Uncategorized

บทความล่าสุด

Uncategorized

ยื่นแบบ ภ.พ.36 ติ๊กหัวข้อไหนดี ?

ภ.พ. 36 คือ คือแบบที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ที่พิเศษก็คือผู้จ่ายค่าสินค้าหรือบริการจะเป็นผู้ยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มแทน เนื่องจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการไม่ได้เข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทย โดยต้องยื่นแบบ ภ.พ.36 ไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป ในการยื่นแบบ ภ.พ.36 จะมีการให้เลือกหัวข้อว่าเรายื่นจากกรณีไหนซึ่งโพสนี้จะมาอธิบายว่าในแต่ละข้อแตกต่างกันอย่างไร แต่อย่างไรก็ตามถ้าเลือกหัวข้อผิด ก็ไม่ได้มีอะไรที่ร้ายแรง เพราะการเครดิตภาษีซื้อ ภ.พ. 36 ใช้ “ใบเสร็จรับเงินสรรพากร” ไม่ได้ใช้หน้าแบบ ภ.พ. 36 ครับ

by KKN การบัญชี

Uncategorized

บุคคลธรรมดาเปิดโรงเรียนกวดวิชาต้องเสียภาษีอะไรบ้าง ?

เมื่อจดทะเบียนถูกต้องเรียบร้อยแล้วก็จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีดังนี้ 1.กรณีเป็นโรงเรียนเอกชน ด้านวิชาชีพ ภาษา วิชาช่าง สอนขับรถ งานฝีมือ รายได้ ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียทั้งภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (เมื่อได้รับยกเว้นภาษีบุคคลธรรมดาไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา) 2.กรณีเป็นโรงเรียนกวดวิชา ต้องนำรายได้มาคำนวณภาษีเงินได้ แต่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สิ่งที่ต้องระมัดระวัง รายได้จากโรงเรียนกวดวิชาเป็นเงินได้ 40(8) ประเภทอื่นๆ ซึ่งต้องหักค่าใช้จ่ายตามจริงเท่านั้น ไม่สามารถหักเหมา 60% ได้

by KKN การบัญชี

Uncategorized

สรุปประเด็นภาษีช่วงปีใหม่ ที่ทุกกิจการต้องเจอ

ปล. สำหรับเงินสนับสนุนจัดการปีใหม่ให้แก่บริษัทลูกค้า ถ้าหากบริษัทต้องการให้ลงเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ อาจจะจ่ายในรูปแบบของค่าส่งเสริมการขายตาม ป .118/2545 แทนซึ่งความยากอยู่ที่จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายลูกค้า

by KKN การบัญชี

Uncategorized

ประเด็นภาษี “สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล”

สวัสดิการยอดฮิตที่บริษัทนิยมให้กับพนักงานเพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับพนักงานคงหนีไม่พ้น “สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล” วันนี้แอดมินจึงมาสรุปประเด็นภาษีที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล ที่บริษัทจ่ายให้กับพนักงาน สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม บริษัทจะต้องมีระเบียบการจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้พนักงานทุกคน ค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้หรือจ่ายแทนลูกจ้าง สำหรับการรักษาพยาบาลสำหรับลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดาน ซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะสำหรับการรักษาพยาบาลที่กระทำในประเทศไทย พนักงานที่ได้รับสวัสดิการดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมเป็นเงินได้เพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42 (17)

by KKN การบัญชี

Uncategorized

5 เรื่อง ต้องรู้การวางแผนภาษีของกิจการ

การวางแผนภาษี คือ การเตรียมการเพื่อเสียภาษีให้ถูกต้อง และใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆ ที่กฎหมายกำหนดในการลดหย่อนภาษีประจำปี เพื่อบรรเทาภาระภาษีให้น้อยลง รวมถึงไม่ต้องเสียภาษีหรือเบี้ยปรับเพิ่มเติมโดยไม่จำเป็น หากกิจการมีการวางแผนภาษีดี ก็จะช่วยลดปัญหาทางการเงินที่จะทำให้กิจการขาดสภาพคล่องอีกด้วย ซึ่งก่อนที่จะเริ่มต้นวางแผนภาษีนั้น ผู้ประกอบการต้องมีการศึกษาปัจจัยต่างๆ อย่างรอบด้านเพื่อการปฏิบัติที่ถูกต้อง ซึ่งวันนี้เราจะมาดูกันว่าสิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมในการวางแผนภาษีนั้นมีอะไรบ้าง รู้จริง เรื่องภาษี เรื่องสำคัญประการแรกที่ผู้ประกอบการต้องทำ ก็คือการศึกษาหาความรู้เรื่องภาษี ว่ากิจการของเรานั้นจะต้องเสียภาษีประเภทใดบ้าง และภาษีแต่ประเภทมีหลักเกณฑ์อย่างไร ทั้งอัตราภาษีที่ต้องจ่าย และระยะเวลาที่ในการยื่นภาษี เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ เป็นต้น ซึ่งหากผู้ประกอบการไม่มีการศึกษาเรื่องภาษีที่ดีพอ ก็มีโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดได้สูง ซึ่งอาจมีโทษทางกฎหมายและค่าปรับต่างๆ ตามมา

