กรมสรรพากร

บทความล่าสุด

กรมสรรพากร

เช็ครายได้ตัวเองในระบบกรมสรรพากร (ง่ายมาก)

ข่าวดีสำหรับผู้เสียภาษีทุกคน ในที่สุดกรมสรรพากรก็ยอมเปิดเผยข้อมูลรายได้ของบุคคลธรรมดาที่กรมสรรพากรมีข้อมูลอยู่ ข้อมูลรายได้สำคัญยังไง ถ้าผู้เสียภาษียื่นรายได้ในแบบนำส่งภาษีประจำปีน้อยกว่าที่กรมสรรพากรมีข้อมูลอยู่งานงอกนะสิ ดังนั้นก่อนยื่นภาษีควรเช็คข้อมูลรายได้ในระบบ Mytaxaccount ก่อน *** หมายเหตุข้อมูลรายได้ จะแสดงจากข้อมูลที่มีผู้หักภาษี ณ ที่จ่ายเท่านั้น (ตามที่แอดมินวิเคราะห์น่าจะมาเฉพาะรายการยื่นแบบผ่าน e-Filing เท่านั้นด้วย ยื่นแบบกระดาษจะไม่มีข้อมูลหรือข้อมูลยังไม่ได้ Update ก็ไม่รู้) แต่บอกเลยข้อมูลแค่นี้ก็ดีเลิศมากแล้วครับ นอกจากข้อมูลรายได้แล้วยังมีข้อมูลค่าลดหย่อนต่างๆ ที่กรมสรรพากรมีข้อมูลมาแสดงด้วย เป็นตัวช่วยให้ผู้เสียภาษียื่นแบบนำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีได้ง่ายขึ้น ถ้ามีข้อมูลรายได้ของฝั่งนิติบุคคลด้วยจะดีมากๆ เลย กราบบบท่านสรรพากรล่วงหน้าครับ

by KKN การบัญชี

กรมสรรพากร

ถูกสรรพากรเรียกพบ ต้องเตรียมตัวอย่างไร?

หลายๆ กิจการเมื่อได้รับเอกสารจากสรรพากรที่เรียกเข้าพบไปชี้แจงในบางเรื่องบางประเด็น ก็รู้สึกร้อนๆ หนาวๆ เพราะไม่รู้ว่าจะพบเจอกับอะไรบ้าง ทั้งที่ความจริงแล้ว บางกรณีการที่สรรพากรเรียกพบก็ไม่ได้เป็นเรื่องน่ากลัวอย่างที่คิด อาจเป็นการเรียกสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเท่านั้น ดังนั้นสิ่งสำคัญอันดับแรกก็คือการตั้งสติและเตรียมตัวให้พร้อมนั่นเอง ทำความเข้าใจประเด็นเรื่องที่สรรพากรขอเชิญพบ ก่อนอื่นผู้ประกอบการควรอ่านข้อความในเอกสารอย่างละเอียดและทำความเข้าใจว่าประเด็นที่กรมสรรพากรขอพบคือเรื่องใด เกี่ยวข้องกับภาษีประเภทใดบ้าง เช่น การขอเชิญพบเพื่อตรวจสอบการขอคืนภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นต้น ทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ที่กรมสรรพากรต้องการ ผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจว่ากรมสรรพากรมีความประสงค์ในการเรียกพบเพื่ออะไร เช่น ขอตรวจสอบ ขอข้อมูล หรือขอให้เป็นพยาน เป็นต้น เพื่อผู้ประกอบการจะได้จัดเตรียมข้อมูลต่างๆ ให้ครบถ้วน เตรียมหลักฐานที่กรมสรรพากรต้องการให้พร้อม เป็นการจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบกำกับภาษีซื้อ สำเนาใบกำกับภาษีขาย สำเนาใบเสร็จรับเงิน หลักฐานการรับเงิน หลักฐานการจ่ายเงิน เอกสารการบันทึกบัญชี เป็นต้น ในกรณีที่ผู้ประกอบการไม่สามารถเดินทางเข้าพบด้วยตนเองก็ต้องทำหนังสือมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการเข้าชี้แจงต่อกรมสรรพากร พร้อมสำเนาบัตรประชาชนรับรองสำเนาของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ เพื่อดำเนินการแทน กำหนดผู้รับผิดชอบในการชี้แจงต่อกรมสรรพากร ในการชี้แจงต่อกรมสรรพากร ผู้ประกอบการควรมอบหมายให้ผู้ที่มีความรู้ทางด้านภาษีในการชี้แจงต่อกรมสรรพากร ได้แก่ นักบัญชีหรือสำนักงานบัญชีที่รับทำบัญชีของกิจการซึ่งดูแลเรื่องภาษี ในกรณีที่มีประเด็นทางกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องอาจมีทนายความหรือผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายเข้าไปชี้แจงต่อเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรด้วย

