ภาษีมูลค่าเพิ่ม

บทความล่าสุด

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไรภาษีชนิดหนึ่งที่เก็บจากผู้บริโภคจากการซื้อสินค้าหรือบริการในอัตรา 7% หลักของภาษีมูลค่าเพิ่ม หลักง่ายๆ : ใครก็ตามที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีจะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม** แสดงว่าถ้ารายได้ไม่ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปี เรามีสิทธิ์เลือกว่าจะจดหรือไม่จดก็ได้** มีบางกิจการที่รายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีก็ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่นสถานศึกษา, ผู้สอบบัญชี, ขายสินค้าเกษตร เราสามารถดูรายชื่อทั้งหมดได้ที่ http://www.rd.go.th/publish/7052.0.html ข้อดีและข้อเสียของการจดVAT Tip ในการเลือกจดVAT กรณีรายได้ยังไม่ถึงเกณฑ์ 1.กิจการมีความสามารถผลักภาระภาษีขายไปให้แก่ลูกค้าได้มากน้อยเพียงใด? 2.กิจการมีภาษีซื้อที่สามารถขอคืนได้มากน้อยเพียงใด? สรุปการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม Note:   1. ถ้าภาษีขาย > ภาษีซื้อ เราจะต้องนำส่งส่วนต่างให้สรรพากรเพิ่ม2. ถ้าภาษีซื้อ > ภาษีขาย เราสามารถขอคืนส่วนต่างจากรมสรรพากรได้ หรือ จะยกไปใช้ในเดือนถัดไปก็ได้ ภาษีซื้อที่ไม่มีสิทธิ์นำมาขอคืน (ภาษีซื้อต้องห้าม) 1.ไม่มีใบกำกับภาษีหรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ว่ามีการชำระภาษีซื้อ 2.ใบกำกับภาษีมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ 3.ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการ 4.ภาษีซื้อที่เกิดจากการจ่ายค่ารับรอง 5.ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีซึ่งออกโดยผู้ที่ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี 6.อื่นตามประกาศของอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น •ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อเช่า หรือจ่ายค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่งและรถยนโดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง […]

by KKN การบัญชี

กรมสรรพากร

ทำไมภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อโดนสรรพากรตรวจย้อนหลัง ต้องร้องขอชีวิตกัน

ตัวอย่าง: นายเอ ประกอบธุรกิจขายของออนไลน์ในปี 2559 มีรายได้จากการขาย 2.8 ล้านบาท แต่นายเอไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะคิดว่ายังไงสรรพากรก็จับไม่ได้ เมื่อโดนสรรพากรจับได้จะเป็นอย่างไร สรุปภาษีที่ต้องเสียตามกฏหมาย 1.รายได้ส่วนที่เกิน 1.8 ล้านบาท เราจะต้องเสีย VAT 7% ให้กับสรรพากร (2,800,000 – 1,800,000) x 7% = 70,000 บาท2.สรรพากรบอกว่า สรรพากรเป็นคนตรวจเจอเองจะต้องโดนปรับ 2 เท่าของ VAT 70,000 x 2 = 140,000 บาท3.สรรพากรบอกว่า จ่าย VAT ล่าช้าทำให้เสียประโยชน์ขอคิดดอกเบี้ยหน่อย 70,000 x ดอกเบี้ย 1.5% ต่อเดือน (จนกว่าจะมาชำระภาษี)

by KKN การบัญชี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

อยากออกจากระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องทำอย่างไร

ตามมาตรา 85/10 แห่งประมวลรัษฏากรผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วต้องการจะออกจากระบบภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องมียอดขายต่ำกว่า 1.8 ล้านบาทไม่น้อยกว่า 3 ปี ถึงจะมีสิทธิขอให้อธิบดีสั่งถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้

by KKN การบัญชี

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ธุรกิจให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

