หน้าที่ที่ต้องรู้เมื่อบุคคลธรรมดาเปลี่ยนเป็นนิติบุคคล
1.เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี และหากเป็นผู้ประกอบกิจการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเป็นปกติธุระเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องอื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีรายรับเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี 2.เสียภาษีจากกำไรสุทธิ (กรณีขาดทุนสุทธิไม่ต้องเสียภาษี) ผลขาดทุนสุทธิยกมาได้ไม่เกิน 5 ปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน มาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้โดยคำนวณอัตราภาษีดังนี้กรณีทั่วไป เสียภาษีจากกำไรสุทธิทั้งจำนวนร้อยละ 20กรณี SMEs – กำไรสุทธิไม่เกิน 300,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี – กำไรสุทธิเกิน 300,000 บาท แต่ไม่เกิน 3 ล้านบาทเสียภาษีจากกำไรสุทธิร้อยละ 15– กำไรสุทธิเกิน 3 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษีจากกำไรสุทธิร้อยละ 20 3.ต้องจัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ขึ้นอยู่กับประเภทนิติบุคคลที่จดทะเบียนว่าเป็นแบบไหน (ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัท ฯลฯ) บัญชีที่ต้องจัดทำประกอบด้วย – งบแสดงฐานะการเงิน – งบกำไรขาดทุน – งบกระแสเงินสด– งบการเงินรวม– […]
by KKN การบัญชี
บุคคลธรรมดาก็ต้องทำบัญชีด้วยมันพีคมากกกก
สรุปภาระบุคคลธรรมดากับการทำบัญชี จัดทำรายงานเงินสดรับ จ่ายไม่จำเป็นต้องมีเอกสารประกอบทุกรายการ (กรณีเลือกค่าใช้จ่ายแบบเหมา) แนบเอกสารประกอบค่าใช้จ่ายทุกรายการ(กรณีเลือกค่าใช้จ่ายตามจริง) จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องทำเอกสารดังต่อไปนี้เพิ่ม รายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ รายละเอียดสินค้าคงเหลือ ณ วันที่ 30 มิถุนายน และวันที่ 31 ธันวาคม
by KKN การบัญชี
สามีและภรรยาประกอบกิจการร่วมกัน เสียภาษีอย่างไร?
ภาษีมูลค่าเพิ่มหากกิจการมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา• สามีและภรรยาสามารถยื่นภาษีรวมกันได้ (แต่ไม่ควรทำจะเสียภาษีเยอะไปทำไม) • ถ้าแบ่งรายได้กันได้อย่างชัดเจน ว่าเป็นรายได้ของสามีจำนวนเท่าไหร่ และของภรรยาจำรวนเท่าไหร่ ให้แต่ละคนแยกกันยื่น • ถ้าแบ่งรายได้กันไม่ได้ให้แบ่งกันคนละครึ่ง และแยกกันยื่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
by KKN การบัญชี
ถ้าขายของออนไลน์มีรายได้ 1.7 ล้านบาทต่อปี บุคคลธรรมดา หรือ บริษัท ใครเสียภาษีมากกว่ากัน?
