ค่าใช้จ่ายของกิจการ

บทความล่าสุด

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

ค่าใช้จ่ายตู้แดง

ทางบัญชี สามารถบันทึกบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้หรือไม่?– เมื่อมีการจ่ายจริง จึงสามารถบันทึกบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายในทางบัญชีของกิจการได้ตามปกติ ทางภาษีอากร สามารถบันทึกบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้หรือไม่?– ถือเป็นค่าใช้จ่ายได้ ถ้าหากเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจการแต่ถ้าหากเป็นรายจ่ายให้โดยเสน่หา ที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ ซึ่งถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม ถึงแม้ว่ากิจการ จะทำใบเสร็จรับเงินแล้วให้เจ้าหน้าตำรวจที่มารับเงินเซ็นรับเงินพร้อมแนบสำเนาบัตร (กรณีที่กิจการสามารถทำได้)กิจการก็ไม่สามารถนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ เพราะเข้าลักษณะเป็นรายจ่ายต้องห้าม

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

รางวัลที่ได้รับจากบริษัทกรณีทำงานครบตามอายุการทำงานที่กำหนด

ตามมาตรฐานบัญชี บริษัทจะต้องประมาณการหนี้สินจากผลประโยชน์พนักงาน โดยใช้ความน่าจะเป็น

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

ค่าใช้จ่ายที่จะนำมาเครดิตภาษีซื้อในส่วนที่เกี่ยวข้องกับยานพาหนะ

เอกสารที่ใช้ในการนำมาเครดิตภาษีซื้อและหักเป็นค่าใช้จ่าย1.ต้องเป็นใบกำกับภาษีเต็มรูปเท่านั้น (ตัวจริง)ถ้าหากใบกำกับภาษีจางและข้อมูลหายไป ต้องขอจากบริษัทผู้ออกใบกำกับภาษีเท่านั้น และทำสำเนาจากตัวต้นฉบับแล้วทำการรับรองว่าเป็นใบแทนใบกำกับภาษีตัวจริง รวมถึงต้องระบุด้วยว่าออกให้ใคร  เนื่องจากอะไร เมื่อวันที่เท่าไร พร้อมเซ็นชื่อประทับตราของผู้ออกใบกำกับภาษี2.ต้องมีการบันทึกเลขทะเบียนรถที่เติมน้ำมันไว้ในใบกำกับภาษี ซึ่งจะพิมพ์ดีด เขียนด้วยหมึก ประทับตรายาง หรือออกด้วยคอมพิวเตอร์ก็ได้3.ต้องมีระเบียบอนุญาตเบิกจ่ายค่าน้ำมัน พร้อมบันทึกการเดินทาง จากที่ไหนไปยังที่ไหน ระยะทาง ชื่อเจ้าของรถยนต์ หมายเลขทะเบียนรถยนต์ให้ชัดเจน4.ต้องนำมาใช้กับรถของกิจการหรือรถที่ได้ทำสัญญาเช่าใช้หรือยินยอมให้ใช้  ที่มาhttp://www.thaitaxinfo.com

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

ค่าใช้จ่ายต้องเป็นเอกสารใบกำกับภาษีหรือไม่

ค่าใช้จ่ายต้องเป็นเอกสารใบกำกับภาษีหรือไม่ เอกสารประกอบการจ่ายชำระเงินจะเป็นใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงินธรรมดาก็ได้ขอแค่มีข้อมูลดังต่อไปนี้ ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ขาย ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้า รายละเอียดสินค้าหรือบริการ จำนวนเงินค่าสินค้าหรือบริการ กิจการสามารถนำมาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีของกิจการได้

