ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

บทความล่าสุด

ค่าใช้จ่ายทางภาษี

ให้ของขวัญปีใหม่กับลูกค้าแบบไหน ประหยัดภาษีที่สุด

ในช่วงเทศกาลปีใหม่ทุกบริษัทก็มักจะมีการซื้อของขวัญให้กับลูกค้า และแน่นอนทุกบริษัทก็อยากที่จะประหยัดภาษีที่สุด ต้องการที่จะนำรายจ่ายค่าซื้อของขวัญให้กับลูกค้ามาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีของกิจการให้ได้ครบถ้วน 100% แอดมินจึงมาสรุปทางเลือกทั้ง 4 แบบในการให้ของขวัญกับลูกค้าเพื่อช่วยในการประหยัดภาษี ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีข้อดีและข้อเสีย รวมถึงเงื่อนไขในการปฏิบัติที่แตกต่างกันไป ดังนั้นเราจะต้องเลือกให้เหมาะกับสถานะการณ์ครับ แต่ถ้าให้ผมเรียงลำดับความ Advance จะสามารถเรียงลำดับได้ดังนี้ 1.ให้ของขวัญผ่านค่ารับรอง แต่ข้อเสียคือจำกัดมูลค่าสูงสุดเพียงแค่ 2,000 บาทต่อครั้ง 2.ให้ของขวัญผ่านส่งเสริมการขาย ข้อดีไม่จำกัดมูลค่า แต่ข้อเสียคือโดนหัก ณ ที่จ่าย 3.ให้ของขวัญผ่านของชำร่วย/ของที่ละลึก ข้อดีคือไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย แต่ข้อเสียคือต้องสกรีนชื่อบริษัทหรือโลโก้ในตัวสินค้า และมูลค่าไม่ควรเกินสมควรอีก 4.ของแถม ผมว่าตัวนี้ดีมากๆเลยไม่ต้องโดนหัก ณ ที่จ่าย ไม่ต้องสกรีนชื่อสินค้า แต่เราจะต้องวางแผน Match ของที่เราจะให้ลงไปในใบกำกับภาษีขายให้ได้ แต่นักบัญชีและเจ้าของกิจการเก่งอยู่แล้วครับ

by KKN การบัญชี

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

เตือนอย่าลืมยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ภ.ง.ด.94)

ใครบ้างต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ? บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้ 40(5)-(8 ) ในระหว่างวันที่ 1 ม.ค. ถึง 30 มิ.ย. ของทุกปีเกิน 60,000 บาท สำหรับคนโสด หรือในกรณีมีคู่สมรสจะต้องมีรายได้รวมกันเกิน 120,000 บาท (นับเฉพาะเงินได้ 40(5) – (8 ) ไม่ต้องนำเงินเดือนประจำมารวมคิด) ยื่นแบบนำส่งภาษีได้ตั้งแต่เมื่อไหร่ ? สามารถยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. – 2 ต.ค. 2566 (กรณียื่นแบบทางอินเทอร์เน็ตจะยื่นได้ถึงวันที่ 9 ต.ค. 2566) *กรณีไม่ยื่นแบบโทษปรับ 2,000 บาท และมีดอกเบี้ย อัตรา 1.5% ต่อเดือน*

by KKN การบัญชี

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ถูกรางวัลชิงโชคดีใจเมื่อได้รับ แต่เศร้าใจเมื่อโดนภาษีย้อนหลัง

ผู้ถูกรางวัลชิงโชคส่วนใหญ่มักคิดว่าเมื่อได้รับรางวัลชิงโชค แล้วโดนหักภาษี ณ ที่จ่าย 5% ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการเสียภาษีให้กรมสรรพากรเรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องทำอะไรอีกเพราะจ่ายภาษีไปแล้ว สิ่งที่ถูกต้องคือ เงินได้จากการถูกรางวัลชิงโชค เป็นเงินได้ประเภทที่ 8 ผู้มีเงินได้มีหน้าที่นำรายได้ดังกล่าวมายื่นภาษีประจำปีด้วย แม้จะเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 แต่ไม่สามารถเหลือหักค่าใช้จ่าย 60% ได้ ต้องหักค่าใช้จ่ายตามจริงเท่านั้น แต่ส่วนใหญ่ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะเป็น 0 เพราะการถูกรางวัลชิงโชคมักไม่มีต้นทุน

by KKN การบัญชี

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

จ่ายเงินเดือนพนักงาน คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายอย่างไร

