ภาษีเงินได้นิติบุคคล

บทความล่าสุด

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

คนขายไม่ออกบิลให้ทำอย่างไร?

เชื่อว่าผู้ประกอบการทุกคนจะต้องเจอปัญหานี้ไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน ผู้ประกอบการบางคนเจอจนท้อใจอุตส่าห์อยากจะเสียภาษีถูกต้องทำไมเราต้องมาเจอกับผู้ขายที่หนีภาษีไม่ยอมออกบิลให้ด้วย (ชีวิตมันเศร้ายิ่งกว่าละครช่อง 7) วันนี้ผมมาเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นให้ทุกคนลองไปใช้ดูกันครับ แม้จะยุ่งยากขึ้น แต่ก็ดีกว่าไม่มีค่าใช้จ่ายให้บันทึกบัญชี แต่อย่างไรก็ตามวิธีแก้ไขที่ได้ผลจริงๆคือการเปลี่ยนไปซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ขายที่ออกบิลถูกต้องไม่หนีภาษีครับ ใบสำคัญรับเงิน : ใช้กรณีผู้รับเงินไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินให้ได้ แต่ยินยอมจะลงลายมือชื่อในช่อง “ผู้รับเงิน” (ขอขอบคุณภาพจากกรมสรรพากร) ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน : ใช้กรณีใช้ในกรณีกิจการจ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือบริการเบ็ดเตล็ดแต่ไม่สามารถเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการได้ ต้องให้พนักงานของกิจการเป็นผู้รับรองการจ่ายเงินดังกล่าว (ขอขอบคุณภาพจากรมสรรพากร)

by KKN การบัญชี

Uncategorized

บุคคลธรรมดา กับ นิติบุคคล(SME) ใครเสียภาษีมากกว่ากัน?

และโดยทั่วไปเวลาที่วางแผนภาษีเรามักจะเทียบเฉพาะภาษีเงินได้เท่านั้น โดยลืมคิดถึงภาษีเงินปันผลอีก 10% เอาเข้ามารวมด้วย ทำให้เกิดการวางแผนภาษีที่ผิดพลาด รู้หรือไม่? เมื่อเราทำธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคล (บริษัท/หจก.) เมื่อกิจการมีกำไรจากการดำเนินงานเจ้าของจะไม่สามารถนำเงินของกิจการออกมาใช้ได้ตามใจชอบ ถ้าอยากเอาผลกำไรของบริษัทออกมาใช้ส่วนตัว จะต้องทำการ “จ่ายเงินปันผล” รายได้เงินปันผล ผู้รับเงินปันผลจะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% ของเงินปันผลที่ได้รับ เป็นเหตุผลที่เวลาพิจารณาว่าบุคคลหรือนิติบุคคลใครเสียภาษีมากกว่ากันจะต้องนำภาษีเงินปันผลมารวมในการคิดด้วย วันนี้ผมได้ทำสรุปเป็นภาพให้ทุกคนได้เห็นกันชัดๆ ไปเลยว่าแต่ละช่วงกำไร บุคคล กับ นิติบุคคลต้องเสียภาษีเท่าไหร่ เพื่อใช้ในการวางแผนภาษีได้ถูกต้องครับ

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

บริษัทซื้อรถแบบไหนถึงคุ้มภาษีที่สุด (เช่าซื้อ | ลีสซิ่ง)

มีหลายคนถามความแตกต่างระหว่างเช่าซื้อกับลีสซิ่ง ว่าแตกต่างกันอย่างไร และควรซื้อรถในรูปแบบไหนดี ถ้าจะสรุปความคุ้มค่าด้านภาษีจะได้ดังนี้ ถ้าเป็นรถเชิงพาณิชย์ เช่นกะบะ 2 ประตู รถกระบะ 4 ประตู รถตู้ รถบรรทุก ควรเลือกเช่าซื้อ ถ้าเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง เช่น รถเก๋ง สำหรับราคารถยนต์ไม่เกิน 1 ล้านบาทควรเลือกเช่าซื้อ แต่ถ้าราคารถยนต์เกิน 1 ล้านบาทควรเลือกลีสซิ่ง ปล. การซื้อรถยนต์แบบลีสซิ่งราคารถยนต์ที่จ่ายตลอดทั้งสัญญาจะสูงกว่าเช่าซื้อพอสมควร ดังนั้นจะต้องคำนวนเงินที่จ่ายทั้งหมดรวมกับภาษีที่ประหยัดได้ด้วยนะครับ

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ว่าด้วยเรื่องกฎหมายภาษีสินทรัพย์ดิจิทัล!