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

บิลค่าใช้จ่ายต้องเป็นชื่อบริษัทหรือไม่

ตัวอย่าง : บริษัท คิดไม่ออก จำกัด ได้เช่าตึกแถวจากนายนัทเพื่อใช้เป็นสำนักงาน ต่อมาบริษัทได้จ่ายชำระค่าไฟฟ้าไป แต่ปรากฏว่าชื่อในเอกสารใบเสร็จค่าไฟฟ้าไม่ได้ออกมาเป็นชื่อของบริษัท แต่ออกมาเป็นชื่อของนายนัท (ผู้ให้เช่า) บริษัทสามารถนำใบเสร็จค่าไฟฟ้ามาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่ คำตอบคือ ได้นั่นเอง ถ้าผู้ประกอบการสามารถพิสูจน์ได้ว่าค่าไฟฟ้าดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ เช่น ที่อยู่ในใบเสร็จค่าค่าไฟฟ้า ตรงกับที่อยู่ของสถานประกอบการ และกิจการเป็นผู้จ่ายเงินค่าไฟฟ้านั้นไปจริง ค่าใช้จ่ายดังกล่าวสามารถนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (14) แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับภาษีซื้อจะถือเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5(1)แห่งประมวลรัษฎากร (ลงเป็นรายได้ต้องห้าม ห้ามนำไปรวมเป็นต้นทุนค่าไฟฟ้า)

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

ทุกครั้งที่จ่ายค่าอาหาร เหมือนได้ส่วนลดภาษี 10%

ทุกคนจะท่องจำว่าค่ารับรองใช้ได้ 1,000,000 ละ 3,000 บาท ส่วนที่เกินไม่ต้องขอบิลใบเสร็จมาแล้วเพราะมันเป็นค่าใช้จ่ายบวกกลับ ไม่ช่วยทำให้เสียภาษีเงินได้น้อยลง คนส่วนใหญ่จะเลิกขอบิลมาบันทึกบัญชี เมื่อค่ารับรองเกินที่ใช้ได้ นักบัญชีไม่เคยบอกอีกด้านหนึ่งให้คุณรู้> แค่คุณขอบิลใบเสร็จมาจะช่วยทำให้คุณเหมือนได้ส่วนลดค่าอาหาร 10% ทำไมแค่ขอบิลใบเสร็จ เหมือนได้ส่วนลดค่าอาหาร 10% ในภาพจะถูกอย่างที่ทุกคนเข้าใจคือบันทักค่ารับรองไม่ช่วยให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลลดลง แต่ความลับคือการบันทึกค่ารับรองช่วยทำให้กิจการมีกำไรสะสมลดลง ส่งผลทำให้ประหยัดภาษีเงินปันผล 10% สรุป ค่ารับรองที่เกินกฏหมายกำหนด ให้ขอบิลใบเสร็จมาบันทึกบัญชีด้วย ค่ารับรองนี้ไม่ช่วยทำให้เสียภาษีเงินได้น้อยลง ช่วยทำให้กำไรสะสมทางบัญชีลดลง กำไรสะสมลดลง = ประหยัดภาษีเงินได้ผล 10% = ส่วนลดค่าอาหาร เงื่อนไขของค่ารับรอง ค่ารับรองมี 5 ประเภทได้แก่ ที่พัก อาหาร พาหนะ มหรสพ และสิ่งของ กรณีให้เป็นสิ่งของต้องไม่เกิน 2,000 บาท และต้องให้ตามเทศกาลเช่น กระเช้าปีใหม่ เป็นการรับรองตามปกติธุรกิจทั่วไป และบุคคลที่ได้รับการรับรองไม่ใช่ลูกจ้างหรือกรรมการของกิจการ เว้นแต่มีหน้าที่เข้าร่วมการรับรองนั้น ค่ารับรองนั้นจะต้องได้รับการอนุมัติจากกรรมการ/ผู้ได้รับมอบหมาย