วันนี้แอดมินมาสรุปภาษีที่เกี่ยวข้องทั้งหมดสำหรับการทำธุรกิจให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ เช่น หอพักให้เช่า บ้านพักให้เช่า ให้เช่าที่ดินเปล่า เป็นต้น

by KKN การบัญชี

ภาษีขาย

ทำธุรกิจเสียภาษีอะไรบ้าง

ภาษีเงินได้ เป็นภาษีทีเก็บจากเงินได้ ดังนั้นใครที่มีรายได้จะต้องเสียภาษี บุคคลธรรมดา – เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินได้สุทธิ (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) นิติบุคคล – เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิทางภาษี ภาษีมูลค่าเพิ่ม มีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นภาษีที่จะต้องจ่ายทันทีเมื่อมีรายได้จากการให้บริการ โดยนิติบุคคลผู้จ่ายเงินได้เป็นผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ภาษีอากรแสตมป์ ตราสารที่จะต้องติดอากรแสตมป์ ได้แก่ สัญญาเช่าโรงเรือน, เช่าซื้อทรัพย์สิน,จ้างทำของ, เงินกู้ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ได้แก่ เกษตรกรรม, ที่อยู่อาศัย, อื่น ๆ (พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม) และที่ดินรกร้างว่างเปล่า โดยคิดอัตราภาษีเป็นรูปแบบขั้นบันไดเพิ่มขึ้นตามมูลค่าราคาประเมิน  ภาษีศุลกากร เรียกเก็บจากการนำสินค้า หรือสิ่งของผ่านเข้าออกจากเขตแดนหนึ่งไปยังอีกเขตแดนหนึ่ง ภาษีสรรพสามิต เรียกเก็บจากสินค้าที่ผลิตหรือนำเข้าและการให้บริการในทางธุรกิจตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ภาษีน้ำมัน, ภาษีน้ำหอม, ภาษีรถยนต์ ภาษีธุรกิจเฉพาะ เรียกเก็บจากการประกอบธุรกิจธนาคารหรือประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์, ประกันชีวิต, โรงรับจำนำ รวมถึงการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นการค้าหรือหากำไร […]

by KKN การบัญชี

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

บุคคลธรรมดาทำธุรกิจเสียภาษีอะไรบ้าง

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา – เสียภาษีจากเงินได้สุทธิ (เงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน) ภาษีมูลค่าเพิ่ม– รายได้จากการขายหรือบริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีจะต้องVAT ภาษีโรงเรือนและที่ดิน– ให้เช่าหรือให้ผู้อื่นอยู่อาศัยโดยไม่คิดค่าเช่า – ใช้เป็นสำนักงาน ใช้เป็นสถานประกอบพาณิชย์ ภาษีป้าย– ป้ายที่ใช้เพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้า จะต้องเสียภาษีป้าย 1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การหักค่าใช้จ่าย สิ่งที่ควรระวังสำหรับบุคคลธรรมดาในปี 25601.การหักค่าใช้จ่ายเหมาจ่ายปี 2560 มีการปรับลดลง 85% >> 60%2.สรรพากรบังคับให้ใครที่มีรายได้ 40(5)–(8) จะต้องจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย 2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม หลักจำง่ายๆ : ใครก็ตามที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีจะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อจดภาษีมูลค่าเพิ่มคุณมีหน้าที่หลักๆดังนี้ 1.เรียกเก็บภาษีขายในอัตรา 7% จากผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ 2.ออกใบกำกับภาษีขายให้กับลูกค้า 3.จัดทำรายงานภาษีซื้อและภาษีขาย พร้อมนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับกรมสรรพากร ไม่เกินวันที่ 15 ของเดือนถัดไป 4.จัดทำสต็อกสินค้า ณ วันที่ 31 มิถุนายน และ 30 ธันวาคม สรุปการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม Note: […]

by KKN การบัญชี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

จำเป็นมั้ยต้องเป็นบิลบริษัท หรือ บิล VAT ถึงสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้