ส่วนแบ่งกำไร หรือประโยชน์จากการถือครองโทเคนดิจิทัล ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(4)(ซ)(ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร (ให้นึกถึงพวกเงินปันผล ดอกเบี้ย) สิ้นปีให้นำรายได้ไปกรอกแบบยื่นภาษีด้วย ผู้จ่ายเงินได้จะต้องทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ซื้อรถยนต์ในนามบริษัทดีหรือไม่

หลายคนอาจสงสัยว่า ซื้อรถยนต์ในนามบริษัทดีหรือไม่ วันนี้เราลองมาเปรียบเทียบกันให้เห็นชัดๆไปเลย! จะเห็นได้เลยว่า หากซื้อรถยนต์ในนามบริษัทนั้นและถือสินทรัพย์นี้ในระยะยาว จะสามารถช่วยให้ประหยัดภาษีได้เป็นอย่างมากเลยครับ

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

ค่าน้ำมันสำหรับรถยนต์ที่ไม่ใช่ในนามกิจการ นำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่!

สรรพากรบอกว่า ค่าน้ำมันรถยนต์ซึ่งไม่ใช่รถยนต์ของบริษัท ไม่สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวนกำไรสุทธิได้ เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าเป็นการนำรถยนต์มาใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อกิจการ มีหลักฐานการใช้รถยนต์ซึ่งสามารถพิสูจน์จนเป็นที่เชื่อถือแก่เจ้าพนักงาน เช่น ระเบียบอนุญาตในการเบิกจ่าย มีหนังสืออนุญาตพร้อมบันทึกอนุญาตให้เดินทางไปติดต่องานเรื่องใด จาดที่ใดถึงที่ใด ระยะเวลาเท่าใด ทะเบียนรถยนต์ บิลค่าน้ำมัน สรุปคือ สามารถนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้นะครับแต่ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าใช้ในกิจการจริง!

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนจดทะเบียนบริษัท สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่

ตอนที่เราจดทะเบียนบริษัท ในเอกสารรายงานการประชุมจะมีข้อที่ 3 ให้ที่ประชุมอนุมัติรายการค่าใช้จ่ายที่จำเป็นใจการตั้งบริษัท ที่ผู้ริเริ่มได้จ่ายเงินส่วนตัวออกไปก่อน แสดงว่ากฏหมายเปิดช่องให้สามารถสามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนจดทะเบียนบริษัทมาเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทในการตั้งบริษัท สรรพากร: หากที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติเป็นเอกฉันท์อนุมัติให้ถือเป็นรายจ่ายในการดำเนินกิจการ บริษัท ก็สามารถนำมาบันทึกเป็นรายจ่ายในการดำเนินกิจการได้เช่นเดียวกับรายจ่ายที่เกิดขึ้นนับแต่วันที่ได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัท โดยจะต้องพิจารณาตามเกณฑ์ 65ทวิ และ 65ตรี โดยสรุปง่ายดังนี้ เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกิจการ เป็นรายจ่ายที่จ่ายไปโดยมีเหตุผลความจำเป็นที่ต้องจ่ายรายการรายจ่ายนั้น สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้รับเงินคือใคร เป็นรายจ่ายที่มีการจ่ายเงินไปจริง

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ทำธุรกิจ “เจ๊ง” จะเลิกกิจการ ระวังต้องเสียภาษีก้อนโต

นอกจากนี้ก่อนที่เราจะสิ้นสุดการชำระบัญชี เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรอาจจะขอตรวจสอบภาษีย้อนหลัง เพื่อดูว่าในอดีตที่ผ่านมากิจการเคยกระทำความผิดทางภาษีหรือไม่