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

จัดหนี้สูญอย่างไรให้นำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้

ลักษณะหนี้ที่สามารถตัดหนี้สูญได้ 1.เป็นหนี้ที่เกิดจากการประกอบกิจการ ห้ามเป็นหนี้ซึ่งผู้เป็นลูกหนี้คือ กรรมการ หรือ หุ้นส่วนผู้จัดการ2.ต้องเป็น หนี้ที่ยังไม่ขาดอายุความ และต้องมีหลักฐานโดยชัดแจ้งที่สามารถฟ้องลูกหนี้ได้*เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ ไม่สามารถตัดหนี้สูญได้นะครับ*โดยทั่วไปอายุความการติดตามทวงถามเพื่อให้ลูกหนี้ชำระหนี้มี 2 ปี การจำหน่ายหนี้สูญแบ่งได้ 3 กรณี กรณีที่ 1 : ลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน 100,000 บาท1.)มีการทวงถามหนี้โดยทำเป็นหนังสือทวงถามหนี้ไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง และยังไม่ได้รับชำระหนี้(ใช้ใบตอบรับทางไปรษณีย์มาเป็นหลักฐานได้)2.)มีหลักฐานการคำนวณค่าใช้จ่ายในการฟ้องที่แสดงว่าไม่คุ้มกับยอดหนี้ที่ได้รับชำระ กรณีที่ 2 :ลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนเกิน 100,000 บาทแต่ไม่เกิน 500,000 บาท1.)ติดตามทวงถามตามสมควรโดยมีหลักฐาน และปรากฏลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เนื่องจาก -ลูกหนี้ตาย, สาบสูญ และไม่มีทรัพย์สินชำระหนี้ -ลูกหนี้เลิกกิจการ และมีเจ้าหนี้รายอื่นมีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกค้าทั้งหมดอยู่ในลำดับก่อนเป็นจำนวนมากกว่าทรัพย์สินของลูกหนี้2.) กรณีที่ 2 :ลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนเกิน 100,000 บาทแต่ไม่เกิน 500,000 บาท1.)ติดตามทวงถามตามสมควรโดยมีหลักฐาน และปรากฏลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เนื่องจาก -ลูกหนี้ตาย, สาบสูญ และไม่มีทรัพย์สินชำระหนี้ -ลูกหนี้เลิกกิจการ และมีเจ้าหนี้รายอื่นมีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกค้าทั้งหมดอยู่ในลำดับก่อนเป็นจำนวนมากกว่าทรัพย์สินของลูกหนี้2.)ต้องมีการฟ้องศาลกรณีมีการฟ้องร้องต่อศาล บริษัทจะตัดหนี้สูญได้เมื่อศาลมีคำสั่งรับคำร้อง ไม่ต้องรอผลของคดีกรณีลูกหนี้ถูกฟ้องล้มละลาย บริษัทจะตัดหนี้สูญได้เมื่อศาลมีคำสั่งรับคำร้อง หรือได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลาย […]

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

ค่าใช้จ่ายเดินทางต่างประเทศตั๋ว

1.รายจ่ายที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการประกอบกิจการ 2.รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ และพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุผลอันสมควรที่จะจ่ายรายการรายจ่ายนั้น  3.รายจ่ายที่สามารถพิสูจน์ผู้รับเป็นผู้ใดได้ คำพิพากษาฎีกา ที่ 2951/2527“รายจ่ายค่าเดินทางของกรรมการผู้จัดการกับพวก กรณีไม่มีรายงานการประชุมที่อนุมัติให้เดินทาง และเมื่อเดินทางกลับมาก็ไม่มีรายละเอียดรายงานการเดินทางและไม่มีเอกสารอื่นใดเป็นหลักฐานว่าเดินทางไปในกิจการ ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายในการเดินทางไปในเรื่องส่วนตัว และมิใช่เป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ ไม่มีสิทธินำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ” หัวใจหลักคือ 1.มีการขออนุมัติการเดินทาง 2.มีหลักฐานว่าไปทำงานจริงๆนะ ไม่ใช่ไปเที่ยว ประเด็นภาษี • ใบเสร็จค่าตั๋วเครื่องบิน/ค่าที่พักออกในชื่อผู้เดินทางกรณีที่ใบเสร็จออกในชื่อผู้เดินทางแทนชื่อของกิจการนั้น สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวนภาษีของกิจการได้ ก็ต่อเมื่อสามารถพิสูจน์ได้ว่ารายจ่ายนั้นเป็นรายจ่ายของกิจการ วิธีการพิสูจน์ เช่น เอกสารขออนุมัติการเดินทางไปต่างประเทศของผู้เดินทางดังกล่าว และเหตุผลที่จำเป็นในการเดินทางไปต่างประเทศ กรมสรรพากรไม่เคยบอกว่า “บิลค่าใช้จ่ายต้องเป็นชื่อของกิจการเท่านั้น” คนชอบคิดไปเอง