ต้องมีการสมมุติโจทย์เพิ่มเติมดังนี้ • รายได้จากการขายของออนไลน์ 1,700,000 บาท • ค่าใช้จ่ายตามจริง 1,190,000.00 บาท (คิดอัตรากำไร 30%) เรามาลองคำนวณกันเลยดีกว่าครับ ** ใครเลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริงจะต้องมีการบันทีกรายจ่ายพร้อมเอกสารประกอบ เผื่อโดนขอตรวจสอบ โดยปกติไม่ค่อยมีคนเลือกวิธีนี้
by KKN การบัญชี
9 เทคนิคในการวางแผนภาษีบุคคลธรรมดา
1. เปลี่ยนรายได้ให้เป็นรายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี ตัวอย่างเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี •กำไรจากการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ (แต่เสี่ยงขาดทุน) •ดอกเบี้ยสลากออมสิน หรือดอกเบี้ยเงินฝากออมสินของรัฐบาลเฉพาะประเภท ฝากเผื่อเรียก •ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่ได้รับจากสหกรณ์ •เงินรางวัลที่ถูกหวย (บนดิน) •เงินประกันที่บริษัทประกันจ่ายให้ •รายได้ที่คนอายุ 65 ปีขึ้นไป หรือคนพิการได้รับให้ยกเว้นรายได้ 190,000 บาทแรก ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.ar.co.th/kp/th/114 2. การเลือกใช้ประโยชน์จากเกณฑ์เงินสด รายได้บุคคลธรรมดาสรรพากรจะใช้เกณฑ์เงินสด หมายความว่าบุคคลธรรมดาได้เงินจริงปีไหนก็ถือเป็นรายได้ปีนั้น ตัวอย่าง : เรามีรายได้ก้อนใหญ่ 4 ล้านบาท ถ้าเรากระจายการรับเงินเป็น2 งวด คือปี2560 จำนวน 2 ล้านบาท, ปี2561 จำนวน 2 ล้านบาท เราจะเสียภาษีน้อยกว่ารับก้อนเดียว 4 ล้านบาทในปี2560 3. เลือกเสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่า ภาษีบุคคลธรรมดามีอัตราภาษีตั้งแต่ 5%-35% แต่มีรายได้บางประเภทที่เลือกเสียภาษีในอัตราที่ลดลงได้เช่น รายได้เงินปันผล กฎหมายให้สิทธิผู้มีเงินได้เลือกเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายในอัตรา 10% หรือจะเลือกนำเงินปันผลนั้นไปรวมเงินได้ปลายปีเพื่อคำนวณภาษี 4. แตกหน่วยภาษี […]
by KKN การบัญชี
ภาษีเงินได้ เป็นภาษีทีเก็บจากเงินได้ ดังนั้นใครที่มีรายได้จะต้องเสียภาษี บุคคลธรรมดา – เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินได้สุทธิ (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) นิติบุคคล – เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิทางภาษี ภาษีมูลค่าเพิ่ม มีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นภาษีที่จะต้องจ่ายทันทีเมื่อมีรายได้จากการให้บริการ โดยนิติบุคคลผู้จ่ายเงินได้เป็นผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ภาษีอากรแสตมป์ ตราสารที่จะต้องติดอากรแสตมป์ ได้แก่ สัญญาเช่าโรงเรือน, เช่าซื้อทรัพย์สิน,จ้างทำของ, เงินกู้ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ได้แก่ เกษตรกรรม, ที่อยู่อาศัย, อื่น ๆ (พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม) และที่ดินรกร้างว่างเปล่า โดยคิดอัตราภาษีเป็นรูปแบบขั้นบันไดเพิ่มขึ้นตามมูลค่าราคาประเมิน ภาษีศุลกากร เรียกเก็บจากการนำสินค้า หรือสิ่งของผ่านเข้าออกจากเขตแดนหนึ่งไปยังอีกเขตแดนหนึ่ง ภาษีสรรพสามิต เรียกเก็บจากสินค้าที่ผลิตหรือนำเข้าและการให้บริการในทางธุรกิจตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ภาษีน้ำมัน, ภาษีน้ำหอม, ภาษีรถยนต์ ภาษีธุรกิจเฉพาะ เรียกเก็บจากการประกอบธุรกิจธนาคารหรือประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์, ประกันชีวิต, โรงรับจำนำ รวมถึงการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นการค้าหรือหากำไร […]
