บทความล่าสุด

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

สามีและภรรยาประกอบกิจการร่วมกัน เสียภาษีอย่างไร?

ภาษีมูลค่าเพิ่มหากกิจการมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา• สามีและภรรยาสามารถยื่นภาษีรวมกันได้ (แต่ไม่ควรทำจะเสียภาษีเยอะไปทำไม) • ถ้าแบ่งรายได้กันได้อย่างชัดเจน ว่าเป็นรายได้ของสามีจำนวนเท่าไหร่ และของภรรยาจำรวนเท่าไหร่ ให้แต่ละคนแยกกันยื่น • ถ้าแบ่งรายได้กันไม่ได้ให้แบ่งกันคนละครึ่ง และแยกกันยื่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ถ้าขายของออนไลน์มีรายได้ 1.7 ล้านบาทต่อปี บุคคลธรรมดา หรือ บริษัท ใครเสียภาษีมากกว่ากัน?

ต้องมีการสมมุติโจทย์เพิ่มเติมดังนี้ • รายได้จากการขายของออนไลน์ 1,700,000 บาท • ค่าใช้จ่ายตามจริง 1,190,000.00 บาท (คิดอัตรากำไร 30%) เรามาลองคำนวณกันเลยดีกว่าครับ ** ใครเลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริงจะต้องมีการบันทีกรายจ่ายพร้อมเอกสารประกอบ เผื่อโดนขอตรวจสอบ โดยปกติไม่ค่อยมีคนเลือกวิธีนี้

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายทางภาษี

ทำประกันคีย์แมน ช่วยบริหารภาษีจริงหรือไม่

สรรพากรบอกว่ากรณีที่บริษัทฯ ต้องจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการทุกคนเป็นการทั่วไปตามระเบียบและมติที่ประชุมของบริษัทฯ เพื่อผลประโยชน์ของบริษัทฯ แล้ว การจ่ายเบี้ยประกันชีวิตดังกล่าวไม่ถือเป็นรายจ่ายส่วนตัวหรือการให้โดยเสน่หา บริษัทสามารถนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวมารวมเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวนภาษีได้ **แต่ค่าเบี้ยประกันที่บริษัทจ่ายให้ก็ถือเป็นผลประโยชน์เพิ่มที่กรรมการได้รับจึงถือเป็นเงินได้ของกรรมการ ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย ช่วยบริหารภาษีหรือไม่ ค่าเบี้ยประกัน = ค่าใช้จ่ายบริษัท = เงินได้ของกรรมการเงินกรรมการไม่ได้ใช้เอาไปจ่ายเบี้ยประกัน เผลอๆ กรรมการบางคนเสียภาษีในอัตราที่มากกว่า 20% ด้วยซ้ำ จ่ายโบนัส = ค่าใช้จ่ายบริษัท = เงินได้ของกรรมการกรรมการเอาเงินไปใช้ได้ตามใจชอบ ฟินนนน

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายทางภาษี

แจกของขวัญปีใหม่ให้กับลูกค้า

1.ภาษีเงินได้นิติบุคคล  ค่าใช้จ่ายนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้ไม่เกินคนละ 2,000 บาทในแต่ละคราว 2.ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อของขวัญแจกเป็นภาษีซื้อต้องห้าม *ถ้าให้ดีอย่าลืมแนบนามบัตรของกิจการ และถ่ายรูปเป็นหลักฐานด้วยนะครับ สาเหตุที่ในบัญชีธนาคารของบริษัทไม่ตรงกับการบันทึกบัญชี 1.เจ้าของบริษัทไม่มีเงินจริงตามที่จดทะเบียนบริษัท (ไม่ตรงตั้งแต่เริ่มกิจการเลย T ^ T)2.ใช้เงินบริษัทกับส่วนตัวปนกันมั่วไปหมด เจ้าของควรจะกำหนดเงินเดือนตัวเองขึ้นและไม่ใช้เงินบริษัทในเรื่องส่วนตัว3.ลูกค้าโอนเงินค่าสินค้าหรือบริการ เข้าบัญชีส่วนตัวของเจ้าของแทนเข้าบัญชีบริษัท4.ใช้เงินส่วนตัวจ่ายค่าใช้จ่ายแทนบริษัท เพื่อความสะดวกและง่าย