by KKN การบัญชี

กรมสรรพากร

เปลี่ยนเครื่องบันทึกการเก็บเงินเครื่องใหม่ เนื่องจากเครื่องเดิมชำรุด

กรณีเครื่องบันทึกการเก็บเงินชำรุด ไม่สามารถใช้งานได้ มีเอกสารดังนี้1.ภาพถ่ายหนังสือ– ค.ก.2 (หนังสือแจ้งผลการพิจารณาคำขอ ภ.พ.06)  หรือ– ค.ก.2.1 (หนังสือแจ้งเลขรหัสประจำเครื่องบันทึกการเก็บเงิน กรณีขอเปลี่ยนแปลงการใช้เครื่องฯ ภ.พ.06.1)2.ภาพถ่ายเอกสารแนบ– ค.ก.2 (รายละเอียดการให้เลขรหัสประจำเครื่องบันทึกการเก็บเงิน)  หรือ– ค.ก.2.1 (รายละเอียดการให้เลขรหัสประจำเครื่องบันทึกการเก็บเงินที่แจ้งเปลี่ยนแปลงฯ)*กรณีมีสถานประกอบการหลายแห่งให้แจ้งสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ทราบเป็นรายสถานประกอบการ *กรณีผู้ประกอบการที่อยู่ในความรับผิดชอบของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้แจ้งผู้อำนวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ทราบ กรณีต้องการเปลี่ยนเครื่องบันทึกการเก็บเงินเครื่องใหม่ กรณีมีสถานประกอบการหลายแห่งให้แจ้งสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ทราบเป็นรายสถานประกอบการ  กรณีผู้ประกอบการที่อยู่ในความรับผิดชอบของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้แจ้งผู้อำนวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ทราบ เอกสารที่ต้องเตรียม1. เอกสารแบบ ภ.พ.062. คุณสมบัติของเครื่องบันทึกเงินสด 3. แผนผังการเชื่อมต่อเครื่องบันทึกเงินสดกับอุปกรณ์อื่นๆ (เช่น เครื่องปริ้นท์ เครื่องยิงบาร์โค้ด)4. ตัวอย่างใบกำกับภาษี และรายงานต่างๆ ที่ออกโดยเครื่องบันทึกเงินสดนั้นๆ*ระหว่างรอการอนุมัติ ควรหยุดใช้เครื่องก่อนเพราะเลขกำกับเอกสารที่ออกโดยเครื่องบันทึกเงินสดจะมีเรียงลำดับ ถ้าใช้ออกเอกสารก่อนการอนุมัติก็จะมีความผิดทางกฎหมาย5. แผนผังระบุตำแหน่งการวางเครื่องบันทึกเงินสด ที่มาhttp://interapp3.rd.go.th

by KKN การบัญชี

กรมสรรพากร

รับเฉพาะเงินสดสรรพากรจะตรวจสอบไม่ได้ จริงหรือไม่?