รายจ่ายที่ไม่ถือเป็นรายจ่ายทางภาษี รายจ่ายซึ่งมิได้เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกิจการ, เป็นการส่วนตัว, ให้โดยเสน่หา รายจ่ายซึ่งผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็น รายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่าย รายจ่ายซึ่งควรจะได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีอื่น รายจ่ายใดๆ ที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีแล้ว รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน เช่นการซื้อรถยนต์ ค่ารับรองส่วนที่เกิน 0.3% ของทุนจดทะเบียนหรือยอดขายแล้วแต่อะไรจะสูงกว่าและค่ารับรองต้องไม่เกิน 10 ล้านบาท สรุป ไม่มีข้อไหนบอกเลยว่าบิลจะต้องเป็นบิลบริษัท หรือต้องเป็นใบกำกับภาษีเท่านั้นถึงจะนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ มโนกันไปเองทั้งนั้น

by KKN การบัญชี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ให้ของแถมลูกค้าก็ต้องเสียภาษีขายด้วยนะ(แต่มีข้อยกเว้น)

ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อมีการจำหน่าย จ่าย โอนสินค้า ไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่มีค่าตอบแทน จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับกรมสรรพากร ดังนั้นของแถมที่ให้ลูกค้าจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย แต่ๆๆๆทุกอย่างมันมีข้อยกเว้นเสมอ ถ้าไม่อยากเสียภาษีขายจากการให้ของแถมลูกค้าต้องปฏิบัติตามดังต่อไปนี้ 1.มูลค่าของแถมจะต้องไม่เกินมูลค่าสินค้าที่ขายหรือบริการ โดยของที่แถมไม่จำเป็นจะต้องเป็นชนิดเดียวกันก็ได้2.ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีสำหรับสินค้าที่ขายและสินค้าที่แจกหรือแถมนั้น โดยระบุรายการสินค้าที่แจกหรือแถมไว้ในใบกำกับภาษีฉบับเดียวกันกับสินค้าที่ขาย3.ผู้ประกอบการจะส่งมอบสินค้าที่แถมทันทีพร้อมกับการขาย หรือส่งมอบทีหลังก็ได้ (ถ้าส่งมอบทีหลังไม่ต้องออกใบกำกับภาษีซ้ำอีกรอบ)

by KKN การบัญชี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ทำความเข้าใจกับ พ.ร.ก. 630 สิทธิประโยชน์ทางภาษี ที่ช่วยบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคล

1. ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่ บุคคลธรรมดา ที่โอนทรัพย์สิน ขายสินค้า หรือการกระทำตราสาร ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยมีเงื่อนไขดังนี้ • เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย • ได้รับค่าตอบแทนเป็นหุ้นสามัญของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น • การโอนทรัพย์สิน และการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคล ต้องกระทำตั้งแต่วันที่ 10 ส.ค. 2559 – 31 ธ.ค. 2560 2.สำหรับนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ที่มีทุนที่ชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท และจดทะเบียนจัดตั้ง ตั้งแต่วันที่ 10 ส.ค. 2559 – 31 ธ.ค. 2560 จะสามารถนำรายจ่ายมาหักได้เพิ่มอีก 1 เท่า เป็นระยะเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน ได้แก่ • รายจ่ายจากการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคล • ค่าทำบัญชี • […]

