ภาษีเงินได้นิติบุคคล

บทความล่าสุด

Voucher

Voucher กับการเสียภาษี

หลายกิจการมีการส่งเสริมการขายโดยการให้ Voucher แก่ลูกค้าเพื่อนำมาใช้เป็นส่วนลดในการซื้อสินค้าหรือบริการ ในโพสนี้จะมาพูดเกี่ยวกับประเด็นภาษีที่เกี่ยวกับ Voucher ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 กรณีดังนี้ 1.แจก Voucher เพื่อให้ลูกค้านำกลับมาเป็นคูปองส่วนลดในการซื้อครั้งต่อไป 2.บริษัทขาย Voucher ให้กับลูกค้า เพื่อนำมาซื้อของ

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

รายจ่ายหักค่าใช้จ่าย 2 เท่า บันทึกบัญชีอย่างไร

เคยสงสัยกันหรือไม่❓ เวลาที่กิจการมีรายจ่ายที่สามารถใช้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ 2 เท่า เช่น รายจ่ายในการส่งพนักงานเข้ารับการศึกษาและอบรม (ค่าอบรมสัมมนา) เราจะต้องบันทึกบัญชีอย่างไร และยื่นภาษีอย่างไรเพื่อให้กิจการใช้สิทธิหักรายจ่ายได้ 2 เท่า 🔸ทางบัญชี ในทางบัญชีกิจการจะต้องบันทึกบัญชีรายจ่ายให้ตรงกับที่จ่ายเงินไปจริง เช่น จ่ายค่าอบรมสัมมนา 3,000 บาท กิจการจะต้องบันทึกบัญชีแค่ 3,000 บาท ไม่ใช่บันทึกบัญชีไปเลย 6,000 บาท แบบนี้จะผิด 😅แอดมินก็เจอนักบัญชีบันทึกบัญชีผิดแบบนี้บ่อยมาก 🔸ทางภาษี กรณีที่กิจการต้องการใช้สิทธิหักรายจ่ายที่มีสิทธิ “หักได้เพิ่มขึ้น” จะต้องกรอกเอกสารใบแนบ #ใบแนบรายได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้หรือรายจ่ายที่มีสิทธิหักได้เพิ่มขึ้น และกรอกรายจ่ายเพิ่มอีกในบรรทัดที่ตรงกับสิทธิการหักรายจ่ายได้เพิ่มขึ้น 🙂การใช้สิทธิหักรายจ่ายได้เพิ่มขึ้นในแบบ ภ.ง.ด.50 ก็เป็นการวางแผนภาษีโดยการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีให้ครบถ้วน และปลอดภัยครับ

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

แจกแบบ ภ.ง.ด.50 แบบผูกสูตร

(สำรอง) http://bit.ly/3LjmbQf ในการใช้งานไฟล์นี้ผมแนะนำให้เปิด PDF File ผ่านโปรแกรม Adobe reader DC (Version Free) ถึงจะใช้งานได้อย่างไม่มีปัญหาครับ ไฟล์นี้ได้รับความอนุเคราะห์จากคุณอธิฐ สุทธิปัญโญ แบบ ภ.ง.ด.50 (ผูกสูตร) ไอเท็มที่จำเป็นสำหรับยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี พอดีมีคนขอมาเยอะบอก Link เดิมโหลดไม่ได้แล้ว แอดมินจึงโพสแจกใหม่อีกรอบครับ 💾 www.iliketax.com/download/cit502565.pdf (สำรอง) https://www.dropbox.com/t/E3sCygzfJItZos7B จะเป็นไฟล์ PDF ที่มีการเขียน JAVA Script แนะนำให้ใช้โปรแกรม Adobe Acrobat DC (Version free ก็สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพแล้วครับ ไม่จำเป็นต้องใช้แบบเสียเงิน) และไฟล์นี้ได้รับความอนุเคราะห์จากคุณอธิฐ สุทธิปัญโญ ซึ่งเป็นผู้จัดทำครับ

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51)

