ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

บทความล่าสุด

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

บุคคลธรรมดาทำธุรกิจเสียภาษีอะไรบ้าง

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา – เสียภาษีจากเงินได้สุทธิ (เงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน) ภาษีมูลค่าเพิ่ม– รายได้จากการขายหรือบริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีจะต้องVAT ภาษีโรงเรือนและที่ดิน– ให้เช่าหรือให้ผู้อื่นอยู่อาศัยโดยไม่คิดค่าเช่า – ใช้เป็นสำนักงาน ใช้เป็นสถานประกอบพาณิชย์ ภาษีป้าย– ป้ายที่ใช้เพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้า จะต้องเสียภาษีป้าย 1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การหักค่าใช้จ่าย สิ่งที่ควรระวังสำหรับบุคคลธรรมดาในปี 25601.การหักค่าใช้จ่ายเหมาจ่ายปี 2560 มีการปรับลดลง 85% >> 60%2.สรรพากรบังคับให้ใครที่มีรายได้ 40(5)–(8) จะต้องจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย 2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม หลักจำง่ายๆ : ใครก็ตามที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีจะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อจดภาษีมูลค่าเพิ่มคุณมีหน้าที่หลักๆดังนี้ 1.เรียกเก็บภาษีขายในอัตรา 7% จากผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ 2.ออกใบกำกับภาษีขายให้กับลูกค้า 3.จัดทำรายงานภาษีซื้อและภาษีขาย พร้อมนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับกรมสรรพากร ไม่เกินวันที่ 15 ของเดือนถัดไป 4.จัดทำสต็อกสินค้า ณ วันที่ 31 มิถุนายน และ 30 ธันวาคม สรุปการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม Note: […]

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

กรรมการยินยอมให้ใช้สถานที่ โดยไม่คิดค่าเช่า

ผู้ใช้สถานประกอบการ (ผู้เช่า) ภาษีเงินได้นิติบุคคลการที่บริษัทใช้สถานประกอบการโดยไม่เสียค่าเช่า แสดงว่าบริษัทมีผลประโยชน์อื่นใดจากการได้ใช้สถานประกอบการโดยไม่เสียเงิน เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรอาจจะประเมิณเป็นรายได้อื่น เพื่อนำไปรวมในการคำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ผู้ให้ใช้สถานประกอบการ (ผู้ให้เช่า) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การให้เช่าโดยไม่คิดค่าตอบแทนโดยไม่มีเหตุอันควรเจ้าหน้าที่สรรพากรอาจประเมินเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินตามราคาตลาด เพื่อการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 40 (5) วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร

by KKN การบัญชี

กรมสรรพากร

บุคคลธรรมดาทำแบบนี้เสี่ยงโดนสรรพากรตรวจ

5 ข้อที่ควรระวังของบุคคลธรรมดา 1.มีรายได้ค่าบริการและโดนหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ไม่ได้ยื่นภาษีเงินได้ประจำปี 2.ยื่นภาษีบุคคลธรรมดาสิ้นปี น้อยกว่ายอดรายได้ที่โดนหักภาษี ณ ที่จ่าย 3.มีรายได้ในแบบ ภ.ง.ด.91 มากกว่า 1,800,000 บาท แต่ไม่ได้จด VAT 4.ยอดขายตามแบบ ภ.พ.30 มากกว่าเงินได้ตามแบบ ภ.ง.ด.91 5.ยื่นภาษีโดนเลือกใช้ค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นสมควร แทนค่าใช้จ่ายเหมาจ่าย

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ทำธุรกิจขาดทุนต้องเสียภาษีหรือไม่ ?

บุคคลธรรมดา เสียภาษีขั้นต่ำอัตรา 0.5% ของเงินได้ถ้าภาษีที่คำนวนได้ไม่ถึง 5,000 บาท ได้รับยกเว้นภาษี ผลขาดทุนสะสมไม่สามารถยกไปหักกับเงินได้ในปีถัดไป นิติบุคคล ไม่เสียภาษี ผลขาดทุนสามารถนำไปหักจากกำไรในปีอื่นได้ไม่เกิน 5 ปี

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

คนขายไม่ออกบิลให้ทำอย่างไร?

