บทความล่าสุด

บิลเงินสด

บิลเงินสด

บิลเงินสด (Cash bill) คือ เอกสารที่ผู้รับเงินออกให้เป็นหลักฐานที่แสดงว่าได้รับการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว แต่บิลเงินสดจะมีความน่าเชื่อถือน้อยกว่าในเชิงการยื่นต่อสรรพากร เพราะบิลเงินสดส่วนใหญ่มักเขียนด้วยลายมือซึ่งพิสูจน์ไม่ได้ว่าเป็นรายการของใคร มีการซื้อ – ขายเกิดขึ้นจริงหรือไม่ และการเขียนด้วยลายมืออาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย แต่หากซื้อของไม่มีบิลจะทำอย่างไรดี หรือมีเอกสารแต่ข้อมูลไม่ครบถ้วน สรรพากรออกแนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบการคือ จัดทำเอกสาร ใบสำคัญรับเงิน, ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

จ่ายค่าบริการให้ Platform ต่างประเทศ ต้องยื่นภาษีอะไรบ้าง ?

ปัจจุบันนี้กิจการต่างๆ มีรายการจ่ายค่าบริการให้กับ Platform ต่างประเทศกันเป็นเรื่องปกติ ค่าบริการหลักๆที่พบจะมีด้วยกัน 2 ค่าบริการได้แก่ ➊ ค่าโฆษณา ➋ ค่าสิทธิการใช้โปรแกรม ค่าโฆษณา เป็นเงินได้ 40 (8) นิติบุคคลที่จ่ายค่าบริการไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากร ค่าสิทธิการใช้โปรแกรม เป็นเงินได้ 40(3) นิติบุคคลเมื่อจ่ายค่าสิทธิมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรด้วยแบบ ภ.ง.ด.54 โดยอัตราหักภาษี ณ ที่จ่ายปกติจะอยู่ที่ 15% แต่อย่างไรก็ตามก่อนจ่ายเงินควรจะเช็คว่าผู้ให้บริการอยู่ในประเทศที่มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับไทยหรือไม่ เผื่อจะได้ลดอัตราหักภาษี ณ ที่จ่ายลง สำหรับในเรื่องของการยื่นแบบ ภ.พ.36 ถ้ามีบริการถูกใช้ในประเทศไทย กิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แจ้งขอมูล TAX ID กับ Platform ทาง Platform จะเรียกเก็บเฉพาะค่าบริการ (ไม่ได้เก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม) กิจการมีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.พ.36 จ่าย VAT 7% แทน Platform ต่างประเทศ และนำมาใช้เป็นภาษีซื้อได้ในเดือนถัดไป และสำหรับกิจการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม […]

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายทางภาษี

ค่าใช้จ่ายสวัสดิการค่าอาหารพนักงาน

👉 ค่าใช้จ่าย “สวัสดิการค่าอาหารพนักงาน” สามารถลงเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ 👉 ถือเป็นเงินได้ของพนักงานที่ได้รับ ต้องนำมารวมในการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย (ใช้วิธีการปันส่วนรายได้ตามจำนวนพนักงานก็ได้) 👉 ภาษีซื้อที่เกิดจากสวัสดิการค่าอาหารพนักงาน ไม่ใช่ภาษีซื้อที่เกิดจากค่ารับรองจึงไม่เป็นภาษีซื้อตองห้าม บริษัทสามารถนำภาษีซื้อไปหักกับภาษีขายได้

by KKN การบัญชี

ภาษีซื้อ

ค่าเครื่องดื่ม ชากาแฟ ที่บริษัทซื้อสามารถขอคืนภาษีซื้อจากกรมสรรพากรได้หรือไม่ ❓

มีหลักในการพิจารณาง่ายๆดังนี้ ➊ เราต้องเป็นผู้ประกอบการจด VAT (ถ้าไม่ได้จด VAT ขอคืนภาษีไม่ได้แน่นอน) ➋ ดูวัตถุประสงค์ว่าเราซื้อเครื่องดื่ม ชากาแฟ มาใช้สำหรับทำอะไร 👉 กรณีซื้อมาให้พนักงานรับประทานในระหว่างทำงาน เป็นสวัสดิการพนักงาน สามารถขอคืนภาษีซื้อจากกรมสรรพากรได้ ไม่เป็นภาษีซื้อต้องห้าม 👉 กรณีซื้อมารับรองลูกค้า ภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องกับค่ารับรองลูกค้า กรมสรรพากรบอกว่าห้ามนำมาหักกับภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อ เป็นภาษีซื้อต้องห้าม