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

ใครทำธุรกิจ ไม่คำนวนจุดคุ้มทุนถือว่าพลาด

จุดคุ้มทุน คือ จุดที่รายได้เท่ากับค่าใช้จ่ายพอดี จุดคุ้มทุนมีประโยชน์ 2 อย่างดังนี้ 1) อยากรู้ว่าต้องขายกี่ชิ้นถึงจะคุ้มทุนกรณีนี้เราต้องมีราคาขายในใจอยู่แล้วว่าจะขายราคากี่บาท/ชิ้น เราต้องการหาปริมาณขายว่าจะต้องขายกี่ชิ้นถึงจะคุ้มทุน 2) อยากรู้ว่าต้องการขายชิ้นละราคาเท่าไรถึงจะคุ้มทุนกรณีนี้จะใช้เมื่อเรามีสินค้าอยู่ในมือจำนวนที่แน่นอน รู้แล้วว่ามีของอยู่กี่ชิ้น แล้วอยากทราบว่าจะขายชิ้นละเท่าไรถึงคุ้มทุน ตัวอย่าง: ร้านกาแฟแห่งหนึ่ง มีค่าเช่าที่ขายของ 1,000 บาทต่อวัน และขายกาแฟแล้วละ 50 บาท ประมาณการต้นทุนขายแก้วละ 30 บาท จะต้องขายกี่แก้วต่อวันถึงจะคุ้มทุน ตัวอย่าง: ร้านกาแฟแห่งหนึ่ง มีค่าเช่าที่ขายของ 1,000 บาทต่อวัน คาดว่าจะขายได้ 60 แก้วต่อวัน ประมาณการต้นทุนขายแก้วละ 40 บาท จะต้องขายกี่แก้วต่อวันถึงจะคุ้มทุน

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

อย่าตกแต่งบัญชีด้วยวิธี เอาบุคคลมารับค่าใช้จ่าย

ท่าไม้ตายสุดยอดของนักบัญชียุคนี้ กิจการกำไรเยอะ >>>> หาคนมารับค่าที่ปรึกษา, ค่านายหน้า ความเสี่ยงของการเอาบุคคลธรรมดามารับค่าใช้จ่าย 1.บุคคลธรรมดาที่รับรายได้จากบริษัท เค้าจะต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนสิ้นปีด้วย (ถ้าไม่ยื่นสรรพากรจะตามบุคคลธรรมดามาสอบถามว่ามีเงินได้จริงรึเปล่า)2.จะต้องมีหลักฐานการจ่ายเงินไปที่ผู้รับเงินได้จริง เช่นการโอนเงิน หรือสำเนาเช็คสั่งจ่าย (อ้างว่าจ่ายเงินสดมักไม่รอด)3.บุคคลธรรมดาที่รับเงินได้จะต้องมีความรู้ความสามารถ จริงตามประเภทงานที่ให้บริการ (ไม่ใช่เอาใครก็ได้มารับเงินได้)4.ถ้ามูลค่างานเยอะบัตรประชาชนอย่างเดียวไม่เพียงพอ คุณจะต้องมีสัญญาจ้างงานด้วย (หลักฐานต้องแน่น)

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

บิลเงินสด มันเอามาใช้เป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้มั้ย?