สรรพากรจะรู้ได้ยังไงว่าเรารับเงินสด? กิจการทำธุรกรรมการเงินผ่านบัญชีบริษัท การที่กิจการทำธุรกรรมการเงินผ่านบัญชีของบริษัท แสดงว่ากิจการนั้นมีการจัดทำบัญชีอย่างสมบูนณ์ จะถูกจะอยู่ในกลุ่มกิจการที่ดี ลดโอกาสการถูกตรวจสอบภาษีได้ กิจการทำธุรกรรมการเงินไม่ผ่านบัญชีบริษัท การที่กิจการทำธุรกรรมการเงินเป็นเงินสดเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการรับชำระค่าสินค้าหรือบริการ ที่มีการโอนเงินก้อนเข้าบัญชีทีเดียวในแต่ละวัน กิจการประเภทนี้อาจจะมีความเสี่ยงในการถูกจัดอยู่ในกลุ่มกิจการที่มีความเสี่ยงว่าจะทำบัญชีและยื่นภาษีผิดพลาดสูงตามเกณฑ์การประเมินกิจการ ทำไมการรับเงินสดเป็นหลัก ถึงมีความเสี่ยง? เพราะใน “ยุคสังคมไร้เงินสด” ปัจจุบันกำลังมาแรง การรับชำระเงินผ่าน QR Code, e-payment ต่างๆ เป็นที่นิยมมากขึ้น แต่กิจการไม่มีบริการต่างๆพวกนี้เลย ซึ่งแปลกมากๆ จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้กรมสรรพากรมองว่า กิจการมีโอกาสที่จะใช้ธุรกรรมเงินสดและส่งผลให้กิจการแสดงรายได้ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ปล.แต่ถ้ากิจการทำบัญชีถูกต้องตามข้อเท็จจริง ก็ไม่ต้องกังวลไปครับ

by KKN การบัญชี

กรมสรรพากร

ใครว่าสรรพากรแพ้ FB และ Google กำลังเก็บภาษีได้

สรรพากรกล่าวว่า… “ผู้ประกอบการนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ประกอบกิจการโดยการใช้ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทำให้เกิดรายได้ในประเทศไทย จะต้องทำตามทั้งกฎหมายของกระทรวงดิจิทัลฯ และกฎหมายของกรมสรรพากร หากไม่ดำเนินการก็จะมีความผิดทั้ง2 กฎหมาย” วิธีการเก็บภาษีละสำหรับเก็บภาษี กำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้เป็นผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละไม่เกิน 15% (เดี๋ยวได้อัตรา final จะบอกอีกที) สรุปแบบให้เห็นภาพนโยบายการเก็บภาษี FB Google

by KKN การบัญชี

กรมสรรพากร

อะไรนะ ไม่มีบิล ก็เอามาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้!!

สรรพากรได้เข้าใจในเรื่องของประเด็นค่าใช้จ่ายที่มีการจ่ายเงินจริง แต่ไม่มีหลักฐานที่เพียงพอ จึงได้ออกแนวทางช่วยเหลือ ผู้ประกอบการที่น่าสงสารแบบพวกเรา ประเด็นค่าใช้จ่ายที่มีการจ่ายเงินจริง แต่ไม่มีหลักฐาน เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี กรณีหลักฐานไม่เพียงพอ 1.เอกสารการรับเงิน •ใบรับเงิน •ใบสำคัญรับเงิน •ใบรับรองแทนใบสำคัญรับเงิน 2.จัดทำใบสำคัญจ่าย (Payment Voucher) ใช้สำหรับกรณีไม่มีหลักฐานตาม (ข้อ 1) ใบสำคัญจ่ายจะต้องมีข้อมูลระบุดังนี้ •ชื่อ ที่อยู่ เลขบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ของผู้รับเงิน •วันที่จ่ายเงิน •ระบุประเภทรายการที่จ่ายและจำนวนเงินที่จ่าย •ลงลายมือชื่อผู้รับเงินไว้เป็นหลักฐาน •มีการลงนามอนุมัติจ่ายโดยผู้มีอำนาจเท่านั้น •แนบหลักฐานการจ่ายเงินเช่น สำเนาเช็ค, หลักฐานการโอนเงิน •แนบสำหรับบัตรประชาชน (กรณีที่จ่ายเป็นเงินสด) 3.หากจ่ายค่าบริการอย่าลืมหัก ณ ที่จ่าย ใบรับเงิน : ใช้กรณีผู้รับเงินยินยอมออกใบรับเงิน ใบสำคัญรับเงิน : ใช้กรณีผู้รับเงินไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินให้ได้ แต่ยินยอมจะลงรายมือชื่อในช่อง “ผู้รับเงิน” ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน : ใช้กรณีใช้ในกรณีกิจการจ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือบริการเบ็ดเตล็ดแต่ไม่สามารถเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการได้ต้องให้พนักงานของกิจการเป็นผู้รับรองการจ่ายเงินดังกล่าว