by KKN การบัญชี

เอกสารบัญชี

ขอใบกำกับภาษีเต็มรูป 7-Eleven ง่ายๆ เพียง 1 นาที

สำหรับนิติบุคคลที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีที่เราไปซื้อสินค้าใน 7-Eleven ไม่ต้องเสียเวลารอให้พนักงานขายออกใบกำกับภาษีเต็มรูปให้อีกแล้ว ปัจจุบันนี้เราสามารถขอใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วยตัวเองเพียงไม่กี่ขั้นตอน

by KKN การบัญชี

แจกไฟล์

แจก Excel ช่วยแปลงไฟล์เป็น Text file สำหรับยื่นภาษีผ่านระบบออนไลน์ (ใช้คู่กับโปรแกรม Rd prep ของกรมสรรพากร)

มีระบบตรวจเช็คป้องกันการกรอก Tax id ผิด รองรับการยื่นแบบนำส่งภาษี ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.1ก, ภ.ง.ด.3 และ ภ.ง.ด.53 ก่อนใช้งานจะต้องเปิดการใช้งาน Macro ใน Excel ก่อนะครับ 👉 https://bit.ly/3qTmpWn (สำรอง) https://www.dropbox.com/t/U7UnsCbVZujB1Lk0

by KKN การบัญชี

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

เตือนอย่าลืมยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ภ.ง.ด.94)

ใครบ้างต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ? บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้ 40(5)-(8 ) ในระหว่างวันที่ 1 ม.ค. ถึง 30 มิ.ย. ของทุกปีเกิน 60,000 บาท สำหรับคนโสด หรือในกรณีมีคู่สมรสจะต้องมีรายได้รวมกันเกิน 120,000 บาท (นับเฉพาะเงินได้ 40(5) – (8 ) ไม่ต้องนำเงินเดือนประจำมารวมคิด) ยื่นแบบนำส่งภาษีได้ตั้งแต่เมื่อไหร่ ? สามารถยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. – 2 ต.ค. 2566 (กรณียื่นแบบทางอินเทอร์เน็ตจะยื่นได้ถึงวันที่ 9 ต.ค. 2566) *กรณีไม่ยื่นแบบโทษปรับ 2,000 บาท และมีดอกเบี้ย อัตรา 1.5% ต่อเดือน*

by KKN การบัญชี

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ถูกรางวัลชิงโชคดีใจเมื่อได้รับ แต่เศร้าใจเมื่อโดนภาษีย้อนหลัง

ผู้ถูกรางวัลชิงโชคส่วนใหญ่มักคิดว่าเมื่อได้รับรางวัลชิงโชค แล้วโดนหักภาษี ณ ที่จ่าย 5% ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการเสียภาษีให้กรมสรรพากรเรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องทำอะไรอีกเพราะจ่ายภาษีไปแล้ว สิ่งที่ถูกต้องคือ เงินได้จากการถูกรางวัลชิงโชค เป็นเงินได้ประเภทที่ 8 ผู้มีเงินได้มีหน้าที่นำรายได้ดังกล่าวมายื่นภาษีประจำปีด้วย แม้จะเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 แต่ไม่สามารถเหลือหักค่าใช้จ่าย 60% ได้ ต้องหักค่าใช้จ่ายตามจริงเท่านั้น แต่ส่วนใหญ่ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะเป็น 0 เพราะการถูกรางวัลชิงโชคมักไม่มีต้นทุน

by KKN การบัญชี

แจกไฟล์

แบบฟอร์มหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย

แบบฟอร์มหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) ในรูปแบบ Excel file สะดวกและกรอกง่ายกว่า Pdf file มากเลยครับ Download เก็บไว้ใช้ได้เลยครับ https://www.iliketax.com/download/wht50.xlsx (สำรอง) https://bit.ly/3s23usl ขอบคุณไฟล์จากคุณอธิฐ สุทธิปัญโญ

by KKN การบัญชี

ทั่วไป

วิธีการตรวจสอบข้อมูลบริษัท ก่อนตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