เชื่อว่าผู้ประกอบการทุกคนจะต้องเจอปัญหานี้ไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน ผู้ประกอบการบางคนเจอจนท้อใจอุตส่าห์อยากจะเสียภาษีถูกต้องทำไมเราต้องมาเจอกับผู้ขายที่หนีภาษีไม่ยอมออกบิลให้ด้วย (ชีวิตมันเศร้ายิ่งกว่าละครช่อง 7) วันนี้ผมมาเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นให้ทุกคนลองไปใช้ดูกันครับ แม้จะยุ่งยากขึ้น แต่ก็ดีกว่าไม่มีค่าใช้จ่ายให้บันทึกบัญชี แต่อย่างไรก็ตามวิธีแก้ไขที่ได้ผลจริงๆคือการเปลี่ยนไปซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ขายที่ออกบิลถูกต้องไม่หนีภาษีครับ ใบสำคัญรับเงิน : ใช้กรณีผู้รับเงินไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินให้ได้ แต่ยินยอมจะลงลายมือชื่อในช่อง “ผู้รับเงิน” (ขอขอบคุณภาพจากกรมสรรพากร) ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน : ใช้กรณีใช้ในกรณีกิจการจ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือบริการเบ็ดเตล็ดแต่ไม่สามารถเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการได้ ต้องให้พนักงานของกิจการเป็นผู้รับรองการจ่ายเงินดังกล่าว (ขอขอบคุณภาพจากรมสรรพากร)

by KKN การบัญชี

Uncategorized

บุคคลธรรมดา กับ นิติบุคคล(SME) ใครเสียภาษีมากกว่ากัน?

และโดยทั่วไปเวลาที่วางแผนภาษีเรามักจะเทียบเฉพาะภาษีเงินได้เท่านั้น โดยลืมคิดถึงภาษีเงินปันผลอีก 10% เอาเข้ามารวมด้วย ทำให้เกิดการวางแผนภาษีที่ผิดพลาด รู้หรือไม่? เมื่อเราทำธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคล (บริษัท/หจก.) เมื่อกิจการมีกำไรจากการดำเนินงานเจ้าของจะไม่สามารถนำเงินของกิจการออกมาใช้ได้ตามใจชอบ ถ้าอยากเอาผลกำไรของบริษัทออกมาใช้ส่วนตัว จะต้องทำการ “จ่ายเงินปันผล” รายได้เงินปันผล ผู้รับเงินปันผลจะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% ของเงินปันผลที่ได้รับ เป็นเหตุผลที่เวลาพิจารณาว่าบุคคลหรือนิติบุคคลใครเสียภาษีมากกว่ากันจะต้องนำภาษีเงินปันผลมารวมในการคิดด้วย วันนี้ผมได้ทำสรุปเป็นภาพให้ทุกคนได้เห็นกันชัดๆ ไปเลยว่าแต่ละช่วงกำไร บุคคล กับ นิติบุคคลต้องเสียภาษีเท่าไหร่ เพื่อใช้ในการวางแผนภาษีได้ถูกต้องครับ

by KKN การบัญชี

ภาษีซื้อ

ซื้อของตามตลาดไม่มีบิล ทำอย่างไรดี?

