ภาษีซื้อ

บทความล่าสุด

Uncategorized

สรุปประเด็นภาษีช่วงปีใหม่ ที่ทุกกิจการต้องเจอ

ปล. สำหรับเงินสนับสนุนจัดการปีใหม่ให้แก่บริษัทลูกค้า ถ้าหากบริษัทต้องการให้ลงเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ อาจจะจ่ายในรูปแบบของค่าส่งเสริมการขายตาม ป .118/2545 แทนซึ่งความยากอยู่ที่จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายลูกค้า

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายทางภาษี

ให้ของขวัญปีใหม่กับลูกค้าแบบไหน ประหยัดภาษีที่สุด

ในช่วงเทศกาลปีใหม่ทุกบริษัทก็มักจะมีการซื้อของขวัญให้กับลูกค้า และแน่นอนทุกบริษัทก็อยากที่จะประหยัดภาษีที่สุด ต้องการที่จะนำรายจ่ายค่าซื้อของขวัญให้กับลูกค้ามาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีของกิจการให้ได้ครบถ้วน 100% แอดมินจึงมาสรุปทางเลือกทั้ง 4 แบบในการให้ของขวัญกับลูกค้าเพื่อช่วยในการประหยัดภาษี ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีข้อดีและข้อเสีย รวมถึงเงื่อนไขในการปฏิบัติที่แตกต่างกันไป ดังนั้นเราจะต้องเลือกให้เหมาะกับสถานะการณ์ครับ แต่ถ้าให้ผมเรียงลำดับความ Advance จะสามารถเรียงลำดับได้ดังนี้ 1.ให้ของขวัญผ่านค่ารับรอง แต่ข้อเสียคือจำกัดมูลค่าสูงสุดเพียงแค่ 2,000 บาทต่อครั้ง 2.ให้ของขวัญผ่านส่งเสริมการขาย ข้อดีไม่จำกัดมูลค่า แต่ข้อเสียคือโดนหัก ณ ที่จ่าย 3.ให้ของขวัญผ่านของชำร่วย/ของที่ละลึก ข้อดีคือไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย แต่ข้อเสียคือต้องสกรีนชื่อบริษัทหรือโลโก้ในตัวสินค้า และมูลค่าไม่ควรเกินสมควรอีก 4.ของแถม ผมว่าตัวนี้ดีมากๆเลยไม่ต้องโดนหัก ณ ที่จ่าย ไม่ต้องสกรีนชื่อสินค้า แต่เราจะต้องวางแผน Match ของที่เราจะให้ลงไปในใบกำกับภาษีขายให้ได้ แต่นักบัญชีและเจ้าของกิจการเก่งอยู่แล้วครับ

by KKN การบัญชี

ภ.ง.ด.54

จ่ายค่าบริการ CANVA ต้องยื่นภาษีอะไรบ้าง ?

จ่ายค่าบริการ CANVA ต้องยื่นภาษี ภ.ง.ด.54 การจ่ายค่าสมาชิกรายเดือน กับ Canva ถือเป็นการจ่ายค่าสิทธิตามมาตรา 40(3) บริษัทผู้จ่ายค่าบริการให้กับนิติบุคคลต่างประเทศ (ออสเตรเลีย) มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ภ.พ.36 กรณีไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่มีหน้าที่ต้องยื่น ภ.พ.36

by KKN การบัญชี

ภาษีซื้อ

ค่าเครื่องดื่ม ชากาแฟ ที่บริษัทซื้อสามารถขอคืนภาษีซื้อจากกรมสรรพากรได้หรือไม่ ❓

มีหลักในการพิจารณาง่ายๆดังนี้ ➊ เราต้องเป็นผู้ประกอบการจด VAT (ถ้าไม่ได้จด VAT ขอคืนภาษีไม่ได้แน่นอน) ➋ ดูวัตถุประสงค์ว่าเราซื้อเครื่องดื่ม ชากาแฟ มาใช้สำหรับทำอะไร 👉 กรณีซื้อมาให้พนักงานรับประทานในระหว่างทำงาน เป็นสวัสดิการพนักงาน สามารถขอคืนภาษีซื้อจากกรมสรรพากรได้ ไม่เป็นภาษีซื้อต้องห้าม 👉 กรณีซื้อมารับรองลูกค้า ภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องกับค่ารับรองลูกค้า กรมสรรพากรบอกว่าห้ามนำมาหักกับภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อ เป็นภาษีซื้อต้องห้าม