ช่วงนี้มิจฉาชีพระบาดหนักมาก มาในหลายรูปแบบ และล่าสุดได้มาในรูปแบบของการเป็นบริษัทเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ และหลอกให้ทำงานออนไลน์ เป็นงาน “คอนเฟิร์มออเดอร์” เราจะต้องทำการใส่เงินเข้าไปในระบบจากนั้นทำการคอนเฟิร์มสินค้า เมื่อทำถึงจำนวนที่กำหนดก็เสร็จสิ้นภารกิจได้จะรับเงินรางวัล โดยน้องผู้เสียหายให้แอดมินช่วยตรวจสอบให้หน่อยว่าบริษัทนี้มีตัวตนจริงหรือไม่ เมื่อตรวจสอบก็พบว่าเป็นบริษัทที่ปิดงบการเงินเปล่าไม่ได้มีรายได้จากการประกอบธุรกิจ ซึ่งแอดมินก็ไม่รู้ว่าบริษัทที่ตรวจสอบใช่บริษัทนั้นจริงหรือไม่ หรือถูกแอบอ้างชื่อมาอีก

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ง่ายนิดเดียว

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คือ ภาษีที่ต้องจ่ายไปในทันทีเมื่อเรามีรายได้ โดยกรมสรรพากรกำหนดให้่นิติบุคคลผู้จ่ายเงินได้ เป็นผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งภาษีที่หัก ณ ที่จ่ายให้กรมสรรพากร แทนผู้มีเงินได้ คำถามที่พบบ่อยคือ ถ้าผู้ให้บริการไม่ยอมทำให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ทำอย่างไร? ตอบ : ถ้าผู้จ่ายเงินได้ไม่สามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ ก็ต้องควักเงินจ่ายเอง สำหรับเรื่องหักภาษี ณ ที่จ่ายกี่ % นำส่งด้วยแบบอะไร โพสนี้มีเคล็ดลับในการช่วยจำครับไปดูกันได้เลยครับ

by KKN การบัญชี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

Tax point ของภาษีมูลค่าเพิ่ม

จุดความรับผิดชอบในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (Tax Point) หมายถึง จุดที่เกิดภาระทางภาษี ซึ่งก่อให้เกิดสิทธิเและหน้าที่ สิทธิ ในการเรียกเก็บ VAT จากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ หน้าที่ ในการจัดทำใบกำกับภาษีขายเพื่อส่งมอบให้แก่ลูกค้า พร้อมทั้งจัดทำรายงานภาษีขายและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่กรมสรรพากร 🙂 เรามาดูกันครับว่า Tax point ของภาษีมูลค่าเพิ่มมีอะไรกันบ้าง

by KKN การบัญชี

แจกไฟล์

แบบยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ภ.ง.ด.94 แบบผูกสูตร)

https://www.iliketax.com/download/pit942566.pdf (สำรอง) https://www.dropbox.com/t/LOgvWoW8v4X1laBD ผมแนะนำให้ยื่นภาษีผ่านระบบ E-Filing ครับสะดวกกว่าการยื่นแบบด้วยกระดาษมากครับ ไฟล์นี้สำหรับกรอกเพื่อคำนวณภาษีก่อนยื่น Online ครับ ปล. ใช้โปรแกรม Adobe acrobat dc (Version ฟรี) เปิดจะใช้งานได้เติมประสิทธิภาพครับ

by KKN การบัญชี

แจกไฟล์

แบบยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51 แบบผูกสูตร)