ภ.ง.ด. 51 คือภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี กำหนดให้นิติบุคคลที่รอบระยะเวลาไม่น้อยกว่า 12 เดือนมีหน้าที่ต้องยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด. 51) โดยมีกำหนดระยะเวลายื่นแบบนำส่งภาษีภายใน 2 เดือนนับจากวันสิ้นสุดครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทจำกัด และห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นจะยื่นจากประมาณกำไรสุทธิ ซึ่งถ้าผู้ประกอบการประมาณกำไรสุทธิต่ำเกินกว่าร้อยละ 25 ของกำไรที่เกิดขึ้นจริงตอนสิ้นปี โดยไม่มีเหตุอันสมควรต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระ

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

แจกนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคล ภ.ง.ด.50 ปี 2564 แบบผูกสูตร

▶ ▶ ▶ https://bit.ly/3GMs3w9. แนะนำให้ใช้โปรแกรม Adobe reader dc ในการเปิดสามารถโหลดฟรีได้ที่นี่ https://get.adobe.com/reader/ เครดิต: ขอขอบคุณนายอธิฐ สุทธิปัญโญ ซึ่งเป็นผู้พัฒนาไฟล์นี้มาแจกให้กับทุกคนได้ใช้งานกันครับ และตอนนี้คอมพิวเตอร์ของพี่อธิฐได้พังไปแล้ว ใครที่ต้องการร่วมบริจาคสมทบทุนจัดหาคอมพิวเตอร์ใหม่สามารถร่วมผ่านบัญชี Prompt Pay : 099-007-6161 (ตามอัธยาศัย) ผมรวบรวม Link แบบฟอร์มภาษี (แบบผูกสูตร) ที่พี่อธิฐ ได้ทำทั้งหมดไว้ให้ในโพสนี้เลยครับ เพื่อบางท่านพลาดไป 1. แบบ ภ.ง.ด. 90 ปี 2564 https://bit.ly/3JlKuJy 1.1 แบบ ภ.ง.ด.91 ปี 2564 https://bit.ly/3IcqszZ 2. แบบ ภ.ง.ด. 94 ปี 2564 https://bit.ly/33bZKZh

by KKN การบัญชี

ภาษีซื้อ

ของขวัญกับการเสียภาษี 🎁

ช่วงใกล้สิ้นปี บริษัทต่างๆ ก็มักจะมีการแจกของขวัญให้กับลูกค้าของบริษัท วันนี้แอดมินจึงมาสรุปภาษีที่เกี่ยวข้องกับการแจกของขวัญให้กับลูกค้า