by KKN การบัญชี

ภาษีซื้อ

ของขวัญกับการเสียภาษี 🎁

ช่วงใกล้สิ้นปี บริษัทต่างๆ ก็มักจะมีการแจกของขวัญให้กับลูกค้าของบริษัท วันนี้แอดมินจึงมาสรุปภาษีที่เกี่ยวข้องกับการแจกของขวัญให้กับลูกค้า

by KKN การบัญชี

ภาษีซื้อ

รู้หรือไม่? รถกระบะ 4 ประตู สามารถเคลมภาษีซื้อได้แล้ว

การเปลี่ยนแปลงมีผลกระทบต่อภาษีอากร ดังนี้1.ภาษีซื้อสำหรับรถยนต์กระบะ 4 ประตู– รวมทั้งภาษีซื้อสำหรับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกีบรถยนต์ไม่ถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม ตามมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 2 (1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) 2.ต้นทุนสำหรับรถยนต์กระบะ 4 ประตู– การคำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้มาโดยการซื้อหรือเช่าซื้อ ไม่จำกัดมูลค่าต้นทุน ที่จำนวนไม่เกิน 1,000,000 บาท การคำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากรและมาตรา 5 แห่งโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 3.มูลค่าต้นทุนสำหรับรถยนต์กระบะ 4 ประตู– ส่วนที่เกินกว่า 1,000,000 บาท ไม่เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายต้องห้าม ตามมาตรา 65 ตรี (20) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับมาตรา 4 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 315) พ.ศ. 2540 […]

by KKN การบัญชี

ภาษีซื้อ

เติมน้ำมันเบ็นซินใช้เป็นค่าใช้จ่าย/เคลมภาษีซื้อได้หรือไม่

1.น้ำมันดังกล่าวใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อกิจการ2.กิจการเป็นผู้จ่ายเงิน และมีหลักฐานการจ่ายเงินที่พิสูจน์ได้ว่าผู้รับเงินคือใคร และจำนวนเงินเท่าไหร่ ขอภาษีซื้อคืนได้หรือไม่ ในการพิจารณาเรื่องขอภาษีซื้อคืนจากกรมสรรพากร จะไม่ได้อยู่ที่ชนิดของน้ำมัน แต่ขึ้นอยู่กับชนิดของรถยนต์ กรมสรรพากรบอกว่า “ภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน” ไม่สามารถขอคืนภาษีซื้อได้ ตัวอย่างชนิดของรถยนต์ที่สามารถขอภาษีซื้อคืนได้

by KKN การบัญชี

ภาษีซื้อ

สรุปการใช้สิทธิภาษีซื้อของแต่ละชนิดเอกสาร

ใบกำกับภาษีนำไปเป็นภาษีซื้อภายใน 6 เดือน ถัดจากเดือนที่ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ / ใบลดหนี้ให้ใช้สิทธิ์ในเดือนที่ได้รับเอกสารใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้ (ถ้าเดือนที่ได้รับห่างจากเดือนที่ระบุในเอกสารเยอะ เราจะต้องมีหลักฐานพิสูจน์ให้เจ้าหน้าที่เชื่อได้) ใบเสร็จ ภ.พ. 36นำภาษีซื้อมาหักภาษีขายในเดือนที่มีการนำส่งภาษีเท่านั้น ใบเสร็จจากกรมศุลกากรนำไปเป็นภาษีซื้อภายใน 6 เดือน ถัดจากเดือนที่ออกใบกำกับภาษีสำหรับผู้ขาย จะต้องยื่นภาษีขายในเดือนที่ออกเอกสารเท่านั้น