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

เงินช่วยเหลือค่าโทรศัพท์พนักงาน นำมาเป็นค่าใช้จ่ายบริษัทได้หรือไม่

กรณีที่บริษัทจ่ายค่าบริการโทรศัพท์และเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ ให้แก่พนักงานเพื่อช่วยเหลือ เนื่องจากพนักงานได้นำโทรศัพท์และเครื่องมือสื่อสารส่วนตัวมาใช้ในกิจการ ซึ่งบริษัทได้มีระเบียบการเบิกจ่ายเงินดังกล่าวนั้น หากบริษัทมีหลักฐานพิสูจน์ได้โดยชัดแจ้งว่า บริษัทเป็นผู้จ่ายไปและเกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจการแล้ว บริษัทมีสิทธิ์นำค่าบริการดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ไม่ต้องห้าม และกรณีดังกล่าวไม่ถือเป็นเงินได้ของพนักงานด้วยครับ

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ลูกค้าแจกซองแต่งงาน บันทึกเป็นค่ารับรองได้หรือไม่?

ผู้ประกอบการหลายคนอาจมีข้อสงสัยว่า ในแต่ละเดือนต้องใส่เงินช่วยงานแต่งงาน งานศพจำนวนเยอะพอสมควร จะสามารถนำมาบันทึกเป็นค่ารับรองได้รึเปล่า? ก่อนที่เราจะนำมาบันทึกเป็นค่ารับรอง เราก็จะต้องกลับมาดูกันก่อนครับว่า การที่จะสามารถบันทึกค่ารับรองได้นั้น จะต้องมีเงื่อนไขอะไรบ้าง? เงื่อนไขของค่ารับรอง มีดังต่อไปนี้ เป็นค่ารับรองตามปกติธุริจทั่วไป และบุคคลที่ได้รับการรับรองไม่ใช่ลูกจ้างของกิจการ เว้นแต่ลูกจ้างมีหน้าที่เข้าร่วมการรับรองนั้น เป็นค่าใช้จ่ายต้องไม่เกินคนละ 2,000 บาทในแต่ละคราวที่มีการรับรอง เป็นการจ่ายเพื่ออำนวยประโยชน์ให้แก่กิจการ ค่ารับรองนั้นต้องมีผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งจ่ายค่ารับรอง และมีหลักฐานการจ่ายประกอบ เช่นใบเสร็จรับเงิน จะเห็นว่าไม่ว่าลูกค้าจะแจกซองแต่งงาน ซองผ้าป่า หรือซองงานบวชใส่ซองไปก็ไม่สามารถบันทึกเป็นค่ารับรองได้ เพราะไม่อยู่ในเงื่อนไขนะครับ แถมอีกหนึ่งตัวอย่างที่ไม่สามารถนำมาบันทึกเป็นค่ารับรองได้ก็คือ กรณีที่ลูกค้าขอเงินสนับสนุนของรางวัล ก็ไม่สามารถบันทึกเป็นค่ารับรองได้ เพราะไม่อยู่ในเงื่อนไขเช่นกันครับครับ ก็สรุปได้ว่าการที่จะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายอะไรนั้น เราก็จะต้องย้อนหลับไปดูเงื่อนไขแต่ละอย่างว่ามีเงื่อนไขอะไรบ้าง เพื่อที่เราจะได้บันทึกข้อมูลได้อย่างถูกต้องนั่นเองครับ

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ขายของไม่ออก “ใบเสร็จรับเงิน” มีความผิดระวังโทษปรับและจำคุก