by KKN การบัญชี

สรุปประเด็นภาษี

สรุปประเด็นภาษีเกี่ยวกับ สวัสดิการพนักงานทั้งหมด

ผมเลยอาศัยวันหยุดยาว เขียนสรุปเลยละกัน ทีนี้ลูกจ้างเข้าใจตรงกันนะที่เจ้าของบริษัทไม่ให้ เบี้ยขยัน ค่าล่วงเวลา ค่าวิชาชีพ ไม่เลี้ยงหาอาหารกลางวัน ไม่พาพนักงานไปเที่ยวต่างประเทศ ไม่สมัครสมาชิกฟิตเนส ไม่ให้เงินช่วยเหลือการศึกษาบุตร ไม่ใช่เพราะเจ้าของบริษัทขี้งกหรอก แต่เค้าหวังดีเท่านั้นเองไม่อยากให้พนักงานเสียภาษีเยอะ 555

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

ใครทำธุรกิจ ไม่คำนวนจุดคุ้มทุนถือว่าพลาด

จุดคุ้มทุน คือ จุดที่รายได้เท่ากับค่าใช้จ่ายพอดี จุดคุ้มทุนมีประโยชน์ 2 อย่างดังนี้ 1) อยากรู้ว่าต้องขายกี่ชิ้นถึงจะคุ้มทุนกรณีนี้เราต้องมีราคาขายในใจอยู่แล้วว่าจะขายราคากี่บาท/ชิ้น เราต้องการหาปริมาณขายว่าจะต้องขายกี่ชิ้นถึงจะคุ้มทุน 2) อยากรู้ว่าต้องการขายชิ้นละราคาเท่าไรถึงจะคุ้มทุนกรณีนี้จะใช้เมื่อเรามีสินค้าอยู่ในมือจำนวนที่แน่นอน รู้แล้วว่ามีของอยู่กี่ชิ้น แล้วอยากทราบว่าจะขายชิ้นละเท่าไรถึงคุ้มทุน ตัวอย่าง: ร้านกาแฟแห่งหนึ่ง มีค่าเช่าที่ขายของ 1,000 บาทต่อวัน และขายกาแฟแล้วละ 50 บาท ประมาณการต้นทุนขายแก้วละ 30 บาท จะต้องขายกี่แก้วต่อวันถึงจะคุ้มทุน ตัวอย่าง: ร้านกาแฟแห่งหนึ่ง มีค่าเช่าที่ขายของ 1,000 บาทต่อวัน คาดว่าจะขายได้ 60 แก้วต่อวัน ประมาณการต้นทุนขายแก้วละ 40 บาท จะต้องขายกี่แก้วต่อวันถึงจะคุ้มทุน

by KKN การบัญชี

จัดตั้งบริษัท

จดหรือไม่จดบริษัทดี

1. พิจารณาด้านความคุ้มค่า จดบริษัทมีค่าใช้จ่ายทำบัญชีและสอบบัญชี ถ้าภาษีที่ประหยัดได้น้อยกว่าค่าบริการทำบัญชีสอบบัญชี จะจดไปเพื่ออะไร 2. พิจารณาด้านลูกค้า ลูกค้าเป็นบุคคลธรรมดา : ลูกค้าไม่ได้สนใจเลยว่าเราจะต้องเป็นบริษัทหรือเปล่าขอแค่เค้าจ่ายเงินได้ของ ได้บริการก็พอ ลูกค้าเป็นนิติบุคคล : ลูกค้าเริ่มอยากได้บิลที่เป็นในนามบริษัทเพื่อให้ไม่มีปัญหากับสรรพากร ถ้าเราไม่จดบริษัทลูกค้าอาจจะไม่ค้าขายด้วย 3. พิจารณาด้านยุ่งยาก บริษัทเสียภาษีจากกำไรสุทธิ (รายได้ – ค่าใช้จ่าย) ถ้าเราจดบริษัท เราต้องมั่นใจว่าเราสามารถหาบิลค่าใช้จ่ายที่ถูกต้องตามที่สรรพากรยอมรับมาบันทึกค่าใช้จ่ายให้ได้ ถ้าหาไม่ได้บริษัทจะมีแต่รายได้ไม่มีค่าใช้จ่าย เราจะต้องเสียภาษีเยอะมากกก จดบริษัทเราต้องมีภาระจัดทำบัญชี และส่งงบการเงินให้สรรพากร 4. พิจารณาด้านการเติบโต • บริษัทมีการแบ่งหุ้นอย่างชัดเจน เราสามารถหาผู้ร่วมทุนเพื่อมาขยายกิจการ • บริษัทถูกบันทึกให้จัดทำบัญชี ยื่นงบต่อหน่วยงานรัฐ การพิจารณาสินเชื่อจากธนาคารจะทำได้ง่ายเพราะมีหลักฐานของรายได้ • กรณีแบ่งมรดกให้ลูกหลาน สามารถทำได้ง่ายโดนการแบ่งหุ้น

by KKN การบัญชี

จัดตั้งบริษัท

จดบริษัททุน 1 ล้าน จำเป็นมั้ยต้องมีเงินจริงมั้ย ?

