต่อ เช่น นำผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ มาตั้งโชว์หน้าร้านเพื่อให้ผู้บริโภคเห็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท หรือสะสมยอดซื้อตามเป้า ร้านค้าฯ ซึ่งได้ซื้อสินค้าไปโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปขายต่อ ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม บริษัทผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3 จัดรายการส่งเสริมการขายให้แก่ : ลูกค้าที่เป็นผู้บริโภคโดยตรง เช่น เล่นเกมส์ ชิงโชค สะสมฝาเพื่อแลกของพรีเมี่ยม ลูกค้าที่เป็นผู้บริโภค เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือภาษีเงินได้นิติบุคคลเฉพาะ ที่เป็นรางวัลในการประกวด การแข่งขัน การชิงโชค หรือมีลักษณะทำนองเดียวกัน ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 5 จัดรายการส่งเสริมการขายให้แก่ : ลูกค้าที่เป็นผู้บริโภคโดยตรง เช่น แจกแพ็คเกจทัวร์เมื่อซื้อสินค้าครบตามเป้า บริษัทมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย […]
by KKN การบัญชี
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีผู้มีเงินได้ครบเกษียณอายุงานระหว่างปี
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในเดือนสุดท้ายที่ผู้มีเงินได้ออกจากงานระหว่างปี ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีสิทธิที่จะคำนวณภาษี เพื่อให้เงินภาษีที่หักไว้ถูกต้องครบถ้วนตามรายการค่าลดหย่อนที่แท้จริงตามหลักฐานที่ผู้มีเงินได้นำมาแสดง โดยนำเงินภาษีที่หักไว้ไม่ครบถ้วนหรือเกินในเดือนก่อน ๆ มารวมหรือหักกับภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายไว้ครั้งสุดท้าย ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้หักและนำส่งไว้เท่านั้น ตัวอย่าง – กรณีถูกหักภาษีในแต่ละเดือนไว้ขาด ตัวอย่าง – กรณีถูกหักภาษีในแต่ละเดือนไว้เกิน
by KKN การบัญชี
ภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ผู้หักภาษีไม่ได้นำส่งกรมสรรพากร ขอคืนภาษีซื้อได้ไหม?
กรณีผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายและได้ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) ให้แก่ผู้มีเงินได้แล้ว แต่ไม่นำเงินส่งกรมสรรพากรหรือนำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้ดังกล่าวจะต้องรับผิดแต่เพียงผู้เดียว ผู้มีเงินได้จะพ้นความรับผิดในจำนวนเงินภาษีเท่ากับจำนวนที่ถูกหักไว้ (ตามมาตรา54) และ มีสิทธินำเงินที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามจำนวนที่ระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย มาถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีเงินได้ สรุป : สามารถขอคืนได้ครับ
by KKN การบัญชี
จ้างผลิตเสื้อบริษัท ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ ?
ตัวอย่าง : บริษัท คิดไม่ออก จำกัด ได้ไปว่าจ้างร้านขายเสื้อผ้าแห่งหนึ่ง ให้ช่วยจัดทำเสื้อบริษัทเพื่อจะไม่เหมือนกับของใครในประเทศ แบบนี้มีเจ้าเดียวในประเทศ ในการออกแบบบริษัทฯ ได้เลือกชนิดผ้าที่ร้านขายเสื้อผ้ามีวัตถุอยู่แล้วจะได้ไม่ต้องซื้อใหม รวมถึงบล็อกเสื้อผ้าก็เป็นแบบปกติที่ร้านขาย คำตอบ กรณีห้างฯ ได้ผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายเป็นปกติอยู่แล้ว ไม่ว่าลูกค้าจะสั่งซื้อสินค้าตามรูปแบบที่ห้างฯ จัดเตรียมไว้หรือลูกค้าเป็นผู้ออกแบบเอง แต่ใช้วัตถุดิบในการผลิตของห้างฯ ที่จัดเตรียมและมีไว้ให้เลือก การรับทำสินค้าดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการขายสินค้า ไม่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528
by KKN การบัญชี
จ่ายค่าบริการลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย นำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่