by KKN การบัญชี

ความเสี่ยง-ภาษีเงินได้นิติบุคคล

เช็คความเสี่ยงก่อนยื่น แบบภาษีเงินได้นิติบุคล

แสดงรายได้ไม่ครบถ้วน รายได้ที่แสดงในงบการเงินไม่สัมพันธ์กับต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจแสดงได้ว่ากิจการบันทึกรับรู้รายได้ไม่สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริง กิจการมีรายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (out of vat scope) แต่ไม่บันทึกเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของกิจการ กิจการมีรายได้จากการส่งเสริมการขาย แต่ไม่บันทึกเป็นรายได้ กิจการมีการขายผลิตภัณฑ์พลอยได้หรือของเสียจากกระบวนการผลิต แต่ไม่บันทึกเป็นรายได้ กิจการมีการจำหน่ายสินทรัพย์ แต่ไม่บันทึกกำไรจากการจำหน่ายสินทรัพย์ กิจการได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ที่ตัดเป็นหนี้สูญแล้ว แต่ไม่บันทึกเป็นรายได้ กิจการได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนจากการประกันภัย แต่ไม่บันทึกเป็นรายได้ กิจการให้ส่วนลดแก่ลูกค้าสูงเกินกว่าความเป็นจริง หรือธรรมเนียมปกติทางการค้า ต้นทุนขาย / บริการ กิจการบันทึกรายการซื้อสินค้าสูงหรือต่ำกว่าข้อเท็จจริง กิจการไม่มีการปันส่วนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องเป็นต้นทุน เช่น บันทึกค่าใช้จ่ายของพนักงานทั้งหมดเป็นค่าใช้จ่ายในรอบบัญชีนั้น กิจการมีรายการค่านายหน้า ค่าส่งเสริมการขาย ค่าใช้จ่ายพนักงาน ค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ของกิจการ กิจการมีค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง เช่น ค่าแรง ค่านายหน้า ค่าขนส่ง ค่าที่ปรึกษา กิจการบันทึกค่าซ่อมแซมที่มีจำนวนสูงเป็นสินทรัพย์ของกิจการ หรือกิจการบันทึกค่าใช้จ่ายที่ต้องนำมาเป็นต้นทุนของสินทรัพย์เป็นค่าใช้จ่าย กิจการบันทึกรายการซื้อสินค้าสูงหรือต่ำกว่าข้อเท็จจริง กิจการไม่มีการปันส่วนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องเป็นต้นทุน เช่น บันทึกค่าใช้จ่ายของพนักงานทั้งหมดเป็นค่าใช้จ่ายในรอบบัญชีนั้น กิจการมีรายการค่านายหน้า ค่าส่งเสริมการขาย ค่าใช้จ่ายพนักงาน ค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ของกิจการ กิจการมีค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง เช่น ค่าแรง ค่านายหน้า ค่าขนส่ง ค่าที่ปรึกษา กิจการบันทึกค่าซ่อมแซมที่มีจำนวนสูงเป็นสินทรัพย์ของกิจการ […]

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

หน้าที่ที่ต้องรู้เมื่อบุคคลธรรมดาเปลี่ยนเป็นนิติบุคคล

1.เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี และหากเป็นผู้ประกอบกิจการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเป็นปกติธุระเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องอื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีรายรับเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี 2.เสียภาษีจากกำไรสุทธิ (กรณีขาดทุนสุทธิไม่ต้องเสียภาษี) ผลขาดทุนสุทธิยกมาได้ไม่เกิน 5 ปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน มาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้โดยคำนวณอัตราภาษีดังนี้กรณีทั่วไป เสียภาษีจากกำไรสุทธิทั้งจำนวนร้อยละ 20กรณี SMEs – กำไรสุทธิไม่เกิน 300,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี – กำไรสุทธิเกิน 300,000 บาท แต่ไม่เกิน 3 ล้านบาทเสียภาษีจากกำไรสุทธิร้อยละ 15– กำไรสุทธิเกิน 3 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษีจากกำไรสุทธิร้อยละ 20 3.ต้องจัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ขึ้นอยู่กับประเภทนิติบุคคลที่จดทะเบียนว่าเป็นแบบไหน (ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัท ฯลฯ) บัญชีที่ต้องจัดทำประกอบด้วย – งบแสดงฐานะการเงิน – งบกำไรขาดทุน – งบกระแสเงินสด– งบการเงินรวม– […]

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ถ้าขายของออนไลน์มีรายได้ 1.7 ล้านบาทต่อปี บุคคลธรรมดา หรือ บริษัท ใครเสียภาษีมากกว่ากัน?

ต้องมีการสมมุติโจทย์เพิ่มเติมดังนี้ • รายได้จากการขายของออนไลน์ 1,700,000 บาท • ค่าใช้จ่ายตามจริง 1,190,000.00 บาท (คิดอัตรากำไร 30%) เรามาลองคำนวณกันเลยดีกว่าครับ ** ใครเลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริงจะต้องมีการบันทีกรายจ่ายพร้อมเอกสารประกอบ เผื่อโดนขอตรวจสอบ โดยปกติไม่ค่อยมีคนเลือกวิธีนี้