by KKN การบัญชี

ภาษีขาย

ทำธุรกิจเสียภาษีอะไรบ้าง

ภาษีเงินได้ เป็นภาษีทีเก็บจากเงินได้ ดังนั้นใครที่มีรายได้จะต้องเสียภาษี บุคคลธรรมดา – เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินได้สุทธิ (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) นิติบุคคล – เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิทางภาษี ภาษีมูลค่าเพิ่ม มีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นภาษีที่จะต้องจ่ายทันทีเมื่อมีรายได้จากการให้บริการ โดยนิติบุคคลผู้จ่ายเงินได้เป็นผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ภาษีอากรแสตมป์ ตราสารที่จะต้องติดอากรแสตมป์ ได้แก่ สัญญาเช่าโรงเรือน, เช่าซื้อทรัพย์สิน,จ้างทำของ, เงินกู้ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ได้แก่ เกษตรกรรม, ที่อยู่อาศัย, อื่น ๆ (พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม) และที่ดินรกร้างว่างเปล่า โดยคิดอัตราภาษีเป็นรูปแบบขั้นบันไดเพิ่มขึ้นตามมูลค่าราคาประเมิน  ภาษีศุลกากร เรียกเก็บจากการนำสินค้า หรือสิ่งของผ่านเข้าออกจากเขตแดนหนึ่งไปยังอีกเขตแดนหนึ่ง ภาษีสรรพสามิต เรียกเก็บจากสินค้าที่ผลิตหรือนำเข้าและการให้บริการในทางธุรกิจตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ภาษีน้ำมัน, ภาษีน้ำหอม, ภาษีรถยนต์ ภาษีธุรกิจเฉพาะ เรียกเก็บจากการประกอบธุรกิจธนาคารหรือประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์, ประกันชีวิต, โรงรับจำนำ รวมถึงการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นการค้าหรือหากำไร […]

by KKN การบัญชี

ภาษีซื้อ

ผู้ประกอบการจด VATไม่ขอคืนภาษีซื้อบันทึกบัญชีอย่างไร

วันนี้ได้มีโอกาสตรวจสอบงบการเงินของกิจการแห่งหนึ่ง พบว่านักบัญชีที่บันทึกบัญชีมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการที่กิจการไม่ขอคืนภาษีซื้ออยู่ โดยนักบัญชีได้นำภาษีซื้อที่กิจการมีสิทธิ์ที่จะขอคืน แต่ไม่ได้ขอคืนนำมารวมเป็นต้นทุนของค่าใช้จ่าย ตามหลักปฏิบัติที่นิยมกันจะแยกรายการภาษีซื้อที่ไม่ขอคืนเป็นอีกหนึ่งบัญชีต่างหาก เพราะตามมาตรา 65 ตรี (6 ทวิ) กำหนดให้ภาษีซื้อที่กิจการมีสิทธิขอคืนแต่ไม่ดำเนินการขอคืนเอง ทางกรมสรรพากรจะไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ การแยกบัญชีออกมาจะช่วยทำให้ตอนคำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลสิ้นปีทำได้ง่ายขึ้น ตามมาตรา 65 ตรี (6 ทวิ) กำหนดให้ภาษีซื้อที่กิจการมีสิทธิที่จะสามารถขอคืนภาษีซื้อได้ แต่กิจการไม่ประสงค์ขอคืนภาษีเอง รายการภาษีซื้อดังกล่าวไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ *สำหรับบัญชีภาษีซื้อไม่ขอคืนตอนสิ้นปีเมื่อคำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคล อย่าลืมที่จะปรับปรุงให้เป็นรายการค่าใช้จ่ายบวกกลับในการคำนวนภาษี

by KKN การบัญชี

ภาษีซื้อ

ค่าน้ำมันรถเคลมภาษีซื้อได้หรือไม่

ค่าน้ำมันรถสามารถเคลมภาษีซื้อได้ เมื่อเข้าเงื่อนไขต่อไปนี้ 1.ค่าน้ำมันของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง ไม่สามารถเคลมภาษีซื้อ (เคลมได้แต่รถเชิงพาณิชย์เท่านั้น) 2.ต้องมีการบันทึกเลขทะเบียนรถที่เติมน้ำมันไว้ในใบกำกับภาษี 3.ต้องเป็นใบกำกับภาษีเต็มรูปเท่านั้น 4.ควรมีการจัดทำบันทึกการเดินทางของรถแต่ละคันในแต่ละวันว่าใช้รถในการทำอะไรบ้าง เผื่อพี่สรรพากรมาขอตรวจสอบ 5.ต้องนำมาใช้กับรถของกิจการหรือรถที่ได้ทำสัญญาเช่าใช้หรือยินยอมให้ใช้

by KKN การบัญชี

ภาษีซื้อ

ซื้อของตามตลาดไม่มีบิล ทำอย่างไรดี?

