บทความล่าสุด

กรมสรรพากร

เช็ครายได้ตัวเองในระบบกรมสรรพากร (ง่ายมาก)

ข่าวดีสำหรับผู้เสียภาษีทุกคน ในที่สุดกรมสรรพากรก็ยอมเปิดเผยข้อมูลรายได้ของบุคคลธรรมดาที่กรมสรรพากรมีข้อมูลอยู่ ข้อมูลรายได้สำคัญยังไง ถ้าผู้เสียภาษียื่นรายได้ในแบบนำส่งภาษีประจำปีน้อยกว่าที่กรมสรรพากรมีข้อมูลอยู่งานงอกนะสิ ดังนั้นก่อนยื่นภาษีควรเช็คข้อมูลรายได้ในระบบ Mytaxaccount ก่อน *** หมายเหตุข้อมูลรายได้ จะแสดงจากข้อมูลที่มีผู้หักภาษี ณ ที่จ่ายเท่านั้น (ตามที่แอดมินวิเคราะห์น่าจะมาเฉพาะรายการยื่นแบบผ่าน e-Filing เท่านั้นด้วย ยื่นแบบกระดาษจะไม่มีข้อมูลหรือข้อมูลยังไม่ได้ Update ก็ไม่รู้) แต่บอกเลยข้อมูลแค่นี้ก็ดีเลิศมากแล้วครับ นอกจากข้อมูลรายได้แล้วยังมีข้อมูลค่าลดหย่อนต่างๆ ที่กรมสรรพากรมีข้อมูลมาแสดงด้วย เป็นตัวช่วยให้ผู้เสียภาษียื่นแบบนำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีได้ง่ายขึ้น ถ้ามีข้อมูลรายได้ของฝั่งนิติบุคคลด้วยจะดีมากๆ เลย กราบบบท่านสรรพากรล่วงหน้าครับ

by KKN การบัญชี

Uncategorized

ยื่นแบบ ภ.พ.36 ติ๊กหัวข้อไหนดี ?

ภ.พ. 36 คือ คือแบบที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ที่พิเศษก็คือผู้จ่ายค่าสินค้าหรือบริการจะเป็นผู้ยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มแทน เนื่องจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการไม่ได้เข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทย โดยต้องยื่นแบบ ภ.พ.36 ไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป ในการยื่นแบบ ภ.พ.36 จะมีการให้เลือกหัวข้อว่าเรายื่นจากกรณีไหนซึ่งโพสนี้จะมาอธิบายว่าในแต่ละข้อแตกต่างกันอย่างไร แต่อย่างไรก็ตามถ้าเลือกหัวข้อผิด ก็ไม่ได้มีอะไรที่ร้ายแรง เพราะการเครดิตภาษีซื้อ ภ.พ. 36 ใช้ “ใบเสร็จรับเงินสรรพากร” ไม่ได้ใช้หน้าแบบ ภ.พ. 36 ครับ

by KKN การบัญชี

Uncategorized

บุคคลธรรมดาเปิดโรงเรียนกวดวิชาต้องเสียภาษีอะไรบ้าง ?

เมื่อจดทะเบียนถูกต้องเรียบร้อยแล้วก็จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีดังนี้ 1.กรณีเป็นโรงเรียนเอกชน ด้านวิชาชีพ ภาษา วิชาช่าง สอนขับรถ งานฝีมือ รายได้ ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียทั้งภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (เมื่อได้รับยกเว้นภาษีบุคคลธรรมดาไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา) 2.กรณีเป็นโรงเรียนกวดวิชา ต้องนำรายได้มาคำนวณภาษีเงินได้ แต่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สิ่งที่ต้องระมัดระวัง รายได้จากโรงเรียนกวดวิชาเป็นเงินได้ 40(8) ประเภทอื่นๆ ซึ่งต้องหักค่าใช้จ่ายตามจริงเท่านั้น ไม่สามารถหักเหมา 60% ได้

by KKN การบัญชี

Uncategorized

สรุปประเด็นภาษีช่วงปีใหม่ ที่ทุกกิจการต้องเจอ

ปล. สำหรับเงินสนับสนุนจัดการปีใหม่ให้แก่บริษัทลูกค้า ถ้าหากบริษัทต้องการให้ลงเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ อาจจะจ่ายในรูปแบบของค่าส่งเสริมการขายตาม ป .118/2545 แทนซึ่งความยากอยู่ที่จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายลูกค้า