ถ้าต้องแสดงเงินจริง คงไม่มีใครเปิดบริษัทได้ ร้อยละ 99.99% ไม่มีเงินจริงตามที่จดทะเบียน ไม่มีเงินแล้วทำยังไง 1. นักบัญชีจะบันทึกรายการว่า “เจ้าของเอาเงินสดมาลงทุนครบตามที่จดทะเบียน” 2. นักบัญชีจะบันทึกรายการว่า “บริษัทให้กรรมการกู้ยืมเงินออกไป” ข้อควรระวัง บริษัทให้กรรมการกู้จะต้องมีการคิดดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม และรายได้ดอกเบี้ยรับจะต้องถูกเอาไปเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

by KKN การบัญชี

LTF

ไปทำความรู้จักกับ LTF RMF ก่อนใช้สิทธิลดหย่อน

LTF = “กองทุนรวมหุ้นระยะยาว ” เป็นกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในหุ้นที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เหมาะสำหรับคนที่สนใจจะลงทุนในหุ้น แต่ไม่มีเวลาศึกษา ไม่มีเวลาติดตามดูหุ้นอยู่ตลอดเวลา  ดังนั้นจึงควรมอบหน้าที่นี้ให้กับผู้ที่เชี่ยวชาญกว่าเราไปดูแล RMF = “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” เป็นการลงทุนแบบผูกพันระยะยาว โดยมุ่งหวังให้มีเงินไว้ใช้ยามเกษียณ ดังนั้นใครซื้อ RMF จะต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี และห้ามไถ่ถอนก่อนอายุ 55 ปี

by KKN การบัญชี

กรมสรรพากร

ใครว่าสรรพากรแพ้ FB และ Google กำลังเก็บภาษีได้

สรรพากรกล่าวว่า… “ผู้ประกอบการนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ประกอบกิจการโดยการใช้ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทำให้เกิดรายได้ในประเทศไทย จะต้องทำตามทั้งกฎหมายของกระทรวงดิจิทัลฯ และกฎหมายของกรมสรรพากร หากไม่ดำเนินการก็จะมีความผิดทั้ง2 กฎหมาย” วิธีการเก็บภาษีละสำหรับเก็บภาษี กำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้เป็นผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละไม่เกิน 15% (เดี๋ยวได้อัตรา final จะบอกอีกที) สรุปแบบให้เห็นภาพนโยบายการเก็บภาษี FB Google

by KKN การบัญชี

อากรแสตมป์

ทำความรู้จักกับ “อากรแสตมป์”

อากรแสตมป์ไม่ใช่แสตมป์ไปรษณีย์ ตราสารที่จะต้องติดอากรแสตมป์ ได้แก่ สัญญาเช่าโรงเรือน, เช่าซื้อทรัพย์สิน,จ้างทำของ, เงินกู้โดยผู้ให้เช่า ผู้โอน ผู้ให้กู้ ผู้รับจ้างจะต้องเป็นผู้ติดอากรแสตมป์ อัตราภาษีมูลค่าสัญญา 1,000 บาท ติดอากรแสตมป์ 1 บาทยกเว้นสัญญาเงินกู้มูลค่าสัญญา 2,000 บาทติดอากรแสตมป์ 1 บาท (ติดสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท)ค่าปรับ6 เท่าของอากรแสตมป์ที่จะต้องติด* ติดอากรแสตมป์เสร็จอย่างลืมขีดฆ่าป้องกันการนำกลับมาใช้อีก ถ้าไม่ขีดฆ่าก็โดนปรับ สัญญาจ้างทำของ คือ สัญญาที่ผู้รับจ้างตกลงทำการงานสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้กับผู้ว่าจ้าง โดยผู้ว่าจ้างตกลงให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จของงานนั้น ตัวอย่างการคำนวณอากรแสตมป์บริษัท เอ จำกัด ประกอบธุรกิจหอพักให้เช่า ได้มีการทำสัญญาให้เช่าห้องพักกับนายสมชาย ในอัตราปีละ 100,000 บาท โดยทำสัญญา 1 ปีบริษัทฯ จะต้องติดอากรแสตมป์ที่สัญญากี่บาท ฐานภาษี (รายได้ค่าเช่า) 100,000 บาท อัตราภาษี 1,000 ละ 1 บาท ต้องติดอากรแสตมป์ 100 บาท ใบเสนอราคาต้องติดอากรแสตมป์หรือไม่ เอกสารใบเสนอราคาและใบสั่งซื้อที่มีการลงลายมือชื่อผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง […]