หนึ่งในปัญหาที่ทำให้ผู้ประกอบการหลายคนปวดหัวที่สุดปัญหาหนึ่งก็คือ “จ่ายเงิน ซื้อของแต่ไม่ได้รับบิล หรือใบเสร็จจากผู้ขาย” เพราะปัญหานี้ทำให้ผู้ประกอบการไม่มีค่าใช้จ่ายไปหักรายได้ ส่งผลทำให้ผลประกอบการมีกำไรเสียภาษีมากกว่าความเป็นจริงของกิจการ และทำให้เสียภาษีมากขึ้น ยกตัวอย่างให้เห็นภาพกับความจริงของการซื้อของจากตลาด ในกรณีซื้อของจากตลาดสดแล้วไม่มีเอกสารใบเสร็จรับเงินจากแม่ค้า ซึ่งเรื่องนี้กรมสรรพากรได้เป็นผู้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้กับผู้ประกอบการ คือ สามารถใช้เอกสาร “ใบรับรองแทนใบเสร็จ” โดยให้พนักงานที่ไปซื้อสินค้าเขียนรายการสินค้าที่ซื้อ และให้ผู้ซื้อเซ็นชื่อรับรอง เพื่อที่ผู้ประกอบการทุกท่านจะได้บันทึกบัญชีตามผลประกอบการที่แท้จริงได้ค่ะ ในบางครั้งเจ้าหน้าที่อาจจะไม่มั่นใจว่าเราซื้อสินค้าหรือจริงไม่ เราสามารถเพิ่มความมั่นใจให้เจ้าหน้าที่ได้ค่ะ โดยเก็บหลักฐานเหล่านี้แสดงต่อเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร เพียงเท่านี้ผู้ประกอบการก็สามารถซื้อสินค้าได้อย่างสบายใจ และยังนำมาเป็นรายจ่ายทางภาษีได้อีกด้วยค่ะ

by KKN การบัญชี

ภาษีขาย

ไม่ต้องออกใบกำกับภาษีก็ได้ ถ้ากิจการของคุณเข้าเงื่อนไขต่อไปนี้

เว้นแต่ กรณีดังต่อไปนี้ 1. การขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย กำหนดให้กิจการรายย่อยไม่ต้องออกใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือ การให้บริการที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท เว้นแต่ ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการจะเรียกร้องใบกำกับภาษี สำหรับกิจการดังต่อไปนี้ กิจการไม่เคยมีมูลค่าของฐานภาษีในเดือนใดถึง 300,000 บาท การขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งหน่วยขายเป็นรถเข็น แผงลอย การให้บริการการแสดง การเล่น การกีฬา การแข่งขัน การประกวดหรือ การกระทำใด ๆ ในลักษณะทำนองเดียวกันที่จัดขึ้นเพื่อเก็บเงินจากผู้ดู ผู้ฟัง ผู้เล่น หรือผู้เข้าแข่งขัน 2. การขายน้ำมันเชื้อเพลิงของสถานบริการน้ำมัน การขายน้ำมันเชื้อเพลิงของสถานบริการน้ำมันโดยผ่านมิเตอร์หัวจ่ายอันมีลักษณะเป็น การขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก มีสิทธิที่จะขายน้ำมันเชื้อเพลิงโดยไม่ต้องออกใบกำกับภาษีสำหรับการขายน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท เว้นแต่ผู้ซื้อสินค้าจะเรียกร้องใบกำกับภาษี

