ผลลัพท์การค้นหา

Uncategorized

ประเด็นภาษี “สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล”

สวัสดิการยอดฮิตที่บริษัทนิยมให้กับพนักงานเพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับพนักงานคงหนีไม่พ้น “สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล” วันนี้แอดมินจึงมาสรุปประเด็นภาษีที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล ที่บริษัทจ่ายให้กับพนักงาน สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม บริษัทจะต้องมีระเบียบการจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้พนักงานทุกคน ค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้หรือจ่ายแทนลูกจ้าง สำหรับการรักษาพยาบาลสำหรับลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดาน ซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะสำหรับการรักษาพยาบาลที่กระทำในประเทศไทย พนักงานที่ได้รับสวัสดิการดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมเป็นเงินได้เพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42 (17)

by KKN การบัญชี

ใบกำกับภาษี

สรุปการออกใบกำกับภาษี Shopee

เนื่องจากมีผู้ประกอบการหลายท่านยังสับสนกับการออกใบกำกับภาษีขาย กรณีขายสินค้าผ่าน Platform Shopee อยู่ ว่าจะต้องนำข้อมูลในส่วนไหนบ้างมาออกใบกำกับภาษีขายให้กับลูกค้า เพื่อให้ผู้ประกอบการได้เข้าใจง่ายขึ้น แอดมินได้หยิบตัวรายการคำสั่งซื้อจริงมาใช้เป็นข้อมูลในการยกตัวอย่างการออกใบกำกับภาษี

by KKN การบัญชี

ภ.ง.ด. 1ก

รายได้ประเภทใดต้องยื่น ภ.ง.ด. 1ก

แบบ ภ.ง.ด. 1ก คือ แบบสรุปการจ่ายเงินได้และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตลอดทั้งปี จากการจ่ายเงินได้ตามมาตรา 40(1)(2) เช่น เงินเดือน โบนัส ค่านายหน้า ค่าเบี้ยประชุม เป็นต้น โดยกรมสรรพากรกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้จะต้องสรุปข้อมูลส่งกรมสรรพากรปีละ 1 ครั้ง ไม่เกินวันที่ 28 กุมภาพันธ์ของทุกปี สำหรับสาเหตุที่กรมสรรพากรให้ผู้จ่ายเงินได้ต้องสรุปข้อมูลการจ่ายเงินได้มาตรา 40(1)(2) ให้กับกรมสรรพากรทุกปีนั้น เนื่องจากเงินได้มาตรา 40(1)(2) จะคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามอัตราก้าวหน้า ซึ่งถ้าบุคคลธรรมดามีรายได้ไม่ถึง 310,000 บาทต่อปี จะไม่โดนหักภาษี ณ ที่จ่าย ทำให้กรมสรรพากรไม่มีข้อมูลเงินได้ของผู้เสียภาษีในระบบกรมสรรพากร กรมสรรพากรเลยกำหนดให้ผู้ประกอบการที่จ่ายเงินได้มาตรา 40(1)(2) จะต้องทำสรุปข้อมูลการจ่ายเงินได้ปีละ 1 ครั้งส่งกรมสรรพากรด้วยแบบ ภ.ง.ด.1ก

by KKN การบัญชี

ตราประทับ

ข้อกำหนดตราประทับบริษัท

ตราประทับบริษัท (ตรายาง) เป็นตัวแทนบริษัทในการจดทะเบียนบริษัท การรับรองเอกสาร การทำสัญญา การทำธุรกรรม และนิติกรรม ซึ่งในส่วนนี้กฏหมายไม่ได้บังคับว่าทุกกิจการจะต้องมีตราประทับ นั่นหมายความว่าจะมีหรือไม่ดีก็ได้ ข้อดีของการมีตราประทับบริษัท จะช่วยสร้างความน่าเชื่อให้กับกิจการ และช่วยป้องกันการปลอมแปลงเอกสารได้ แต่ข้อเสียของการมีตราประทับมีก็อยู่ไม่ต้อง คือ ขาดความคล่องตัวในการทำธุรกรรมต่าง มีภาระที่จะต้องพกตราประทับติดตัวตลอด ถ้าตราประทับหายหรือสึกหรอก็เสียเวลาจัดทำขึ้นมาใหม่ กรณีที่บริษัทเลือกที่จะจดทะเบียนแบบมีตราประทับบริษัท จะต้องศึกษาข้อกำหนดของตราประทับที่สามารถทำได้ เพื่อไม่ให้เสียเวลาในการจดทะเบียนบริษัท

by KKN การบัญชี

แจกไฟล์

แจกไฟล์ “ประมวลรัษฎากร Excel”

