ผลลัพท์การค้นหา

กรมสรรพากร

เช็ครายได้ตัวเองในระบบกรมสรรพากร (ง่ายมาก)

ข่าวดีสำหรับผู้เสียภาษีทุกคน ในที่สุดกรมสรรพากรก็ยอมเปิดเผยข้อมูลรายได้ของบุคคลธรรมดาที่กรมสรรพากรมีข้อมูลอยู่ ข้อมูลรายได้สำคัญยังไง ถ้าผู้เสียภาษียื่นรายได้ในแบบนำส่งภาษีประจำปีน้อยกว่าที่กรมสรรพากรมีข้อมูลอยู่งานงอกนะสิ ดังนั้นก่อนยื่นภาษีควรเช็คข้อมูลรายได้ในระบบ Mytaxaccount ก่อน *** หมายเหตุข้อมูลรายได้ จะแสดงจากข้อมูลที่มีผู้หักภาษี ณ ที่จ่ายเท่านั้น (ตามที่แอดมินวิเคราะห์น่าจะมาเฉพาะรายการยื่นแบบผ่าน e-Filing เท่านั้นด้วย ยื่นแบบกระดาษจะไม่มีข้อมูลหรือข้อมูลยังไม่ได้ Update ก็ไม่รู้) แต่บอกเลยข้อมูลแค่นี้ก็ดีเลิศมากแล้วครับ นอกจากข้อมูลรายได้แล้วยังมีข้อมูลค่าลดหย่อนต่างๆ ที่กรมสรรพากรมีข้อมูลมาแสดงด้วย เป็นตัวช่วยให้ผู้เสียภาษียื่นแบบนำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีได้ง่ายขึ้น ถ้ามีข้อมูลรายได้ของฝั่งนิติบุคคลด้วยจะดีมากๆ เลย กราบบบท่านสรรพากรล่วงหน้าครับ

by KKN การบัญชี

Uncategorized

ยื่นแบบ ภ.พ.36 ติ๊กหัวข้อไหนดี ?

ภ.พ. 36 คือ คือแบบที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ที่พิเศษก็คือผู้จ่ายค่าสินค้าหรือบริการจะเป็นผู้ยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มแทน เนื่องจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการไม่ได้เข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทย โดยต้องยื่นแบบ ภ.พ.36 ไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป ในการยื่นแบบ ภ.พ.36 จะมีการให้เลือกหัวข้อว่าเรายื่นจากกรณีไหนซึ่งโพสนี้จะมาอธิบายว่าในแต่ละข้อแตกต่างกันอย่างไร แต่อย่างไรก็ตามถ้าเลือกหัวข้อผิด ก็ไม่ได้มีอะไรที่ร้ายแรง เพราะการเครดิตภาษีซื้อ ภ.พ. 36 ใช้ “ใบเสร็จรับเงินสรรพากร” ไม่ได้ใช้หน้าแบบ ภ.พ. 36 ครับ

by KKN การบัญชี

Uncategorized

บุคคลธรรมดาเปิดโรงเรียนกวดวิชาต้องเสียภาษีอะไรบ้าง ?

เมื่อจดทะเบียนถูกต้องเรียบร้อยแล้วก็จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีดังนี้ 1.กรณีเป็นโรงเรียนเอกชน ด้านวิชาชีพ ภาษา วิชาช่าง สอนขับรถ งานฝีมือ รายได้ ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียทั้งภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (เมื่อได้รับยกเว้นภาษีบุคคลธรรมดาไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา) 2.กรณีเป็นโรงเรียนกวดวิชา ต้องนำรายได้มาคำนวณภาษีเงินได้ แต่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สิ่งที่ต้องระมัดระวัง รายได้จากโรงเรียนกวดวิชาเป็นเงินได้ 40(8) ประเภทอื่นๆ ซึ่งต้องหักค่าใช้จ่ายตามจริงเท่านั้น ไม่สามารถหักเหมา 60% ได้

by KKN การบัญชี

Uncategorized

สรุปประเด็นภาษีช่วงปีใหม่ ที่ทุกกิจการต้องเจอ

ปล. สำหรับเงินสนับสนุนจัดการปีใหม่ให้แก่บริษัทลูกค้า ถ้าหากบริษัทต้องการให้ลงเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ อาจจะจ่ายในรูปแบบของค่าส่งเสริมการขายตาม ป .118/2545 แทนซึ่งความยากอยู่ที่จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายลูกค้า

by KKN การบัญชี

Voucher

Voucher กับการเสียภาษี

หลายกิจการมีการส่งเสริมการขายโดยการให้ Voucher แก่ลูกค้าเพื่อนำมาใช้เป็นส่วนลดในการซื้อสินค้าหรือบริการ ในโพสนี้จะมาพูดเกี่ยวกับประเด็นภาษีที่เกี่ยวกับ Voucher ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 กรณีดังนี้ 1.แจก Voucher เพื่อให้ลูกค้านำกลับมาเป็นคูปองส่วนลดในการซื้อครั้งต่อไป 2.บริษัทขาย Voucher ให้กับลูกค้า เพื่อนำมาซื้อของ