https://www.iliketax.com/download/cit512566.pdf (สำรอง) https://www.dropbox.com/t/z6zMgVpeLRzzvOal ผมแนะนำให้ยื่นภาษีผ่านระบบ E-Filing ครับสะดวกกว่าการยื่นแบบด้วยกระดาษมากครับ ไฟล์นี้สำหรับกรอกเพื่อคำนวณภาษีก่อนยื่น Online ครับ ปล. ใช้โปรแกรม Adobe acrobat dc (Version ฟรี) เปิดจะใช้งานได้เติมประสิทธิภาพครับ

by KKN การบัญชี

เอกสารทางภาษี

ซื้อของจาก Shopee Lazada แล้วไม่ได้รับใบเสร็จ ทำอย่างไร

1)จัดทำเอกสารใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน 2)แนบหลักฐานการสั่งซื้อสินค้า + รูปถ่ายสินค้า + หลักฐานการจ่ายชำระเงิน วิธีนี้สามารถนำไปใช้กับการซื้อสินค้าแล้วผู้ขายไม่ออกใบเสร็จได้ทุกกรณีเลยครับ ไม่จำกัดเฉพาะการซื้อของจาก Shopee Lazada เท่านั้น เอกสาร “ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน” จะใช้แก้ไขปัญหากรณีที่กิจการซื้อสินค้าหรือบริการ แล้วผู้ขายสินค้าไม่ได้ออกเอกสารหลักฐานการจ่ายชำระค่าสินค้าหรือบริการให้ เช่น ไม่ออกใบเสร็จรับเงิน กรณีที่เป็นการจ่ายค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดจำนวนเงินไม่เยอะ เช่น ค่าแมสเซนเจอร์ส่งเอกสาร 50 บาท ผู้ประกอบการสามารถเขียนรายการจ่ายค่าใช้จ่ายลงในเอกสาร “ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงินได้เลย” ไม่จำต้องแนบเอกสารอะไรเพิ่มเติม แต่ถ้าเป็นกรณีที่เป็นสินค้าหรือบริการที่มีมูลค่าสูง กิจการจะต้องแนบเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อให้เจ้าหน้าที่พิสูจน์ได้ว่ากิจการมีการซื้อสินค้าและได้จ่ายเงินไปจริง เช่น หลักฐานการสั่งซื้อสินค้า, หลักฐานการได้รับเสินค้าหรือบริการ เช่น รูปถ่ายสินค้า, หลักฐานการจ่ายชำระเงิน เช่น Slip โอนเงิน เป็นต้น ใครอยากได้แบบฟอร์มใบรับรองแทบใบเสร็จรับเงิน (Excel File) >> bit.ly/3Ilw0tf (สำรอง) www.dropbox.com/t/QtE8MHU8Ifvt4zMR

by KKN การบัญชี

ทั่วไป

3 เรื่องที่บริษัทจำกัดมักจะทำผิด

บริษัทจำกัดในประเทศไทยส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นกิจการในครอบครัว หรือมีผู้ถือหุ้นใหญ่คนเดียว (ถือหุ้น 99.99% ทีเหลือถือคนละ 1 หุ้น) ทำให้ในบางเรื่องละเลยไม่ได้สนใจ เพราะถือว่าเราเป็นเจ้าของบริษัท แอดมินได้นำ 3 เรื่องที่บริษัทจำกัดส่วนใหญ่มักจะทำผิด ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเล็กน้อยแต่ค่าปรับแสนแพง ซึ่งการทำให้ถูกต้องไม่ได้เสียเวลาเท่าไหร่ ดังนั้นถ้าใครมีเวลาว่างก็ทำให้ถูกต้องด้วยนะครับ แบบฟอร์มใบหุ้น >> https://www.dropbox.com/t/VKKBqrWsO4uKjgSG แบบฟอร์มสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น >> https://www.dropbox.com/t/LX2bLdjeb9KsRO9A