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับขายของออนไลน์ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีมูลค่าเพิ่ม หลักจำง่ายๆ : ใครก็ตามที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีจะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อจดภาษีมูลค่าเพิ่มคุณมีหน้าที่หลักๆดังนี้ 1.เรียกเก็บภาษีขายในอัตรา 7% จากผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ 2.ออกใบกำกับภาษีขายให้กับลูกค้า 3.จัดทำรายงานภาษีซื้อและภาษีขาย พร้อมนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับกรมสรรพากร ไม่เกินวันที่ 15 ของเดือนถัดไป 4.จัดทำสต็อกสินค้า ณ วันที่ 31 มิถุนายน และ 30 ธันวาคม สรุปภาพรวมของภาษีมูลค่าเพิ่ม Note:   1. ถ้าภาษีขาย > ภาษีซื้อ เราจะต้องนำส่งส่วนต่างให้สรรพากรเพิ่ม2. ถ้าภาษีซื้อ > ภาษีขาย เราสามารถขอคืนส่วนต่างจากรมสรรพากรได้หรือ จะยกไปใช้ในเดือนถัดไปก็ได้

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

น้ำมันรถ/ค่าเบี้ยเลี้ยง ถือเป็นเงินได้พนักงานหรือไม่

1. ค่าน้ำมันรถ บริษัทจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์ให้กับพนักงานบริษัท ตามจำนวนที่จ่ายจริงในกรณีที่พนักงานใช้รถยนต์ส่วนตัวเดินทางไปทำงานให้บริษัท เมื่อบริษัทจ่ายค่าน้ำมันสามารถเอามาเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทในการคำนวณภาษีได้ และค่าน้ำมันดังกล่าวไม่ถือเป็นเงินได้ของพนักงาน เพราะใช้ในการติดต่องานให้บริษัท บริษัทควรจะทำหลักฐานเพิ่มเติมดังนี้ 1.ระเบียบอนุญาตให้มีการเบิกจ่ายค่าน้ำมัน 2.มีแบบฟอร์มขออนุญาตพร้อมทั้งบันทึกการเดินทางจากไหนไปไหน ระยะทางเท่าใด ทะเบียนรถยนต์ ชื่อเจ้าของรถยนต์ และให้ผู้มีอำนาจอนุมัติ 3.ใบเสร็จค่าน้ำมันที่ระบุทะเบียนรถยนต์ 2. ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเบี้ยเลี้ยง จะต้องเป็นการจ่ายเงินให้แก่พนักงานเพื่อไปปฏิบัติหน้าที่เป็นครั้งคราวเท่านั้น ตามคำสั่งของนายจ้าง ค่าเบี้ยเลี้ยงดังกล่าวไม่ถือเป็นเงินได้พนักงาน สำหรับอัตราค่าเบี้ยเลี้ยง 1.ถ้าให้อัตราเบี้ยเลี้ยงแบบเหมาจ่ายไม่เกินอัตราสูงสุดที่ราชการจ่ายให้กับข้าราชการ ไม่จำเป็นต้องมีเอกสารแนบ 2.ถ้ากรณีที่เกินจากอัตราสูงสุดที่ราชการจ่ายให้กับข้าราชการ จะต้องมีหลักฐานการจ่ายเงินมาพิสูจน์

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

มีเงินเหลือในบริษัทเยอะ ทำอย่างไรดี??