by KKN การบัญชี

Voucher

Voucher กับการเสียภาษี

หลายกิจการมีการส่งเสริมการขายโดยการให้ Voucher แก่ลูกค้าเพื่อนำมาใช้เป็นส่วนลดในการซื้อสินค้าหรือบริการ ในโพสนี้จะมาพูดเกี่ยวกับประเด็นภาษีที่เกี่ยวกับ Voucher ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 กรณีดังนี้ 1.แจก Voucher เพื่อให้ลูกค้านำกลับมาเป็นคูปองส่วนลดในการซื้อครั้งต่อไป 2.บริษัทขาย Voucher ให้กับลูกค้า เพื่อนำมาซื้อของ

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายทางภาษี

ให้ของขวัญปีใหม่กับลูกค้าแบบไหน ประหยัดภาษีที่สุด

ในช่วงเทศกาลปีใหม่ทุกบริษัทก็มักจะมีการซื้อของขวัญให้กับลูกค้า และแน่นอนทุกบริษัทก็อยากที่จะประหยัดภาษีที่สุด ต้องการที่จะนำรายจ่ายค่าซื้อของขวัญให้กับลูกค้ามาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีของกิจการให้ได้ครบถ้วน 100% แอดมินจึงมาสรุปทางเลือกทั้ง 4 แบบในการให้ของขวัญกับลูกค้าเพื่อช่วยในการประหยัดภาษี ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีข้อดีและข้อเสีย รวมถึงเงื่อนไขในการปฏิบัติที่แตกต่างกันไป ดังนั้นเราจะต้องเลือกให้เหมาะกับสถานะการณ์ครับ แต่ถ้าให้ผมเรียงลำดับความ Advance จะสามารถเรียงลำดับได้ดังนี้ 1.ให้ของขวัญผ่านค่ารับรอง แต่ข้อเสียคือจำกัดมูลค่าสูงสุดเพียงแค่ 2,000 บาทต่อครั้ง 2.ให้ของขวัญผ่านส่งเสริมการขาย ข้อดีไม่จำกัดมูลค่า แต่ข้อเสียคือโดนหัก ณ ที่จ่าย 3.ให้ของขวัญผ่านของชำร่วย/ของที่ละลึก ข้อดีคือไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย แต่ข้อเสียคือต้องสกรีนชื่อบริษัทหรือโลโก้ในตัวสินค้า และมูลค่าไม่ควรเกินสมควรอีก 4.ของแถม ผมว่าตัวนี้ดีมากๆเลยไม่ต้องโดนหัก ณ ที่จ่าย ไม่ต้องสกรีนชื่อสินค้า แต่เราจะต้องวางแผน Match ของที่เราจะให้ลงไปในใบกำกับภาษีขายให้ได้ แต่นักบัญชีและเจ้าของกิจการเก่งอยู่แล้วครับ

by KKN การบัญชี

ภ.ง.ด.54

จ่ายค่าบริการ CANVA ต้องยื่นภาษีอะไรบ้าง ?

จ่ายค่าบริการ CANVA ต้องยื่นภาษี ภ.ง.ด.54 การจ่ายค่าสมาชิกรายเดือน กับ Canva ถือเป็นการจ่ายค่าสิทธิตามมาตรา 40(3) บริษัทผู้จ่ายค่าบริการให้กับนิติบุคคลต่างประเทศ (ออสเตรเลีย) มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ภ.พ.36 กรณีไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่มีหน้าที่ต้องยื่น ภ.พ.36

by KKN การบัญชี

บิลเงินสด

บิลเงินสด

บิลเงินสด (Cash bill) คือ เอกสารที่ผู้รับเงินออกให้เป็นหลักฐานที่แสดงว่าได้รับการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว แต่บิลเงินสดจะมีความน่าเชื่อถือน้อยกว่าในเชิงการยื่นต่อสรรพากร เพราะบิลเงินสดส่วนใหญ่มักเขียนด้วยลายมือซึ่งพิสูจน์ไม่ได้ว่าเป็นรายการของใคร มีการซื้อ – ขายเกิดขึ้นจริงหรือไม่ และการเขียนด้วยลายมืออาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย แต่หากซื้อของไม่มีบิลจะทำอย่างไรดี หรือมีเอกสารแต่ข้อมูลไม่ครบถ้วน สรรพากรออกแนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบการคือ จัดทำเอกสาร ใบสำคัญรับเงิน, ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

จ่ายค่าบริการให้ Platform ต่างประเทศ ต้องยื่นภาษีอะไรบ้าง ?