กรมสรรพากรกำหนดให้เงินได้มาตรา 40(1) ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส พวกนี้จะต้องคำนวนภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามอัตราก้าวหน้า หักภาษีตามอัตราก้าวหน้า คือ การประมาณรายได้พนักงานทั้งปี (อ้างอิงจากฐานเงินเดือนพนักงาน) แล้วหักด้วยค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนเพื่อหาเงินได้สุทธินำส่งนำไปคำนวณภาษี นำเงินได้สุทธิมาคูณอัตราภาษีตามอัตราก้าวหน้า (0%-35%) เมื่อได้ยอดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จะต้องเสีย จึงนำมาหารเฉลี่ยตามงวดที่จ่าย สำหรับบริษัทไหนที่มีจำนวนพนักงานเยอะ และการจ่ายค่าจ้างในแต่ละเดือนมีจำนวนไม่เท่ากัน เช่น มีเงินค่าคอมมิชชัน เบี้ยขยัน ทำให้การคำนวนภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นเรื่องยาก แต่เรื่องนี้จะเป็นเรื่องง่ายมากเมื่อใช้โปรแกรมบัญชี PEAK ซึ่งจะมีระบบ PEAK Payroll ให้ใช้งานฟรีเมื่อสมัครแพ็กเกจ PEAK PRO Plus คำนวนเงินเดือนอัตโนมัติ จ่ายเงินเดือนพร้อมลงบัญชีอัตโนมัติ สร้างไฟล์จ่ายเงินเดือนธนาคารออนไลน์สนใจทดลองใช้ฟรี 30 วัน ไม่มีข้อผูกมัดใดๆ >>https://bit.ly/3Hr5Vrg

by KKN การบัญชี

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

เจ้าของบ้านไม่ให้หัก ณ ที่จ่าย + ไม่อยากมีข้อมูลรายได้ในระบบกรมสรรพากรด้วย 😂 ทำอย่างไรดี???

วันนี้แอดมินมีแนวทางมาช่วยแก้ปัญหาสำหรับผู้ประกอบการที่เจอปัญหาเจ้าของบ้านหรือเจ้าของตึกที่เราต้องการจะเช่าต้องการหนีภาษีแบบสุดซอย ท่านใดมีไอเดียอื่นลองเสนอแนะนำเพิ่มมาได้นะครับ

by KKN การบัญชี

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

รู้หรือไม่❓ ฟรีแลน์ซ์โดนหักภาษี ณ ที่จ่าย สามารถขอคืนภาษีได้นะ

เวลาฟรีแลนซ์รับจ้างทำงานให้กับบริษัทต่างๆ เมื่อบริษัทจ่ายชำระเงินค่าบริการให้กับฟรีแลนซ์ ส่วนใหญ่แล้วฟรีแลนซ์จะได้รับเงินไม่เต็มจำนวนค่าบริการที่ตกลงกันไว้ เนื่องจากโดนหักภาษีเงินได้ ณ ที่่จ่ายเอาไว้บางส่วน เมื่อบริษัทหักภาษี ณ ที่จ่ายจะส่งหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้กับฟรีแลนซ์ เป็นเอกสารใบเล็กๆ มา 1 ใบเรียกว่า “หนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)” แอดมินแนะนำให้เก็บรวบรวมหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ที่ได้รับจากผู้ว่าจ้างในระหว่างปี จากนั้นมารวมยอดข้อมูลรายได้ และภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย ที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อเป็นข้อมูลในการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี สำหรับฟรีแลนซ์ที่มีรายได้ไม่สูงนัก มักจะได้ภาษีที่ถูกหักเอาไว้คืนจากกรมสรรพากร (ในส่วนนี้แอดมินลองคำนวนแล้วถ้ารายได้ไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี เวลายื่นภาษีมักจะได้ภาษีที่โดนหัก ณ ที่จ่ายไว้อื่น)

by KKN การบัญชี

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ภาษี ณ ที่จ่ายกรณีการรับซื้อฝากที่ดิน