1. ทำเป็นเงินให้กรรมการกู้ยืมออกไป *** วิธีนี้มีข้อเสียคือ บริษัทให้กรรมการกู้จะต้องมีการคิดดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมเงิน เมื่อบริษัทมีรายได้ดอกเบี้ยรับถือเป็นเงินได้จะต้องเอาไปรวมในการคำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคล ถ้าดอกเบี้ย รับเยอะก็จะเสียภาษีเยอะขึ้น (เหมือนระเบิดเวลา เพราะไม่ใช่วิธีแก้ไขระยะยาว) 2. จ่ายเงินปันผล การจ่ายเงินปันผลเป็นวิธีที่ดีมากวิธีหนึ่ง เพราะเป็นการแก้ไขปัญหาที่จบจริง ไม่เหมือนกับการนำเงินออกจากบริษัทด้วยวิธีให้เงินกรรมการกู้ยืมแต่ผู้ประกอบการไม่นิยมใช้กันเนื่องจาก ทันทีที่บริษัทจ่ายเงินปันผลจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 10% ของเงินปันผลที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรสรุปวิธีนี้จะต้องเสียภาษี 10% ให้กรมสรรพากรแต่จบปัญหา 3. ทำเป็นเงินโบนัสให้กับเจ้าของ 1) เงินโบนัสที่จ่ายนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีของบริษัท ทำให้บริษัทเสียภาษีลดลงได้มากสุดถึง 20% (ตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของแต่ละบริษัท)2) เจ้าของได้รับเงินโบนัส จะถูกนำไปรวมเป็นเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อเสียภาษีดังนั้นนักบัญชีจะต้องวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับเจ้าของกิจการ เพื่อให้เสียภาษีให้คุ้มค่าที่สุด มันจะมีจุดที่ทำด้วยวิธีนี้แล้วคุ้มค่าต้องไปคำนวนกันเอง

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

“ค่ารับรอง” เอามาเป็นค่าใช้จ่ายบริษัทได้กี่บาท

ค่ารับรอง ก็สามารถเอามาเป็นค่าใช้จ่ายบริษัทได้ แต่……… เอามาเป็นค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 0.3% ของรายได้หรือทุนจดทะเบียน แล้วแต่อะไรจะสูงกว่า และสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท ค่ารับรอง คือพวก ค่าพาลูกค้าไปกินข้าว ค่าที่พัก ค่าดูการแสดง และพาลูกค้าอาบน้ำ การคำนวนค่ารับรอง ข้อมูลสมมุติ •ทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท •รายได้ 1,200,000 บาท*เลือกใช้ฐานรายได้มาคิดค่ารับรองเพราะรายได้ > ทุนจดทะเบียนค่ารับรองที่ใช้ได้ตามกฎหมาย = 1,200,000 x 0.3%= 3,600 บาท**** ดังนั้นค่ารับรองส่วนที่เกิน 3,600 บาทจะเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม เงื่อนไขของค่ารับรอง • เป็นค่ารับรองตามปกติธุริจทั่วไป และบุคคลที่ได้รับการรับรองไม่ใช่ลูกจ้างของกิจการ เว้นแต่ลูกจ้างมีหน้าที่เข้าร่วมการรับรองนั้น (เค้าให้รับรองแขก ไม่ใช่ตัวเอง) • เป็นค่าใช้จ่ายต้องไม่เกินคนละ 2,000 บาทในแต่ละคราวที่มีการรับรอง • เป็นการจ่ายเพื่ออำนวยประโยชน์ให้แก่กิจการ • ค่ารับรองนั้นต้องมีผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งจ่ายค่ารับรอง และมีหลักฐานการจ่ายประกอบ เช่นใบเสร็จรับเงิน

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

ลดเงินเดือนพนักงานทำได้หรือไม่

จากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7238 – 7239/2544 การที่จำเลยมีคำสั่งยกเลิกตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายขายซึ่งโจทก์ทำงานอยู่และมีคำสั่งให้โจทก์ไปทำงานในหน้าที่พนักงานขายทั้งให้ลดเงิน เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นโทษแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอม จำเลยย่อมไม่มีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างดังกล่าวได้ตามลำพังเพียงฝ่ายเดียว เนื่องจากมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 20 ไม่มีผลบังคับแก่โจทก์ การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนต่อคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของจำเลยในกรณีร้ายแรง หรือโจทก์ละทิ้งหน้าที่ สรุป ไม่สามารถลดตำแหน่งและเงินเดือนพนักงานได้ ถ้าพนักงานไม่ยินยอม

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

เปิดบริษัทจ่ายเงินเดือนให้ตัวเองได้หรือไม่?

บริษัทมีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกออกมาต่างหากจากตัวเจ้าของกิจการ เมื่อเจ้าของทำงานให้กับบริษัท บริษัทควรจะต้องจ่ายค่าตอบแทนให้กับเจ้าของ ซึ่งการจ่ายเงินเดือนให้กับเจ้าของก็เป็นการวางแผนภาษีทางหนึ่ง เช่น บริษัทจ่ายเงินเดือนให้เจ้าของเดือนละ 25,000 บาท ต่อปีบริษัทจะมีค่าใช้จ่าย 300,000 บาท ทำให้เสียภาษีน้อยลง บริษัทจ่ายเงินเดือนให้เจ้าของเดือนละ 25,000 บาท ต่อปีบริษัทจะมีค่าใช้จ่าย 300,000 บาท ทำให้เสียภาษีน้อยลง กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการตั้งเงินเดือนเจ้าของกิจการ ตามมาตรา 65 ตรี (8) เงินเดือนของผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนเฉพาะส่วนที่จ่ายเกินสมควรเป็นรายจ่ายต้องห้าม เจ้าพนักงานมีอำนาจพิจารณารายจ่ายประเภทเงินเดือนของผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน เปรียบเทียบกับรายอื่นซึ่งอยู่ในฐานะหรือลักษณะเดียวกัน อยู่ในหน่วยงานเดียวกัน หรือทำเลเดียวกัน ประกอบกิจการค้าอย่างเดียวกันหรือลักษณะเดียวกัน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1150 ผู้เป็นกรรมการจะพึงมีจำนวนมากน้อยเท่าใด และจะพึงได้บำเหน็จเท่าใด ให้สุดแล้วแต่ที่ประชุมใหญ่จะกำหนด