หนึ่งในปัญหาที่ทำให้ผู้ประกอบการหลายคนปวดหัวที่สุดปัญหาหนึ่งก็คือ “จ่ายเงิน ซื้อของแต่ไม่ได้รับบิล หรือใบเสร็จจากผู้ขาย” เพราะปัญหานี้ทำให้ผู้ประกอบการไม่มีค่าใช้จ่ายไปหักรายได้ ส่งผลทำให้ผลประกอบการมีกำไรเสียภาษีมากกว่าความเป็นจริงของกิจการ และทำให้เสียภาษีมากขึ้น ยกตัวอย่างให้เห็นภาพกับความจริงของการซื้อของจากตลาด ในกรณีซื้อของจากตลาดสดแล้วไม่มีเอกสารใบเสร็จรับเงินจากแม่ค้า ซึ่งเรื่องนี้กรมสรรพากรได้เป็นผู้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้กับผู้ประกอบการ คือ สามารถใช้เอกสาร “ใบรับรองแทนใบเสร็จ” โดยให้พนักงานที่ไปซื้อสินค้าเขียนรายการสินค้าที่ซื้อ และให้ผู้ซื้อเซ็นชื่อรับรอง เพื่อที่ผู้ประกอบการทุกท่านจะได้บันทึกบัญชีตามผลประกอบการที่แท้จริงได้ค่ะ ในบางครั้งเจ้าหน้าที่อาจจะไม่มั่นใจว่าเราซื้อสินค้าหรือจริงไม่ เราสามารถเพิ่มความมั่นใจให้เจ้าหน้าที่ได้ค่ะ โดยเก็บหลักฐานเหล่านี้แสดงต่อเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร เพียงเท่านี้ผู้ประกอบการก็สามารถซื้อสินค้าได้อย่างสบายใจ และยังนำมาเป็นรายจ่ายทางภาษีได้อีกด้วยค่ะ

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ขายของในตลาดต้องเสียภาษีหรือไม่

มีลูกเพจขายของในตลาดสด inbox มาสอบถามว่าขายของในตลาดจะต้องเสียภาษีหรือไม่ เจ้าของตลาดบอกว่าจะไปคุยกับสรรพากรให้เหมาร้านละ 4,000 บาท ตอนนี้เรียกได้ว่าขวานป้า สะท้านทุกวงการไม่เว้นแม้กระทั้งสรรพากร แต่จริงๆ อาจจะไม่ได้เกี่ยวกับป้าก็ได้นะครับเพราะช่วงต้นปี ผมก็ได้ข่าวว่าสรรพากรจะเริ่มเก็บภาษีกับร้านค้าที่ขายของในตลาด อาจจะจังหวะเวลาพอดีกันก็ได้ 1.ขายของในตลาดจะต้องเสียภาษีหรือไม่บุคคลธรรมดามีรายได้จะต้องเสียภาษีทั้งหมดครับ ฝรั่งมักจะบอกว่าคนเรามีสองสิ่งที่จะหนีไม่พ้นก็คือความตายกับภาษี ในส่วนของภาษีที่ทางตลาดจะช่วยคุยกันร้านละ 4,000 บาท อันนี้ผมไม่แน่ใจว่า 4,000 บาทเข้ารัฐทั้งหมดรึเปล่า เพราะประเทศไทยไม่มีภาษีเหมานะ สำหรับกรณีนี้ผมแนะนำให้คนขายคำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยนำรายได้จากการขายทั้งหมด มาหาร 2 (เพราะทำ 2 คนกับแฟนรายได้จึงแบ่งครึ่งกัน) แล้วคำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาว่ามากหรือน้อยกว่า 4,000บาท ถ้าเสียภาษีน้อยกว่า 4,000บาท ก็ไปยื่นเองจะประหยัดกว่าครับ แต่ถ้าคำนวนแล้วเสียภาษีมากกว่า 4,000บาท ก็ให้ทางตลาดไปจัดการครับ 2.จ่ายค่าเช่าล็อคในตลาด แล้วต้องเสียภาษีอีกหรือไม่ค่าเช่าล็อคเจ้าของตลาดเป็นคนได้เงิน รัฐยังไม่ได้เงินจากคุณเลยครับ ดังนั้นก็เสียภาษีด้วยครับ แย่งส่วนกันครับ 3.ผมต้องไปจดทะเบียนร้านค้ากับกรมสรรพากรหรือไม่บุคคลธรรมดาเปิดร้านขายของ จะต้องไปจดทะเบียนร้านค้าด้วยครับ แต่ไม่ใช่ไปจดที่สรรพากรนะครับ ต้องไปจดทะเบียนร้านค้าที่สำนักงานเขต หรือเทศบาลครับ ต่อไปมาลุ้นกันว่าธุรกิจใดจะเป็นรายต่อไปหลังจากร้านทอง ร้านขายยา ร้านขายของในตลาด ให้ผมเดาคงอพาร์ทเม้นให้เช่าแน่ๆ