by KKN การบัญชี

Uncategorized

8 ประเภทเงินได้ที่ต้องเสียภาษี

เจ้าของกิจการหลายๆ ท่าน มีรายได้มาจากหลายช่องทาง ทั้งงานประจำ งานพิเศษ ค่านายหน้า ค่าหัวคิว ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ และรายได้จิปาถะอื่นๆ อีกมากมาย เคยทบทวนกันบ้างไหมว่ารายได้ทั้งหมดนี้ เราจ่ายภาษีครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ มาดูกันว่ารายได้ที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีให้ถูกต้องนั้นมีอยู่ทั้งหมดกี่ประเภท และมีอะไรบ้าง

by KKN การบัญชี

Uncategorized

กรรมการให้บริษัทกู้ยืมเงิน ต้องคิดดอกเบี้ยหรือไม่

ในเรื่องของกรรมการให้บริษัทกู้ยืมเงิน กรมสรรพากรไม่ได้มีการออกกฎบังคับให้ต้องคิดดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม ดังนั้นกรรมการจะคิดดอกเบี้ยหรือไม่คิดดอกเบี้ยก็ไม่ผิด แล้วคิดดอกเบี้ยกับไม่คิดดอกเบี้ย แบบไหนประหยัดภาษีกว่าครับ กรณีที่กรรมการใคิดดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม เวลาบริษัทจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับกรรมการจะต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 15 และนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายด้วยแบบ ภ.ง.ด.2 นั่นหมายความว่าถ้ากรรมการคิดดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมจะต้องเสียภาษี 15% ให้กับกรมสรรพากร ในส่วนนี้กรรมการสามารถเลือกให้ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% เป็น Final Tax ได้เลย ไม่ต้องนำรายได้ดอกเบี้ยไปรวมในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนสิ้นปี เมื่อบริษัทจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับกรรมการ ดอกเบี้ยจ่ายสามารถนำมาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทำให้กำไรสุทธิสำหรับคำนวนภาษีลดลงช่วยทำให้ประหยัดภาษีเงินได้นิติบุคคล 20% และช่วยทำให้กำไรสะสมลดลงทำให้ประหยัดภาษีเงินปันผลได้อีก 10% ของเงินปันผลที่จะต้องจ่าย (รวมแล้วการบันทึกดอกเบี้ยจ่ายช่วยประหยัดภาษีได้ถึง 28%)

by KKN การบัญชี

Uncategorized

ทรัพย์สินชำรุดหรือสูญหายจะต้องทำอย่างไร

โดยปกติแล้วเมื่อกิจการมีการซื้อทรัพย์สินเข้ามาใช้ในกิจการ ทรัพย์สินทั้งหมดของบริษัทจะถูกบันทึกเอาไว้ในทะเบียนทรัพย์สของกิจการ ทะเบียนทรัพย์สินจะแสดงข้อมูลทรัพย์สินทั้งหมดของกิจการ วันที่ซื้อ มูลค่าที่ซื้อ และมูลค่าคงเหลือ ณ ปัจจุบันหลังจากหักค่าเสื่อมราคา แอดมินอยากเชิญชวนผู้ประกอบการมาตรวจสอบทะเบียนทรัพย์สินของกิจการ ดูว่ามีทรัพย์สินไหนบ้างที่มีระบุไว้ในทะเบียนทรัพย์สิน แต่ของจริงไม่มีอยู่แล้ว หรือของมีอยู่แต่ชำรุดไม่ได้ใช้งาน และทำการปรับปรุงให้ตรงกับความเป็นจริง