: https://www.dropbox.com/t/lHphYOEHVd3a7L3A สามารถพิมพ์คำที่ต้องการค้นหาได้เลย เช่น “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” โปรแกรมก็จะแสดงมาตราทั้งหมดที่เกี่ยวกับคำนั้นขึ้นมาให้ทันที >> พัฒนาโดยนายอธิฐ สุทธิปัญโญ <<

by KKN การบัญชี

SMEs

5 ขั้นตอนก่อนระดมทุนของธุรกิจ SMEs

เรื่องเงินทุนนั้นเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการ SMEs ควรมีการวางแผนมาเป็นอย่างดีตั้งแต่ต้นว่าจะหาแหล่งเงินทุนมาจากที่ใด ไม่ว่าจะเป็นเงินทุนของตัวเอง หรือจะหยิบยืมจากคนใกล้ตัว ซึ่งในการดำเนินธุรกิจ การพึ่งพาเพียงแหล่งเงินทุนภายในของกิจการ ก็อาจเกิดปัญหาเงินทุนหมุนเวียนไม่เพียงพอ และขาดสภาพคล่องได้ กิจการอาจต้องมีการระดมทุนเพื่อให้มีเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มเติม ซึ่งหากจะมีการระดมทุนแล้ว ผู้ประกอบการจะต้องมีการเตรียมพร้อมในทุกๆ ด้าน ดังต่อไปนี้

by KKN การบัญชี

กรมสรรพากร

ถูกสรรพากรเรียกพบ ต้องเตรียมตัวอย่างไร?

หลายๆ กิจการเมื่อได้รับเอกสารจากสรรพากรที่เรียกเข้าพบไปชี้แจงในบางเรื่องบางประเด็น ก็รู้สึกร้อนๆ หนาวๆ เพราะไม่รู้ว่าจะพบเจอกับอะไรบ้าง ทั้งที่ความจริงแล้ว บางกรณีการที่สรรพากรเรียกพบก็ไม่ได้เป็นเรื่องน่ากลัวอย่างที่คิด อาจเป็นการเรียกสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเท่านั้น ดังนั้นสิ่งสำคัญอันดับแรกก็คือการตั้งสติและเตรียมตัวให้พร้อมนั่นเอง ทำความเข้าใจประเด็นเรื่องที่สรรพากรขอเชิญพบ ก่อนอื่นผู้ประกอบการควรอ่านข้อความในเอกสารอย่างละเอียดและทำความเข้าใจว่าประเด็นที่กรมสรรพากรขอพบคือเรื่องใด เกี่ยวข้องกับภาษีประเภทใดบ้าง เช่น การขอเชิญพบเพื่อตรวจสอบการขอคืนภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นต้น ทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ที่กรมสรรพากรต้องการ ผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจว่ากรมสรรพากรมีความประสงค์ในการเรียกพบเพื่ออะไร เช่น ขอตรวจสอบ ขอข้อมูล หรือขอให้เป็นพยาน เป็นต้น เพื่อผู้ประกอบการจะได้จัดเตรียมข้อมูลต่างๆ ให้ครบถ้วน เตรียมหลักฐานที่กรมสรรพากรต้องการให้พร้อม เป็นการจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบกำกับภาษีซื้อ สำเนาใบกำกับภาษีขาย สำเนาใบเสร็จรับเงิน หลักฐานการรับเงิน หลักฐานการจ่ายเงิน เอกสารการบันทึกบัญชี เป็นต้น ในกรณีที่ผู้ประกอบการไม่สามารถเดินทางเข้าพบด้วยตนเองก็ต้องทำหนังสือมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการเข้าชี้แจงต่อกรมสรรพากร พร้อมสำเนาบัตรประชาชนรับรองสำเนาของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ เพื่อดำเนินการแทน กำหนดผู้รับผิดชอบในการชี้แจงต่อกรมสรรพากร ในการชี้แจงต่อกรมสรรพากร ผู้ประกอบการควรมอบหมายให้ผู้ที่มีความรู้ทางด้านภาษีในการชี้แจงต่อกรมสรรพากร ได้แก่ นักบัญชีหรือสำนักงานบัญชีที่รับทำบัญชีของกิจการซึ่งดูแลเรื่องภาษี ในกรณีที่มีประเด็นทางกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องอาจมีทนายความหรือผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายเข้าไปชี้แจงต่อเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรด้วย