by KKN การบัญชี

กรมสรรพากร

สรรพากร 4.0

นโยบายของกรมสรรพากร ยุค 4.0 1.รายการค้าต่างๆ จะเริ่มบังคับจัดทำผ่านระบบดิจิตอล (E-Tax invoice, E-Withholding tax) 2.สรรพากร ตรวจจับรายการผิดปกติโดยได้โปรแกรมช่วยวิธีการวิเคราะห์ RBA (Risk Base Audit) เลือกโดยส่วนกลาง 132 เกณฑ์ 3.ออกหมายเรียกผู้ที่มีรายการผิดปกติ เพื่อให้ทำให้ถูกต้อง 4.จะมีการสุ่มตรวจ โดยมีการวิเคราะห์งบการเงิน แบบแสดงรายการภาษีที่ผู้ประกอบการยื่นไว้ 5.อนาคต จะดำเนินคดีอาญา แม้จะตรวจพบรายการเดียว 6.สรรพากรจะขอความร่วมมือจากสำนักงานบัญชี

by KKN การบัญชี

กรมสรรพากร

ทำไมภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อโดนสรรพากรตรวจย้อนหลัง ต้องร้องขอชีวิตกัน

ตัวอย่าง: นายเอ ประกอบธุรกิจขายของออนไลน์ในปี 2559 มีรายได้จากการขาย 2.8 ล้านบาท แต่นายเอไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะคิดว่ายังไงสรรพากรก็จับไม่ได้ เมื่อโดนสรรพากรจับได้จะเป็นอย่างไร สรุปภาษีที่ต้องเสียตามกฏหมาย 1.รายได้ส่วนที่เกิน 1.8 ล้านบาท เราจะต้องเสีย VAT 7% ให้กับสรรพากร (2,800,000 – 1,800,000) x 7% = 70,000 บาท2.สรรพากรบอกว่า สรรพากรเป็นคนตรวจเจอเองจะต้องโดนปรับ 2 เท่าของ VAT 70,000 x 2 = 140,000 บาท3.สรรพากรบอกว่า จ่าย VAT ล่าช้าทำให้เสียประโยชน์ขอคิดดอกเบี้ยหน่อย 70,000 x ดอกเบี้ย 1.5% ต่อเดือน (จนกว่าจะมาชำระภาษี)

by KKN การบัญชี

กรมสรรพากร

การขออนุญาตใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน

ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการค้าปลีก ซึ่งประสงค์จะใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน เพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ ให้ยื่นคำขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรด้วยแบบคำขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน (ภ.พ.06) คุณสมบัติโดยย่อของเครื่องบันทึกการเก็บเงิน รายละเอียดรุ่น ยี่ห้อ หมายเลขประจำเครื่อง (Serial Number) และจำนวนเครื่องบันทึกการเก็บเงินที่ขออนุมัติ แผนผังแสดงตำแหน่งการวางเครื่องบันทึกการเก็บเงิน ในกรณีที่มีการต่อเชื่อมเครื่องบันทึกการเก็บเงินเข้ากับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น ให้แสดงแผนผังระบบการต่อเชื่อมดังกล่าวด้วย ตัวอย่างใบกำกับภาษีอย่างย่อ และตัวอย่างรายงานการขายสินค้าหรือการให้บริการ ประจำวันที่ออกด้วยเครื่องบันทึกการเก็บเงิน จะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรก่อนจึงจะใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินได้ มิฉะนั้นมีความผิดตามมาตรา 90/3(2) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

by KKN การบัญชี

กรมสรรพากร

สรรพากรมีอำนาจตรวจสอบภาษีย้อนหลังได้กี่ปี??

อำนาจการตรวจสอบภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมิน สามารถแยกพิจารณาได้เป็น 2 กรณี ดังนี้ 1.กรณียื่นแบบภาษี แต่ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ โดยปกติเจ้าพนักงานมีสิทธิตรวจสอบย้อนหลังได้ไม่เกิน 2 ปี ไม่นับปีปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าปัจจุบันเป็นปี 2560 ก็ย้อนหลังได้คือปี 2559-2558 เป็นต้น แต่ถ้าตรวจสอบว่ามีการหลีกเลี่ยงภาษีจริง เจ้าพนักงานสรรพากรมีอำนาจขยายประเมินระยะเวลาได้ถึง 5 ปี 2.กรณีไม่ยื่นแบบภาษี  สรรพากรสามารถประเมินย้อนหลังได้ไม่เกิน 10 ปี

by KKN การบัญชี

กรมสรรพากร

บุคคลธรรมดาทำแบบนี้เสี่ยงโดนสรรพากรตรวจ

5 ข้อที่ควรระวังของบุคคลธรรมดา 1.มีรายได้ค่าบริการและโดนหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ไม่ได้ยื่นภาษีเงินได้ประจำปี 2.ยื่นภาษีบุคคลธรรมดาสิ้นปี น้อยกว่ายอดรายได้ที่โดนหักภาษี ณ ที่จ่าย 3.มีรายได้ในแบบ ภ.ง.ด.91 มากกว่า 1,800,000 บาท แต่ไม่ได้จด VAT 4.ยอดขายตามแบบ ภ.พ.30 มากกว่าเงินได้ตามแบบ ภ.ง.ด.91 5.ยื่นภาษีโดนเลือกใช้ค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นสมควร แทนค่าใช้จ่ายเหมาจ่าย

by KKN การบัญชี

กรมสรรพากร

ขายต่ำกว่าราคาทุนทำได้หรือไม่

สรรพากรบอกว่า การขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุสมควร เจ้าหน้าที่สรรพากรมีอำนาจประเมินราคาสินค้าให้เป็นตามราคาตลาดในวันที่มีการขายสินค้าได้ เมื่อถูกเจ้าหน้าที่สรรพากรประเมินราคาขายเพิ่มขึ้นส่งผลทำให้กิจการจะต้องเสียภาษีมากขึ้น เหตุผลอันควรในการขายสินค้าที่ต่ำกว่าราคาตลาด มีอะไรบ้างเราไปดูกัน • สินค้าตกรุ่น • สินค้าใกล้หมดอายุ / หมดอายุแล้ว (ยังกล้าขายอีก) • สินค้ามีตำหนิ ไม่ได้มาตรฐาน ผู้ประกอบการสามารถขายสินค้าในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดได้ แต่ต้องทำบางอย่างเพิ่มดังนี้1. กรณีสินค้าตกรุ่น ต้องได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจในการพิจารณาให้เป็นสินค้าตกรุ่น และพิจารณาราคาตลาดที่เหมาะสมสำหรับสินค้าตกรุ่น 2.สินค้าใกล้หมดอายุ มีตำหนิไมได้มาตรฐาน จะต้องมีการตรวจสอบสภาพสินค้าตามเงื่อนไขที่บริษัทฯ กำหนดไว้ และให้ผู้มีอำนาจอนุมัติ พร้อมทั้งจะต้องมีบุคคลร่วมสังเกตการณ์ ประกอบด้วยฝ่ายคลังสินค้าและฝ่ายบัญชี โดยลงลายมือชื่อเป็นพยานในการขาย • การส่งเสริมการขายการขายสินค้าในช่วงส่งเสริมการขาย โดยลดราคาให้กับผู้ซื้อ ถือเป็นเหตุผลอันควรในการขายสินค้าที่ต่ำกว่าราคาตลาด แต่ควรจะมีหลักฐานประกอบดังนี้1.การจัดทำแผนการขายและอนุมัติแผนการขายโดยผู้มีอำนาจ -เหตุผลความจำเป็นในการทำแผนการขาย -วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และผลที่คาดว่าจะได้รับ -ชื่อ ชนิด ประเภท ราคา และมูลค่าของสินค้าที่จะลดราคา 2.รายงานผลการดำเนินงานของแผนการขาย 3.การส่งเสริมการขายควรให้กับลูกค้าทุกราย ไม่ใช่เพื่อลูกค้าบางรายโดยเฉพาะ