by KKN การบัญชี

Uncategorized

ซื้อสินค้า/ซื้อบริการ จัดเก็บเอกสารอย่างไร

สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ที่ยังไม่เชี่ยวชาญในเรื่องของการจัดเก็บเอกสาร วันนี้แอดมินมาจะแนะนำ Flow ของการทำงานในเรื่องของการซื้อสินค้าและบริการ เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าใจขั้นการทำงานของระบบซื้อสินค้าและบริการ เอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถจัดเก็บเอกสารได้ด้วยตัวเอง

by KKN การบัญชี

Uncategorized

วางแผนภาษีง่ายๆ ด้วยตัวเอง

“ก่อนเริ่มต้นธุรกิจ” เป็นช่วงเวลาเหมาะสมที่สุดในการวางแผนภาษี หลายครั้งที่ผู้ประกอบการสร้างแผนธุรกิจขึ้นมาแต่ลืมที่จะใส่ภาษีเข้าไปในแผนธุรกิจนั้น โดยเฉพาะ “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” พอดำเนินกิจการจริงต้องบวก VAT เข้าไปในราคาขายก็ทำให้ไม่สามารถแข่งขับกับคู่แข่งได้ พอจะตั้งราคาขายเท่าเดิมแล้วควักเนื้อจ่าย VAT แทนลูกค้าเอง กำไรก็บางมากจนไม่คุ้มค่าที่จะดำเนินกิจการต่อ รวมถึงปัญหามากมายที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น ต้นทุนส่วนใหญ่ผู้ขายไม่เปิดบิลขายให้กับเราทำให้บริษัทเกิดปัญหาไม่มีหลักฐานมาบันทึกบัญชีค่าใช้จ่าย หลายครั้งเมื่อเรานำภาษีไปใส่ในแผนธุรกิจจะพบว่าธุรกิจไม่ได้น่าทำอย่างที่เราคิดไว้ หรือธุรกิจวางแผนอยู่นั้นมีปัญหาที่จะต้องปรับแก้ไข และนี่เป็นเหตุผลที่ผมคิดว่าช่วงเวลาที่เหมาะสมในการวางแผนภาษีคือ “ก่อนเริ่มต้นธุรกิจ” ในการวางแผนภาษีเพื่อให้เสียภาษีลดลง ส่วนใหญ่จะเป็นการวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่านั้น เพราะเป็นภาษีที่เราสามารถบริหารจัดการให้ลดลงได้ ซึ่งภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้นเราจะคำนวณมาจากกำไรสุทธิทางภาษีของนิติบุคคล ถ้ากำไรเยอะก็เสียภาษีเยอะ กำไรน้อยก็เสียภาษีน้อยนั้นเอง การวางแผนภาษีง่ายๆ ฉบับของแอดมินก็คือ ผู้ประกอบการจะต้องประมาณการตัวเลขผลประกอบการให้ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด เริ่มจากประมาณการรายได้, อัตราส่วนกำไรขั้นต้น, ค่าใช้จ่าย Fix cost, ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการประกอบธุรกิจ เพื่อคำนวณหากำไรสุทธิสำหรับนำไปคำนวณภาษี หรือสำหรับกิจการที่ประกอบกิจการไปแล้ว ให้ผู้ประกอบการเรียกงบกำไรขาดทุนของบริษัทสะสมตั้งแต่เดือน 1 – 10 จากนักบัญชี เพื่อดูว่าปัจจุบันประกอบกิจการมา 10 เดือนแล้วบริษัทมีกำไรกี่บาท จากนั้นก็แปลงให้เป็น 12 เดือน (เอากำไร 10 เดือนไปหาร 10 * 12) นำตัวเลขกำไรที่ได้ไปคูณกับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลก็จะได้ยอดประมาณการภาษีที่จะต้องจ่ายของปีนี้

by KKN การบัญชี

Uncategorized

เปิดบริษัทเรียบร้อยแล้ว ต้องทำอะไรบ้าง

สำหรับในเรื่องของการจัดทำบัญชีตามมาตรฐานบัญชี ยื่นภาษีประจำเดือน แอดมินแนะนำว่าถ้าเราไม่มีความรู้ในส่วนนี้เลย อยากให้จ้างสำนักงานบัญชี ปล่อยให้มืออาชีพมาดูแลงานส่วนนี้แทน ผู้ประกอบการจะได้มีเวลาว่างเพิ่มขึ้นเพื่อไปหารายได้เข้าบริษัท การเลือกสำนักงานบัญชีแนะนำให้เลือกสำนักงานบัญชีที่มีประสบการณ์เคยทำบัญชีในธุรกิจประเภทเดียวกัน และพวกค่าทำบัญชีเดือนละ 500 – 1, 000 บาท หรือราคาถูกมากๆ อย่าไปฝากชีวิตไว้เลยครับ ค่าปรับภาษีย้อนหลัง แพงกว่าค่าทำบัญชีเสมอ

by KKN การบัญชี

Uncategorized

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (แบบเข้าใจง่าย)