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายทางภาษี

แจกของขวัญปีใหม่ให้กับลูกค้า

1.ภาษีเงินได้นิติบุคคล  ค่าใช้จ่ายนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้ไม่เกินคนละ 2,000 บาทในแต่ละคราว 2.ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อของขวัญแจกเป็นภาษีซื้อต้องห้าม *ถ้าให้ดีอย่าลืมแนบนามบัตรของกิจการ และถ่ายรูปเป็นหลักฐานด้วยนะครับ สาเหตุที่ในบัญชีธนาคารของบริษัทไม่ตรงกับการบันทึกบัญชี 1.เจ้าของบริษัทไม่มีเงินจริงตามที่จดทะเบียนบริษัท (ไม่ตรงตั้งแต่เริ่มกิจการเลย T ^ T)2.ใช้เงินบริษัทกับส่วนตัวปนกันมั่วไปหมด เจ้าของควรจะกำหนดเงินเดือนตัวเองขึ้นและไม่ใช้เงินบริษัทในเรื่องส่วนตัว3.ลูกค้าโอนเงินค่าสินค้าหรือบริการ เข้าบัญชีส่วนตัวของเจ้าของแทนเข้าบัญชีบริษัท4.ใช้เงินส่วนตัวจ่ายค่าใช้จ่ายแทนบริษัท เพื่อความสะดวกและง่าย

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

กำไรสุทธิทางภาษี ทุกรายการค้าที่เกิดขึ้น ทางพนักงานบัญชีจะต้องบันทึกบัญชีเพื่อให้เงินในบริษัทตรงกับความเป็นจริง เมื่อปิดงบการเงินเสร็จเราจะได้กำไรสุทธิทางบัญชี แต่กำไรสุทธิทางบัญชีจะมี ค่าใช้จ่ายที่ไม่ให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายบริษัท รวมถึงมีรายได้ที่ไม่ให้ถือเป็นรายได้บริษัทปนมาด้วย เราจะต้องเอาออกเพื่อให้ได้กำไรสุทธิทางภาษี เพื่อไปคำนวนภาษี รายจ่ายที่ไม่ถือเป็นรายจ่ายทางภาษี รายจ่ายซึ่งมิได้เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกิจการ, เป็นการส่วนตัว, ให้โดยเสน่หา รายจ่ายซึ่งผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ รายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง รายจ่ายซึ่งควรจะได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีอื่น รายจ่ายใดๆ ที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีแล้ว รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน ค่ารับรองส่วนที่เกิน 0.3% ของทุนจดทะเบียนหรือยอดขายแล้วแต่อะไรจะสูงกว่าและค่ารับรองต้องไม่เกิน 10 ล้านบาท สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.rd.go.th/publish/827.0.html

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

การยื่นภาษีกลางปี (ภ.ง.ด. 51)

เมื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จะถือว่าเป็นนิติบุคคลมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีปีละ 2 ครั้งคือ ช่วงกลางปียื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ช่วงปลายปียื่นแบบ ภ.ง.ด.50 โดยการนำรายได้มาหักรายจ่าย ค่าลดหย่อนเพื่อคำนวณกำไรสุทธิ และนำมาเสียภาษีตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ข้อควรระวัง ไม่ยื่นรายการ (ภ.ง.ด.51) และชำระภาษีจากประมาณการกำไรสุทธิ ยื่นรายการและชำระ แต่แสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ โดยไม่มีเหตุผลอันควร บทลงโทษ เงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของภาษีที่ต้องชำระ หรือจากภาษีที่ชำระขาดไป ค่าปรับยื่นแบบภาษีล่าช้าไม่เกิน 7 วัน 1,000 เกิน 7 วัน 2,000 *เหตุผลสมควร จัดทำประมาณการกำไรสุทธิและยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว

by KKN การบัญชี

ภาษีขาย

ทำธุรกิจเสียภาษีอะไรบ้าง

ภาษีเงินได้ เป็นภาษีทีเก็บจากเงินได้ ดังนั้นใครที่มีรายได้จะต้องเสียภาษี บุคคลธรรมดา – เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินได้สุทธิ (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) นิติบุคคล – เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิทางภาษี ภาษีมูลค่าเพิ่ม มีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นภาษีที่จะต้องจ่ายทันทีเมื่อมีรายได้จากการให้บริการ โดยนิติบุคคลผู้จ่ายเงินได้เป็นผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ภาษีอากรแสตมป์ ตราสารที่จะต้องติดอากรแสตมป์ ได้แก่ สัญญาเช่าโรงเรือน, เช่าซื้อทรัพย์สิน,จ้างทำของ, เงินกู้ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ได้แก่ เกษตรกรรม, ที่อยู่อาศัย, อื่น ๆ (พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม) และที่ดินรกร้างว่างเปล่า โดยคิดอัตราภาษีเป็นรูปแบบขั้นบันไดเพิ่มขึ้นตามมูลค่าราคาประเมิน  ภาษีศุลกากร เรียกเก็บจากการนำสินค้า หรือสิ่งของผ่านเข้าออกจากเขตแดนหนึ่งไปยังอีกเขตแดนหนึ่ง ภาษีสรรพสามิต เรียกเก็บจากสินค้าที่ผลิตหรือนำเข้าและการให้บริการในทางธุรกิจตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ภาษีน้ำมัน, ภาษีน้ำหอม, ภาษีรถยนต์ ภาษีธุรกิจเฉพาะ เรียกเก็บจากการประกอบธุรกิจธนาคารหรือประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์, ประกันชีวิต, โรงรับจำนำ รวมถึงการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นการค้าหรือหากำไร […]

by KKN การบัญชี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

หนีภาษีมาทั้งชีวิตปีนี้จะยื่นภาษีให้ถูกต้องดีมั้ย

ผู้ประกอบการที่กลับใจเสียภาษีถูกต้องมักจะกังวลเรื่องดังต่อไปนี้ ถ้ายื่นภาษีถูกต้องปีนี้ จะโดนสรรพากรตรวจย้อนหลังมั้ย เราควรกลับใจไปยื่นย้อนหลังในหลายปีที่ผ่านมามั้ย เกิดปีหน้ารายได้ลดลง หรือไม่มีรายได้จะโดนสรรพากรตรวจสอบมั้ย ถ้ายื่นปีนี้แล้ว ปีหน้าผมจะหนีภาษีไม่ได้แล้วใช่มั้ย สรุปผมควรยื่นเสียภาษีมั้ย ถ้ายื่นภาษีถูกต้องปีนี้ จะโดนสรรพากรตรวจย้อนหลังมั้ย เราควรกลับใจไปยื่นย้อนหลังในหลายปีที่ผ่านมามั้ย 2 คำถามนี้ไม่มีใครบอกได้แม้กระทั้งสรรพากรเอง เพราะในแต่ละปีมีคนยื่นภาษีกันเยอะมากไม่รู้ว่าใครจะซวยโดนตรวจสอบ ในกรณีที่คุณขายของออนไลน์เอาจริงๆ สรรพากรไม่รู้หรอก ว่าคุณมีรายได้กี่บาท แต่ถ้าคุณมีรายได้จากการให้บริการ เวลาคุณรับเงินจากบริษัทจะมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายเอาไว้ ข้อมูลรายได้ของคุณจะถูกเก็บไว้ที่สรรพากร สรรพากรคาดหวังว่าสิ้นปีคุณจะมายื่นภาษีที่ไม่น้อยกว่าในระบบของสรรพากร ดังนั้นสรุปว่า ถ้าภาษีย้อนหลังมีจำนวนไม่เยอะ ถ้าเสียถูกต้องไม่ได้ลำบากก็เสียภาษีย้อนหลังเลยคุณจะได้สบายใจ แต่ถ้าไม่ค่อยมีเงินการเริ่มต้นยื่นปีปัจจุบันเป็นต้นไปก็ไม่ใช่สิ่งที่แย่ เพราะคุณได้เริ่มต้นทำสิ่งที่ถูกต้องแล้ว เกิดปีหน้ารายได้ลดลง หรือไม่มีรายได้จะโดนสรรพากรตรวจสอบมั้ย ถ้ารายได้ลดลงหรือไม่มีรายได้จริงถึงสรรพากรเรียกตรวจสอบ เราก็ชี้แจ้งไปตามข้อมูลจริง สรรพากรจริงแล้วน่ารักทุกคนไม่ได้น่ากลัวจะโหดร้าย เค้าไม่สามารถบังคับให้เราเสียภาษีได้ครับ ถ้ายื่นปีนี้แล้ว ปีหน้าผมจะหนีภาษีไม่ได้แล้วใช่มั้ย คิดว่าสรรพากรคงจะรู้สึกแปลกๆ ว่าปีที่แล้วมีรายได้ทำไมมีนี้รายได้หายไป สรุปผมควรยื่นเสียภาษีมั้ย ถ้ายอดภาษีที่เสียคุณมีกำลังชำระได้ การทำสิ่งที่ถูกต้องได้ความสบายใจครับ