by KKN การบัญชี

สำนักงานบัญชี

ไม่อยากเสียรู้สำนักงานบัญชีต้องคุยราคาให้จบ

เคยเจอมั้ยค่าทำบัญชีรายเดือน 1,000 บาท พอตอนเดือน 5 ใกล้ถึงเวลาส่งงบการเงินมาบอกว่า “ค่าปิดงบ 150,000 บาท” ถ้าไม่จ่ายก็เชิญเอาเอกสารทั้งปีคืนไป แล้วไปหาสำนักงานบัญชีอื่นทำบันทึกบัญชีใหม่ วิธีแก้: ผู้ประกอบการจะต้องถามค่าใช้จ่ายทั้งหมดจนถึงงบการเงิน จะได้รู้ค่าใช้จ่ายทั้งปี เพื่อเปรียบเทียบกับสำนักงานอื่น และต้องไม่ลืมให้สำนักงานบัญชีทำใบเสนอราคาเป็นหลักฐาน ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ควรสอบถามราคา

by KKN การบัญชี

กรมสรรพากร

อะไรนะ ไม่มีบิล ก็เอามาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้!!

สรรพากรได้เข้าใจในเรื่องของประเด็นค่าใช้จ่ายที่มีการจ่ายเงินจริง แต่ไม่มีหลักฐานที่เพียงพอ จึงได้ออกแนวทางช่วยเหลือ ผู้ประกอบการที่น่าสงสารแบบพวกเรา ประเด็นค่าใช้จ่ายที่มีการจ่ายเงินจริง แต่ไม่มีหลักฐาน เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี กรณีหลักฐานไม่เพียงพอ 1.เอกสารการรับเงิน •ใบรับเงิน •ใบสำคัญรับเงิน •ใบรับรองแทนใบสำคัญรับเงิน 2.จัดทำใบสำคัญจ่าย (Payment Voucher) ใช้สำหรับกรณีไม่มีหลักฐานตาม (ข้อ 1) ใบสำคัญจ่ายจะต้องมีข้อมูลระบุดังนี้ •ชื่อ ที่อยู่ เลขบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ของผู้รับเงิน •วันที่จ่ายเงิน •ระบุประเภทรายการที่จ่ายและจำนวนเงินที่จ่าย •ลงลายมือชื่อผู้รับเงินไว้เป็นหลักฐาน •มีการลงนามอนุมัติจ่ายโดยผู้มีอำนาจเท่านั้น •แนบหลักฐานการจ่ายเงินเช่น สำเนาเช็ค, หลักฐานการโอนเงิน •แนบสำหรับบัตรประชาชน (กรณีที่จ่ายเป็นเงินสด) 3.หากจ่ายค่าบริการอย่าลืมหัก ณ ที่จ่าย ใบรับเงิน : ใช้กรณีผู้รับเงินยินยอมออกใบรับเงิน ใบสำคัญรับเงิน : ใช้กรณีผู้รับเงินไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินให้ได้ แต่ยินยอมจะลงรายมือชื่อในช่อง “ผู้รับเงิน” ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน : ใช้กรณีใช้ในกรณีกิจการจ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือบริการเบ็ดเตล็ดแต่ไม่สามารถเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการได้ต้องให้พนักงานของกิจการเป็นผู้รับรองการจ่ายเงินดังกล่าว