by KKN การบัญชี

50 ทวิ
Bitcoin
DBD Registered
e-filing
LTF
SME
SMEs
TFRS16
Uncategorized
Voucher
กท.20 ก
กรมสรรพากร
กองทุนรวม
ก่อสร้างอาคารบนที่ดินของกรรมการ
การขอรับบริจาค
การจัดสรรกำไรสะสม
การตัดหนี้สูญ
การบริจาค
การบันทึกบัญชีเงินสดรับ-จ่าย
การประมาณการกำไรสุทธิขาดไป
การลงทุน
การลงประกาศหนังสือพิมพ์
การลดหย่อนบริจาคทั่วไป
การเช่า
กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กิจการร่วมค้า และกิจการค้าร่วม
กิจการเพื่อสังคม
กิจการโรงแรม
ขนส่ง
ขอคืนเงินประกันไฟฟ้า
ขายกิจการ
ขายสินค้าต่ำกว่าทุน
ขายสินค้าส่งออกไปต่างประเทศ
ขายหนังสือแถมคอร์สเรียนออนไลน์
คริปโทเคอร์เรนซี
ความเสี่ยง-ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ความเสี่ยงของกิจการ
ค่าขนส่ง
ค้าขายออนไลน์
ค่าตรวจสุขภาพ
ค่าปรับ
ค่ารักษาพยาบาล
ค่ารับรอง
ค่าสินไหมทดแทน
ค่าเช่า
ค่าเช่ารับล่วงหน้า
ค่าเบี้ยประกันชีวิต
ค่าเสื่อมราคา
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายของกิจการ
ค่าใช้จ่ายทางภาษี
ค่าใช้จ่ายในการอบรม
งบการเงิน
งบการเงินส่วนบุคคล
จดทะเบียน
จดทะเบียนเพิ่มสาขา
จดภาษีมูลค่าเพิ่ม
จัดตั้งบริษัท
จ้างงานผู้สูงอายุ
จ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ
จ้างเด็กจบใหม่
ช้อปดีมีคืน
ดอกเบี้ยค้างรับ
ตราประทับ
ทรัพย์สิน
ทั่วไป
ทำประกันให้พนักงาน
ธุรกรรม
ธุรกิจขนส่ง
บริจาค
บริษัท กับ กรรมการ
บัญชีและภาษี
บิลเงินสด
ประกัน keyman
ประกันCovid-19
ประกันสังคม
ประชุมบริษัท
ประเภทเช็ค
ผลขาดทุน
ผู้ถือหุ้น
ผู้ประกอบการ
พร้อมเพย์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ฟรีแลนซ์
ภ.ง.ด. 1ก
ภ.ง.ด.1 ก
ภ.ง.ด.54
ภ.พ.36
ภาษี
ภาษี e-Service
ภาษีDropship
ภาษีกองทุนตราสารหนี้
ภาษีกับการออกจากงาน
ภาษีการรับมรดก
ภาษีของแพทย์
ภาษีขาย
ภาษีซื้อ
ภาษีซื้อต้องห้าม
ภาษีดอกเบีี้ย
ภาษีที่ดิน
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีนำเข้าสินค้า
ภาษีป้าย
ภาษีฟรีแลนซ์
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีรถยนต์
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีอากร
ภาษีอากรนำเข้า
ภาษีอีเพย์เมนต์
ภาษีเงินปันผล
ภาษีเงินได้จากการรับให้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ภาษีโรงแรม
มาตรการผู้กู้ยืม กยศ.
มูลค่าต้นทุน
ย้ายกิจการ
ยื่นแบบ
ยื่นแบบอย่างไรให้ประหยัดค่าปรับที่สุด
รถยนต์นั่ง
รถแลกเงิน
ระบบรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
ร้านกาแฟ-เสียภาษี
รายจ่ายค่าซ่อมแซม
รายจ่ายจริง
รายจ่ายต้องห้าม
รายได้อื่น
ลดหย่อนทางภาษี
ลดหย่อนภาษี
ลาออกจากงาน
วงจรเงินสด
วางระบบบัญชี
วางแผนภาษี
ศุลกากร
ส่งสินค้าทางไปรษณีย์
ส่งเสริมการขาย
สต็อกสินค้า
สรุปประเด็นภาษี
ส่วนลดกาาค้าและส่วนลดเงินสด
สวัสดิการพนักงาน
สวัสดิการอาหารพนักงาน
สัญญาขายฝาก
สัญญาซื้อ
สัญญาฝากทรัพย์
สัญญายินยอม
สัญญาเช่า
สัญญาเช่าที่ดิน
สำนักงานบัญชี
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
หนี้สิน
อั่งเปา
อากรแสตมป์
เกษตรกับวิธีเสียภาษี
เครื่องบันทึกการเก็บเงิน
เคลมภาษีซื้อ ค่าอบรม
เงินกู้ยืมกรรมการ
เงินค่าฝึกอบรม
เงินชดใช้ค่าเสียหาย
เงินทดรองจ่าย
เงินบำนาญชราภาพ
เงินบำเหน็จ
เงินปันผล
เงินมัดจำ
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
เงินสมทบประกันสังคม
เงินสำรองจ่าย
เงินเรียกเก็บล่วงหน้าจากการขายสินค้า
เงินได้พนักงาน
เงินได้พึงประเมิน
เช่าซื้อ-ลิสซิ่ง
เบี้ยประกัน
เบี้ยปรับ
เปิดบริษัท
เราเที่ยวด้วยกัน
เลขประจำตัวผู้เสียอากร
เลิกทำธุรกิจ
เสน่หากับภาษ๊
เอกสารการเบิกจ่ายเงิน
เอกสารทางภาษี
เอกสารบัญชี
แจกไฟล์
แรงงานต่างด้าว
โครงการคนละครึ่ง
โทษปรับ
ใบกำกับภาษี
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
ใบลดหนี้
ใบลดหนี้และใบเพิ่มหนี้
ใบสำคัญจ่าย
ใบหุ้น
ใบเสนอราคา
ใบเสร็จรับเงิน