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายทางภาษี

ให้ของขวัญปีใหม่กับลูกค้าแบบไหน ประหยัดภาษีที่สุด

ในช่วงเทศกาลปีใหม่ทุกบริษัทก็มักจะมีการซื้อของขวัญให้กับลูกค้า และแน่นอนทุกบริษัทก็อยากที่จะประหยัดภาษีที่สุด ต้องการที่จะนำรายจ่ายค่าซื้อของขวัญให้กับลูกค้ามาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีของกิจการให้ได้ครบถ้วน 100% แอดมินจึงมาสรุปทางเลือกทั้ง 4 แบบในการให้ของขวัญกับลูกค้าเพื่อช่วยในการประหยัดภาษี ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีข้อดีและข้อเสีย รวมถึงเงื่อนไขในการปฏิบัติที่แตกต่างกันไป ดังนั้นเราจะต้องเลือกให้เหมาะกับสถานะการณ์ครับ แต่ถ้าให้ผมเรียงลำดับความ Advance จะสามารถเรียงลำดับได้ดังนี้ 1.ให้ของขวัญผ่านค่ารับรอง แต่ข้อเสียคือจำกัดมูลค่าสูงสุดเพียงแค่ 2,000 บาทต่อครั้ง 2.ให้ของขวัญผ่านส่งเสริมการขาย ข้อดีไม่จำกัดมูลค่า แต่ข้อเสียคือโดนหัก ณ ที่จ่าย 3.ให้ของขวัญผ่านของชำร่วย/ของที่ละลึก ข้อดีคือไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย แต่ข้อเสียคือต้องสกรีนชื่อบริษัทหรือโลโก้ในตัวสินค้า และมูลค่าไม่ควรเกินสมควรอีก 4.ของแถม ผมว่าตัวนี้ดีมากๆเลยไม่ต้องโดนหัก ณ ที่จ่าย ไม่ต้องสกรีนชื่อสินค้า แต่เราจะต้องวางแผน Match ของที่เราจะให้ลงไปในใบกำกับภาษีขายให้ได้ แต่นักบัญชีและเจ้าของกิจการเก่งอยู่แล้วครับ

by KKN การบัญชี

ภ.ง.ด.54

จ่ายค่าบริการ CANVA ต้องยื่นภาษีอะไรบ้าง ?

จ่ายค่าบริการ CANVA ต้องยื่นภาษี ภ.ง.ด.54 การจ่ายค่าสมาชิกรายเดือน กับ Canva ถือเป็นการจ่ายค่าสิทธิตามมาตรา 40(3) บริษัทผู้จ่ายค่าบริการให้กับนิติบุคคลต่างประเทศ (ออสเตรเลีย) มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ภ.พ.36 กรณีไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่มีหน้าที่ต้องยื่น ภ.พ.36

by KKN การบัญชี

บิลเงินสด

บิลเงินสด

บิลเงินสด (Cash bill) คือ เอกสารที่ผู้รับเงินออกให้เป็นหลักฐานที่แสดงว่าได้รับการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว แต่บิลเงินสดจะมีความน่าเชื่อถือน้อยกว่าในเชิงการยื่นต่อสรรพากร เพราะบิลเงินสดส่วนใหญ่มักเขียนด้วยลายมือซึ่งพิสูจน์ไม่ได้ว่าเป็นรายการของใคร มีการซื้อ – ขายเกิดขึ้นจริงหรือไม่ และการเขียนด้วยลายมืออาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย แต่หากซื้อของไม่มีบิลจะทำอย่างไรดี หรือมีเอกสารแต่ข้อมูลไม่ครบถ้วน สรรพากรออกแนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบการคือ จัดทำเอกสาร ใบสำคัญรับเงิน, ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

จ่ายค่าบริการให้ Platform ต่างประเทศ ต้องยื่นภาษีอะไรบ้าง ?