by KKN การบัญชี

ค้าขายออนไลน์

เตือน!!! ค้าขายออนไลน์ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล

ธุรกิจอะไรที่จะต้องจดบ้างพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 1.ธุรกิจที่มีการซื้อ/ขาย/บริการ ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (ร้านออนไลน์, ขายของผ่าน Facebook หรือ Social media) ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) ผู้ให้บริการ Web Hosting ผู้ให้บริการตัวกลางในการซื้อขายบนอินเตอร์เน็ต (พวก Lazada, Kaidee, iTruemart ฯลฯ) วิธีการจดทะเบียน เตรียมสำเนาบัตรปชช + ทะเบียนบ้าน ผู้ประกอบการ แบบคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.) และเอกสารประกอบการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (เอกสารแนบแบบ ทพ.) Print หน้าแรกของร้านค้าออนไลน์ วิธีการสั่งซื้อ วิธีการชําระเงิน วิธีการส่งสินค้า วาดแผนที่ตั้งร้าน กรณีเป็นนิติบุคคล (เตรียมหนังสือรับรองบริษัท) เตรียมเงิน 50 บาท ไปจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สำเนาเขต, เทศบาล, อบต. กรณีที่ผู้ประกอบการไม่ใช่เจ้าของบ้าน หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่หรือสัญญาเช่า สำเนาบัตรปชช. + ทะเบียนบ้าน ของเจ้าของกรรมสิทธิ์

by KKN การบัญชี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไรภาษีชนิดหนึ่งที่เก็บจากผู้บริโภคจากการซื้อสินค้าหรือบริการในอัตรา 7% หลักของภาษีมูลค่าเพิ่ม หลักง่ายๆ : ใครก็ตามที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีจะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม** แสดงว่าถ้ารายได้ไม่ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปี เรามีสิทธิ์เลือกว่าจะจดหรือไม่จดก็ได้** มีบางกิจการที่รายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีก็ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่นสถานศึกษา, ผู้สอบบัญชี, ขายสินค้าเกษตร เราสามารถดูรายชื่อทั้งหมดได้ที่ http://www.rd.go.th/publish/7052.0.html ข้อดีและข้อเสียของการจดVAT Tip ในการเลือกจดVAT กรณีรายได้ยังไม่ถึงเกณฑ์ 1.กิจการมีความสามารถผลักภาระภาษีขายไปให้แก่ลูกค้าได้มากน้อยเพียงใด? 2.กิจการมีภาษีซื้อที่สามารถขอคืนได้มากน้อยเพียงใด? สรุปการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม Note:   1. ถ้าภาษีขาย > ภาษีซื้อ เราจะต้องนำส่งส่วนต่างให้สรรพากรเพิ่ม2. ถ้าภาษีซื้อ > ภาษีขาย เราสามารถขอคืนส่วนต่างจากรมสรรพากรได้ หรือ จะยกไปใช้ในเดือนถัดไปก็ได้ ภาษีซื้อที่ไม่มีสิทธิ์นำมาขอคืน (ภาษีซื้อต้องห้าม) 1.ไม่มีใบกำกับภาษีหรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ว่ามีการชำระภาษีซื้อ 2.ใบกำกับภาษีมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ 3.ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการ 4.ภาษีซื้อที่เกิดจากการจ่ายค่ารับรอง 5.ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีซึ่งออกโดยผู้ที่ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี 6.อื่นตามประกาศของอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น •ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อเช่า หรือจ่ายค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่งและรถยนโดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง […]

by KKN การบัญชี

รายได้อื่น

มีรายได้จากAdSense, YouTube, ขายรูป, เกมออนไลน์ ต้องเสียภาษีหรือไม่

รายได้จากธุรกิจออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น AdSense, YouTube, ขายรูป, เกมออนไลน์ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(8) จะต้องเสียภาษีหรือไม่ ให้พิจารณา 2 เรื่องดังต่อไปนี้ แหล่งเงินได้ : เงินได้ที่ได้รับจากในประเทศไทย (จากหน้าที่ ทรัพย์สิน กิจการ) จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตัวอย่าง 1 : บริษัทไทยขอเช่าป้าย Banner ในเว็บไซต์ของเรา โดยเรามีเงินได้จากบริษัทในประเทศไทย อันนี้เสียภาษี ตัวอย่าง 2 : เรามีรายได้จาก Google AdSense ซึ่งจ่ายเงินให้เราจากต่างประเทศ อันนี้ไม่ต้องเสียภาษี ถิ่นที่อยู่ : (1) อยู่ประเทศเกิน 180 วัน และ (2) ต้องนำเงินได้เข้ามาในประเทศไทยปีเดียวกับที่เกิดเงินได้ ถ้าเข้าทั้ง 2 เงื่อนไข จะต้องเสียภาษี เราสามารถวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ ถ้าไม่อยากเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ให้พักเงินไว้ที่ต่างประเทศก่อนอย่าเพิ่งนำเข้ามาในปีภาษีเดียวกับที่เกิดเงินได้ โดยให้นำเข้ามาในปีถัดไปเราก็จะไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งไม่มีวิธีที่ผิดกฎหมายหรืออีกวิธีที่นักกีฬานิยมทำกับคืออยู่ประเทศไทยให้น้อยกว่า 180 วัน