ปัจจุบันนี้กิจการต่างๆ มีรายการจ่ายค่าบริการให้กับ Platform ต่างประเทศกันเป็นเรื่องปกติ ค่าบริการหลักๆที่พบจะมีด้วยกัน 2 ค่าบริการได้แก่ ➊ ค่าโฆษณา ➋ ค่าสิทธิการใช้โปรแกรม ค่าโฆษณา เป็นเงินได้ 40 (8) นิติบุคคลที่จ่ายค่าบริการไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากร ค่าสิทธิการใช้โปรแกรม เป็นเงินได้ 40(3) นิติบุคคลเมื่อจ่ายค่าสิทธิมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรด้วยแบบ ภ.ง.ด.54 โดยอัตราหักภาษี ณ ที่จ่ายปกติจะอยู่ที่ 15% แต่อย่างไรก็ตามก่อนจ่ายเงินควรจะเช็คว่าผู้ให้บริการอยู่ในประเทศที่มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับไทยหรือไม่ เผื่อจะได้ลดอัตราหักภาษี ณ ที่จ่ายลง สำหรับในเรื่องของการยื่นแบบ ภ.พ.36 ถ้ามีบริการถูกใช้ในประเทศไทย กิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แจ้งขอมูล TAX ID กับ Platform ทาง Platform จะเรียกเก็บเฉพาะค่าบริการ (ไม่ได้เก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม) กิจการมีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.พ.36 จ่าย VAT 7% แทน Platform ต่างประเทศ และนำมาใช้เป็นภาษีซื้อได้ในเดือนถัดไป และสำหรับกิจการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม […]

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายทางภาษี

ค่าใช้จ่ายสวัสดิการค่าอาหารพนักงาน

👉 ค่าใช้จ่าย “สวัสดิการค่าอาหารพนักงาน” สามารถลงเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ 👉 ถือเป็นเงินได้ของพนักงานที่ได้รับ ต้องนำมารวมในการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย (ใช้วิธีการปันส่วนรายได้ตามจำนวนพนักงานก็ได้) 👉 ภาษีซื้อที่เกิดจากสวัสดิการค่าอาหารพนักงาน ไม่ใช่ภาษีซื้อที่เกิดจากค่ารับรองจึงไม่เป็นภาษีซื้อตองห้าม บริษัทสามารถนำภาษีซื้อไปหักกับภาษีขายได้

by KKN การบัญชี

ภาษีซื้อ

ค่าเครื่องดื่ม ชากาแฟ ที่บริษัทซื้อสามารถขอคืนภาษีซื้อจากกรมสรรพากรได้หรือไม่ ❓

มีหลักในการพิจารณาง่ายๆดังนี้ ➊ เราต้องเป็นผู้ประกอบการจด VAT (ถ้าไม่ได้จด VAT ขอคืนภาษีไม่ได้แน่นอน) ➋ ดูวัตถุประสงค์ว่าเราซื้อเครื่องดื่ม ชากาแฟ มาใช้สำหรับทำอะไร 👉 กรณีซื้อมาให้พนักงานรับประทานในระหว่างทำงาน เป็นสวัสดิการพนักงาน สามารถขอคืนภาษีซื้อจากกรมสรรพากรได้ ไม่เป็นภาษีซื้อต้องห้าม 👉 กรณีซื้อมารับรองลูกค้า ภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องกับค่ารับรองลูกค้า กรมสรรพากรบอกว่าห้ามนำมาหักกับภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อ เป็นภาษีซื้อต้องห้าม