by KKN การบัญชี
บุคคลธรรมดาทำธุรกิจเสียภาษีอะไรบ้าง
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา – เสียภาษีจากเงินได้สุทธิ (เงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน) ภาษีมูลค่าเพิ่ม– รายได้จากการขายหรือบริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีจะต้องVAT ภาษีโรงเรือนและที่ดิน– ให้เช่าหรือให้ผู้อื่นอยู่อาศัยโดยไม่คิดค่าเช่า – ใช้เป็นสำนักงาน ใช้เป็นสถานประกอบพาณิชย์ ภาษีป้าย– ป้ายที่ใช้เพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้า จะต้องเสียภาษีป้าย 1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การหักค่าใช้จ่าย สิ่งที่ควรระวังสำหรับบุคคลธรรมดาในปี 25601.การหักค่าใช้จ่ายเหมาจ่ายปี 2560 มีการปรับลดลง 85% >> 60%2.สรรพากรบังคับให้ใครที่มีรายได้ 40(5)–(8) จะต้องจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย 2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม หลักจำง่ายๆ : ใครก็ตามที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีจะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อจดภาษีมูลค่าเพิ่มคุณมีหน้าที่หลักๆดังนี้ 1.เรียกเก็บภาษีขายในอัตรา 7% จากผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ 2.ออกใบกำกับภาษีขายให้กับลูกค้า 3.จัดทำรายงานภาษีซื้อและภาษีขาย พร้อมนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับกรมสรรพากร ไม่เกินวันที่ 15 ของเดือนถัดไป 4.จัดทำสต็อกสินค้า ณ วันที่ 31 มิถุนายน และ 30 ธันวาคม สรุปการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม Note: […]
by KKN การบัญชี
กรรมการยินยอมให้ใช้สถานที่ โดยไม่คิดค่าเช่า
ผู้ใช้สถานประกอบการ (ผู้เช่า) ภาษีเงินได้นิติบุคคลการที่บริษัทใช้สถานประกอบการโดยไม่เสียค่าเช่า แสดงว่าบริษัทมีผลประโยชน์อื่นใดจากการได้ใช้สถานประกอบการโดยไม่เสียเงิน เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรอาจจะประเมิณเป็นรายได้อื่น เพื่อนำไปรวมในการคำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ผู้ให้ใช้สถานประกอบการ (ผู้ให้เช่า) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การให้เช่าโดยไม่คิดค่าตอบแทนโดยไม่มีเหตุอันควรเจ้าหน้าที่สรรพากรอาจประเมินเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินตามราคาตลาด เพื่อการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 40 (5) วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
by KKN การบัญชี
บุคคลธรรมดาทำแบบนี้เสี่ยงโดนสรรพากรตรวจ
5 ข้อที่ควรระวังของบุคคลธรรมดา 1.มีรายได้ค่าบริการและโดนหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ไม่ได้ยื่นภาษีเงินได้ประจำปี 2.ยื่นภาษีบุคคลธรรมดาสิ้นปี น้อยกว่ายอดรายได้ที่โดนหักภาษี ณ ที่จ่าย 3.มีรายได้ในแบบ ภ.ง.ด.91 มากกว่า 1,800,000 บาท แต่ไม่ได้จด VAT 4.ยอดขายตามแบบ ภ.พ.30 มากกว่าเงินได้ตามแบบ ภ.ง.ด.91 5.ยื่นภาษีโดนเลือกใช้ค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นสมควร แทนค่าใช้จ่ายเหมาจ่าย
by KKN การบัญชี
ทำธุรกิจขาดทุนต้องเสียภาษีหรือไม่ ?