บริษัท(ผู้รับซื้อฝาก)– รับซื้อฝากอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน อาคาร– ผู้รับซื้อฝากมีหน้าที่คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในขณะที่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม– นำส่งต่อเจ้าพนักงานที่ดินโดยไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีผู้ขายฝากอสังหาริมทรัพย์เป็นบุคคลธรรมดา หักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย(ตามมาตรา 50 (5) แห่งประมวลรัษฎากร)ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) เฉพาะที่จ่ายให้แก่ผู้รับ ซึ่งขายอสังหาริมทรัพย์ ให้คำนวณหักดังต่อไปนี้ สำหรับอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา> ให้คำนวณภาษี (ตามเกณฑ์ในมาตรา 48(4) (ก))ให้หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 50 ของเงินได้ เหลือเท่าใดถือเป็นเงินได้สุทธิ แล้วหารด้วยจำนวนปีที่ถือครอง ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้คำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ ได้เท่าใดคูณด้วยจำนวนปีที่ถือครอง ผลลัพธ์ที่ได้เป็นเงินภาษีที่ต้องเสีย เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น (มาตรา 48(4) (ก)) ที่มาhttps://www.facebook.com/Suthep.Pongpitak/posts/3373724149345204https://www.rd.go.th/publish/5937.0.htmlhttps://www.rd.go.th/publish/5937.0.html

by KKN การบัญชี

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีแจกสินค้าเพื่อส่งเสริมการขาย และการโฆษณา

จัดรายการส่งเสริมการขายให้แก่ : ผู้แทนจำหน่าย ตัวแทนจำหน่ายรายย่อย หรือ ร้านค้าซึ่งได้ซื้อสินค้าไปเพื่อขายต่อ เช่น นำผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ มาตั้งโชว์หน้าร้านเพื่อให้ผู้บริโภคเห็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท หรือสะสมยอดซื้อตามเป้า ร้านค้าฯ ซึ่งได้ซื้อสินค้าไปโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปขายต่อ ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม บริษัทผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3 จัดรายการส่งเสริมการขายให้แก่ : ลูกค้าที่เป็นผู้บริโภคโดยตรง เช่น เล่นเกมส์ ชิงโชค สะสมฝาเพื่อแลกของพรีเมี่ยม ลูกค้าที่เป็นผู้บริโภค เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือภาษีเงินได้นิติบุคคลเฉพาะ ที่เป็นรางวัลในการประกวด การแข่งขัน การชิงโชค หรือมีลักษณะทำนองเดียวกัน ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 5 จัดรายการส่งเสริมการขายให้แก่ : ลูกค้าที่เป็นผู้บริโภคโดยตรง เช่น แจกแพ็คเกจทัวร์เมื่อซื้อสินค้าครบตามเป้า บริษัทมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย […]

by KKN การบัญชี

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีผู้มีเงินได้ครบเกษียณอายุงานระหว่างปี

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในเดือนสุดท้ายที่ผู้มีเงินได้ออกจากงานระหว่างปี ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีสิทธิที่จะคำนวณภาษี เพื่อให้เงินภาษีที่หักไว้ถูกต้องครบถ้วนตามรายการค่าลดหย่อนที่แท้จริงตามหลักฐานที่ผู้มีเงินได้นำมาแสดง โดยนำเงินภาษีที่หักไว้ไม่ครบถ้วนหรือเกินในเดือนก่อน ๆ มารวมหรือหักกับภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายไว้ครั้งสุดท้าย ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้หักและนำส่งไว้เท่านั้น ตัวอย่าง – กรณีถูกหักภาษีในแต่ละเดือนไว้ขาด ตัวอย่าง – กรณีถูกหักภาษีในแต่ละเดือนไว้เกิน

by KKN การบัญชี

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ผู้หักภาษีไม่ได้นำส่งกรมสรรพากร ขอคืนภาษีซื้อได้ไหม?

กรณีผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายและได้ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) ให้แก่ผู้มีเงินได้แล้ว แต่ไม่นำเงินส่งกรมสรรพากรหรือนำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้ดังกล่าวจะต้องรับผิดแต่เพียงผู้เดียว ผู้มีเงินได้จะพ้นความรับผิดในจำนวนเงินภาษีเท่ากับจำนวนที่ถูกหักไว้ (ตามมาตรา54) และ มีสิทธินำเงินที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามจำนวนที่ระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย มาถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีเงินได้ สรุป : สามารถขอคืนได้ครับ

by KKN การบัญชี

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

จ้างผลิตเสื้อบริษัท ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ ?

ตัวอย่าง : บริษัท คิดไม่ออก จำกัด ได้ไปว่าจ้างร้านขายเสื้อผ้าแห่งหนึ่ง ให้ช่วยจัดทำเสื้อบริษัทเพื่อจะไม่เหมือนกับของใครในประเทศ แบบนี้มีเจ้าเดียวในประเทศ ในการออกแบบบริษัทฯ ได้เลือกชนิดผ้าที่ร้านขายเสื้อผ้ามีวัตถุอยู่แล้วจะได้ไม่ต้องซื้อใหม รวมถึงบล็อกเสื้อผ้าก็เป็นแบบปกติที่ร้านขาย คำตอบ กรณีห้างฯ ได้ผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายเป็นปกติอยู่แล้ว ไม่ว่าลูกค้าจะสั่งซื้อสินค้าตามรูปแบบที่ห้างฯ จัดเตรียมไว้หรือลูกค้าเป็นผู้ออกแบบเอง แต่ใช้วัตถุดิบในการผลิตของห้างฯ ที่จัดเตรียมและมีไว้ให้เลือก การรับทำสินค้าดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการขายสินค้า ไม่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528

by KKN การบัญชี

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

จ่ายค่าบริการลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย นำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่

ทุกครั้งที่นิติบุคคลจ่ายค่าบริการ จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป กรณีลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย จะสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่?หลักการพิจารณาให้แยกพิจารณาทีละภาษี ภาษีเงินได้นิติบุคคล •ค่าบริการนั้นเกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ •รู้ว่าผู้ให้บริการคือใคร (สามารถกรอกข้อมูลหักภาษี ณ ที่จ่ายได้) •มีการจ่ายเงินไปจริง *นำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้*เป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรมสรรพากรบอกว่าถ้าเราลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือผู้ให้บริการไม่ยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่าย เราจะต้องควักเงินจ่ายค่าภาษีแทน T_T * ภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่เราควักจ่ายแทน ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามเพราะไม่เกี่ยวข้องกับกิจการ (ยกเว้นมีสัญญาตั้งแต่ต้นว่ากิจการจะเป็นผู้ออกภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้) จ่ายค่าบริการลืมหักภาษี ณ ที่จ่ายเลือกอะไรดีระหว่าง 1.โยนบิลค่าใช้จ่ายทิ้ง2.ควักเงินออกภาษีหัก ณ ที่จ่ายแทน หลักคิดคือ ถ้าบริษัทมีผลประกอบการที่กำไร ปกติเมื่อบริษัทมีกำไรจะเสียภาษีในอัตรา 15-20% ของกำไรทางภาษี ดังนั้นถ้าเราโยนบิลค่าใช้จ่ายทิ้งจะส่งผลทำให้เราเสียภาษีเพิ่ม 15-20% เลยทีเดียว ในขณะที่ภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่นำส่งแค่ 1-5% […]