by KKN การบัญชี

เอกสารบัญชี

ขอใบกำกับภาษีเต็มรูป 7-Eleven ง่ายๆ เพียง 1 นาที

สำหรับนิติบุคคลที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีที่เราไปซื้อสินค้าใน 7-Eleven ไม่ต้องเสียเวลารอให้พนักงานขายออกใบกำกับภาษีเต็มรูปให้อีกแล้ว ปัจจุบันนี้เราสามารถขอใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วยตัวเองเพียงไม่กี่ขั้นตอน

by KKN การบัญชี

แจกไฟล์

แจก Excel ช่วยแปลงไฟล์เป็น Text file สำหรับยื่นภาษีผ่านระบบออนไลน์ (ใช้คู่กับโปรแกรม Rd prep ของกรมสรรพากร)

มีระบบตรวจเช็คป้องกันการกรอก Tax id ผิด รองรับการยื่นแบบนำส่งภาษี ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.1ก, ภ.ง.ด.3 และ ภ.ง.ด.53 ก่อนใช้งานจะต้องเปิดการใช้งาน Macro ใน Excel ก่อนะครับ 👉 https://bit.ly/3qTmpWn (สำรอง) https://www.dropbox.com/t/U7UnsCbVZujB1Lk0

by KKN การบัญชี

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

เตือนอย่าลืมยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ภ.ง.ด.94)

ใครบ้างต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ? บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้ 40(5)-(8 ) ในระหว่างวันที่ 1 ม.ค. ถึง 30 มิ.ย. ของทุกปีเกิน 60,000 บาท สำหรับคนโสด หรือในกรณีมีคู่สมรสจะต้องมีรายได้รวมกันเกิน 120,000 บาท (นับเฉพาะเงินได้ 40(5) – (8 ) ไม่ต้องนำเงินเดือนประจำมารวมคิด) ยื่นแบบนำส่งภาษีได้ตั้งแต่เมื่อไหร่ ? สามารถยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. – 2 ต.ค. 2566 (กรณียื่นแบบทางอินเทอร์เน็ตจะยื่นได้ถึงวันที่ 9 ต.ค. 2566) *กรณีไม่ยื่นแบบโทษปรับ 2,000 บาท และมีดอกเบี้ย อัตรา 1.5% ต่อเดือน*

by KKN การบัญชี

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ถูกรางวัลชิงโชคดีใจเมื่อได้รับ แต่เศร้าใจเมื่อโดนภาษีย้อนหลัง

ผู้ถูกรางวัลชิงโชคส่วนใหญ่มักคิดว่าเมื่อได้รับรางวัลชิงโชค แล้วโดนหักภาษี ณ ที่จ่าย 5% ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการเสียภาษีให้กรมสรรพากรเรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องทำอะไรอีกเพราะจ่ายภาษีไปแล้ว สิ่งที่ถูกต้องคือ เงินได้จากการถูกรางวัลชิงโชค เป็นเงินได้ประเภทที่ 8 ผู้มีเงินได้มีหน้าที่นำรายได้ดังกล่าวมายื่นภาษีประจำปีด้วย แม้จะเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 แต่ไม่สามารถเหลือหักค่าใช้จ่าย 60% ได้ ต้องหักค่าใช้จ่ายตามจริงเท่านั้น แต่ส่วนใหญ่ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะเป็น 0 เพราะการถูกรางวัลชิงโชคมักไม่มีต้นทุน

by KKN การบัญชี

แจกไฟล์

แบบฟอร์มหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย

แบบฟอร์มหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) ในรูปแบบ Excel file สะดวกและกรอกง่ายกว่า Pdf file มากเลยครับ Download เก็บไว้ใช้ได้เลยครับ https://www.iliketax.com/download/wht50.xlsx (สำรอง) https://bit.ly/3s23usl ขอบคุณไฟล์จากคุณอธิฐ สุทธิปัญโญ