by KKN การบัญชี

ทั่วไป

เปิดบริษัท จำเป็นต้องมีเงินจริงหรือไม่

ในขั้นตอนจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทที่กรมพัฒน์ ผู้ประกอบการไม่ต้องนำเงินไปโชว์กับเจ้าหน้าที่ว่าตนเองมีเงินจริงตามทุนจดทะเบียนที่ระบุไว้ เจ้าหน้าที่จะเชื่อเอกสาร “ใบสำคัญรับชำระเงินค่าหุ้น” ที่ผู้ก่อการจัดทำขึ้นมา ถ้าเอกสารใบนั้นระบุว่าผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นเรียบร้อยก็คือว่าชำระแล้ว ยกเว้นกรณีต่อไปนี้ เจ้าหน้าที่จะขอให้ผู้ถือหุ้นแสดงหลักฐานว่ามีเงินจริง 1. ทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาท 2. มีชาวต่างชาติมาร่วมถือหุ้นในบริษัท (อันนี้กลัวว่าคนไทยจะเป็นนอมินี) ถ้าเข้า 2 กรณีนี้ ผู้ถือหุ้นจะต้องไปให้ธนาคารออกเอกสารหนังสือยืนยันยอดเงินคงเหลือในบัญชีมาเป็นเอกสารประกอบการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบว่ามีเงินในบัญชีมากกว่าเงินที่จะต้องชำระค่าหุ้นตามสัดส่วนหรือไม่

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ได้เงินปันผลจากหุ้นยื่นภาษีอย่างไร ให้ประหยัดภาษี

เรื่องของรายได้เงินปันผล ถ้าคุณรู้จักการคำนวณภาษีเงินปันผลแบบใช้เครดิตภาษีเงินปันผลจะช่วยทำให้คุณประหยัดภาษีได้ และสำหรับคนที่มีรายได้น้อย คุณจะได้ภาษีคืนมากกว่าภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่โดนหักจากการได้รับรายได้เงินปันผลอีกด้วย สาเหตุมาจาก “เงินปันผล” ที่ผู้ถือหุ้นได้รับนั้นมาจากกำไรของบริษัท ซึ่งได้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไปเรียบร้อยแล้ว เมื่อผู้ถือหุ้นได้รับเงินปันผลยังถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายอีก 10% ซึ่งตามกฎหมายถือเป็นการเสียภาษีซ้ำซ้อนจากกำไรก้อนเดียวกัน ภาครัฐจึงอนุญาตให้นักลงทุนขอ “เครดิตภาษีเงินปันผล” คืนได้ ในโพสนี้ผมได้ทำตัวอย่างเปรียบเทียบการคำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเทียบกับระหว่าง 2 ทางเลือกคือ 1. ไม่นำรายได้เงินปันผลมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี (ใช้ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% เป็น Final tax เลย) 2. นำรายได้เงินปันผลมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี และใช้เครดิตภาษีเงินปันผล หมายเหตุ: ถ้าบริษัทที่จ่ายเงินปันผลได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล (เช่น กิจการที่ได้รับสิทธิ BOI) ก็จะไม่มีเครดิตภาษีเงินปันผลครับ