ปัจจุบันนี้กิจการต่างๆ มีรายการจ่ายค่าบริการให้กับ Platform ต่างประเทศกันเป็นเรื่องปกติ ค่าบริการหลักๆที่พบจะมีด้วยกัน 2 ค่าบริการได้แก่ ➊ ค่าโฆษณา ➋ ค่าสิทธิการใช้โปรแกรม ค่าโฆษณา เป็นเงินได้ 40 (8) นิติบุคคลที่จ่ายค่าบริการไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากร ค่าสิทธิการใช้โปรแกรม เป็นเงินได้ 40(3) นิติบุคคลเมื่อจ่ายค่าสิทธิมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรด้วยแบบ ภ.ง.ด.54 โดยอัตราหักภาษี ณ ที่จ่ายปกติจะอยู่ที่ 15% แต่อย่างไรก็ตามก่อนจ่ายเงินควรจะเช็คว่าผู้ให้บริการอยู่ในประเทศที่มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับไทยหรือไม่ เผื่อจะได้ลดอัตราหักภาษี ณ ที่จ่ายลง สำหรับในเรื่องของการยื่นแบบ ภ.พ.36 ถ้ามีบริการถูกใช้ในประเทศไทย กิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แจ้งขอมูล TAX ID กับ Platform ทาง Platform จะเรียกเก็บเฉพาะค่าบริการ (ไม่ได้เก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม) กิจการมีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.พ.36 จ่าย VAT 7% แทน Platform ต่างประเทศ และนำมาใช้เป็นภาษีซื้อได้ในเดือนถัดไป และสำหรับกิจการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม […]

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายทางภาษี

ค่าใช้จ่ายสวัสดิการค่าอาหารพนักงาน

👉 ค่าใช้จ่าย “สวัสดิการค่าอาหารพนักงาน” สามารถลงเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ 👉 ถือเป็นเงินได้ของพนักงานที่ได้รับ ต้องนำมารวมในการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย (ใช้วิธีการปันส่วนรายได้ตามจำนวนพนักงานก็ได้) 👉 ภาษีซื้อที่เกิดจากสวัสดิการค่าอาหารพนักงาน ไม่ใช่ภาษีซื้อที่เกิดจากค่ารับรองจึงไม่เป็นภาษีซื้อตองห้าม บริษัทสามารถนำภาษีซื้อไปหักกับภาษีขายได้

by KKN การบัญชี

ภาษีซื้อ

ค่าเครื่องดื่ม ชากาแฟ ที่บริษัทซื้อสามารถขอคืนภาษีซื้อจากกรมสรรพากรได้หรือไม่ ❓

มีหลักในการพิจารณาง่ายๆดังนี้ ➊ เราต้องเป็นผู้ประกอบการจด VAT (ถ้าไม่ได้จด VAT ขอคืนภาษีไม่ได้แน่นอน) ➋ ดูวัตถุประสงค์ว่าเราซื้อเครื่องดื่ม ชากาแฟ มาใช้สำหรับทำอะไร 👉 กรณีซื้อมาให้พนักงานรับประทานในระหว่างทำงาน เป็นสวัสดิการพนักงาน สามารถขอคืนภาษีซื้อจากกรมสรรพากรได้ ไม่เป็นภาษีซื้อต้องห้าม 👉 กรณีซื้อมารับรองลูกค้า ภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องกับค่ารับรองลูกค้า กรมสรรพากรบอกว่าห้ามนำมาหักกับภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อ เป็นภาษีซื้อต้องห้าม

by KKN การบัญชี

เอกสารบัญชี

ขอใบกำกับภาษีเต็มรูป 7-Eleven ง่ายๆ เพียง 1 นาที

สำหรับนิติบุคคลที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีที่เราไปซื้อสินค้าใน 7-Eleven ไม่ต้องเสียเวลารอให้พนักงานขายออกใบกำกับภาษีเต็มรูปให้อีกแล้ว ปัจจุบันนี้เราสามารถขอใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วยตัวเองเพียงไม่กี่ขั้นตอน

by KKN การบัญชี

แจกไฟล์

แจก Excel ช่วยแปลงไฟล์เป็น Text file สำหรับยื่นภาษีผ่านระบบออนไลน์ (ใช้คู่กับโปรแกรม Rd prep ของกรมสรรพากร)

มีระบบตรวจเช็คป้องกันการกรอก Tax id ผิด รองรับการยื่นแบบนำส่งภาษี ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.1ก, ภ.ง.ด.3 และ ภ.ง.ด.53 ก่อนใช้งานจะต้องเปิดการใช้งาน Macro ใน Excel ก่อนะครับ 👉 https://bit.ly/3qTmpWn (สำรอง) https://www.dropbox.com/t/U7UnsCbVZujB1Lk0

by KKN การบัญชี

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

เตือนอย่าลืมยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ภ.ง.ด.94)