บุคคลธรรมดา เสียภาษีขั้นต่ำอัตรา 0.5% ของเงินได้ถ้าภาษีที่คำนวนได้ไม่ถึง 5,000 บาท ได้รับยกเว้นภาษี ผลขาดทุนสะสมไม่สามารถยกไปหักกับเงินได้ในปีถัดไป นิติบุคคล ไม่เสียภาษี ผลขาดทุนสามารถนำไปหักจากกำไรในปีอื่นได้ไม่เกิน 5 ปี
by KKN การบัญชี
เชื่อว่าผู้ประกอบการทุกคนจะต้องเจอปัญหานี้ไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน ผู้ประกอบการบางคนเจอจนท้อใจอุตส่าห์อยากจะเสียภาษีถูกต้องทำไมเราต้องมาเจอกับผู้ขายที่หนีภาษีไม่ยอมออกบิลให้ด้วย (ชีวิตมันเศร้ายิ่งกว่าละครช่อง 7) วันนี้ผมมาเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นให้ทุกคนลองไปใช้ดูกันครับ แม้จะยุ่งยากขึ้น แต่ก็ดีกว่าไม่มีค่าใช้จ่ายให้บันทึกบัญชี แต่อย่างไรก็ตามวิธีแก้ไขที่ได้ผลจริงๆคือการเปลี่ยนไปซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ขายที่ออกบิลถูกต้องไม่หนีภาษีครับ ใบสำคัญรับเงิน : ใช้กรณีผู้รับเงินไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินให้ได้ แต่ยินยอมจะลงลายมือชื่อในช่อง “ผู้รับเงิน” (ขอขอบคุณภาพจากกรมสรรพากร) ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน : ใช้กรณีใช้ในกรณีกิจการจ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือบริการเบ็ดเตล็ดแต่ไม่สามารถเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการได้ ต้องให้พนักงานของกิจการเป็นผู้รับรองการจ่ายเงินดังกล่าว (ขอขอบคุณภาพจากรมสรรพากร)
by KKN การบัญชี
บุคคลธรรมดา กับ นิติบุคคล(SME) ใครเสียภาษีมากกว่ากัน?
และโดยทั่วไปเวลาที่วางแผนภาษีเรามักจะเทียบเฉพาะภาษีเงินได้เท่านั้น โดยลืมคิดถึงภาษีเงินปันผลอีก 10% เอาเข้ามารวมด้วย ทำให้เกิดการวางแผนภาษีที่ผิดพลาด รู้หรือไม่? เมื่อเราทำธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคล (บริษัท/หจก.) เมื่อกิจการมีกำไรจากการดำเนินงานเจ้าของจะไม่สามารถนำเงินของกิจการออกมาใช้ได้ตามใจชอบ ถ้าอยากเอาผลกำไรของบริษัทออกมาใช้ส่วนตัว จะต้องทำการ “จ่ายเงินปันผล” รายได้เงินปันผล ผู้รับเงินปันผลจะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% ของเงินปันผลที่ได้รับ เป็นเหตุผลที่เวลาพิจารณาว่าบุคคลหรือนิติบุคคลใครเสียภาษีมากกว่ากันจะต้องนำภาษีเงินปันผลมารวมในการคิดด้วย วันนี้ผมได้ทำสรุปเป็นภาพให้ทุกคนได้เห็นกันชัดๆ ไปเลยว่าแต่ละช่วงกำไร บุคคล กับ นิติบุคคลต้องเสียภาษีเท่าไหร่ เพื่อใช้ในการวางแผนภาษีได้ถูกต้องครับ
by KKN การบัญชี
ซื้อของตามตลาดไม่มีบิล ทำอย่างไรดี?