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

กรรมการยินยอมให้ใช้สถานที่ โดยไม่คิดค่าเช่า

ผู้ใช้สถานประกอบการ (ผู้เช่า) ภาษีเงินได้นิติบุคคลการที่บริษัทใช้สถานประกอบการโดยไม่เสียค่าเช่า แสดงว่าบริษัทมีผลประโยชน์อื่นใดจากการได้ใช้สถานประกอบการโดยไม่เสียเงิน เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรอาจจะประเมิณเป็นรายได้อื่น เพื่อนำไปรวมในการคำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ผู้ให้ใช้สถานประกอบการ (ผู้ให้เช่า) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การให้เช่าโดยไม่คิดค่าตอบแทนโดยไม่มีเหตุอันควรเจ้าหน้าที่สรรพากรอาจประเมินเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินตามราคาตลาด เพื่อการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 40 (5) วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ทำธุรกิจขาดทุนต้องเสียภาษีหรือไม่ ?

บุคคลธรรมดา เสียภาษีขั้นต่ำอัตรา 0.5% ของเงินได้ถ้าภาษีที่คำนวนได้ไม่ถึง 5,000 บาท ได้รับยกเว้นภาษี ผลขาดทุนสะสมไม่สามารถยกไปหักกับเงินได้ในปีถัดไป นิติบุคคล ไม่เสียภาษี ผลขาดทุนสามารถนำไปหักจากกำไรในปีอื่นได้ไม่เกิน 5 ปี