ปัญหาที่ผู้ประกอบการทุกคนเจอกันแทบทุกคนก็คือจ่ายเงินซื้อสินค้าหรือบริการไปแล้ว แต่ผู้รับเงินไม่ออกใบเสร็จรับเงินหรือเอกสารอื่นให้เลย ทำให้ผู้ประกอบการทุกคนเจอปัญหาคือเสียภาษีมากกว่าความเป็นจริง เพราะไม่มีเอกสารไปบันทึกบัญชี ผมจึงได้นำเรื่องนี้มาสรุปให้ทุกคนเข้าใจกันได้ง่ายขึ้นครับ เรามาเริ่มจากการทำความรู้จักกับ ใบรับ กันก่อนว่าคืออะไร? ใบรับหรือใบเสร็จรับเงิน เป็นเอกสารหรือหลักฐานที่ช่วยให้เรา ในฐานะ ผู้รับเงิน ผู้ขาย หรือ ผู้ให้เช่าซื้อ สามารถยืนยันกับผู้จ่ายเงิน ผู้ซื้อ หรือ ผู้เช่าซื้อ ได้ว่าเราได้รับเงินเรียบร้อยแล้วนั่นเองครับ โดยสาระสำคัญของใบรับที่จะต้องมีดังต่อไปนี้ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ออกใบรับ ชื่อหรือยี่ห้อของผู้ออกใบรับ เลขลำดับของเล่มและของใบรับ วัน เดือน ปี ที่ออกใบรับ จำนวนเงินที่รับ ชนิด ชื่อ จำนวนและราคาสินค้า ในกรณีการขายหรือให้เช่าซื้อสินค้าเฉพาะชนิดที่มีราคาตั้งแต่ หนึ่งร้อยบาทขึ้นไป และหลายคนอาจจะสงสัยว่า บิลเงินสดที่ขายตามโลตัส บิ๊กซี หรือร้านขายเครื่องต่าง ๆ เนี่ย จะสามารถใช้แทนใบรับได้หรือไม่ ซึ่งบิลเงินสด สามารถใช้แทนใบรับได้ครับ เพียงแต่ต้องเพิ่มข้อมูลหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ขาย สำหรับบุคคลธรรมดานั้น หมายเลขบัตรประชาชน = หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ครับ รู้หรือไม่ ไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจใจรูปแบบ บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล เมื่อลูกค้าจ่ายชำระเงินคุณมีหน้าที่ต้องออกเอกสาร […]

