ส่งสินค้าตัวอย่างให้ลูกค้า : โดยไม่ได้เก็บเงินจากลูกค้า กิจการจะต้องบันทึกบัญชีค่าภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น รายจ่ายต้องห้าม กิจการสามารถตัดสต็อคสินค้าตัวอย่าง ได้โดยไม่ต้องเปิดใบกำกับภาษีให้กับทางลูกค้าเนื่องจากไม่ได้เก็บเงิน กิจการสามารถตัดสต็อคสินค้าตัวอย่าง ได้โดยไม่ต้องบันทึกรายได้จากรายการนี้ ส่งสินค้าตัวอย่างให้ลูกค้า : โดยถือเป็นรวมเป็นของแถม ที่แถมไปพร้อมกับสินค้าที่ขายหรือบริการที่ให้การแถมถือเป็นการจำหน่าย จ่าย โอน สินค้า ซึ่งถือเป็นการขายสินค้า กิจการจึงต้องเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย โดยบันทึกค่าภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น ภาษีขายแต่มีข้อยกเว้น ถ้าไม่อยากเสียภาษีขายจากการให้ของแถมลูกค้าต้องปฏิบัติตามดังต่อไปนี้1.มูลค่าของแถมจะต้องไม่เกินมูลค่าสินค้าที่ขายหรือบริการ โดยของที่แถมไม่จำเป็นจะต้องเป็นชนิดเดียวกันก็ได้2.ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีสำหรับสินค้าที่ขายและสินค้าที่แจกหรือแถมนั้น โดยระบุรายการสินค้าที่แจกหรือแถมไว้ในใบกำกับภาษีฉบับเดียวกันกับสินค้าที่ขาย3.ผู้ประกอบการจะส่งมอบสินค้าที่แถมทันทีพร้อมกับการขาย หรือส่งมอบทีหลังก็ได้ (ถ้าส่งมอบทีหลังไม่ต้องออกใบกำกับภาษีซ้ำอีกรอบ) ที่มาhttps://www.taxguruthai.com
by KKN การบัญชี
ให้ของแถมลูกค้าก็ต้องเสียภาษีขายด้วยนะ(แต่มีข้อยกเว้น)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อมีการจำหน่าย จ่าย โอนสินค้า ไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่มีค่าตอบแทน จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับกรมสรรพากร ดังนั้น ของแถมที่ให้ลูกค้าจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย แต่ๆๆๆทุกอย่างมันมีข้อยกเว้นเสมอ ถ้าไม่อยากเสียภาษีขายจากการให้ของแถมลูกค้าต้องปฏิบัติตามดังต่อไปนี้ มูลค่าของแถมจะต้องไม่เกินมูลค่าสินค้าที่ขายหรือบริการ โดยของที่แถมไม่จำเป็นจะต้องเป็นชนิดเดียวกันก็ได้ ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีสำหรับสินค้าที่ขายและสินค้าที่แจกหรือแถมนั้น โดยระบุรายการสินค้าที่แจกหรือแถมไว้ในใบกำกับภาษีฉบับเดียวกันกับสินค้าที่ขาย ผู้ประกอบการจะส่งมอบสินค้าที่แถมทันทีพร้อมกับการขาย หรือส่งมอบทีหลังก็ได้ (ถ้าส่งมอบทีหลังไม่ต้องออกใบกำกับภาษีซ้ำอีกรอบ)
by KKN การบัญชี
ภาษีเงินได้ เป็นภาษีทีเก็บจากเงินได้ ดังนั้นใครที่มีรายได้จะต้องเสียภาษี บุคคลธรรมดา – เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินได้สุทธิ (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) นิติบุคคล – เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิทางภาษี ภาษีมูลค่าเพิ่ม มีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นภาษีที่จะต้องจ่ายทันทีเมื่อมีรายได้จากการให้บริการ โดยนิติบุคคลผู้จ่ายเงินได้เป็นผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ภาษีอากรแสตมป์ ตราสารที่จะต้องติดอากรแสตมป์ ได้แก่ สัญญาเช่าโรงเรือน, เช่าซื้อทรัพย์สิน,จ้างทำของ, เงินกู้ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ได้แก่ เกษตรกรรม, ที่อยู่อาศัย, อื่น ๆ (พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม) และที่ดินรกร้างว่างเปล่า โดยคิดอัตราภาษีเป็นรูปแบบขั้นบันไดเพิ่มขึ้นตามมูลค่าราคาประเมิน ภาษีศุลกากร เรียกเก็บจากการนำสินค้า หรือสิ่งของผ่านเข้าออกจากเขตแดนหนึ่งไปยังอีกเขตแดนหนึ่ง ภาษีสรรพสามิต เรียกเก็บจากสินค้าที่ผลิตหรือนำเข้าและการให้บริการในทางธุรกิจตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ภาษีน้ำมัน, ภาษีน้ำหอม, ภาษีรถยนต์ ภาษีธุรกิจเฉพาะ เรียกเก็บจากการประกอบธุรกิจธนาคารหรือประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์, ประกันชีวิต, โรงรับจำนำ รวมถึงการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นการค้าหรือหากำไร […]
by KKN การบัญชี
สรรพากรบอกว่า การขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุสมควร เจ้าหน้าที่สรรพากรมีอำนาจประเมินราคาสินค้าให้เป็นตามราคาตลาดในวันที่มีการขายสินค้าได้ เมื่อถูกเจ้าหน้าที่สรรพากรประเมินราคาขายเพิ่มขึ้นส่งผลทำให้กิจการจะต้องเสียภาษีมากขึ้น เหตุผลอันควรในการขายสินค้าที่ต่ำกว่าราคาตลาด มีอะไรบ้างเราไปดูกัน • สินค้าตกรุ่น • สินค้าใกล้หมดอายุ / หมดอายุแล้ว (ยังกล้าขายอีก) • สินค้ามีตำหนิ ไม่ได้มาตรฐาน ผู้ประกอบการสามารถขายสินค้าในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดได้ แต่ต้องทำบางอย่างเพิ่มดังนี้1. กรณีสินค้าตกรุ่น ต้องได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจในการพิจารณาให้เป็นสินค้าตกรุ่น และพิจารณาราคาตลาดที่เหมาะสมสำหรับสินค้าตกรุ่น 2.สินค้าใกล้หมดอายุ มีตำหนิไมได้มาตรฐาน จะต้องมีการตรวจสอบสภาพสินค้าตามเงื่อนไขที่บริษัทฯ กำหนดไว้ และให้ผู้มีอำนาจอนุมัติ พร้อมทั้งจะต้องมีบุคคลร่วมสังเกตการณ์ ประกอบด้วยฝ่ายคลังสินค้าและฝ่ายบัญชี โดยลงลายมือชื่อเป็นพยานในการขาย • การส่งเสริมการขายการขายสินค้าในช่วงส่งเสริมการขาย โดยลดราคาให้กับผู้ซื้อ ถือเป็นเหตุผลอันควรในการขายสินค้าที่ต่ำกว่าราคาตลาด แต่ควรจะมีหลักฐานประกอบดังนี้1.การจัดทำแผนการขายและอนุมัติแผนการขายโดยผู้มีอำนาจ -เหตุผลความจำเป็นในการทำแผนการขาย -วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และผลที่คาดว่าจะได้รับ -ชื่อ ชนิด ประเภท ราคา และมูลค่าของสินค้าที่จะลดราคา 2.รายงานผลการดำเนินงานของแผนการขาย 3.การส่งเสริมการขายควรให้กับลูกค้าทุกราย ไม่ใช่เพื่อลูกค้าบางรายโดยเฉพาะ
by KKN การบัญชี
อยากออกใบกำกับภาษีขาย แต่ลูกค้าไม่ให้ข้อมูล ทำอย่างไร
อยากจะเป็นคนดีของท่านสรรพากร แต่บางทีมันก็มีอุปสรรคซะเหลือเกิน ทั้งๆที่ไม่อยากหนีภาษีเลยซักนิด ขายทุกครั้งอยากจะออกบิล แต่บางครั้งคุณลูกค้าก็ไม่ค่อยให้ความร่วมมือ ไม่อยากให้ข้อมูล วันนี้เลยเสนอประเด็นการแก้ปัญหากับลูกค้าที่เป็นบุคคลธรรมดา ที่ไม่ให้ข้อมูลเพื่อออกใบกำกับภาษีครับ 1.