หนึ่งในปัญหาที่ทำให้ผู้ประกอบการหลายคนปวดหัวที่สุดปัญหาหนึ่งก็คือ “จ่ายเงิน ซื้อของแต่ไม่ได้รับบิล หรือใบเสร็จจากผู้ขาย” เพราะปัญหานี้ทำให้ผู้ประกอบการไม่มีค่าใช้จ่ายไปหักรายได้ ส่งผลทำให้ผลประกอบการมีกำไรเสียภาษีมากกว่าความเป็นจริงของกิจการ และทำให้เสียภาษีมากขึ้น ยกตัวอย่างให้เห็นภาพกับความจริงของการซื้อของจากตลาด ในกรณีซื้อของจากตลาดสดแล้วไม่มีเอกสารใบเสร็จรับเงินจากแม่ค้า ซึ่งเรื่องนี้กรมสรรพากรได้เป็นผู้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้กับผู้ประกอบการ คือ สามารถใช้เอกสาร “ใบรับรองแทนใบเสร็จ” โดยให้พนักงานที่ไปซื้อสินค้าเขียนรายการสินค้าที่ซื้อ และให้ผู้ซื้อเซ็นชื่อรับรอง เพื่อที่ผู้ประกอบการทุกท่านจะได้บันทึกบัญชีตามผลประกอบการที่แท้จริงได้ค่ะ ในบางครั้งเจ้าหน้าที่อาจจะไม่มั่นใจว่าเราซื้อสินค้าหรือจริงไม่ เราสามารถเพิ่มความมั่นใจให้เจ้าหน้าที่ได้ค่ะ โดยเก็บหลักฐานเหล่านี้แสดงต่อเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร เพียงเท่านี้ผู้ประกอบการก็สามารถซื้อสินค้าได้อย่างสบายใจ และยังนำมาเป็นรายจ่ายทางภาษีได้อีกด้วยค่ะ
by KKN การบัญชี
ขายของในตลาดต้องเสียภาษีหรือไม่
มีลูกเพจขายของในตลาดสด inbox มาสอบถามว่าขายของในตลาดจะต้องเสียภาษีหรือไม่ เจ้าของตลาดบอกว่าจะไปคุยกับสรรพากรให้เหมาร้านละ 4,000 บาท ตอนนี้เรียกได้ว่าขวานป้า สะท้านทุกวงการไม่เว้นแม้กระทั้งสรรพากร แต่จริงๆ อาจจะไม่ได้เกี่ยวกับป้าก็ได้นะครับเพราะช่วงต้นปี ผมก็ได้ข่าวว่าสรรพากรจะเริ่มเก็บภาษีกับร้านค้าที่ขายของในตลาด อาจจะจังหวะเวลาพอดีกันก็ได้ 1.ขายของในตลาดจะต้องเสียภาษีหรือไม่บุคคลธรรมดามีรายได้จะต้องเสียภาษีทั้งหมดครับ ฝรั่งมักจะบอกว่าคนเรามีสองสิ่งที่จะหนีไม่พ้นก็คือความตายกับภาษี ในส่วนของภาษีที่ทางตลาดจะช่วยคุยกันร้านละ 4,000 บาท อันนี้ผมไม่แน่ใจว่า 4,000 บาทเข้ารัฐทั้งหมดรึเปล่า เพราะประเทศไทยไม่มีภาษีเหมานะ สำหรับกรณีนี้ผมแนะนำให้คนขายคำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยนำรายได้จากการขายทั้งหมด มาหาร 2 (เพราะทำ 2 คนกับแฟนรายได้จึงแบ่งครึ่งกัน) แล้วคำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาว่ามากหรือน้อยกว่า 4,000บาท ถ้าเสียภาษีน้อยกว่า 4,000บาท ก็ไปยื่นเองจะประหยัดกว่าครับ แต่ถ้าคำนวนแล้วเสียภาษีมากกว่า 4,000บาท ก็ให้ทางตลาดไปจัดการครับ 2.จ่ายค่าเช่าล็อคในตลาด แล้วต้องเสียภาษีอีกหรือไม่ค่าเช่าล็อคเจ้าของตลาดเป็นคนได้เงิน รัฐยังไม่ได้เงินจากคุณเลยครับ ดังนั้นก็เสียภาษีด้วยครับ แย่งส่วนกันครับ 3.ผมต้องไปจดทะเบียนร้านค้ากับกรมสรรพากรหรือไม่บุคคลธรรมดาเปิดร้านขายของ จะต้องไปจดทะเบียนร้านค้าด้วยครับ แต่ไม่ใช่ไปจดที่สรรพากรนะครับ ต้องไปจดทะเบียนร้านค้าที่สำนักงานเขต หรือเทศบาลครับ ต่อไปมาลุ้นกันว่าธุรกิจใดจะเป็นรายต่อไปหลังจากร้านทอง ร้านขายยา ร้านขายของในตลาด ให้ผมเดาคงอพาร์ทเม้นให้เช่าแน่ๆ
by KKN การบัญชี