by KKN การบัญชี

กรมสรรพากร

ขายของออนไลน์เจอพี่สรรพากรเรียกตรวจ

สรรพากรส่งจดหมายมาที่บ้าน เพื่อเรียกพบเรื่องการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เมื่อเข้าพบสรรพากรมีการ Print หน้าเว็บไซต์พร้อมเลขที่บัญชีธนาคารของร้านค้า (เรียกว่าหนักฐานแน่นหนาดิ้นไม่หลุด)สรรพากรสอนถามเกี่ยวกับธุรกิจขายของออนไลน์ พร้อมกับให้เราไปขอ Bank statement ทุกบัญชีที่แสดงในเว็บไซต์ย้อนหลังตั้งแต่เปิดร้าน (เจ้าของเพิ่งเปิดร้านได้ปีกว่า) เมื่อนำข้อมูลบัญชีธนาคารไปให้สรรพากร เจ้าหน้าที่ประเมินรายได้ของร้าน จากยอดเงินเข้าบัญชีธนาคารทั้งหมด และให้เราชี้แจ้งยอดที่ไม่ใช่รายการขาย. สรรพากรมีอำนาจในการขอให้เราส่ง Bank statement หรือไม่ เมื่อเจ้าหน้ามีมีเหตุอันควรให้เชื่อว่าผู้ใดยื่นแบบแสดงรายการภาษีไม่ถูกต้อง เจ้าหน้าทีมีอำนาจให้นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ เจ้าหน้าที่มีสิทธิประเมินรายได้ตามยอดเงินเข้าบัญชีหรือไม่ ตามกฎหมายแล้วเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินเงินภาษีอากร และแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ต้องชำระไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากร แต่ผู้เสียภาษีมีสิทธิ์ที่จะอุทรการประเมินนั้นได้ สรุปถ้าโดนตรวจแล้วต้องทำอย่างไร ไปพบเจ้าหน้าที่ตามที่ได้รับจดหมายเรียก (เจ้าหน้าที่ใจดีทุกคน) ไปขอ Bank statement ธนาคาร เช็คยอดรายรับใน Bank statement – ยอดไม่เกิน 1.8 ล้านต่อปี  ^_^ เสียภาษีชุดเล็ก – เกิน 1.8 ล้านต่อปี  T_T เตรียมร้องขอชีวิต พยายามหารายการที่ไม่ใช่ขายสินค้า เชื่อการโอนเงินระหว่างบัญชี รายการขอยืมเงิน เพื่อลดยอดรายรับ (รายการพวกนี้มันจะเป็นยอดเงินกลมๆ จำนวนเงินเยอะๆ) อ้อนวอนเจ้าหน้าที่ขอยกเว้นพวกเบี้ยปรับเงินเพิ่ม (ดราม่าความยากจน […]

by KKN การบัญชี

กรมสรรพากร

ร่างกฏหมายแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่..)เพื่อรองรับ National e-Payment Master Plan!

สรุปสั้นๆ ไม่เกิน 8 บรรทัด ไม่ต้องถามแล้วว่าสรรพากรจะสามารถดู Statement เราได้รึเปล่า เพราะต่อไปสถาบันการเงินจะต้องมีหน้าที่รายงานคนที่มีธุรกรรมผิดปกติให้สรรพากรเองภายใน มี.ค. ของทุกปี ธุรกิจผิดปกติ ได้แก่ มีรายการหรือรับโอนเงิน เกิน 3,000 รายการต่อปี (นับรวมทุกบัญชี) มีรายการหรือรับโอนเงิน เกิน 200 รายการต่อปี และมียอดรวมกันเกิน 2 ล้านบาทต่อปี (นับรวมทุกบัญชี) ขายของออนไลน์ รับเงินวันละ 8 ครั้งก็โดนแล้ว ใครที่หนีภาษีอยู่ ก็ระวังเอาไว้นะครับภาษีย้อนหลังมันน่ากลัว

by KKN การบัญชี

กรมสรรพากร

ไม่ต้องเป็นหมอดูก็ทายอนาคตได้ “จะโดนสรรพากรเรียกตรวจมั้ย”