by KKN การบัญชี

ผู้ประกอบการ

ขายของใน Shopee Lazada ยื่นรายได้ไม่ครบระวังภาษีย้อนหลัง

เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมามีผู้ประกอบการติดต่อเข้ามาว่าได้รับจดหมายเรียกตรวจสอบภาษีย้อนหลังของปี 61 และ 62 ซึ่งผู้ประกอบการได้เข้าไปพบเจ้าหน้าที่เรียบร้อยแล้ว สาเหตุมาจากรายได้ที่ยื่นภาษีในระบบกรมสรรพากร น้อยกว่าข้อมูลรายได้ที่ทาง Shopee Lazada ส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากร จริงๆ เรื่องนี้แอดมินเคยโพสเตือนตั้งแต่เมื่อ 2-3 ปีก่อนแล้วว่าทาง Platform ขายของออนไลน์ส่วนใหญ่ใช้ระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และความน่ากลัวของใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์คือทุกครั้งที่ส่งใบกำกับภาษีให้กับร้านค้า จะส่งข้อมูลดังกล่าวให้กับกรมสรรพากรด้วย ดังนั้น กรมสรรพากรจะมีข้อมูลว่าร้านค้าแต่ละร้านค้าเสียค่าคอมฯ ค่าธรรมเนียมให้ Platform ทั้งหมดกี่บาทต่อปี ถ้ากรมสรรพากรอยากรู้ว่าแต่ละร้านมีรายได้กี่บาทก็แค่คำนวณกลับเป็นรายได้ก็เท่านั้น เชื่อว่าจากนี้อีก 2-3 เดือนน่าจะมีผู้ประกอบการได้รับจดหมายกันเยอะขึ้นเรื่อยๆ ใครที่หนีภาษีอยู่ อย่าคิดว่าตัวเองจะรอดนะครับ เจ้าหน้าที่แค่ทำงานช้าเฉยๆๆ (ตอนนี้ปี 66 เพิ่งเรียกตรวจปี 61, 62 ถ้าใครโดนนี่เบี้ยปรับเงินเพิ่มล้มละลายกันเลยทีเดียว) ใครที่หนีภาษีอยู่แอดมินแนะนำว่าควรรีบวางแผนเสียภาษีให้ถูกต้องจะดีที่สุดครับ 😀

by KKN การบัญชี

ทั่วไป

งบการเงินแบบนี้ เสี่ยงโดนเรียกตรวจสอบภาษีย้อนหลัง

หลังจากแอดมินวุ่นๆ กับการตรวจสอบบัญชีให้กับลูกค้า ก็ได้จัดทำโพสนี้ขึ้นมาเป็นตัวอย่างงบการเงินที่มีความน่ากลัวและเสี่ยงที่จะโดนเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรเรียกตรวจสอบภาษีย้อนหลัง ผู้ประกอบการอย่าลืมตรวจสอบงบการเงินของบริษัทตัวเองก่อนยื่นงบกับหน่วยงานราชการนะครับ