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ว่าด้วยเรื่องกฎหมายภาษีสินทรัพย์ดิจิทัล!

ส่วนแบ่งกำไร หรือประโยชน์จากการถือครองโทเคนดิจิทัล ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(4)(ซ)(ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร (ให้นึกถึงพวกเงินปันผล ดอกเบี้ย) สิ้นปีให้นำรายได้ไปกรอกแบบยื่นภาษีด้วย ผู้จ่ายเงินได้จะต้องทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ขายของไม่ออก “ใบเสร็จรับเงิน” มีความผิดระวังโทษปรับและจำคุก

ปัญหาที่ผู้ประกอบการทุกคนเจอกันแทบทุกคนก็คือจ่ายเงินซื้อสินค้าหรือบริการไปแล้ว แต่ผู้รับเงินไม่ออกใบเสร็จรับเงินหรือเอกสารอื่นให้เลย ทำให้ผู้ประกอบการทุกคนเจอปัญหาคือเสียภาษีมากกว่าความเป็นจริง เพราะไม่มีเอกสารไปบันทึกบัญชี ผมจึงได้นำเรื่องนี้มาสรุปให้ทุกคนเข้าใจกันได้ง่ายขึ้นครับ เรามาเริ่มจากการทำความรู้จักกับ ใบรับ กันก่อนว่าคืออะไร? ใบรับหรือใบเสร็จรับเงิน เป็นเอกสารหรือหลักฐานที่ช่วยให้เรา ในฐานะ ผู้รับเงิน ผู้ขาย หรือ ผู้ให้เช่าซื้อ สามารถยืนยันกับผู้จ่ายเงิน ผู้ซื้อ หรือ ผู้เช่าซื้อ ได้ว่าเราได้รับเงินเรียบร้อยแล้วนั่นเองครับ โดยสาระสำคัญของใบรับที่จะต้องมีดังต่อไปนี้ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ออกใบรับ ชื่อหรือยี่ห้อของผู้ออกใบรับ เลขลำดับของเล่มและของใบรับ วัน เดือน ปี ที่ออกใบรับ จำนวนเงินที่รับ ชนิด ชื่อ จำนวนและราคาสินค้า ในกรณีการขายหรือให้เช่าซื้อสินค้าเฉพาะชนิดที่มีราคาตั้งแต่ หนึ่งร้อยบาทขึ้นไป และหลายคนอาจจะสงสัยว่า บิลเงินสดที่ขายตามโลตัส บิ๊กซี หรือร้านขายเครื่องต่าง ๆ เนี่ย จะสามารถใช้แทนใบรับได้หรือไม่ ซึ่งบิลเงินสด สามารถใช้แทนใบรับได้ครับ เพียงแต่ต้องเพิ่มข้อมูลหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ขาย สำหรับบุคคลธรรมดานั้น หมายเลขบัตรประชาชน = หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ครับ รู้หรือไม่ ไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจใจรูปแบบ บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล เมื่อลูกค้าจ่ายชำระเงินคุณมีหน้าที่ต้องออกเอกสาร […]

by KKN การบัญชี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ขายรถยนต์ส่วนตัว เสียภาษีมั้ย?