by KKN การบัญชี

กรมสรรพากร

สรรพากร 4.0

นโยบายของกรมสรรพากร ยุค 4.0 1.รายการค้าต่างๆ จะเริ่มบังคับจัดทำผ่านระบบดิจิตอล (E-Tax invoice, E-Withholding tax) 2.สรรพากร ตรวจจับรายการผิดปกติโดยได้โปรแกรมช่วยวิธีการวิเคราะห์ RBA (Risk Base Audit) เลือกโดยส่วนกลาง 132 เกณฑ์ 3.ออกหมายเรียกผู้ที่มีรายการผิดปกติ เพื่อให้ทำให้ถูกต้อง 4.จะมีการสุ่มตรวจ โดยมีการวิเคราะห์งบการเงิน แบบแสดงรายการภาษีที่ผู้ประกอบการยื่นไว้ 5.อนาคต จะดำเนินคดีอาญา แม้จะตรวจพบรายการเดียว 6.สรรพากรจะขอความร่วมมือจากสำนักงานบัญชี

by KKN การบัญชี

สต็อกสินค้า

การทำลายสต็อก ไม่ใช่อยากจะทำลาย ก็ทำลายเลยได้

ทำไมต้องทำลายสินค้า 1.สินค้าที่ถูกทำลายไม่ถือเป็นการขาย ดังนั้นจะไม่ต้องเสียภาษีขาย 2.เมื่อทำลายสินค้า นิติบุคคลมีสิทธินำต้นทุนของสินค้าที่ถูกทำลายมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ทำลายสินค้า * แต่การทำลายสินค้าจะต้องถูกต้องตามที่สรรพากรกำหนดนะ พิจารณาสินค้าที่ต้องการทำลาย สินค้าที่ต้องการทำลายเป็นสินค้าที่เน่าเสียได้ เช่น ผลิตภัณฑ์อาหาร เวชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เป็นต้น สามารถทำลายได้เลยโดยไม่ต้องแจ้งสรรพากร สินค้าที่ต้องการทำลายเป็นสินค้าสามารถเก็บรักษาได้ รอปริมาณเยอะค่อยทำลายทีเดียว เมื่อจะทำลายสินค้าจะต้องแจ้งการทำลายให้สรรพากรพื้นที่หรือสรรพากรจังหวัดทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนวันทำลายสินค้า ขั้นตอนการทำลายสินค้าที่ถูกต้อง 1.ตรวจสอบสินค้าว่าเสียหายจริงหรือไม่ตามระเบียบของบริษัท ส่งให้ผู้มีอำนาจอนุมัติว่าเสียตามที่ระเบียบบริษัทกำหนด 2.กรณีที่สินค้าได้รับคืนมาจากลูกค้า บริษัทจะต้องเก็บหลักฐานการรับคืน เอกสารดังกล่าวจะต้องระบบ วันที่รับสินค้า สาเหตุการรับคืน ชนิดของสินค้า และปริมาณ เลขที่อ้างอิงการสั่งซื้อสินค้าชนิดนั้น 3.1.เมื่อได้รับอนุมัติให้ทำลาย จะมีผู้เข้าร่วมการทำลายสินค้าอย่างน้อยดังนี้ ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายบัญชี ฝ่ายขายหรือฝ่ายตรวจสอบ (ถ้ามี) พร้อมผู้ตรวจสอบบัญชี เมื่อทำลายเสร็จ ให้ทุกคนลงลายมือชื่อเป็นพยานในการทำลายสินค้า สรรพากรทำ Clicklist เกี่ยวกับการทำลายสินค้า