รู้หรือไม่ปัจจุบันกรมสรรพากรใบระบบ Risk Based Audit System (RBA) ในการเลือกผู้ประกอบการมาตรวจสอบภาษี RBA คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่วิเคราะห์ความเสี่ยงจากข้อมูลภายนอกและภายใน เช่น งบการเงิน การยื่นแบบภาษี GDP กรมศุลกากร เป็นต้น ซึ่งกรมสรรพากรได้ใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกถึง 132 เกณฑ์ความเสี่ยงมาวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งงบการเงิน จัดได้ว่าเป็นตัวแปรที่สำคัญโครตๆ ว่ากิจการเรามีความเสี่ยงที่จะโดนตรวจหรือไม่ ดังนั้นผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับงบการเงิน ตัวอย่างงบการเงิน (ที่เจ้าของไม่เคยสนใจ จนกระทั้งมีปัญหาโดนตรวจ) ประเด็นความเสี่ยงเบื้องต้นที่ผู้ประกอบการสามารถดูเองได้ กำไรขั้นต้นติดลบ กิจการบันทึกบัญชีด้วยเงินสดทุกรายการ มีเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ หรือบุคคลอื่น แต่ไม่ได้คิดดอกเบี้ย มีสินค้าคงเหลือสูงจนผิดปกติ เมื่อเทียบกับยอดขาย กิจการมีลูกหนี้การค้าสูงมากจนผิดปกติ กิจการมีการตั้งค่าใช้จ่ายทิ้งไว้ในงบการเงิน และไม่ได้มีจ่ายเงินออกไปจริง กิจการมีธุรกิจค้าขายกับต่างประเทศแต่ไม่มีการบันทึกกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน มีบัญชีค่าใช้จ่ายในการขาย เช่น ค่านายหน้า ค่าที่ปรึกษา ค่าใช้จ่ายพนักงานสูงจนผิดปกติ