by KKN การบัญชี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

หนีภาษีมาทั้งชีวิตปีนี้จะยื่นภาษีให้ถูกต้องดีมั้ย

ผู้ประกอบการที่กลับใจเสียภาษีถูกต้องมักจะกังวลเรื่องดังต่อไปนี้ ถ้ายื่นภาษีถูกต้องปีนี้ จะโดนสรรพากรตรวจย้อนหลังมั้ย เราควรกลับใจไปยื่นย้อนหลังในหลายปีที่ผ่านมามั้ย เกิดปีหน้ารายได้ลดลง หรือไม่มีรายได้จะโดนสรรพากรตรวจสอบมั้ย ถ้ายื่นปีนี้แล้ว ปีหน้าผมจะหนีภาษีไม่ได้แล้วใช่มั้ย สรุปผมควรยื่นเสียภาษีมั้ย ถ้ายื่นภาษีถูกต้องปีนี้ จะโดนสรรพากรตรวจย้อนหลังมั้ย เราควรกลับใจไปยื่นย้อนหลังในหลายปีที่ผ่านมามั้ย 2 คำถามนี้ไม่มีใครบอกได้แม้กระทั้งสรรพากรเอง เพราะในแต่ละปีมีคนยื่นภาษีกันเยอะมากไม่รู้ว่าใครจะซวยโดนตรวจสอบ ในกรณีที่คุณขายของออนไลน์เอาจริงๆ สรรพากรไม่รู้หรอก ว่าคุณมีรายได้กี่บาท แต่ถ้าคุณมีรายได้จากการให้บริการ เวลาคุณรับเงินจากบริษัทจะมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายเอาไว้ ข้อมูลรายได้ของคุณจะถูกเก็บไว้ที่สรรพากร สรรพากรคาดหวังว่าสิ้นปีคุณจะมายื่นภาษีที่ไม่น้อยกว่าในระบบของสรรพากร ดังนั้นสรุปว่า ถ้าภาษีย้อนหลังมีจำนวนไม่เยอะ ถ้าเสียถูกต้องไม่ได้ลำบากก็เสียภาษีย้อนหลังเลยคุณจะได้สบายใจ แต่ถ้าไม่ค่อยมีเงินการเริ่มต้นยื่นปีปัจจุบันเป็นต้นไปก็ไม่ใช่สิ่งที่แย่ เพราะคุณได้เริ่มต้นทำสิ่งที่ถูกต้องแล้ว เกิดปีหน้ารายได้ลดลง หรือไม่มีรายได้จะโดนสรรพากรตรวจสอบมั้ย ถ้ารายได้ลดลงหรือไม่มีรายได้จริงถึงสรรพากรเรียกตรวจสอบ เราก็ชี้แจ้งไปตามข้อมูลจริง สรรพากรจริงแล้วน่ารักทุกคนไม่ได้น่ากลัวจะโหดร้าย เค้าไม่สามารถบังคับให้เราเสียภาษีได้ครับ ถ้ายื่นปีนี้แล้ว ปีหน้าผมจะหนีภาษีไม่ได้แล้วใช่มั้ย คิดว่าสรรพากรคงจะรู้สึกแปลกๆ ว่าปีที่แล้วมีรายได้ทำไมมีนี้รายได้หายไป สรุปผมควรยื่นเสียภาษีมั้ย ถ้ายอดภาษีที่เสียคุณมีกำลังชำระได้ การทำสิ่งที่ถูกต้องได้ความสบายใจครับ

by KKN การบัญชี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

รายได้ไม่ถึง 1.8 ล้านควรจดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่??

เป็นปัญหาที่มีคนสงสัยกันมาก ว่าทันทีที่จดทะเบียนบริษัทเราควรจะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเลยหรือไม่ ประเด็นหลักที่ควรจะคำนึงถึงก็คือเราสามารถผลักภาระ VAT 7% ให้กับลูกค้าได้หรือไม่ ถ้าไม่สามารถผลักภาระได้แล้วเราจะต้องควักเงินจ่ายเองการจด VAT จะทำให้กิจการกำไรน้อยลง วันนี้ได้สรุปมาแต่ละกรณีให้แล้ว เพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้ประกอบการนะครับ สำหรับบางบริษัทที่ยังไม่แน่ใจว่าจะมีรายได้เข้าบริษัทหรือไม่อย่าจด VAT โดยเด็ดขาดนะครับเพราะมันจะกลายมาเป็นภาระของคุณแม่คุณจะไม่มีรายได้หรือค่าใช้จ่ายเลยก็ตาม แต่กฏหมายก็ยังคงบังคับให้คุณต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มทุกเดือน และถ้าคุณทำเองไม่เป็นจะต้องเสียเงินจ้างสำนักงานบัญชีโดยที่กิจการของคุณไม่มีรายได้เลย