by KKN การบัญชี

เอกสารบัญชี

ใบเสนอราคา

ใบเสนอราคา เป็นเอกสารที่ผู้ขายสินค้าหรือให้บริการ ออกให้กับลูกค้าที่สนใจจะซื้อสินค้า เพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ใบเสนอราคาที่ดีจะต้องบอกรายละเอียดสินค้าหรือบริการ ราคา เงื่อนไขการจ่ายชำระเงิน การส่งมอบสินค้าหรือบริการ และเงื่อนไขการรับประกัน เพื่อให้ลูกค้าใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการ >>> เรื่องที่ต้องระมัดระวัง กรณีที่ใบเสนอราคาถูกเซ็นชื่อครบทั้ง 2 ฝั่ง (ผู้ขาย กับ ผู้ซื้อ) เรียบร้อยแล้วจะถือว่าใบเสนอราคาดังกล่าวเป็นสัญญา ถ้าเป็นการจ้างทำของ ผู้ให้บริการมีหน้าที่ติดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องครบถ้วน โดยมูลค่าสัญญาจ้างทำของทุก 1,000 บาท จะต้องปิดอากรแสตมป์ 1 บาท

by KKN การบัญชี

การลงประกาศหนังสือพิมพ์

วาระการประชุมที่ต้องลงประกาศหนังสือพิมพ์

ตาม ปพพ. มาตรา 1175 คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นต้องลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน เว้นแต่คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเพื่อลงมติพิเศษ ให้กระทำการดังกล่าวก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่นั้น ให้ระบุสถานที่ วัน เวลา และสภาพแห่งกิจการที่จะได้ประชุมปรึกษากันด้วย ตัวอย่าง วาระหัวข้อวาระการประชุม 1.ประชุมสามัญประจำปี (ประชุมงบการเงิน) 2.การแจ้งจ่ายเงินปันผล 3.การเลิกบริษัท 4.การแก้ไขวัตถุประสงค์ของบริษัท

by KKN การบัญชี

Uncategorized

5 เรื่อง ต้องรู้การวางแผนภาษีของกิจการ

การวางแผนภาษี คือ การเตรียมการเพื่อเสียภาษีให้ถูกต้อง และใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆ ที่กฎหมายกำหนดในการลดหย่อนภาษีประจำปี เพื่อบรรเทาภาระภาษีให้น้อยลง รวมถึงไม่ต้องเสียภาษีหรือเบี้ยปรับเพิ่มเติมโดยไม่จำเป็น หากกิจการมีการวางแผนภาษีดี ก็จะช่วยลดปัญหาทางการเงินที่จะทำให้กิจการขาดสภาพคล่องอีกด้วย ซึ่งก่อนที่จะเริ่มต้นวางแผนภาษีนั้น ผู้ประกอบการต้องมีการศึกษาปัจจัยต่างๆ อย่างรอบด้านเพื่อการปฏิบัติที่ถูกต้อง ซึ่งวันนี้เราจะมาดูกันว่าสิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมในการวางแผนภาษีนั้นมีอะไรบ้าง รู้จริง เรื่องภาษี เรื่องสำคัญประการแรกที่ผู้ประกอบการต้องทำ ก็คือการศึกษาหาความรู้เรื่องภาษี ว่ากิจการของเรานั้นจะต้องเสียภาษีประเภทใดบ้าง และภาษีแต่ประเภทมีหลักเกณฑ์อย่างไร ทั้งอัตราภาษีที่ต้องจ่าย และระยะเวลาที่ในการยื่นภาษี เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ เป็นต้น ซึ่งหากผู้ประกอบการไม่มีการศึกษาเรื่องภาษีที่ดีพอ ก็มีโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดได้สูง ซึ่งอาจมีโทษทางกฎหมายและค่าปรับต่างๆ ตามมา