by KKN การบัญชี

ภาษีขาย

ทำธุรกิจเสียภาษีอะไรบ้าง

ภาษีเงินได้ เป็นภาษีทีเก็บจากเงินได้ ดังนั้นใครที่มีรายได้จะต้องเสียภาษี บุคคลธรรมดา – เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินได้สุทธิ (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) นิติบุคคล – เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิทางภาษี ภาษีมูลค่าเพิ่ม มีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นภาษีที่จะต้องจ่ายทันทีเมื่อมีรายได้จากการให้บริการ โดยนิติบุคคลผู้จ่ายเงินได้เป็นผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ภาษีอากรแสตมป์ ตราสารที่จะต้องติดอากรแสตมป์ ได้แก่ สัญญาเช่าโรงเรือน, เช่าซื้อทรัพย์สิน,จ้างทำของ, เงินกู้ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ได้แก่ เกษตรกรรม, ที่อยู่อาศัย, อื่น ๆ (พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม) และที่ดินรกร้างว่างเปล่า โดยคิดอัตราภาษีเป็นรูปแบบขั้นบันไดเพิ่มขึ้นตามมูลค่าราคาประเมิน  ภาษีศุลกากร เรียกเก็บจากการนำสินค้า หรือสิ่งของผ่านเข้าออกจากเขตแดนหนึ่งไปยังอีกเขตแดนหนึ่ง ภาษีสรรพสามิต เรียกเก็บจากสินค้าที่ผลิตหรือนำเข้าและการให้บริการในทางธุรกิจตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ภาษีน้ำมัน, ภาษีน้ำหอม, ภาษีรถยนต์ ภาษีธุรกิจเฉพาะ เรียกเก็บจากการประกอบธุรกิจธนาคารหรือประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์, ประกันชีวิต, โรงรับจำนำ รวมถึงการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นการค้าหรือหากำไร […]

by KKN การบัญชี

Uncategorized

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายอธิบายแบบง่ายๆ ได้ใจความ

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไรภาษีที่ต้องจ่ายไปในทันทีเมื่อเรามีรายได้ แต่นิติบุคคลผู้จ่ายเงินจะเป็นผู้หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งภาษีให้กรมสรรพากร แทนผู้มีเงินได้ (ผู้จ่ายเงินโครตซวยยย อยู่ดีๆมีภาระขึ้นมา) หลักจำจ่ายๆนิติบุคคลเมื่อจ่ายค่าบริการจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งให้กรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป***บุคคลธรรมดาจ่ายเงินไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย นิติบุคคลจะทำภาษีหัก ณ ที่จ่ายจะต้องรู้ 2 เรื่อง 1.ผู้รับเงินคือใคร <<<< กระทบต่อชนิดแบบที่ยื่น2.ประเภทเงินได้ที่จ่าย <<<< กระทบต่ออัตราภาษีที่จะต้องหัก ตัวอย่าง : วันที่ 18 ส.ค. 60 บริษัทจ่ายค่าบริการทำบัญชี ให้กับบริษัทบัญชี จำนวน 2,000 บาท