ไม่ออกใบกำกับภาษี (ไม่มีข้อมูลก็เลยไม่ออกมันซะเลย) ไม่จัดทำใบกำกับภาษี หรือจัดทำแล้วไม่ได้ส่งมอบให้ลูกค้า มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 2. เขียนชื่อลูกค้า “ลูกค้าเงินสด” ออกใบกำกับภาษีโดยมีรายการในส่วนที่เป็นสาระสำคัญไม่ครบถ้วน มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท 3. ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ กิจการที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ ได้แก่กิจการที่เป็นการขายสินค้าในลักษณะขายปลีก หรือกิจการให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมากสามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้ เช่น ร้านขายของชำ ร้านขายยา ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร 4. ไม่ต้องขาย บางครั้งกฏหมาย ก็ไม่เอื้ออำนวยกับผู้ประกอบการที่ต้องการจะเสียภาษีให้ถูกต้อง ก็ได้แต่หวังว่าจะมีการแก้กฏหมายใหม่ในเร็ววัน
by KKN การบัญชี
ไม่ต้องออกใบกำกับภาษีก็ได้ ถ้ากิจการของคุณเข้าเงื่อนไขต่อไปนี้
เว้นแต่ กรณีดังต่อไปนี้ 1. การขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย กำหนดให้กิจการรายย่อยไม่ต้องออกใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือ การให้บริการที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท เว้นแต่ ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการจะเรียกร้องใบกำกับภาษี สำหรับกิจการดังต่อไปนี้ กิจการไม่เคยมีมูลค่าของฐานภาษีในเดือนใดถึง 300,000 บาท การขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งหน่วยขายเป็นรถเข็น แผงลอย การให้บริการการแสดง การเล่น การกีฬา การแข่งขัน การประกวดหรือ การกระทำใด ๆ ในลักษณะทำนองเดียวกันที่จัดขึ้นเพื่อเก็บเงินจากผู้ดู ผู้ฟัง ผู้เล่น หรือผู้เข้าแข่งขัน 2. การขายน้ำมันเชื้อเพลิงของสถานบริการน้ำมัน การขายน้ำมันเชื้อเพลิงของสถานบริการน้ำมันโดยผ่านมิเตอร์หัวจ่ายอันมีลักษณะเป็น การขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก มีสิทธิที่จะขายน้ำมันเชื้อเพลิงโดยไม่ต้องออกใบกำกับภาษีสำหรับการขายน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท เว้นแต่ผู้ซื้อสินค้าจะเรียกร้องใบกำกับภาษี
by KKN การบัญชี
ขายของออนไลน์ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้หรือไม่?
สรรพากรบอกว่ากิจการที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ ได้แก่ กิจการที่เป็นขายสินค้าในลักษณะขายปลีก หรือกิจการให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก สามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้ การขายปลีก เป็นการขายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง เพื่อนำไปบริโภคหรือใช้สอย มิได้มีวัตถุประสงค์ นำไปขายต่อ เช่น ขายของชำ ขายยา ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น การให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก เช่น กิจการภัตตาคาร โรงแรม ซ่อมแซมทุกชนิด เป็นต้น จะเห็นว่าขายของออนไลน์ เป็นการขายปลีกให้ผู้บริโภคจำนวนมากเพื่อนำไปใช้บริโภคหรือใช้สอยเอง ดังนั้นขายของออนไลน์จึงสามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้
by KKN การบัญชี