by KKN การบัญชี

ผู้ประกอบการ

ถ้าอยากให้สำนักงานบัญชีรัก จะต้องเตรียมเอกสารแบบไหน

ปัญหาที่ทำให้สำนักงานบัญชีบันทึกบัญชีไม่ได้คุณภาพ “ผู้ประกอบการส่งแต่บิลซื้อและบิลขายให้สำนักงานบัญชี” 1.เมื่อคุณส่งแต่บิลซื้อและบิลขาย สำนักงานไม่มีทางรู้เลยว่ารายงานการจ่ายเงินซื้อสินค้าหรือบริการนั้นจ่ายด้วยช่องทางไหน (เงินสด, ธนาคารอะไร) แล้วเค้าจะบันทึกบัญชีถูกได้อย่างไร สำนักงานบัญชีส่วนใหญ่ก็ทำเป็นขายเงินสด กับซื้อเงินสด ซึ่งมันถูกต้องตามความเป็นจริง2.ไม่รู้ว่ารายการจ่ายเงินคือค่าอะไร (บางครั้งเอกสารเป็นภาษาอังกฤษ ศัพท์เฉพาะ)3.สำนักงานบัญชีไม่รู้ว่าเอกสารที่ได้รับมาครบถ้วนหรือไม่ วิธีการเตรียมเอกสารที่ดีสำหรับส่งสำนักงานบัญชี1.จัดทำเอกสารใบประหน้าสำคัญรับและใบสำคัญจ่าย พร้อมแนบเอกสารที่เกี่ยวข้อง * ถ้าเอกสารใบเสร็จรับเงินของกิจการมีเขียนวิธีการรับชำระเงินอยู่แล้ว การจัดทำใบสำคัญรับก็ไม่ได้มีความจำเป็น 2.สรุปจำนวนเอกสารที่ส่งไม่จำเป็นต้องทำเป็นแบบฟอร์ม แค่ทำสรุปจำนวนแต่ละประเภทเอกสารก็ได้ครับ เมื่อป้องกันเอกสารตกหล่น เช่น เดือนพฤศจิกายน– เอกสารใบสำคัญจ่าย   20 รายการ– เอกสารใบแจ้งหนี้  15 รายการ– เอกสารใบเสร็จรับเงิน  12 รายการ 3.Bank statement ควรจะส่งสำนักงานบัญชีทุกเดือน หรือย่างน้อย 3 เดือนครั้ง 4.สัญญาเงินกู้ สัญญาเช่า สัญญาเช่าซื้อ แบงค์การันตี สำเนาให้บัญชีเก็บไว้ด้วย 5.ทุกสิ้นปีมีรายกาต้องทำดังนี้ -หนังสือยืนยันยอดเงินฝากธนาคาร -รายงานสินค้าคงเหลือ -ลูกหนี้ และ เจ้าหนี้คงเหลือ (ถ้าทำได้จะดีมาก จะได้เปรียบเทียบกับที่บัญชีบันทึก)