by KKN การบัญชี

SMEs

6 กลยุทธ์ สร้างความสำเร็จธุรกิจ SMEs

ในช่วงเวลาที่หลายๆ ธุรกิจต้องฝ่าฟันกับสภาวะเศรษฐกิจที่เต็มไปด้วยการแข่งขันนั้น ธุรกิจไหนมีกลยุทธ์ที่แข็งแกร่ง มีการบริหารจัดการที่ดี ก็มีโอกาสที่จะเติบโตได้ดังที่หวังตั้งใจ โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ที่กำลังเริ่มต้น จำเป็นต้องมีการงัด ทุกกลยุทธ์มาสร้างความสำเร็จให้กิจการไม่ว่าจะเป็น // สร้างแบรนด์ที่โดดเด่น // ให้ความสำคัญเรื่องการตลาด // สร้างกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ // พัฒนาการวางแผนภาษี // สร้างเครือข่ายพันธมิตรที่ดี // นำเทคโนโลยีมาใช้

by KKN การบัญชี

เอกสารบัญชี

ใบวางบิล/ใบแจ้งหนี้ คืออะไร

ใบวางบิลและใบแจ้งหนี้ เป็นเอกสารที่ผู้ประกอบการขายสินค้าหรือบริการ ออกให้กับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าทราบว่ามียอดหนี้ที่จะต้องชำระกี่บาท และชำระภายในวันที่เท่าไหร่ ลูกค้าจะได้ชำระหนี้ได้อย่างถูกต้อง ทุกครั้งที่มีการส่งมอบสินค้าหรือให้บริการ ผู้ประกอบการก็จะออกใบแจ้งหนี้ให้กับลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าทราบว่าจะต้องจ่ายชำระเงินจำนวนเท่าไหร่ ภายในวันที่เท่า พอถึงรอบวางบิล ผู้ประกอบการจะสรุปข้อมูลว่ามีใบแจ้งหนี้ใบไหนบ้างที่ถึงกำหนดที่ลูกค้าจะต้องชำระแล้วลงในเอกสารใบวางบิล ดังนั้นบวางบิลทำหน้าที่เป็นใบคุมว่ามีรายการใบแจ้งหนี้อะไรบ้างที่ลูกค้าจะต้องจ่ายในรอบนี้ กรณีที่มีใบแจ้งหนี้ใบเดียว ก็ไม่จำเป็นต้องจัดทำใบวางบิลก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามสอบถามลูกค้าเผื่อความชัวจะดีที่สุด

by KKN การบัญชี

Uncategorized

8 ประเภทเงินได้ที่ต้องเสียภาษี

เจ้าของกิจการหลายๆ ท่าน มีรายได้มาจากหลายช่องทาง ทั้งงานประจำ งานพิเศษ ค่านายหน้า ค่าหัวคิว ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ และรายได้จิปาถะอื่นๆ อีกมากมาย เคยทบทวนกันบ้างไหมว่ารายได้ทั้งหมดนี้ เราจ่ายภาษีครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ มาดูกันว่ารายได้ที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีให้ถูกต้องนั้นมีอยู่ทั้งหมดกี่ประเภท และมีอะไรบ้าง

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51)

ภ.ง.ด. 51 คือภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี กำหนดให้นิติบุคคลที่รอบระยะเวลาไม่น้อยกว่า 12 เดือนมีหน้าที่ต้องยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด. 51) โดยมีกำหนดระยะเวลายื่นแบบนำส่งภาษีภายใน 2 เดือนนับจากวันสิ้นสุดครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทจำกัด และห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นจะยื่นจากประมาณกำไรสุทธิ ซึ่งถ้าผู้ประกอบการประมาณกำไรสุทธิต่ำเกินกว่าร้อยละ 25 ของกำไรที่เกิดขึ้นจริงตอนสิ้นปี โดยไม่มีเหตุอันสมควรต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระ

by KKN การบัญชี

Uncategorized

กรรมการให้บริษัทกู้ยืมเงิน ต้องคิดดอกเบี้ยหรือไม่

ในเรื่องของกรรมการให้บริษัทกู้ยืมเงิน กรมสรรพากรไม่ได้มีการออกกฎบังคับให้ต้องคิดดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม ดังนั้นกรรมการจะคิดดอกเบี้ยหรือไม่คิดดอกเบี้ยก็ไม่ผิด แล้วคิดดอกเบี้ยกับไม่คิดดอกเบี้ย แบบไหนประหยัดภาษีกว่าครับ กรณีที่กรรมการใคิดดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม เวลาบริษัทจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับกรรมการจะต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 15 และนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายด้วยแบบ ภ.ง.ด.2 นั่นหมายความว่าถ้ากรรมการคิดดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมจะต้องเสียภาษี 15% ให้กับกรมสรรพากร ในส่วนนี้กรรมการสามารถเลือกให้ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% เป็น Final Tax ได้เลย ไม่ต้องนำรายได้ดอกเบี้ยไปรวมในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนสิ้นปี เมื่อบริษัทจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับกรรมการ ดอกเบี้ยจ่ายสามารถนำมาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทำให้กำไรสุทธิสำหรับคำนวนภาษีลดลงช่วยทำให้ประหยัดภาษีเงินได้นิติบุคคล 20% และช่วยทำให้กำไรสะสมลดลงทำให้ประหยัดภาษีเงินปันผลได้อีก 10% ของเงินปันผลที่จะต้องจ่าย (รวมแล้วการบันทึกดอกเบี้ยจ่ายช่วยประหยัดภาษีได้ถึง 28%)