by KKN การบัญชี

ภาษีขาย

อยากออกใบกำกับภาษีขาย แต่ลูกค้าไม่ให้ข้อมูล ทำอย่างไร

อยากจะเป็นคนดีของท่านสรรพากร แต่บางทีมันก็มีอุปสรรคซะเหลือเกิน  ทั้งๆที่ไม่อยากหนีภาษีเลยซักนิด ขายทุกครั้งอยากจะออกบิล แต่บางครั้งคุณลูกค้าก็ไม่ค่อยให้ความร่วมมือ ไม่อยากให้ข้อมูล วันนี้เลยเสนอประเด็นการแก้ปัญหากับลูกค้าที่เป็นบุคคลธรรมดา ที่ไม่ให้ข้อมูลเพื่อออกใบกำกับภาษีครับ 1.ไม่ออกใบกำกับภาษี (ไม่มีข้อมูลก็เลยไม่ออกมันซะเลย) ไม่จัดทำใบกำกับภาษี หรือจัดทำแล้วไม่ได้ส่งมอบให้ลูกค้า มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 2. เขียนชื่อลูกค้า “ลูกค้าเงินสด” ออกใบกำกับภาษีโดยมีรายการในส่วนที่เป็นสาระสำคัญไม่ครบถ้วน มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท 3. ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ กิจการที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ ได้แก่กิจการที่เป็นการขายสินค้าในลักษณะขายปลีก หรือกิจการให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมากสามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้ เช่น ร้านขายของชำ ร้านขายยา ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร 4. ไม่ต้องขาย บางครั้งกฏหมาย ก็ไม่เอื้ออำนวยกับผู้ประกอบการที่ต้องการจะเสียภาษีให้ถูกต้อง ก็ได้แต่หวังว่าจะมีการแก้กฏหมายใหม่ในเร็ววัน

by KKN การบัญชี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ธุรกิจอะไรบ้างที่ยอดขายเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 1. การขายสินค้าหรือให้บริการของผู้ประกอบการที่มีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี 2. การขายพืชผลทางการเกษตรภายในราชอาณาจักร เช่น ข้าว ผักและผลไม้ เป็นต้น 3. การขายสัตว์ทั้งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตภายในราชอาณาจักร เช่น หมู ไก่ ปลา เป็นต้น 4. การขายปุ๋ย 5. การขายปลาป่น อาหารสัตว์ 6. การขายยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ เพื่อบำรุงรักษาป้องกัน ทำลายหรือกำจัดศัตรูหรือโรคของพืชและสัตว์ 7. การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน 8. การนำเข้าสินค้าตาม 2. ถึง 7. 9. การให้บริการการศึกษาของสถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน 10. การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางน้ำหรือทางอากาศ 11. การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศทางบกและทางเรือซึ่งมิใช่เรือเดินทะเล 12. การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลทางราชการและเอกชน 13. การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ 14. การให้บริการจัดแข่งขันกีฬาสมัครเล่น 15. การให้บริการประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การว่าความ 16. การให้บริการของนักแสดงสาธารณะ […]

by KKN การบัญชี

ภาษีขาย

ไม่ต้องออกใบกำกับภาษีก็ได้ ถ้ากิจการของคุณเข้าเงื่อนไขต่อไปนี้

เว้นแต่ กรณีดังต่อไปนี้ 1. การขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย กำหนดให้กิจการรายย่อยไม่ต้องออกใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือ การให้บริการที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท เว้นแต่ ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการจะเรียกร้องใบกำกับภาษี สำหรับกิจการดังต่อไปนี้ กิจการไม่เคยมีมูลค่าของฐานภาษีในเดือนใดถึง 300,000 บาท การขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งหน่วยขายเป็นรถเข็น แผงลอย การให้บริการการแสดง การเล่น การกีฬา การแข่งขัน การประกวดหรือ การกระทำใด ๆ ในลักษณะทำนองเดียวกันที่จัดขึ้นเพื่อเก็บเงินจากผู้ดู ผู้ฟัง ผู้เล่น หรือผู้เข้าแข่งขัน 2. การขายน้ำมันเชื้อเพลิงของสถานบริการน้ำมัน การขายน้ำมันเชื้อเพลิงของสถานบริการน้ำมันโดยผ่านมิเตอร์หัวจ่ายอันมีลักษณะเป็น การขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก มีสิทธิที่จะขายน้ำมันเชื้อเพลิงโดยไม่ต้องออกใบกำกับภาษีสำหรับการขายน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท เว้นแต่ผู้ซื้อสินค้าจะเรียกร้องใบกำกับภาษี

by KKN การบัญชี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

จ่ายค่าโฆษณา Facebook Google ด้วยบัตรเครดิตกรรมการ เอาเป็นค่าใช้จ่ายบริษัทได้หรือไม่?

สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้แน่นอนครับด้วยหลักพิจารณาง่ายๆ คือ ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกิจการ เป็นค่าใช้จ่ายที่จ่ายเงินออกไปจริง วิธีการปฎิบัติ มีดังนี้ พิมพ์ใบเสร็จรับเงินจาก Facebook / Google แนบหลักฐานการจ่ายเงิน เช่น Statement บัตรเครดิต นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% แทน FB Google ด้วยแบบ ภ.พ. 36 (บริษัทสามารถนำมาใช้เป็นภาษีซื้อได้ในเดือนถัดไป) ตัวอย่างใบเสร็จรับเงินจาก Facebook ตัวอย่างใบเสร็จรับเงินจาก Google ตัวอย่างการยื่น ภ.พ.36

by KKN การบัญชี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ทำไมกิจการถึงห้ามขอคืนภาษี

ณ บริษัทข้ามชาติแห่งหนึ่งที่เพิ่งเปิดกิจการไทย ผู้บริหารต่างชาติกำลังคุยกับผู้จัดการบัญชี

by KKN การบัญชี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ขายรถยนต์ส่วนตัว เสียภาษีมั้ย?

สมมติตัวอย่างดังนี้ครับ นาย A ขายรถยนต์ส่วนตัวคันเก่าที่ตนเองใช้อยู่ปัจจุบันออกไป เพราะต้องการจะเปลี่ยนรถยนต์ใหม่มั้ย จะคำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนสิ้นปีอย่างไรและรายได้จากการขายรถยนต์หักค่าใช้จ่ายอย่างไร? ภาษีเงินได้บุคคลธรมดา สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นคำตอบก็คือ “นายA ไม่ต้องเอาเงินที่ได้จากการขายมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินบุคคลธรรมดา” เพราะเนื่องจากการขายทรัพย์สินสิ่งของใช้ส่วนตัว เป็นการขายสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยไม่ได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร จึงได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ (ตามมาตรา 42(9) แห่งประมวลรัษฎากร) แต่!!! ถ้าเป็นการขายโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร เงินที่ได้ขายจะเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) ต้องนำเงินได้ดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ครับ (โดยมีสิทธิเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร หรือหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 60)  ภาษีมูลค่าเพิ่ม คำตอบก็คือ “ถึงแม้นาย A จะขายเกิน 1.8 ล้าน แต่นาย A ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม” ก็เพราะว่าบุคคลธรรมดา ขายสินค้าที่เป็นทรัพย์สินสิ่งของใช้ส่วนตัว ถ้าการขายสินค้าดังกล่าวไม่ได้ทำในเชิงธุรกิจหรือวิชาชีพ ก็ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม อากรแสตมป์ คำตอบก็คือ “การที่นาย A ขายรถยนต์ส่วนตัวต้องเสียอากรแสตมป์ในอัตรา 1 บาท/วงเงิน 200 บาท” ซึ่งหากเราดูจากบัญชีอัตราอากรแสตมป์แล้วการขายอสังหาริมทรัพย์นั้นจะต้องเสียอากรแสตมป์ในอัตรา 1 บาท/วงเงิน 200 บาท โดยมีวิธีการคำนวณดังนี้ครับ การขายรถยนต์   จะต้องเสียอากร […]

by KKN การบัญชี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ใบลดหนี้ออกได้กรณีไหนบ้าง?