ทุกครั้งที่นิติบุคคลจ่ายค่าบริการ จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป กรณีลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย จะสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่?หลักการพิจารณาให้แยกพิจารณาทีละภาษี ภาษีเงินได้นิติบุคคล •ค่าบริการนั้นเกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ •รู้ว่าผู้ให้บริการคือใคร (สามารถกรอกข้อมูลหักภาษี ณ ที่จ่ายได้) •มีการจ่ายเงินไปจริง *นำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้*เป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรมสรรพากรบอกว่าถ้าเราลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือผู้ให้บริการไม่ยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่าย เราจะต้องควักเงินจ่ายค่าภาษีแทน T_T * ภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่เราควักจ่ายแทน ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามเพราะไม่เกี่ยวข้องกับกิจการ (ยกเว้นมีสัญญาตั้งแต่ต้นว่ากิจการจะเป็นผู้ออกภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้) จ่ายค่าบริการลืมหักภาษี ณ ที่จ่ายเลือกอะไรดีระหว่าง 1.โยนบิลค่าใช้จ่ายทิ้ง2.ควักเงินออกภาษีหัก ณ ที่จ่ายแทน หลักคิดคือ ถ้าบริษัทมีผลประกอบการที่กำไร ปกติเมื่อบริษัทมีกำไรจะเสียภาษีในอัตรา 15-20% ของกำไรทางภาษี ดังนั้นถ้าเราโยนบิลค่าใช้จ่ายทิ้งจะส่งผลทำให้เราเสียภาษีเพิ่ม 15-20% เลยทีเดียว ในขณะที่ภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่นำส่งแค่ 1-5% […]
by KKN การบัญชี
ภาษีเงินได้ เป็นภาษีทีเก็บจากเงินได้ ดังนั้นใครที่มีรายได้จะต้องเสียภาษี บุคคลธรรมดา – เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินได้สุทธิ (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) นิติบุคคล – เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิทางภาษี ภาษีมูลค่าเพิ่ม มีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นภาษีที่จะต้องจ่ายทันทีเมื่อมีรายได้จากการให้บริการ โดยนิติบุคคลผู้จ่ายเงินได้เป็นผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ภาษีอากรแสตมป์ ตราสารที่จะต้องติดอากรแสตมป์ ได้แก่ สัญญาเช่าโรงเรือน, เช่าซื้อทรัพย์สิน,จ้างทำของ, เงินกู้ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ได้แก่ เกษตรกรรม, ที่อยู่อาศัย, อื่น ๆ (พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม) และที่ดินรกร้างว่างเปล่า โดยคิดอัตราภาษีเป็นรูปแบบขั้นบันไดเพิ่มขึ้นตามมูลค่าราคาประเมิน ภาษีศุลกากร เรียกเก็บจากการนำสินค้า หรือสิ่งของผ่านเข้าออกจากเขตแดนหนึ่งไปยังอีกเขตแดนหนึ่ง ภาษีสรรพสามิต เรียกเก็บจากสินค้าที่ผลิตหรือนำเข้าและการให้บริการในทางธุรกิจตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ภาษีน้ำมัน, ภาษีน้ำหอม, ภาษีรถยนต์ ภาษีธุรกิจเฉพาะ เรียกเก็บจากการประกอบธุรกิจธนาคารหรือประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์, ประกันชีวิต, โรงรับจำนำ รวมถึงการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นการค้าหรือหากำไร […]
by KKN การบัญชี
ภาษีหัก ณ ที่จ่ายอธิบายแบบง่ายๆ ได้ใจความ
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไรภาษีที่ต้องจ่ายไปในทันทีเมื่อเรามีรายได้ แต่นิติบุคคลผู้จ่ายเงินจะเป็นผู้หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งภาษีให้กรมสรรพากร แทนผู้มีเงินได้ (ผู้จ่ายเงินโครตซวยยย อยู่ดีๆมีภาระขึ้นมา) หลักจำจ่ายๆนิติบุคคลเมื่อจ่ายค่าบริการจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งให้กรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป***บุคคลธรรมดาจ่ายเงินไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย นิติบุคคลจะทำภาษีหัก ณ ที่จ่ายจะต้องรู้ 2 เรื่อง 1.ผู้รับเงินคือใคร <<<< กระทบต่อชนิดแบบที่ยื่น2.ประเภทเงินได้ที่จ่าย <<<< กระทบต่ออัตราภาษีที่จะต้องหัก ตัวอย่าง : วันที่ 18 ส.ค. 60 บริษัทจ่ายค่าบริการทำบัญชี ให้กับบริษัทบัญชี จำนวน 2,000 บาท
by KKN การบัญชี
พนักงานจ่ายค่าบริการแทนบริษัทต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่?
กรณีที่ 1 บริษัทได้ออกใบสั่งซื้อหรือสั่งจ้างโดยตรง และให้พนักงานยืมเงินทดรองไปจ่ายให้กับผู้รับจ้างตามใบสั่งซื้อหรือสั่งจ้างนั้น บริษัทมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(4) หรือมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร กรณีที่ 2 กรณีพนักงานของบริษัท สำรองจ่ายเงินส่วนตัวเพื่อดำเนินการ จัดซื้อหรือจัดจ้างไปก่อนและบริษัทมิได้เป็นผู้ออกใบสั่งซื้อหรือสั่งจ้างโดยตรง พนักงานไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย (เลขที่หนังสือ: กค 0706/6175)
by KKN การบัญชี