by KKN การบัญชี

50 ทวิ
Bitcoin
DBD Registered
e-filing
LTF
SME
SMEs
TFRS16
Uncategorized
Voucher
กท.20 ก
กรมสรรพากร
กองทุนรวม
ก่อสร้างอาคารบนที่ดินของกรรมการ
การขอรับบริจาค
การจัดสรรกำไรสะสม
การตัดหนี้สูญ
การบริจาค
การบันทึกบัญชีเงินสดรับ-จ่าย
การประมาณการกำไรสุทธิขาดไป
การลงทุน
การลงประกาศหนังสือพิมพ์
การลดหย่อนบริจาคทั่วไป
การเช่า
กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กิจการร่วมค้า และกิจการค้าร่วม
กิจการเพื่อสังคม
กิจการโรงแรม
ขนส่ง
ขอคืนเงินประกันไฟฟ้า
ขายกิจการ
ขายสินค้าต่ำกว่าทุน
ขายสินค้าส่งออกไปต่างประเทศ
ขายหนังสือแถมคอร์สเรียนออนไลน์
คริปโทเคอร์เรนซี
ความเสี่ยง-ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ความเสี่ยงของกิจการ
ค่าขนส่ง
ค้าขายออนไลน์
ค่าตรวจสุขภาพ
ค่าปรับ
ค่ารักษาพยาบาล
ค่ารับรอง
ค่าสินไหมทดแทน
ค่าเช่า
ค่าเช่ารับล่วงหน้า
ค่าเบี้ยประกันชีวิต
ค่าเสื่อมราคา
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายของกิจการ
ค่าใช้จ่ายทางภาษี
ค่าใช้จ่ายในการอบรม
งบการเงิน
งบการเงินส่วนบุคคล
จดทะเบียน
จดทะเบียนเพิ่มสาขา
จดภาษีมูลค่าเพิ่ม
จัดตั้งบริษัท
จ้างงานผู้สูงอายุ
จ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ
จ้างเด็กจบใหม่
ช้อปดีมีคืน
ดอกเบี้ยค้างรับ
ตราประทับ
ทรัพย์สิน
ทั่วไป
ทำประกันให้พนักงาน
ธุรกรรม
ธุรกิจขนส่ง
บริจาค
บริษัท กับ กรรมการ
บัญชีและภาษี
บิลเงินสด
ประกัน keyman
ประกันCovid-19
ประกันสังคม
ประชุมบริษัท
ประเภทเช็ค
ผลขาดทุน
ผู้ถือหุ้น
ผู้ประกอบการ
พร้อมเพย์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ฟรีแลนซ์
ภ.ง.ด. 1ก
ภ.ง.ด.1 ก
ภ.ง.ด.54
ภ.พ.36
ภาษี
ภาษี e-Service
ภาษีDropship
ภาษีกองทุนตราสารหนี้
ภาษีกับการออกจากงาน
ภาษีการรับมรดก
ภาษีของแพทย์
ภาษีขาย
ภาษีซื้อ
ภาษีซื้อต้องห้าม
ภาษีดอกเบีี้ย
ภาษีที่ดิน
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีนำเข้าสินค้า
ภาษีป้าย
ภาษีฟรีแลนซ์
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีรถยนต์
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีอากร
ภาษีอากรนำเข้า
ภาษีอีเพย์เมนต์
ภาษีเงินปันผล
ภาษีเงินได้จากการรับให้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ภาษีโรงแรม
มาตรการผู้กู้ยืม กยศ.
มูลค่าต้นทุน
ย้ายกิจการ
ยื่นแบบ
ยื่นแบบอย่างไรให้ประหยัดค่าปรับที่สุด
รถยนต์นั่ง
รถแลกเงิน
ระบบรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
ร้านกาแฟ-เสียภาษี
รายจ่ายค่าซ่อมแซม
รายจ่ายจริง
รายจ่ายต้องห้าม
รายได้อื่น
ลดหย่อนทางภาษี
ลดหย่อนภาษี
ลาออกจากงาน
วงจรเงินสด
วางระบบบัญชี
วางแผนภาษี
ศุลกากร
ส่งสินค้าทางไปรษณีย์
ส่งเสริมการขาย
สต็อกสินค้า
สรุปประเด็นภาษี
ส่วนลดกาาค้าและส่วนลดเงินสด
สวัสดิการพนักงาน
สวัสดิการอาหารพนักงาน
สัญญาขายฝาก
สัญญาซื้อ
สัญญาฝากทรัพย์
สัญญายินยอม
สัญญาเช่า
สัญญาเช่าที่ดิน
สำนักงานบัญชี
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
หนี้สิน
อั่งเปา
อากรแสตมป์
เกษตรกับวิธีเสียภาษี
เครื่องบันทึกการเก็บเงิน
เคลมภาษีซื้อ ค่าอบรม
เงินกู้ยืมกรรมการ
เงินค่าฝึกอบรม
เงินชดใช้ค่าเสียหาย
เงินทดรองจ่าย
เงินบำนาญชราภาพ
เงินบำเหน็จ
เงินปันผล
เงินมัดจำ
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
เงินสมทบประกันสังคม
เงินสำรองจ่าย
เงินเรียกเก็บล่วงหน้าจากการขายสินค้า
เงินได้พนักงาน
เงินได้พึงประเมิน
เช่าซื้อ-ลิสซิ่ง
เบี้ยประกัน
เบี้ยปรับ
เปิดบริษัท
เราเที่ยวด้วยกัน
เลขประจำตัวผู้เสียอากร
เลิกทำธุรกิจ
เสน่หากับภาษ๊
เอกสารการเบิกจ่ายเงิน
เอกสารทางภาษี
เอกสารบัญชี
แจกไฟล์
แรงงานต่างด้าว
โครงการคนละครึ่ง
โทษปรับ
ใบกำกับภาษี
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
ใบลดหนี้
ใบลดหนี้และใบเพิ่มหนี้
ใบสำคัญจ่าย
ใบหุ้น
ใบเสนอราคา
ใบเสร็จรับเงิน