สมมติตัวอย่างดังนี้ครับ นาย A ขายรถยนต์ส่วนตัวคันเก่าที่ตนเองใช้อยู่ปัจจุบันออกไป เพราะต้องการจะเปลี่ยนรถยนต์ใหม่มั้ย จะคำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนสิ้นปีอย่างไรและรายได้จากการขายรถยนต์หักค่าใช้จ่ายอย่างไร? ภาษีเงินได้บุคคลธรมดา สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นคำตอบก็คือ “นายA ไม่ต้องเอาเงินที่ได้จากการขายมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินบุคคลธรรมดา” เพราะเนื่องจากการขายทรัพย์สินสิ่งของใช้ส่วนตัว เป็นการขายสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยไม่ได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร จึงได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ (ตามมาตรา 42(9) แห่งประมวลรัษฎากร) แต่!!! ถ้าเป็นการขายโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร เงินที่ได้ขายจะเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) ต้องนำเงินได้ดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ครับ (โดยมีสิทธิเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร หรือหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 60)  ภาษีมูลค่าเพิ่ม คำตอบก็คือ “ถึงแม้นาย A จะขายเกิน 1.8 ล้าน แต่นาย A ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม” ก็เพราะว่าบุคคลธรรมดา ขายสินค้าที่เป็นทรัพย์สินสิ่งของใช้ส่วนตัว ถ้าการขายสินค้าดังกล่าวไม่ได้ทำในเชิงธุรกิจหรือวิชาชีพ ก็ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม อากรแสตมป์ คำตอบก็คือ “การที่นาย A ขายรถยนต์ส่วนตัวต้องเสียอากรแสตมป์ในอัตรา 1 บาท/วงเงิน 200 บาท” ซึ่งหากเราดูจากบัญชีอัตราอากรแสตมป์แล้วการขายอสังหาริมทรัพย์นั้นจะต้องเสียอากรแสตมป์ในอัตรา 1 บาท/วงเงิน 200 บาท โดยมีวิธีการคำนวณดังนี้ครับ การขายรถยนต์   จะต้องเสียอากร […]