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คือ ภาษีที่ผู้มีเงินได้จะต้องจ่ายไปในทันทีเมื่อได้รับเงินได้ โดยผู้จ่ายค่าบริการจะเป็นคนทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งกรมสรรพากรแทนผู้มีเงินได้แทนผู้มีเงินได้ ไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป ภาระเงินมาตกอยู่กับผู้จ่ายค่าบริการ (ซวยจริงๆ งานงอก) ที่จะต้องมาทำหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย และนำส่งกรมสรรพากร นอกจากภาระมาตกที่ผู้จ่ายค่าบริการแล้ว ถ้าผู้จ่ายค่าบริการลืมหัก หรือหักผิดอัตรา ก็โดยจะต้องโดนปรับอีก วันนี้แอดมินเลยมาสรุปภาพรวมของภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย พร้อมกันแชร์เทคนิคดูว่าค่าบริการนี้ว่าจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายกี่ % ยื่นนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายด้วยแบบ ภ.ง.ด. อะไร และวิธีการเขียนหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50ทวิ)

by KKN การบัญชี

Uncategorized

วิธีการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2564 (ยื่นผ่านระบบออนไลน์หมดเขตยื่น 8 เม.ย. 65)

ลองยื่นเลยครับไม่ยากอย่างที่คิด ระบบกรมสรรพากรออกแบบมาได้ดีมากครับ ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านบัญชีและภาษีก็สามารถยื่นภาษีเองได้ครับ ดูโพสนี้แล้วทำตามยื่นได้แน่นอนครับ

by KKN การบัญชี

Uncategorized

จ่ายค่า Netflix ต้องยื่น ภ.พ.36 และ ภ.ง.ด.54 หรือไม่

📌 ภ.พ.36 จะยื่นก็ต่อเมื่อเราเป็นผู้ประกอบการจด VAT ได้จ่ายค่าบริการให้กับนิติบุคคลต่างประเทศและนำบริการเข้ามาใช้ในประเทศไทย ดังนั้นถ้าเราเป็นบริษัทจด VAT จ่ายค่าบริการ Netflix จะต้องยื่น ภ.พ.36 นำส่ง VAT 7% ของค่าบริการ แทนผู้ให้บริการต่างประเทศให้กับกรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป และสามารถนำมาใช้เป็นภาษีซื้อได้ในเดือนถัดไป บริษัทที่ไม่ได้จด VAT จะโดนทาง Platform เรียกเก็บ VAT มาอยู่แล้วจึงไม่ต้องยื่น ภ.พ.36 ไม่งั้นจะยื่น VAT ซ้ำซ้อน ภ.ง.ด. 54 ค่า Netflix ถือเป็นค่าสิทธิเป็นเงินได้ 40(3) จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วยแบบ ภ.ง.ด.54 ไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป หักภาษีในอัตรา 15% (แนะนำให้ดูอนุสัญญาาภาษีซ้อนเผื่อได้ลดอัตราภาษีที่จะต้องหัก) แต่อนุสัญญาภาษีซ้อนมันยากไปกรมสรรพากรเลยสรุปการหักค่าสิทธิสำหรับผู้ให้บริการในแต่ละประเทศตาม link นี้ครับ https://www.rd.go.th/14933.html แล้วเราก็จะเป็นเทพอนุสัญญาภาษีซ้อนได้ทันที 🎉

by KKN การบัญชี

Uncategorized

บริษัทจ่ายค่าฉีดวัคซีน Covid-19 ให้พนักงาน

📌 บริษัทจ่ายค่าฉีดวัคซีน Covid-19 ให้พนักงาน ถือเป็นเงินได้พนักงานหรือไม่? บริษัทจ่ายค่าฉีดวัคซีน Covid-19 ให้พนักงาน ต้องถือเป็นเงินได้พนักงานด้วยนะครับ .