by KKN การบัญชี

50 ทวิ
Bitcoin
DBD Registered
e-filing
LTF
SME
SMEs
TFRS16
Uncategorized
Voucher
กท.20 ก
กรมสรรพากร
กองทุนรวม
ก่อสร้างอาคารบนที่ดินของกรรมการ
การขอรับบริจาค
การจัดสรรกำไรสะสม
การตัดหนี้สูญ
การบริจาค
การบันทึกบัญชีเงินสดรับ-จ่าย
การประมาณการกำไรสุทธิขาดไป
การลงทุน
การลงประกาศหนังสือพิมพ์
การลดหย่อนบริจาคทั่วไป
การเช่า
กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กิจการร่วมค้า และกิจการค้าร่วม
กิจการเพื่อสังคม
กิจการโรงแรม
ขนส่ง
ขอคืนเงินประกันไฟฟ้า
ขายกิจการ
ขายสินค้าต่ำกว่าทุน
ขายสินค้าส่งออกไปต่างประเทศ
ขายหนังสือแถมคอร์สเรียนออนไลน์
คริปโทเคอร์เรนซี
ความเสี่ยง-ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ความเสี่ยงของกิจการ
ค่าขนส่ง
ค้าขายออนไลน์
ค่าตรวจสุขภาพ
ค่าปรับ
ค่ารักษาพยาบาล
ค่ารับรอง
ค่าสินไหมทดแทน
ค่าเช่า
ค่าเช่ารับล่วงหน้า
ค่าเบี้ยประกันชีวิต
ค่าเสื่อมราคา
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายของกิจการ
ค่าใช้จ่ายทางภาษี
ค่าใช้จ่ายในการอบรม
งบการเงิน
งบการเงินส่วนบุคคล
จดทะเบียน
จดทะเบียนเพิ่มสาขา
จดภาษีมูลค่าเพิ่ม
จัดตั้งบริษัท
จ้างงานผู้สูงอายุ
จ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ
จ้างเด็กจบใหม่
ช้อปดีมีคืน
ดอกเบี้ยค้างรับ
ตราประทับ
ทรัพย์สิน
ทั่วไป
ทำประกันให้พนักงาน
ธุรกรรม
ธุรกิจขนส่ง
บริจาค
บริษัท กับ กรรมการ
บัญชีและภาษี
บิลเงินสด
ประกัน keyman
ประกันCovid-19
ประกันสังคม
ประชุมบริษัท
ประเภทเช็ค
ผลขาดทุน
ผู้ถือหุ้น
ผู้ประกอบการ
พร้อมเพย์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ฟรีแลนซ์
ภ.ง.ด. 1ก
ภ.ง.ด.1 ก
ภ.ง.ด.54
ภ.พ.36
ภาษี
ภาษี e-Service
ภาษีDropship
ภาษีกองทุนตราสารหนี้
ภาษีกับการออกจากงาน
ภาษีการรับมรดก
ภาษีของแพทย์
ภาษีขาย
ภาษีซื้อ
ภาษีซื้อต้องห้าม
ภาษีดอกเบีี้ย
ภาษีที่ดิน
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีนำเข้าสินค้า
ภาษีป้าย
ภาษีฟรีแลนซ์
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีรถยนต์
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีอากร
ภาษีอากรนำเข้า
ภาษีอีเพย์เมนต์
ภาษีเงินปันผล
ภาษีเงินได้จากการรับให้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ภาษีโรงแรม
มาตรการผู้กู้ยืม กยศ.
มูลค่าต้นทุน
ย้ายกิจการ
ยื่นแบบ
ยื่นแบบอย่างไรให้ประหยัดค่าปรับที่สุด
รถยนต์นั่ง
รถแลกเงิน
ระบบรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
ร้านกาแฟ-เสียภาษี
รายจ่ายค่าซ่อมแซม
รายจ่ายจริง
รายจ่ายต้องห้าม
รายได้อื่น
ลดหย่อนทางภาษี
ลดหย่อนภาษี
ลาออกจากงาน
วงจรเงินสด
วางระบบบัญชี
วางแผนภาษี
ศุลกากร
ส่งสินค้าทางไปรษณีย์
ส่งเสริมการขาย
สต็อกสินค้า
สรุปประเด็นภาษี
ส่วนลดกาาค้าและส่วนลดเงินสด
สวัสดิการพนักงาน
สวัสดิการอาหารพนักงาน
สัญญาขายฝาก
สัญญาซื้อ
สัญญาฝากทรัพย์
สัญญายินยอม
สัญญาเช่า
สัญญาเช่าที่ดิน
สำนักงานบัญชี
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
หนี้สิน
อั่งเปา
อากรแสตมป์
เกษตรกับวิธีเสียภาษี
เครื่องบันทึกการเก็บเงิน
เคลมภาษีซื้อ ค่าอบรม
เงินกู้ยืมกรรมการ
เงินค่าฝึกอบรม
เงินชดใช้ค่าเสียหาย
เงินทดรองจ่าย
เงินบำนาญชราภาพ
เงินบำเหน็จ
เงินปันผล
เงินมัดจำ
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
เงินสมทบประกันสังคม
เงินสำรองจ่าย
เงินเรียกเก็บล่วงหน้าจากการขายสินค้า
เงินได้พนักงาน
เงินได้พึงประเมิน
เช่าซื้อ-ลิสซิ่ง
เบี้ยประกัน
เบี้ยปรับ
เปิดบริษัท
เราเที่ยวด้วยกัน
เลขประจำตัวผู้เสียอากร
เลิกทำธุรกิจ
เสน่หากับภาษ๊
เอกสารการเบิกจ่ายเงิน
เอกสารทางภาษี
เอกสารบัญชี
แจกไฟล์
แรงงานต่างด้าว
โครงการคนละครึ่ง
โทษปรับ
ใบกำกับภาษี
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
ใบลดหนี้
ใบลดหนี้และใบเพิ่มหนี้
ใบสำคัญจ่าย
ใบหุ้น
ใบเสนอราคา
ใบเสร็จรับเงิน