by KKN การบัญชี

50 ทวิ
Bitcoin
DBD Registered
e-filing
LTF
SME
SMEs
TFRS16
Uncategorized
Voucher
กท.20 ก
กรมสรรพากร
กองทุนรวม
ก่อสร้างอาคารบนที่ดินของกรรมการ
การขอรับบริจาค
การจัดสรรกำไรสะสม
การตัดหนี้สูญ
การบริจาค
การบันทึกบัญชีเงินสดรับ-จ่าย
การประมาณการกำไรสุทธิขาดไป
การลงทุน
การลงประกาศหนังสือพิมพ์
การลดหย่อนบริจาคทั่วไป
การเช่า
กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กิจการร่วมค้า และกิจการค้าร่วม
กิจการเพื่อสังคม
กิจการโรงแรม
ขนส่ง
ขอคืนเงินประกันไฟฟ้า
ขายกิจการ
ขายสินค้าต่ำกว่าทุน
ขายสินค้าส่งออกไปต่างประเทศ
ขายหนังสือแถมคอร์สเรียนออนไลน์
คริปโทเคอร์เรนซี
ความเสี่ยง-ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ความเสี่ยงของกิจการ
ค่าขนส่ง
ค้าขายออนไลน์
ค่าตรวจสุขภาพ
ค่าปรับ
ค่ารักษาพยาบาล
ค่ารับรอง
ค่าสินไหมทดแทน
ค่าเช่า
ค่าเช่ารับล่วงหน้า
ค่าเบี้ยประกันชีวิต
ค่าเสื่อมราคา
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายของกิจการ
ค่าใช้จ่ายทางภาษี
ค่าใช้จ่ายในการอบรม
งบการเงิน
งบการเงินส่วนบุคคล
จดทะเบียน
จดทะเบียนเพิ่มสาขา
จดภาษีมูลค่าเพิ่ม
จัดตั้งบริษัท
จ้างงานผู้สูงอายุ
จ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ
จ้างเด็กจบใหม่
ช้อปดีมีคืน
ดอกเบี้ยค้างรับ
ตราประทับ
ทรัพย์สิน
ทั่วไป
ทำประกันให้พนักงาน
ธุรกรรม
ธุรกิจขนส่ง
บริจาค
บริษัท กับ กรรมการ
บัญชีและภาษี
บิลเงินสด
ประกัน keyman
ประกันCovid-19
ประกันสังคม
ประชุมบริษัท
ประเภทเช็ค
ผลขาดทุน
ผู้ถือหุ้น
ผู้ประกอบการ
พร้อมเพย์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ฟรีแลนซ์
ภ.ง.ด. 1ก
ภ.ง.ด.1 ก
ภ.ง.ด.54
ภ.พ.36
ภาษี
ภาษี e-Service
ภาษีDropship
ภาษีกองทุนตราสารหนี้
ภาษีกับการออกจากงาน
ภาษีการรับมรดก
ภาษีของแพทย์
ภาษีขาย
ภาษีซื้อ
ภาษีซื้อต้องห้าม
ภาษีดอกเบีี้ย
ภาษีที่ดิน
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีนำเข้าสินค้า
ภาษีป้าย
ภาษีฟรีแลนซ์
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีรถยนต์
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีอากร
ภาษีอากรนำเข้า
ภาษีอีเพย์เมนต์
ภาษีเงินปันผล
ภาษีเงินได้จากการรับให้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ภาษีโรงแรม
มาตรการผู้กู้ยืม กยศ.
มูลค่าต้นทุน
ย้ายกิจการ
ยื่นแบบ
ยื่นแบบอย่างไรให้ประหยัดค่าปรับที่สุด
รถยนต์นั่ง
รถแลกเงิน
ระบบรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
ร้านกาแฟ-เสียภาษี
รายจ่ายค่าซ่อมแซม
รายจ่ายจริง
รายจ่ายต้องห้าม
รายได้อื่น
ลดหย่อนทางภาษี
ลดหย่อนภาษี
ลาออกจากงาน
วงจรเงินสด
วางระบบบัญชี
วางแผนภาษี
ศุลกากร
ส่งสินค้าทางไปรษณีย์
ส่งเสริมการขาย
สต็อกสินค้า
สรุปประเด็นภาษี
ส่วนลดกาาค้าและส่วนลดเงินสด
สวัสดิการพนักงาน
สวัสดิการอาหารพนักงาน
สัญญาขายฝาก
สัญญาซื้อ
สัญญาฝากทรัพย์
สัญญายินยอม
สัญญาเช่า
สัญญาเช่าที่ดิน
สำนักงานบัญชี
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
หนี้สิน
อั่งเปา
อากรแสตมป์
เกษตรกับวิธีเสียภาษี
เครื่องบันทึกการเก็บเงิน
เคลมภาษีซื้อ ค่าอบรม
เงินกู้ยืมกรรมการ
เงินค่าฝึกอบรม
เงินชดใช้ค่าเสียหาย
เงินทดรองจ่าย
เงินบำนาญชราภาพ
เงินบำเหน็จ
เงินปันผล
เงินมัดจำ
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
เงินสมทบประกันสังคม
เงินสำรองจ่าย
เงินเรียกเก็บล่วงหน้าจากการขายสินค้า
เงินได้พนักงาน
เงินได้พึงประเมิน
เช่าซื้อ-ลิสซิ่ง
เบี้ยประกัน
เบี้ยปรับ
เปิดบริษัท
เราเที่ยวด้วยกัน
เลขประจำตัวผู้เสียอากร
เลิกทำธุรกิจ
เสน่หากับภาษ๊
เอกสารการเบิกจ่ายเงิน
เอกสารทางภาษี
เอกสารบัญชี
แจกไฟล์
แรงงานต่างด้าว
โครงการคนละครึ่ง
โทษปรับ
ใบกำกับภาษี
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
ใบลดหนี้
ใบลดหนี้และใบเพิ่มหนี้
ใบสำคัญจ่าย
ใบหุ้น
ใบเสนอราคา
ใบเสร็จรับเงิน