by KKN การบัญชี

50 ทวิ
Bitcoin
DBD Registered
e-filing
LTF
SME
SMEs
TFRS16
Uncategorized
Voucher
กท.20 ก
กรมสรรพากร
กองทุนรวม
ก่อสร้างอาคารบนที่ดินของกรรมการ
การขอรับบริจาค
การจัดสรรกำไรสะสม
การตัดหนี้สูญ
การบริจาค
การบันทึกบัญชีเงินสดรับ-จ่าย
การประมาณการกำไรสุทธิขาดไป
การลงทุน
การลงประกาศหนังสือพิมพ์
การลดหย่อนบริจาคทั่วไป
การเช่า
กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กิจการร่วมค้า และกิจการค้าร่วม
กิจการเพื่อสังคม
กิจการโรงแรม
ขนส่ง
ขอคืนเงินประกันไฟฟ้า
ขายกิจการ
ขายสินค้าต่ำกว่าทุน
ขายสินค้าส่งออกไปต่างประเทศ
ขายหนังสือแถมคอร์สเรียนออนไลน์
คริปโทเคอร์เรนซี
ความเสี่ยง-ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ความเสี่ยงของกิจการ
ค่าขนส่ง
ค้าขายออนไลน์
ค่าตรวจสุขภาพ
ค่าปรับ
ค่ารักษาพยาบาล
ค่ารับรอง
ค่าสินไหมทดแทน
ค่าเช่า
ค่าเช่ารับล่วงหน้า
ค่าเบี้ยประกันชีวิต
ค่าเสื่อมราคา
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายของกิจการ
ค่าใช้จ่ายทางภาษี
ค่าใช้จ่ายในการอบรม
งบการเงิน
งบการเงินส่วนบุคคล
จดทะเบียน
จดทะเบียนเพิ่มสาขา
จดภาษีมูลค่าเพิ่ม
จัดตั้งบริษัท
จ้างงานผู้สูงอายุ
จ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ
จ้างเด็กจบใหม่
ช้อปดีมีคืน
ดอกเบี้ยค้างรับ
ตราประทับ
ทรัพย์สิน
ทั่วไป
ทำประกันให้พนักงาน
ธุรกรรม
ธุรกิจขนส่ง
บริจาค
บริษัท กับ กรรมการ
บัญชีและภาษี
บิลเงินสด
ประกัน keyman
ประกันCovid-19
ประกันสังคม
ประชุมบริษัท
ประเภทเช็ค
ผลขาดทุน
ผู้ถือหุ้น
ผู้ประกอบการ
พร้อมเพย์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ฟรีแลนซ์
ภ.ง.ด. 1ก
ภ.ง.ด.1 ก
ภ.ง.ด.54
ภ.พ.36
ภาษี
ภาษี e-Service
ภาษีDropship
ภาษีกองทุนตราสารหนี้
ภาษีกับการออกจากงาน
ภาษีการรับมรดก
ภาษีของแพทย์
ภาษีขาย
ภาษีซื้อ
ภาษีซื้อต้องห้าม
ภาษีดอกเบีี้ย
ภาษีที่ดิน
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีนำเข้าสินค้า
ภาษีป้าย
ภาษีฟรีแลนซ์
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีรถยนต์
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีอากร
ภาษีอากรนำเข้า
ภาษีอีเพย์เมนต์
ภาษีเงินปันผล
ภาษีเงินได้จากการรับให้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ภาษีโรงแรม
มาตรการผู้กู้ยืม กยศ.
มูลค่าต้นทุน
ย้ายกิจการ
ยื่นแบบ
ยื่นแบบอย่างไรให้ประหยัดค่าปรับที่สุด
รถยนต์นั่ง
รถแลกเงิน
ระบบรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
ร้านกาแฟ-เสียภาษี
รายจ่ายค่าซ่อมแซม
รายจ่ายจริง
รายจ่ายต้องห้าม
รายได้อื่น
ลดหย่อนทางภาษี
ลดหย่อนภาษี
ลาออกจากงาน
วงจรเงินสด
วางระบบบัญชี
วางแผนภาษี
ศุลกากร
ส่งสินค้าทางไปรษณีย์
ส่งเสริมการขาย
สต็อกสินค้า
สรุปประเด็นภาษี
ส่วนลดกาาค้าและส่วนลดเงินสด
สวัสดิการพนักงาน
สวัสดิการอาหารพนักงาน
สัญญาขายฝาก
สัญญาซื้อ
สัญญาฝากทรัพย์
สัญญายินยอม
สัญญาเช่า
สัญญาเช่าที่ดิน
สำนักงานบัญชี
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
หนี้สิน
อั่งเปา
อากรแสตมป์
เกษตรกับวิธีเสียภาษี
เครื่องบันทึกการเก็บเงิน
เคลมภาษีซื้อ ค่าอบรม
เงินกู้ยืมกรรมการ
เงินค่าฝึกอบรม
เงินชดใช้ค่าเสียหาย
เงินทดรองจ่าย
เงินบำนาญชราภาพ
เงินบำเหน็จ
เงินปันผล
เงินมัดจำ
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
เงินสมทบประกันสังคม
เงินสำรองจ่าย
เงินเรียกเก็บล่วงหน้าจากการขายสินค้า
เงินได้พนักงาน
เงินได้พึงประเมิน
เช่าซื้อ-ลิสซิ่ง
เบี้ยประกัน
เบี้ยปรับ
เปิดบริษัท
เราเที่ยวด้วยกัน
เลขประจำตัวผู้เสียอากร
เลิกทำธุรกิจ
เสน่หากับภาษ๊
เอกสารการเบิกจ่ายเงิน
เอกสารทางภาษี
เอกสารบัญชี
แจกไฟล์
แรงงานต่างด้าว
โครงการคนละครึ่ง
โทษปรับ
ใบกำกับภาษี
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
ใบลดหนี้
ใบลดหนี้และใบเพิ่มหนี้
ใบสำคัญจ่าย
ใบหุ้น
ใบเสนอราคา
ใบเสร็จรับเงิน