by KKN การบัญชี

50 ทวิ
Bitcoin
DBD Registered
e-filing
LTF
SME
SMEs
TFRS16
Uncategorized
Voucher
กท.20 ก
กรมสรรพากร
กองทุนรวม
ก่อสร้างอาคารบนที่ดินของกรรมการ
การขอรับบริจาค
การจัดสรรกำไรสะสม
การตัดหนี้สูญ
การบริจาค
การบันทึกบัญชีเงินสดรับ-จ่าย
การประมาณการกำไรสุทธิขาดไป
การลงทุน
การลงประกาศหนังสือพิมพ์
การลดหย่อนบริจาคทั่วไป
การเช่า
กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กิจการร่วมค้า และกิจการค้าร่วม
กิจการเพื่อสังคม
กิจการโรงแรม
ขนส่ง
ขอคืนเงินประกันไฟฟ้า
ขายกิจการ
ขายสินค้าต่ำกว่าทุน
ขายสินค้าส่งออกไปต่างประเทศ
ขายหนังสือแถมคอร์สเรียนออนไลน์
คริปโทเคอร์เรนซี
ความเสี่ยง-ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ความเสี่ยงของกิจการ
ค่าขนส่ง
ค้าขายออนไลน์
ค่าตรวจสุขภาพ
ค่าปรับ
ค่ารักษาพยาบาล
ค่ารับรอง
ค่าสินไหมทดแทน
ค่าเช่า
ค่าเช่ารับล่วงหน้า
ค่าเบี้ยประกันชีวิต
ค่าเสื่อมราคา
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายของกิจการ
ค่าใช้จ่ายทางภาษี
ค่าใช้จ่ายในการอบรม
งบการเงิน
งบการเงินส่วนบุคคล
จดทะเบียน
จดทะเบียนเพิ่มสาขา
จดภาษีมูลค่าเพิ่ม
จัดตั้งบริษัท
จ้างงานผู้สูงอายุ
จ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ
จ้างเด็กจบใหม่
ช้อปดีมีคืน
ดอกเบี้ยค้างรับ
ตราประทับ
ทรัพย์สิน
ทั่วไป
ทำประกันให้พนักงาน
ธุรกรรม
ธุรกิจขนส่ง
บริจาค
บริษัท กับ กรรมการ
บัญชีและภาษี
บิลเงินสด
ประกัน keyman
ประกันCovid-19
ประกันสังคม
ประชุมบริษัท
ประเภทเช็ค
ผลขาดทุน
ผู้ถือหุ้น
ผู้ประกอบการ
พร้อมเพย์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ฟรีแลนซ์
ภ.ง.ด. 1ก
ภ.ง.ด.1 ก
ภ.ง.ด.54
ภ.พ.36
ภาษี
ภาษี e-Service
ภาษีDropship
ภาษีกองทุนตราสารหนี้
ภาษีกับการออกจากงาน
ภาษีการรับมรดก
ภาษีของแพทย์
ภาษีขาย
ภาษีซื้อ
ภาษีซื้อต้องห้าม
ภาษีดอกเบีี้ย
ภาษีที่ดิน
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีนำเข้าสินค้า
ภาษีป้าย
ภาษีฟรีแลนซ์
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีรถยนต์
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีอากร
ภาษีอากรนำเข้า
ภาษีอีเพย์เมนต์
ภาษีเงินปันผล
ภาษีเงินได้จากการรับให้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ภาษีโรงแรม
มาตรการผู้กู้ยืม กยศ.
มูลค่าต้นทุน
ย้ายกิจการ
ยื่นแบบ
ยื่นแบบอย่างไรให้ประหยัดค่าปรับที่สุด
รถยนต์นั่ง
รถแลกเงิน
ระบบรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
ร้านกาแฟ-เสียภาษี
รายจ่ายค่าซ่อมแซม
รายจ่ายจริง
รายจ่ายต้องห้าม
รายได้อื่น
ลดหย่อนทางภาษี
ลดหย่อนภาษี
ลาออกจากงาน
วงจรเงินสด
วางระบบบัญชี
วางแผนภาษี
ศุลกากร
ส่งสินค้าทางไปรษณีย์
ส่งเสริมการขาย
สต็อกสินค้า
สรุปประเด็นภาษี
ส่วนลดกาาค้าและส่วนลดเงินสด
สวัสดิการพนักงาน
สวัสดิการอาหารพนักงาน
สัญญาขายฝาก
สัญญาซื้อ
สัญญาฝากทรัพย์
สัญญายินยอม
สัญญาเช่า
สัญญาเช่าที่ดิน
สำนักงานบัญชี
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
หนี้สิน
อั่งเปา
อากรแสตมป์
เกษตรกับวิธีเสียภาษี
เครื่องบันทึกการเก็บเงิน
เคลมภาษีซื้อ ค่าอบรม
เงินกู้ยืมกรรมการ
เงินค่าฝึกอบรม
เงินชดใช้ค่าเสียหาย
เงินทดรองจ่าย
เงินบำนาญชราภาพ
เงินบำเหน็จ
เงินปันผล
เงินมัดจำ
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
เงินสมทบประกันสังคม
เงินสำรองจ่าย
เงินเรียกเก็บล่วงหน้าจากการขายสินค้า
เงินได้พนักงาน
เงินได้พึงประเมิน
เช่าซื้อ-ลิสซิ่ง
เบี้ยประกัน
เบี้ยปรับ
เปิดบริษัท
เราเที่ยวด้วยกัน
เลขประจำตัวผู้เสียอากร
เลิกทำธุรกิจ
เสน่หากับภาษ๊
เอกสารการเบิกจ่ายเงิน
เอกสารทางภาษี
เอกสารบัญชี
แจกไฟล์
แรงงานต่างด้าว
โครงการคนละครึ่ง
โทษปรับ
ใบกำกับภาษี
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
ใบลดหนี้
ใบลดหนี้และใบเพิ่มหนี้
ใบสำคัญจ่าย
ใบหุ้น
ใบเสนอราคา
ใบเสร็จรับเงิน