จ่ายค่าบริการให้ Platform ต่างประเทศ ต้องยื่นภาษีอะไรบ้าง ?
ปัจจุบันนี้กิจการต่างๆ มีรายการจ่ายค่าบริการให้กับ Platform ต่างประเทศกันเป็นเรื่องปกติ ค่าบริการหลักๆที่พบจะมีด้วยกัน 2 ค่าบริการได้แก่ ➊ ค่าโฆษณา ➋ ค่าสิทธิการใช้โปรแกรม ค่าโฆษณา เป็นเงินได้ 40 (8) นิติบุคคลที่จ่ายค่าบริการไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากร ค่าสิทธิการใช้โปรแกรม เป็นเงินได้ 40(3) นิติบุคคลเมื่อจ่ายค่าสิทธิมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรด้วยแบบ ภ.ง.ด.54 โดยอัตราหักภาษี ณ ที่จ่ายปกติจะอยู่ที่ 15% แต่อย่างไรก็ตามก่อนจ่ายเงินควรจะเช็คว่าผู้ให้บริการอยู่ในประเทศที่มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับไทยหรือไม่ เผื่อจะได้ลดอัตราหักภาษี ณ ที่จ่ายลง สำหรับในเรื่องของการยื่นแบบ ภ.พ.36 ถ้ามีบริการถูกใช้ในประเทศไทย กิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แจ้งขอมูล TAX ID กับ Platform ทาง Platform จะเรียกเก็บเฉพาะค่าบริการ (ไม่ได้เก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม) กิจการมีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.พ.36 จ่าย VAT 7% แทน Platform ต่างประเทศ และนำมาใช้เป็นภาษีซื้อได้ในเดือนถัดไป และสำหรับกิจการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม […]
by KKN การบัญชี
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ง่ายนิดเดียว
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คือ ภาษีที่ต้องจ่ายไปในทันทีเมื่อเรามีรายได้ โดยกรมสรรพากรกำหนดให้่นิติบุคคลผู้จ่ายเงินได้ เป็นผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งภาษีที่หัก ณ ที่จ่ายให้กรมสรรพากร แทนผู้มีเงินได้ คำถามที่พบบ่อยคือ ถ้าผู้ให้บริการไม่ยอมทำให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ทำอย่างไร? ตอบ : ถ้าผู้จ่ายเงินได้ไม่สามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ ก็ต้องควักเงินจ่ายเอง สำหรับเรื่องหักภาษี ณ ที่จ่ายกี่ % นำส่งด้วยแบบอะไร โพสนี้มีเคล็ดลับในการช่วยจำครับไปดูกันได้เลยครับ
by KKN การบัญชี
บริษัทจ้างร้านถ่ายเอกสารอย่าลืมหัก ณ ที่จ่ายด้วย
การจ่ายค่าถ่ายเอกสารถือเป็นการจ่ายค่าบริการ ถ้ายอดค่าบริการตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไปอย่าลืมหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่จ่ายค่าบริการด้วย ถ้าค่าบริการ 1,300 บาท แล้วไม่อยากหักภาษี ณ ที่จ่ายเพราะวุ่นวายเราจะทำอย่างไรดีนะ ? ถ่ายเอกสารไป 900 บาทแล้วบอกให้ร้านถ่ายเอกสารคิดเงินและออกใบเสร็จค่าถ่ายเอกสารก่อนรอบหนึ่ง จากนั้นถ่ายเอกสารอีก 300 บาท แล้วให้ร้านถ่ายเอกสารออกใบเสร็จอีกรอบหนึ่ง ค่าบริการต่อครั้งไม่ถึง 1,000 บาทไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีเป็นสัญญาบริการต่อเนื่องเช่น Internet แม้ว่าต่อเดือนจะไม่ถึง 1,000 บาท แต่ถ้ารวมกันตลอดสัญญาแล้วถึง 1,000 บาทจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายครับ.กรณีถ่ายเอกสารเราไม่มีการทำสัญญากับร้านถ่ายเอกสารค่าจ่ายค่าบริการต่อครั้งไม่ถึง 1,000 บาทไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายครับ การจ้างร้านถ่ายเอกสารเดิมทุกครั้งก็ไม่ถือเป็นการทำสัญญาบริการครับ
by KKN การบัญชี