by KKN การบัญชี

ทั่วไป

วิธีการตรวจสอบข้อมูลบริษัท ก่อนตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนักมาก มาในหลายรูปแบบ และล่าสุดได้มาในรูปแบบของการเป็นบริษัทเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ และหลอกให้ทำงานออนไลน์ เป็นงาน “คอนเฟิร์มออเดอร์” เราจะต้องทำการใส่เงินเข้าไปในระบบจากนั้นทำการคอนเฟิร์มสินค้า เมื่อทำถึงจำนวนที่กำหนดก็เสร็จสิ้นภารกิจได้จะรับเงินรางวัล โดยน้องผู้เสียหายให้แอดมินช่วยตรวจสอบให้หน่อยว่าบริษัทนี้มีตัวตนจริงหรือไม่ เมื่อตรวจสอบก็พบว่าเป็นบริษัทที่ปิดงบการเงินเปล่าไม่ได้มีรายได้จากการประกอบธุรกิจ ซึ่งแอดมินก็ไม่รู้ว่าบริษัทที่ตรวจสอบใช่บริษัทนั้นจริงหรือไม่ หรือถูกแอบอ้างชื่อมาอีก

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ง่ายนิดเดียว

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คือ ภาษีที่ต้องจ่ายไปในทันทีเมื่อเรามีรายได้ โดยกรมสรรพากรกำหนดให้่นิติบุคคลผู้จ่ายเงินได้ เป็นผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งภาษีที่หัก ณ ที่จ่ายให้กรมสรรพากร แทนผู้มีเงินได้ คำถามที่พบบ่อยคือ ถ้าผู้ให้บริการไม่ยอมทำให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ทำอย่างไร? ตอบ : ถ้าผู้จ่ายเงินได้ไม่สามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ ก็ต้องควักเงินจ่ายเอง สำหรับเรื่องหักภาษี ณ ที่จ่ายกี่ % นำส่งด้วยแบบอะไร โพสนี้มีเคล็ดลับในการช่วยจำครับไปดูกันได้เลยครับ

by KKN การบัญชี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

Tax point ของภาษีมูลค่าเพิ่ม

จุดความรับผิดชอบในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (Tax Point) หมายถึง จุดที่เกิดภาระทางภาษี ซึ่งก่อให้เกิดสิทธิเและหน้าที่ สิทธิ ในการเรียกเก็บ VAT จากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ หน้าที่ ในการจัดทำใบกำกับภาษีขายเพื่อส่งมอบให้แก่ลูกค้า พร้อมทั้งจัดทำรายงานภาษีขายและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่กรมสรรพากร 🙂 เรามาดูกันครับว่า Tax point ของภาษีมูลค่าเพิ่มมีอะไรกันบ้าง