by KKN การบัญชี

Uncategorized

การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ

สำหรับรายละเอียดด้านผู้สั่งซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบจากต่างประเทศ เรื่องที่เกี่ยวข้องสามารถแบ่งได้เป็น 1. การรับรู้รายการทางบัญชี ในการพิจารณาราคาทุนของสินค้าตามเงื่อนไขการส่งมอบสินค้า ว่าราคาในการคำนวณที่ตกลงกับผู้ขายนั้น ว่าจะใช้ F.O.B. หรือราคา C.I.F. หรือราคาอื่นตามที่ตกลงไว้ และการบันทึกรายการต้นทุนสินค้าคงเหลือ 2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล ในการรับรู้ต้นทุนของสินค้าตามเกณฑ์สิทธิ และการคำนวณราคาทุนของสินค้าเป็นเงินตราต่างประเทศ โดยคำนวณเป็นเงินตราไทย ตามอัตราแลกเปลี่ยนในท้องตลาดของวันที่ได้สินค้านั้นมา 3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นเกิดขึ้นเมื่อ ชำระอากรขาเข้า, วางหลักประกันอากรขาเข้าหรือจัดให้มีผู้ค้ำประกันอากรขาเข้า ส่วนใบกำกับภาษี (ภาษีซื้อ) ที่กรมศุลกากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มให้ถือเป็นใบกำกับภาษี (ตามมาตรา 86/14) ซึ่งผู้สั่งซื้อจะค้องจัดทำรายงานภาษีซื้อ และ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ จะมีรายละเอียดเพิ่มเติมยังไงนั้น ผมสรุปมาให้ในโพสนี้แล้วครับ

by KKN การบัญชี

Uncategorized

เอกสาร PO PR เอาไว้ทำอะไร

วันนี้แอดมินจะพาทุกคนมารู้เอกสาร PR และ PO ทั้ง 2 เอกสารจะเกี่ยวกับกับการควบคุมภายในส่วนของการจัดซื้อจัดจ้าง โดยทั้ง 2 ชนิดเอกสารใช้งานแตกต่างกันดังนี้ PR (Purchase Requisition) หมายถึงใบขอซื้อจะเป็นเอกสารที่ใช้แผนกต่างๆ ในบริษัทแจ้งความประสงค์ว่าอยากจะซื้ออะไร โดยผู้ขอซื้อจะต้องใส่เหตุผลที่ต้องการซื้อว่าจะต้องนำมาใช้สำหรับทำอะไร และจะต้องให้หัวหน้าแผนกอนุมัติก่อนส่งไปให้แผนกจัดซื้อ เพื่อทำการจัดซื้อ PO (Purchase Order) หมายถึงใบสั่งซื้อจะเป็นเอกสารที่แผนกจัดซื้อ ออกให้กับผู้ขายสินค้าหรือบริการ เพื่อแจ้งให้ผู้ขายสินค้าหรือบริการทราบว่าเราต้องการจะซื้อสินค้าหรือบริการอะไร ราคาเท่าไหร่ และมีเงื่อนไขการค้าเป็นอย่างไร และเมื่อเกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการซื้อสินค้าและบริการเอกสารใบสั่งซื้อจะสามารถใช้เป็นหลักฐานในการขึ้นศาลหรือโต้แย้งกับผู้ขายได้