by KKN การบัญชี

ภาษี

เปิดบริษัทต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

ข้อที่ควรรู้เกี่ยวกับภาษี ภาษีเงินได้นิติบุคคลกับภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ใช่ญาติกัน ดังนั้นในระหว่างเดือนเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว สิ้นปีก็ยังคงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลอยู่ดี ภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย คือภาษีนิติบุคคลที่บริษัทจ่ายล่วงหน้าให้กับกรมสรรพากร สิ้นปีคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้เท่าไหร่ ก็ให้นำภาษีถูกหัก ณ ที่จ่ายมาหักออก แล้วจ่ายส่วนต่างเพิ่ม กรณีภาษีถูกหักมากกว่าภาษีที่คำนวณได้สามารถขอคืนภาษีได้ (ถ้ากล้า) ภาษีมูลค่าเพิ่ม กับ ภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นญาติกัน รายได้ที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอีก หรือเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้วก็ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (เลือกเสียแค่ 1 ภาษีเท่านั้น

by KKN การบัญชี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

การขายสินค้าหรือการให้บริการที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี

โดยทั่วไปแล้วหลังจากที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักจำท่องเอาไว้ในใจเสมอว่า “ทุกครั้งที่ขายสินค้าหรือให้บริการ เราจะเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากลูกค้า และต้องออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้าเสมอ แม้ว่าลูกค้าจะไม่ต้องการก็ตาม” ในทางภาษีคำว่า ” ขาย ” หมายความว่า จำหน่าย จ่าย โอนสินค้า ไม่ว่าจะมีประโยชน์หรือค่าตอบแทนหรือไม่ จะเห็นว่าจากความหมายของขายมันดูโหดร้ายกับผู้ประกอบการมาก ยกตัวอย่างเช่น บริษัท A ในช่วงวิกฤตโควิด ได้บริจาคผ้าปากปิดโดยไม่ได้รับเงินตอบแทน ถ้ายึดนิยามคำว่าขาย จะถือว่าบริษัทได้จ่ายโอนสินค้าให้กับบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน ให้ถือเป็น “ขาย” ซึ่งจะต้องมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับกรมสรรพากร ซึ่งคงจะไม่มีคนอยากเป็นคนดีแน่ๆ ถ้าจะต้องเสียภาษีเพิ่มอีก กรมสรรพากรจึงได้กำหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี โดยออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เพื่อให้ความชัดเจนในเรื่องนี้ ซึ่งแอดมินได้รวบรวมข้อที่เกี่ยวข้องกับบริษัททั่วไปหรือที่เจอบ่อยเอาไว้ 14 ข้อ สำหรับท่านที่อยากอ่านฉบับเต็มเข้าไปดูได้ที่นี่ >> https://www.rd.go.th/3399.html