ใครบ้างต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ? บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้ 40(5)-(8 ) ในระหว่างวันที่ 1 ม.ค. ถึง 30 มิ.ย. ของทุกปีเกิน 60,000 บาท สำหรับคนโสด หรือในกรณีมีคู่สมรสจะต้องมีรายได้รวมกันเกิน 120,000 บาท (นับเฉพาะเงินได้ 40(5) – (8 ) ไม่ต้องนำเงินเดือนประจำมารวมคิด) ยื่นแบบนำส่งภาษีได้ตั้งแต่เมื่อไหร่ ? สามารถยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. – 2 ต.ค. 2566 (กรณียื่นแบบทางอินเทอร์เน็ตจะยื่นได้ถึงวันที่ 9 ต.ค. 2566) *กรณีไม่ยื่นแบบโทษปรับ 2,000 บาท และมีดอกเบี้ย อัตรา 1.5% ต่อเดือน*

by KKN การบัญชี

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ถูกรางวัลชิงโชคดีใจเมื่อได้รับ แต่เศร้าใจเมื่อโดนภาษีย้อนหลัง

ผู้ถูกรางวัลชิงโชคส่วนใหญ่มักคิดว่าเมื่อได้รับรางวัลชิงโชค แล้วโดนหักภาษี ณ ที่จ่าย 5% ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการเสียภาษีให้กรมสรรพากรเรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องทำอะไรอีกเพราะจ่ายภาษีไปแล้ว สิ่งที่ถูกต้องคือ เงินได้จากการถูกรางวัลชิงโชค เป็นเงินได้ประเภทที่ 8 ผู้มีเงินได้มีหน้าที่นำรายได้ดังกล่าวมายื่นภาษีประจำปีด้วย แม้จะเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 แต่ไม่สามารถเหลือหักค่าใช้จ่าย 60% ได้ ต้องหักค่าใช้จ่ายตามจริงเท่านั้น แต่ส่วนใหญ่ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะเป็น 0 เพราะการถูกรางวัลชิงโชคมักไม่มีต้นทุน

by KKN การบัญชี

แจกไฟล์

แบบฟอร์มหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย

แบบฟอร์มหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) ในรูปแบบ Excel file สะดวกและกรอกง่ายกว่า Pdf file มากเลยครับ Download เก็บไว้ใช้ได้เลยครับ https://www.iliketax.com/download/wht50.xlsx (สำรอง) https://bit.ly/3s23usl ขอบคุณไฟล์จากคุณอธิฐ สุทธิปัญโญ

by KKN การบัญชี

ทั่วไป

วิธีการตรวจสอบข้อมูลบริษัท ก่อนตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนักมาก มาในหลายรูปแบบ และล่าสุดได้มาในรูปแบบของการเป็นบริษัทเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ และหลอกให้ทำงานออนไลน์ เป็นงาน “คอนเฟิร์มออเดอร์” เราจะต้องทำการใส่เงินเข้าไปในระบบจากนั้นทำการคอนเฟิร์มสินค้า เมื่อทำถึงจำนวนที่กำหนดก็เสร็จสิ้นภารกิจได้จะรับเงินรางวัล โดยน้องผู้เสียหายให้แอดมินช่วยตรวจสอบให้หน่อยว่าบริษัทนี้มีตัวตนจริงหรือไม่ เมื่อตรวจสอบก็พบว่าเป็นบริษัทที่ปิดงบการเงินเปล่าไม่ได้มีรายได้จากการประกอบธุรกิจ ซึ่งแอดมินก็ไม่รู้ว่าบริษัทที่ตรวจสอบใช่บริษัทนั้นจริงหรือไม่ หรือถูกแอบอ้างชื่อมาอีก

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ง่ายนิดเดียว

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คือ ภาษีที่ต้องจ่ายไปในทันทีเมื่อเรามีรายได้ โดยกรมสรรพากรกำหนดให้่นิติบุคคลผู้จ่ายเงินได้ เป็นผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งภาษีที่หัก ณ ที่จ่ายให้กรมสรรพากร แทนผู้มีเงินได้ คำถามที่พบบ่อยคือ ถ้าผู้ให้บริการไม่ยอมทำให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ทำอย่างไร? ตอบ : ถ้าผู้จ่ายเงินได้ไม่สามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ ก็ต้องควักเงินจ่ายเอง สำหรับเรื่องหักภาษี ณ ที่จ่ายกี่ % นำส่งด้วยแบบอะไร โพสนี้มีเคล็ดลับในการช่วยจำครับไปดูกันได้เลยครับ

by KKN การบัญชี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

Tax point ของภาษีมูลค่าเพิ่ม

จุดความรับผิดชอบในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (Tax Point) หมายถึง จุดที่เกิดภาระทางภาษี ซึ่งก่อให้เกิดสิทธิเและหน้าที่ สิทธิ ในการเรียกเก็บ VAT จากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ หน้าที่ ในการจัดทำใบกำกับภาษีขายเพื่อส่งมอบให้แก่ลูกค้า พร้อมทั้งจัดทำรายงานภาษีขายและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่กรมสรรพากร 🙂 เรามาดูกันครับว่า Tax point ของภาษีมูลค่าเพิ่มมีอะไรกันบ้าง

by KKN การบัญชี