by KKN การบัญชี

50 ทวิ
Bitcoin
DBD Registered
e-filing
LTF
SME
SMEs
TFRS16
Uncategorized
Voucher
กท.20 ก
กรมสรรพากร
กองทุนรวม
ก่อสร้างอาคารบนที่ดินของกรรมการ
การขอรับบริจาค
การจัดสรรกำไรสะสม
การตัดหนี้สูญ
การบริจาค
การบันทึกบัญชีเงินสดรับ-จ่าย
การประมาณการกำไรสุทธิขาดไป
การลงทุน
การลงประกาศหนังสือพิมพ์
การลดหย่อนบริจาคทั่วไป
การเช่า
กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กิจการร่วมค้า และกิจการค้าร่วม
กิจการเพื่อสังคม
กิจการโรงแรม
ขนส่ง
ขอคืนเงินประกันไฟฟ้า
ขายกิจการ
ขายสินค้าต่ำกว่าทุน
ขายสินค้าส่งออกไปต่างประเทศ
ขายหนังสือแถมคอร์สเรียนออนไลน์
คริปโทเคอร์เรนซี
ความเสี่ยง-ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ความเสี่ยงของกิจการ
ค่าขนส่ง
ค้าขายออนไลน์
ค่าตรวจสุขภาพ
ค่าปรับ
ค่ารักษาพยาบาล
ค่ารับรอง
ค่าสินไหมทดแทน
ค่าเช่า
ค่าเช่ารับล่วงหน้า
ค่าเบี้ยประกันชีวิต
ค่าเสื่อมราคา
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายของกิจการ
ค่าใช้จ่ายทางภาษี
ค่าใช้จ่ายในการอบรม
งบการเงิน
งบการเงินส่วนบุคคล
จดทะเบียน
จดทะเบียนเพิ่มสาขา
จดภาษีมูลค่าเพิ่ม
จัดตั้งบริษัท
จ้างงานผู้สูงอายุ
จ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ
จ้างเด็กจบใหม่
ช้อปดีมีคืน
ดอกเบี้ยค้างรับ
ตราประทับ
ทรัพย์สิน
ทั่วไป
ทำประกันให้พนักงาน
ธุรกรรม
ธุรกิจขนส่ง
บริจาค
บริษัท กับ กรรมการ
บัญชีและภาษี
บิลเงินสด
ประกัน keyman
ประกันCovid-19
ประกันสังคม
ประชุมบริษัท
ประเภทเช็ค
ผลขาดทุน
ผู้ถือหุ้น
ผู้ประกอบการ
พร้อมเพย์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ฟรีแลนซ์
ภ.ง.ด. 1ก
ภ.ง.ด.1 ก
ภ.ง.ด.54
ภ.พ.36
ภาษี
ภาษี e-Service
ภาษีDropship
ภาษีกองทุนตราสารหนี้
ภาษีกับการออกจากงาน
ภาษีการรับมรดก
ภาษีของแพทย์
ภาษีขาย
ภาษีซื้อ
ภาษีซื้อต้องห้าม
ภาษีดอกเบีี้ย
ภาษีที่ดิน
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีนำเข้าสินค้า
ภาษีป้าย
ภาษีฟรีแลนซ์
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีรถยนต์
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีอากร
ภาษีอากรนำเข้า
ภาษีอีเพย์เมนต์
ภาษีเงินปันผล
ภาษีเงินได้จากการรับให้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ภาษีโรงแรม
มาตรการผู้กู้ยืม กยศ.
มูลค่าต้นทุน
ย้ายกิจการ
ยื่นแบบ
ยื่นแบบอย่างไรให้ประหยัดค่าปรับที่สุด
รถยนต์นั่ง
รถแลกเงิน
ระบบรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
ร้านกาแฟ-เสียภาษี
รายจ่ายค่าซ่อมแซม
รายจ่ายจริง
รายจ่ายต้องห้าม
รายได้อื่น
ลดหย่อนทางภาษี
ลดหย่อนภาษี
ลาออกจากงาน
วงจรเงินสด
วางระบบบัญชี
วางแผนภาษี
ศุลกากร
ส่งสินค้าทางไปรษณีย์
ส่งเสริมการขาย
สต็อกสินค้า
สรุปประเด็นภาษี
ส่วนลดกาาค้าและส่วนลดเงินสด
สวัสดิการพนักงาน
สวัสดิการอาหารพนักงาน
สัญญาขายฝาก
สัญญาซื้อ
สัญญาฝากทรัพย์
สัญญายินยอม
สัญญาเช่า
สัญญาเช่าที่ดิน
สำนักงานบัญชี
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
หนี้สิน
อั่งเปา
อากรแสตมป์
เกษตรกับวิธีเสียภาษี
เครื่องบันทึกการเก็บเงิน
เคลมภาษีซื้อ ค่าอบรม
เงินกู้ยืมกรรมการ
เงินค่าฝึกอบรม
เงินชดใช้ค่าเสียหาย
เงินทดรองจ่าย
เงินบำนาญชราภาพ
เงินบำเหน็จ
เงินปันผล
เงินมัดจำ
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
เงินสมทบประกันสังคม
เงินสำรองจ่าย
เงินเรียกเก็บล่วงหน้าจากการขายสินค้า
เงินได้พนักงาน
เงินได้พึงประเมิน
เช่าซื้อ-ลิสซิ่ง
เบี้ยประกัน
เบี้ยปรับ
เปิดบริษัท
เราเที่ยวด้วยกัน
เลขประจำตัวผู้เสียอากร
เลิกทำธุรกิจ
เสน่หากับภาษ๊
เอกสารการเบิกจ่ายเงิน
เอกสารทางภาษี
เอกสารบัญชี
แจกไฟล์
แรงงานต่างด้าว
โครงการคนละครึ่ง
โทษปรับ
ใบกำกับภาษี
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
ใบลดหนี้
ใบลดหนี้และใบเพิ่มหนี้
ใบสำคัญจ่าย
ใบหุ้น
ใบเสนอราคา
ใบเสร็จรับเงิน