by KKN การบัญชี

50 ทวิ
Bitcoin
DBD Registered
e-filing
LTF
SME
SMEs
TFRS16
Uncategorized
Voucher
กท.20 ก
กรมสรรพากร
กองทุนรวม
ก่อสร้างอาคารบนที่ดินของกรรมการ
การขอรับบริจาค
การจัดสรรกำไรสะสม
การตัดหนี้สูญ
การบริจาค
การบันทึกบัญชีเงินสดรับ-จ่าย
การประมาณการกำไรสุทธิขาดไป
การลงทุน
การลงประกาศหนังสือพิมพ์
การลดหย่อนบริจาคทั่วไป
การเช่า
กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กิจการร่วมค้า และกิจการค้าร่วม
กิจการเพื่อสังคม
กิจการโรงแรม
ขนส่ง
ขอคืนเงินประกันไฟฟ้า
ขายกิจการ
ขายสินค้าต่ำกว่าทุน
ขายสินค้าส่งออกไปต่างประเทศ
ขายหนังสือแถมคอร์สเรียนออนไลน์
คริปโทเคอร์เรนซี
ความเสี่ยง-ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ความเสี่ยงของกิจการ
ค่าขนส่ง
ค้าขายออนไลน์
ค่าตรวจสุขภาพ
ค่าปรับ
ค่ารักษาพยาบาล
ค่ารับรอง
ค่าสินไหมทดแทน
ค่าเช่า
ค่าเช่ารับล่วงหน้า
ค่าเบี้ยประกันชีวิต
ค่าเสื่อมราคา
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายของกิจการ
ค่าใช้จ่ายทางภาษี
ค่าใช้จ่ายในการอบรม
งบการเงิน
งบการเงินส่วนบุคคล
จดทะเบียน
จดทะเบียนเพิ่มสาขา
จดภาษีมูลค่าเพิ่ม
จัดตั้งบริษัท
จ้างงานผู้สูงอายุ
จ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ
จ้างเด็กจบใหม่
ช้อปดีมีคืน
ดอกเบี้ยค้างรับ
ตราประทับ
ทรัพย์สิน
ทั่วไป
ทำประกันให้พนักงาน
ธุรกรรม
ธุรกิจขนส่ง
บริจาค
บริษัท กับ กรรมการ
บัญชีและภาษี
บิลเงินสด
ประกัน keyman
ประกันCovid-19
ประกันสังคม
ประชุมบริษัท
ประเภทเช็ค
ผลขาดทุน
ผู้ถือหุ้น
ผู้ประกอบการ
พร้อมเพย์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ฟรีแลนซ์
ภ.ง.ด. 1ก
ภ.ง.ด.1 ก
ภ.ง.ด.54
ภ.พ.36
ภาษี
ภาษี e-Service
ภาษีDropship
ภาษีกองทุนตราสารหนี้
ภาษีกับการออกจากงาน
ภาษีการรับมรดก
ภาษีของแพทย์
ภาษีขาย
ภาษีซื้อ
ภาษีซื้อต้องห้าม
ภาษีดอกเบีี้ย
ภาษีที่ดิน
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีนำเข้าสินค้า
ภาษีป้าย
ภาษีฟรีแลนซ์
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีรถยนต์
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีอากร
ภาษีอากรนำเข้า
ภาษีอีเพย์เมนต์
ภาษีเงินปันผล
ภาษีเงินได้จากการรับให้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ภาษีโรงแรม
มาตรการผู้กู้ยืม กยศ.
มูลค่าต้นทุน
ย้ายกิจการ
ยื่นแบบ
ยื่นแบบอย่างไรให้ประหยัดค่าปรับที่สุด
รถยนต์นั่ง
รถแลกเงิน
ระบบรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
ร้านกาแฟ-เสียภาษี
รายจ่ายค่าซ่อมแซม
รายจ่ายจริง
รายจ่ายต้องห้าม
รายได้อื่น
ลดหย่อนทางภาษี
ลดหย่อนภาษี
ลาออกจากงาน
วงจรเงินสด
วางระบบบัญชี
วางแผนภาษี
ศุลกากร
ส่งสินค้าทางไปรษณีย์
ส่งเสริมการขาย
สต็อกสินค้า
สรุปประเด็นภาษี
ส่วนลดกาาค้าและส่วนลดเงินสด
สวัสดิการพนักงาน
สวัสดิการอาหารพนักงาน
สัญญาขายฝาก
สัญญาซื้อ
สัญญาฝากทรัพย์
สัญญายินยอม
สัญญาเช่า
สัญญาเช่าที่ดิน
สำนักงานบัญชี
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
หนี้สิน
อั่งเปา
อากรแสตมป์
เกษตรกับวิธีเสียภาษี
เครื่องบันทึกการเก็บเงิน
เคลมภาษีซื้อ ค่าอบรม
เงินกู้ยืมกรรมการ
เงินค่าฝึกอบรม
เงินชดใช้ค่าเสียหาย
เงินทดรองจ่าย
เงินบำนาญชราภาพ
เงินบำเหน็จ
เงินปันผล
เงินมัดจำ
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
เงินสมทบประกันสังคม
เงินสำรองจ่าย
เงินเรียกเก็บล่วงหน้าจากการขายสินค้า
เงินได้พนักงาน
เงินได้พึงประเมิน
เช่าซื้อ-ลิสซิ่ง
เบี้ยประกัน
เบี้ยปรับ
เปิดบริษัท
เราเที่ยวด้วยกัน
เลขประจำตัวผู้เสียอากร
เลิกทำธุรกิจ
เสน่หากับภาษ๊
เอกสารการเบิกจ่ายเงิน
เอกสารทางภาษี
เอกสารบัญชี
แจกไฟล์
แรงงานต่างด้าว
โครงการคนละครึ่ง
โทษปรับ
ใบกำกับภาษี
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
ใบลดหนี้
ใบลดหนี้และใบเพิ่มหนี้
ใบสำคัญจ่าย
ใบหุ้น
ใบเสนอราคา
ใบเสร็จรับเงิน