by KKN การบัญชี

50 ทวิ
Bitcoin
DBD Registered
e-filing
LTF
SME
SMEs
TFRS16
Uncategorized
Voucher
กท.20 ก
กรมสรรพากร
กองทุนรวม
ก่อสร้างอาคารบนที่ดินของกรรมการ
การขอรับบริจาค
การจัดสรรกำไรสะสม
การตัดหนี้สูญ
การบริจาค
การบันทึกบัญชีเงินสดรับ-จ่าย
การประมาณการกำไรสุทธิขาดไป
การลงทุน
การลงประกาศหนังสือพิมพ์
การลดหย่อนบริจาคทั่วไป
การเช่า
กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กิจการร่วมค้า และกิจการค้าร่วม
กิจการเพื่อสังคม
กิจการโรงแรม
ขนส่ง
ขอคืนเงินประกันไฟฟ้า
ขายกิจการ
ขายสินค้าต่ำกว่าทุน
ขายสินค้าส่งออกไปต่างประเทศ
ขายหนังสือแถมคอร์สเรียนออนไลน์
คริปโทเคอร์เรนซี
ความเสี่ยง-ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ความเสี่ยงของกิจการ
ค่าขนส่ง
ค้าขายออนไลน์
ค่าตรวจสุขภาพ
ค่าปรับ
ค่ารักษาพยาบาล
ค่ารับรอง
ค่าสินไหมทดแทน
ค่าเช่า
ค่าเช่ารับล่วงหน้า
ค่าเบี้ยประกันชีวิต
ค่าเสื่อมราคา
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายของกิจการ
ค่าใช้จ่ายทางภาษี
ค่าใช้จ่ายในการอบรม
งบการเงิน
งบการเงินส่วนบุคคล
จดทะเบียน
จดทะเบียนเพิ่มสาขา
จดภาษีมูลค่าเพิ่ม
จัดตั้งบริษัท
จ้างงานผู้สูงอายุ
จ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ
จ้างเด็กจบใหม่
ช้อปดีมีคืน
ดอกเบี้ยค้างรับ
ตราประทับ
ทรัพย์สิน
ทั่วไป
ทำประกันให้พนักงาน
ธุรกรรม
ธุรกิจขนส่ง
บริจาค
บริษัท กับ กรรมการ
บัญชีและภาษี
บิลเงินสด
ประกัน keyman
ประกันCovid-19
ประกันสังคม
ประชุมบริษัท
ประเภทเช็ค
ผลขาดทุน
ผู้ถือหุ้น
ผู้ประกอบการ
พร้อมเพย์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ฟรีแลนซ์
ภ.ง.ด. 1ก
ภ.ง.ด.1 ก
ภ.ง.ด.54
ภ.พ.36
ภาษี
ภาษี e-Service
ภาษีDropship
ภาษีกองทุนตราสารหนี้
ภาษีกับการออกจากงาน
ภาษีการรับมรดก
ภาษีของแพทย์
ภาษีขาย
ภาษีซื้อ
ภาษีซื้อต้องห้าม
ภาษีดอกเบีี้ย
ภาษีที่ดิน
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีนำเข้าสินค้า
ภาษีป้าย
ภาษีฟรีแลนซ์
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีรถยนต์
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีอากร
ภาษีอากรนำเข้า
ภาษีอีเพย์เมนต์
ภาษีเงินปันผล
ภาษีเงินได้จากการรับให้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ภาษีโรงแรม
มาตรการผู้กู้ยืม กยศ.
มูลค่าต้นทุน
ย้ายกิจการ
ยื่นแบบ
ยื่นแบบอย่างไรให้ประหยัดค่าปรับที่สุด
รถยนต์นั่ง
รถแลกเงิน
ระบบรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
ร้านกาแฟ-เสียภาษี
รายจ่ายค่าซ่อมแซม
รายจ่ายจริง
รายจ่ายต้องห้าม
รายได้อื่น
ลดหย่อนทางภาษี
ลดหย่อนภาษี
ลาออกจากงาน
วงจรเงินสด
วางระบบบัญชี
วางแผนภาษี
ศุลกากร
ส่งสินค้าทางไปรษณีย์
ส่งเสริมการขาย
สต็อกสินค้า
สรุปประเด็นภาษี
ส่วนลดกาาค้าและส่วนลดเงินสด
สวัสดิการพนักงาน
สวัสดิการอาหารพนักงาน
สัญญาขายฝาก
สัญญาซื้อ
สัญญาฝากทรัพย์
สัญญายินยอม
สัญญาเช่า
สัญญาเช่าที่ดิน
สำนักงานบัญชี
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
หนี้สิน
อั่งเปา
อากรแสตมป์
เกษตรกับวิธีเสียภาษี
เครื่องบันทึกการเก็บเงิน
เคลมภาษีซื้อ ค่าอบรม
เงินกู้ยืมกรรมการ
เงินค่าฝึกอบรม
เงินชดใช้ค่าเสียหาย
เงินทดรองจ่าย
เงินบำนาญชราภาพ
เงินบำเหน็จ
เงินปันผล
เงินมัดจำ
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
เงินสมทบประกันสังคม
เงินสำรองจ่าย
เงินเรียกเก็บล่วงหน้าจากการขายสินค้า
เงินได้พนักงาน
เงินได้พึงประเมิน
เช่าซื้อ-ลิสซิ่ง
เบี้ยประกัน
เบี้ยปรับ
เปิดบริษัท
เราเที่ยวด้วยกัน
เลขประจำตัวผู้เสียอากร
เลิกทำธุรกิจ
เสน่หากับภาษ๊
เอกสารการเบิกจ่ายเงิน
เอกสารทางภาษี
เอกสารบัญชี
แจกไฟล์
แรงงานต่างด้าว
โครงการคนละครึ่ง
โทษปรับ
ใบกำกับภาษี
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
ใบลดหนี้
ใบลดหนี้และใบเพิ่มหนี้
ใบสำคัญจ่าย
ใบหุ้น
ใบเสนอราคา
ใบเสร็จรับเงิน