ตอนไหนถึงจะออกใบลดหนี้ ? การที่จะออกใบลดหนี้ได้นั้น ต้องเกิดการที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้มีการขายสินค้าหรือได้ให้บริการ และมีการออกใบกำกับภาษีให้กับลูกค้า ซึ่งภายหลังที่มีการออกใบกำกับภาษีนั้น มีเหตุการณ์ที่ทำให้ภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการมีจำนวนลดลงไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนนั่นเองครับ เหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ผู้ประกอบการสามารถออก “ใบลดหนี้” มีการลดราคาสินค้าที่ขายเนื่องจากสินค้าผิดข้อกำหนดที่ตกลงกัน สินค้าชำรุดเสียหาย หรือขาดจำนวน คำนวณราคาสินค้าผิดพลาดสูงกว่าที่เป็นจริง มีการลดราคาค่าบริการเนื่องจากให้บริการผิดข้อกำหนดที่ตกลงกัน บริการขาดจำนวน คำนวณราคาค่าบริการผิดพลาดสูงกว่าที่เป็นจริง หรือเนื่องจากเหตุอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ได้รับสินค้าที่ขายกลับคืนมาเนื่องจากสินค้าชำรุดบกพร่อง ไม่ตรงตามตัวอย่าง ไม่ตรงตามคำโฆษณา ต้องจ่ายเงินชดเชยหรือเงินอื่นในลักษณะทำนองเดียวกันให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการตามข้อผูกพันในกฎหมาย มีการจ่ายเงินชดเชยให้กับผู้ซื้อ, มีการจ่ายคืนเงินจ่ายล่วงหน้า/เงินประกัน/เงินมัดจำ ให้กับผู้ซื้อตามข้อตกลงทางการค้า มีการคืนสินค้าหรือแลกเปลี่ยนสินค้าตามข้อตกลงทางการค้าระหว่างผู้ประกอบการจดทะเบียนด้วยกัน มีการคืนสินค้าหรือแลกเปลี่ยนสินค้าตามข้อตกลงทางการค้าระหว่างผู้ประกอบการจดทะเบียนและผู้ซื้อสินค้า ทั้งนี้ เฉพาะที่กระทำภายในเวลาอันสมควร มีการบอกเลิกสัญญาบริการเนื่องจากการให้บริการบกพร่องหรือให้บริการผิดข้อกำหนดที่ตกลงกัน มีการบอกเลิกสัญญาบริการเนื่องจากไม่มีการให้บริการตามสัญญา ใบลดหนี้ต้องมีข้อความที่สำคัญอะไรบ้าง คำว่า “ใบลดหนี้” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด ชื่อ ที่อยู่ และเลขที่ประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบลดหนี้ และในกรณีที่ตัวแทนเป็นผู้ออกใบลดหนี้ ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนให้ระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของตัวแทนนั้นด้วย ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ วัน เดือน ปี ที่ออกใบลดหนี้ หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษีเดิม รวมทั้งหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี) มูลค่าของสินค้าหรือบริการที่แสดงไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าว มูลค่าที่ถูกต้องของสินค้าหรือบริการ […]