by KKN การบัญชี

50 ทวิ
Bitcoin
DBD Registered
e-filing
LTF
SME
SMEs
TFRS16
Uncategorized
Voucher
กท.20 ก
กรมสรรพากร
กองทุนรวม
ก่อสร้างอาคารบนที่ดินของกรรมการ
การขอรับบริจาค
การจัดสรรกำไรสะสม
การตัดหนี้สูญ
การบริจาค
การบันทึกบัญชีเงินสดรับ-จ่าย
การประมาณการกำไรสุทธิขาดไป
การลงทุน
การลงประกาศหนังสือพิมพ์
การลดหย่อนบริจาคทั่วไป
การเช่า
กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กิจการร่วมค้า และกิจการค้าร่วม
กิจการเพื่อสังคม
กิจการโรงแรม
ขนส่ง
ขอคืนเงินประกันไฟฟ้า
ขายกิจการ
ขายสินค้าต่ำกว่าทุน
ขายสินค้าส่งออกไปต่างประเทศ
ขายหนังสือแถมคอร์สเรียนออนไลน์
คริปโทเคอร์เรนซี
ความเสี่ยง-ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ความเสี่ยงของกิจการ
ค่าขนส่ง
ค้าขายออนไลน์
ค่าตรวจสุขภาพ
ค่าปรับ
ค่ารักษาพยาบาล
ค่ารับรอง
ค่าสินไหมทดแทน
ค่าเช่า
ค่าเช่ารับล่วงหน้า
ค่าเบี้ยประกันชีวิต
ค่าเสื่อมราคา
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายของกิจการ
ค่าใช้จ่ายทางภาษี
ค่าใช้จ่ายในการอบรม
งบการเงิน
งบการเงินส่วนบุคคล
จดทะเบียน
จดทะเบียนเพิ่มสาขา
จดภาษีมูลค่าเพิ่ม
จัดตั้งบริษัท
จ้างงานผู้สูงอายุ
จ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ
จ้างเด็กจบใหม่
ช้อปดีมีคืน
ดอกเบี้ยค้างรับ
ตราประทับ
ทรัพย์สิน
ทั่วไป
ทำประกันให้พนักงาน
ธุรกรรม
ธุรกิจขนส่ง
บริจาค
บริษัท กับ กรรมการ
บัญชีและภาษี
บิลเงินสด
ประกัน keyman
ประกันCovid-19
ประกันสังคม
ประชุมบริษัท
ประเภทเช็ค
ผลขาดทุน
ผู้ถือหุ้น
ผู้ประกอบการ
พร้อมเพย์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ฟรีแลนซ์
ภ.ง.ด. 1ก
ภ.ง.ด.1 ก
ภ.ง.ด.54
ภ.พ.36
ภาษี
ภาษี e-Service
ภาษีDropship
ภาษีกองทุนตราสารหนี้
ภาษีกับการออกจากงาน
ภาษีการรับมรดก
ภาษีของแพทย์
ภาษีขาย
ภาษีซื้อ
ภาษีซื้อต้องห้าม
ภาษีดอกเบีี้ย
ภาษีที่ดิน
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีนำเข้าสินค้า
ภาษีป้าย
ภาษีฟรีแลนซ์
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีรถยนต์
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีอากร
ภาษีอากรนำเข้า
ภาษีอีเพย์เมนต์
ภาษีเงินปันผล
ภาษีเงินได้จากการรับให้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ภาษีโรงแรม
มาตรการผู้กู้ยืม กยศ.
มูลค่าต้นทุน
ย้ายกิจการ
ยื่นแบบ
ยื่นแบบอย่างไรให้ประหยัดค่าปรับที่สุด
รถยนต์นั่ง
รถแลกเงิน
ระบบรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
ร้านกาแฟ-เสียภาษี
รายจ่ายค่าซ่อมแซม
รายจ่ายจริง
รายจ่ายต้องห้าม
รายได้อื่น
ลดหย่อนทางภาษี
ลดหย่อนภาษี
ลาออกจากงาน
วงจรเงินสด
วางระบบบัญชี
วางแผนภาษี
ศุลกากร
ส่งสินค้าทางไปรษณีย์
ส่งเสริมการขาย
สต็อกสินค้า
สรุปประเด็นภาษี
ส่วนลดกาาค้าและส่วนลดเงินสด
สวัสดิการพนักงาน
สวัสดิการอาหารพนักงาน
สัญญาขายฝาก
สัญญาซื้อ
สัญญาฝากทรัพย์
สัญญายินยอม
สัญญาเช่า
สัญญาเช่าที่ดิน
สำนักงานบัญชี
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
หนี้สิน
อั่งเปา
อากรแสตมป์
เกษตรกับวิธีเสียภาษี
เครื่องบันทึกการเก็บเงิน
เคลมภาษีซื้อ ค่าอบรม
เงินกู้ยืมกรรมการ
เงินค่าฝึกอบรม
เงินชดใช้ค่าเสียหาย
เงินทดรองจ่าย
เงินบำนาญชราภาพ
เงินบำเหน็จ
เงินปันผล
เงินมัดจำ
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
เงินสมทบประกันสังคม
เงินสำรองจ่าย
เงินเรียกเก็บล่วงหน้าจากการขายสินค้า
เงินได้พนักงาน
เงินได้พึงประเมิน
เช่าซื้อ-ลิสซิ่ง
เบี้ยประกัน
เบี้ยปรับ
เปิดบริษัท
เราเที่ยวด้วยกัน
เลขประจำตัวผู้เสียอากร
เลิกทำธุรกิจ
เสน่หากับภาษ๊
เอกสารการเบิกจ่ายเงิน
เอกสารทางภาษี
เอกสารบัญชี
แจกไฟล์
แรงงานต่างด้าว
โครงการคนละครึ่ง
โทษปรับ
ใบกำกับภาษี
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
ใบลดหนี้
ใบลดหนี้และใบเพิ่มหนี้
ใบสำคัญจ่าย
ใบหุ้น
ใบเสนอราคา
ใบเสร็จรับเงิน