by KKN การบัญชี

50 ทวิ
Bitcoin
DBD Registered
e-filing
LTF
SME
SMEs
TFRS16
Uncategorized
Voucher
กท.20 ก
กรมสรรพากร
กองทุนรวม
ก่อสร้างอาคารบนที่ดินของกรรมการ
การขอรับบริจาค
การจัดสรรกำไรสะสม
การตัดหนี้สูญ
การบริจาค
การบันทึกบัญชีเงินสดรับ-จ่าย
การประมาณการกำไรสุทธิขาดไป
การลงทุน
การลงประกาศหนังสือพิมพ์
การลดหย่อนบริจาคทั่วไป
การเช่า
กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กิจการร่วมค้า และกิจการค้าร่วม
กิจการเพื่อสังคม
กิจการโรงแรม
ขนส่ง
ขอคืนเงินประกันไฟฟ้า
ขายกิจการ
ขายสินค้าต่ำกว่าทุน
ขายสินค้าส่งออกไปต่างประเทศ
ขายหนังสือแถมคอร์สเรียนออนไลน์
คริปโทเคอร์เรนซี
ความเสี่ยง-ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ความเสี่ยงของกิจการ
ค่าขนส่ง
ค้าขายออนไลน์
ค่าตรวจสุขภาพ
ค่าปรับ
ค่ารักษาพยาบาล
ค่ารับรอง
ค่าสินไหมทดแทน
ค่าเช่า
ค่าเช่ารับล่วงหน้า
ค่าเบี้ยประกันชีวิต
ค่าเสื่อมราคา
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายของกิจการ
ค่าใช้จ่ายทางภาษี
ค่าใช้จ่ายในการอบรม
งบการเงิน
งบการเงินส่วนบุคคล
จดทะเบียน
จดทะเบียนเพิ่มสาขา
จดภาษีมูลค่าเพิ่ม
จัดตั้งบริษัท
จ้างงานผู้สูงอายุ
จ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ
จ้างเด็กจบใหม่
ช้อปดีมีคืน
ดอกเบี้ยค้างรับ
ตราประทับ
ทรัพย์สิน
ทั่วไป
ทำประกันให้พนักงาน
ธุรกรรม
ธุรกิจขนส่ง
บริจาค
บริษัท กับ กรรมการ
บัญชีและภาษี
บิลเงินสด
ประกัน keyman
ประกันCovid-19
ประกันสังคม
ประชุมบริษัท
ประเภทเช็ค
ผลขาดทุน
ผู้ถือหุ้น
ผู้ประกอบการ
พร้อมเพย์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ฟรีแลนซ์
ภ.ง.ด. 1ก
ภ.ง.ด.1 ก
ภ.ง.ด.54
ภ.พ.36
ภาษี
ภาษี e-Service
ภาษีDropship
ภาษีกองทุนตราสารหนี้
ภาษีกับการออกจากงาน
ภาษีการรับมรดก
ภาษีของแพทย์
ภาษีขาย
ภาษีซื้อ
ภาษีซื้อต้องห้าม
ภาษีดอกเบีี้ย
ภาษีที่ดิน
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีนำเข้าสินค้า
ภาษีป้าย
ภาษีฟรีแลนซ์
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีรถยนต์
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีอากร
ภาษีอากรนำเข้า
ภาษีอีเพย์เมนต์
ภาษีเงินปันผล
ภาษีเงินได้จากการรับให้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ภาษีโรงแรม
มาตรการผู้กู้ยืม กยศ.
มูลค่าต้นทุน
ย้ายกิจการ
ยื่นแบบ
ยื่นแบบอย่างไรให้ประหยัดค่าปรับที่สุด
รถยนต์นั่ง
รถแลกเงิน
ระบบรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
ร้านกาแฟ-เสียภาษี
รายจ่ายค่าซ่อมแซม
รายจ่ายจริง
รายจ่ายต้องห้าม
รายได้อื่น
ลดหย่อนทางภาษี
ลดหย่อนภาษี
ลาออกจากงาน
วงจรเงินสด
วางระบบบัญชี
วางแผนภาษี
ศุลกากร
ส่งสินค้าทางไปรษณีย์
ส่งเสริมการขาย
สต็อกสินค้า
สรุปประเด็นภาษี
ส่วนลดกาาค้าและส่วนลดเงินสด
สวัสดิการพนักงาน
สวัสดิการอาหารพนักงาน
สัญญาขายฝาก
สัญญาซื้อ
สัญญาฝากทรัพย์
สัญญายินยอม
สัญญาเช่า
สัญญาเช่าที่ดิน
สำนักงานบัญชี
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
หนี้สิน
อั่งเปา
อากรแสตมป์
เกษตรกับวิธีเสียภาษี
เครื่องบันทึกการเก็บเงิน
เคลมภาษีซื้อ ค่าอบรม
เงินกู้ยืมกรรมการ
เงินค่าฝึกอบรม
เงินชดใช้ค่าเสียหาย
เงินทดรองจ่าย
เงินบำนาญชราภาพ
เงินบำเหน็จ
เงินปันผล
เงินมัดจำ
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
เงินสมทบประกันสังคม
เงินสำรองจ่าย
เงินเรียกเก็บล่วงหน้าจากการขายสินค้า
เงินได้พนักงาน
เงินได้พึงประเมิน
เช่าซื้อ-ลิสซิ่ง
เบี้ยประกัน
เบี้ยปรับ
เปิดบริษัท
เราเที่ยวด้วยกัน
เลขประจำตัวผู้เสียอากร
เลิกทำธุรกิจ
เสน่หากับภาษ๊
เอกสารการเบิกจ่ายเงิน
เอกสารทางภาษี
เอกสารบัญชี
แจกไฟล์
แรงงานต่างด้าว
โครงการคนละครึ่ง
โทษปรับ
ใบกำกับภาษี
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
ใบลดหนี้
ใบลดหนี้และใบเพิ่มหนี้
ใบสำคัญจ่าย
ใบหุ้น
ใบเสนอราคา
ใบเสร็จรับเงิน