by KKN การบัญชี

50 ทวิ
Bitcoin
DBD Registered
e-filing
LTF
SME
SMEs
TFRS16
Uncategorized
Voucher
กท.20 ก
กรมสรรพากร
กองทุนรวม
ก่อสร้างอาคารบนที่ดินของกรรมการ
การขอรับบริจาค
การจัดสรรกำไรสะสม
การตัดหนี้สูญ
การบริจาค
การบันทึกบัญชีเงินสดรับ-จ่าย
การประมาณการกำไรสุทธิขาดไป
การลงทุน
การลงประกาศหนังสือพิมพ์
การลดหย่อนบริจาคทั่วไป
การเช่า
กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กิจการร่วมค้า และกิจการค้าร่วม
กิจการเพื่อสังคม
กิจการโรงแรม
ขนส่ง
ขอคืนเงินประกันไฟฟ้า
ขายกิจการ
ขายสินค้าต่ำกว่าทุน
ขายสินค้าส่งออกไปต่างประเทศ
ขายหนังสือแถมคอร์สเรียนออนไลน์
คริปโทเคอร์เรนซี
ความเสี่ยง-ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ความเสี่ยงของกิจการ
ค่าขนส่ง
ค้าขายออนไลน์
ค่าตรวจสุขภาพ
ค่าปรับ
ค่ารักษาพยาบาล
ค่ารับรอง
ค่าสินไหมทดแทน
ค่าเช่า
ค่าเช่ารับล่วงหน้า
ค่าเบี้ยประกันชีวิต
ค่าเสื่อมราคา
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายของกิจการ
ค่าใช้จ่ายทางภาษี
ค่าใช้จ่ายในการอบรม
งบการเงิน
งบการเงินส่วนบุคคล
จดทะเบียน
จดทะเบียนเพิ่มสาขา
จดภาษีมูลค่าเพิ่ม
จัดตั้งบริษัท
จ้างงานผู้สูงอายุ
จ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ
จ้างเด็กจบใหม่
ช้อปดีมีคืน
ดอกเบี้ยค้างรับ
ตราประทับ
ทรัพย์สิน
ทั่วไป
ทำประกันให้พนักงาน
ธุรกรรม
ธุรกิจขนส่ง
บริจาค
บริษัท กับ กรรมการ
บัญชีและภาษี
บิลเงินสด
ประกัน keyman
ประกันCovid-19
ประกันสังคม
ประชุมบริษัท
ประเภทเช็ค
ผลขาดทุน
ผู้ถือหุ้น
ผู้ประกอบการ
พร้อมเพย์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ฟรีแลนซ์
ภ.ง.ด. 1ก
ภ.ง.ด.1 ก
ภ.ง.ด.54
ภ.พ.36
ภาษี
ภาษี e-Service
ภาษีDropship
ภาษีกองทุนตราสารหนี้
ภาษีกับการออกจากงาน
ภาษีการรับมรดก
ภาษีของแพทย์
ภาษีขาย
ภาษีซื้อ
ภาษีซื้อต้องห้าม
ภาษีดอกเบีี้ย
ภาษีที่ดิน
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีนำเข้าสินค้า
ภาษีป้าย
ภาษีฟรีแลนซ์
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีรถยนต์
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีอากร
ภาษีอากรนำเข้า
ภาษีอีเพย์เมนต์
ภาษีเงินปันผล
ภาษีเงินได้จากการรับให้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ภาษีโรงแรม
มาตรการผู้กู้ยืม กยศ.
มูลค่าต้นทุน
ย้ายกิจการ
ยื่นแบบ
ยื่นแบบอย่างไรให้ประหยัดค่าปรับที่สุด
รถยนต์นั่ง
รถแลกเงิน
ระบบรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
ร้านกาแฟ-เสียภาษี
รายจ่ายค่าซ่อมแซม
รายจ่ายจริง
รายจ่ายต้องห้าม
รายได้อื่น
ลดหย่อนทางภาษี
ลดหย่อนภาษี
ลาออกจากงาน
วงจรเงินสด
วางระบบบัญชี
วางแผนภาษี
ศุลกากร
ส่งสินค้าทางไปรษณีย์
ส่งเสริมการขาย
สต็อกสินค้า
สรุปประเด็นภาษี
ส่วนลดกาาค้าและส่วนลดเงินสด
สวัสดิการพนักงาน
สวัสดิการอาหารพนักงาน
สัญญาขายฝาก
สัญญาซื้อ
สัญญาฝากทรัพย์
สัญญายินยอม
สัญญาเช่า
สัญญาเช่าที่ดิน
สำนักงานบัญชี
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
หนี้สิน
อั่งเปา
อากรแสตมป์
เกษตรกับวิธีเสียภาษี
เครื่องบันทึกการเก็บเงิน
เคลมภาษีซื้อ ค่าอบรม
เงินกู้ยืมกรรมการ
เงินค่าฝึกอบรม
เงินชดใช้ค่าเสียหาย
เงินทดรองจ่าย
เงินบำนาญชราภาพ
เงินบำเหน็จ
เงินปันผล
เงินมัดจำ
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
เงินสมทบประกันสังคม
เงินสำรองจ่าย
เงินเรียกเก็บล่วงหน้าจากการขายสินค้า
เงินได้พนักงาน
เงินได้พึงประเมิน
เช่าซื้อ-ลิสซิ่ง
เบี้ยประกัน
เบี้ยปรับ
เปิดบริษัท
เราเที่ยวด้วยกัน
เลขประจำตัวผู้เสียอากร
เลิกทำธุรกิจ
เสน่หากับภาษ๊
เอกสารการเบิกจ่ายเงิน
เอกสารทางภาษี
เอกสารบัญชี
แจกไฟล์
แรงงานต่างด้าว
โครงการคนละครึ่ง
โทษปรับ
ใบกำกับภาษี
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
ใบลดหนี้
ใบลดหนี้และใบเพิ่มหนี้
ใบสำคัญจ่าย
ใบหุ้น
ใบเสนอราคา
ใบเสร็จรับเงิน