by KKN การบัญชี

เช่าซื้อ-ลิสซิ่ง

เช่าซื้อ VS ลีสซิ่ง กับประเด็นทางภาษี

เช่าซื้อ : คือการซื้อรถยนต์แบบผ่อนชำระ เมื่อผ่อนชำระหนี้ครบตามสัญญารถยนต์จะเป็นของบริษัททันที ลีสซิ่ง : คือการเช่ารถยนต์ โดยในสัญญาเช่าจะมีออฟชั่นพิเศษสามารถซื้อรถยนต์ได้ในราคาพิเศษ (ผู้เช่าจะตัดสินใจซื้อ หรือไม่ซื้อก็ได้) ในโลกของภาษีแบ่งรถยนต์ออกเป็น 2 ประเภทดังนี้ รถยนต์เชิงพาณิชย์ เช่น รถกระบะ รถบรรทุก พวกนี้เวลาซื้อขอคืนภาษีซื้อได้ และไม่มีเพดานเรื่องของการหักค่าใช้จ่าย รถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคน เช่น รถเก๋ง รถสปอร์ต รถเอสยูวี รถตู้ที่มีที่นั่งไม่เกิน10ที่นั่ง เวลาซื้อรถยนต์ไม่สามารถขอคืนภาษีซื้อได้ นอกจากนี้ยังมีการกำหนดเพดานค่าใช้จ่าย สามารถหักค่าเสื่อมราคาจากมูลค่าต้นทุนเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 1 ล้านบาทเท่านั้น โดยหักค่าเสื่อมราคาต่อปีสูงสุดได้ปีละ 200,000 บาท โดยจะต้องแบ่งหักเป็นค่าใช้จ่ายไม่น้อยกว่า 5 ปี หมายความว่าถ้าซื้อรถยนต์แบบเช่าซื้อราคา 3 ล้านบาท ก็สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายสูงสุดได้แค่ 1 ล้านบาทเท่านั้น ดังนั้นเวลาที่เราซื้อรถหรูที่ราคาเกิน 1 ล้านบาท เราก็จะรู้สึกขาดทุนที่ไม่สามารถนำมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย จึงเกิดการซื้อรถยนต์แบบลีสซิ่งขึ้นมา ลีสซิ่งถือเป็นการเช่า กรมสรรพากรได้กำหนดเพดานค่าใช้จ่ายสำหรับการเช่ารถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่งให้สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ไม่เกิน 1,200 บาทต่อวัน (หรือ 36,000 […]

by KKN การบัญชี

เอกสารทางภาษี

เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ต้องขอเอกสารอะไรคืนบ้าง

การขอเอกสารและข้อมูลการบันทึกบัญชีของกิจการคืนจากสำนักงานบัญชีเดิม เป็นเรื่องที่สำคัญมากที่ผู้ประกอบการจะต้องให้ความใส่ใจ เนื่องจากบางสำนักงานบัญชีจะทำการลบข้อมูลของลูกค้าหลังจากเลิกให้บริการ ทำให้เมื่อผู้ประกอบการไปขอข้อมูลเพิ่มในภายหลังจะไม่ได้รับข้อมูล เราดูมากันว่าจะต้องขออะไรคืนจากสำนักงานบัญชีเดิมบ้าง เอกสารประกอบการบันทึกบัญชีทั้งหมดที่เคยส่งให้กับสำนักงานบัญชี รายการบันทึกบัญชีที่กิจการได้ว่าจ้างสำนักงานบัญชี รหัสผ่านที่ใช้สำหรับยื่นภาษี ประกันสังคม และงบการเงิน โดยปกติแล้วถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงสำนักงานบัญชีใหม่ ผู้ประกอบการก็ควรที่จะขอเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีและรายการบันทึกบัญชีคืนจากสำนักงานบัญชีทุกปี เพื่อความปลอดภัยและเป็นการช่วยสำนักงานบัญชีลดภาระเรื่องสถานที่จัดเก็บเอกสาร ในการเปลี่ยนสำนักงานบัญชีใหม่ผู้ประกอบการอาจใช้วิธีร้องขอให้สำนักงานบัญชีใหม่เป็นผู้ติดต่อประสานงานกับสำนักงานบัญชีเก่าได้ และด้วยความเป็นสำนักงานบัญชีด้วยกัน การพูดคุยรายละเอียดงาน การขอเอกสารต่างๆ ก็จะเป็นไปอย่างราบรืนได้ข้อมูลที่ครบถ้วน

by KKN การบัญชี

เอกสารทางภาษี

เก็บเอกสารบัญชีจะต้องมีแฟ้มอะไรบ้าง

เนื่องจากมีผู้ประกอบการสอบถามเข้ามาว่าอยากจัดเก็บเอกสารให้เป็นระเบียบเรียบร้อย จะต้องมีแฟ้มอะไรบ้าง และแต่ละแฟ้มใช้เก็บเอกสารอะไรบ้าง ปล. เห็นแฟ้มเยอะแบบนี้ไม่ต้องตกใจนะครับแอดมิน เอาข้อมูลจากหลายๆ ที่มาจำรวมกันเลยดูเยอะมาก เอาเป็นว่าใช้เป็นแนวทางในการจัดเก็บเอกสารและปรับใช้ให้เข้ากับกิจการของตัวเองดีกว่าครับ

by KKN การบัญชี