views

ทำความรู้จักกับ “อากรแสตมป์”

อากรแสตมป์ไม่ใช่แสตมป์ไปรษณีย์

ตราสารที่จะต้องติดอากรแสตมป์ ได้แก่ สัญญาเช่าโรงเรือน, เช่าซื้อทรัพย์สิน,จ้างทำของ, เงินกู้
โดยผู้ให้เช่า ผู้โอน ผู้ให้กู้ ผู้รับจ้างจะต้องเป็นผู้ติดอากรแสตมป์

อัตราภาษี
มูลค่าสัญญา 1,000 บาท ติดอากรแสตมป์ 1 บาท
ยกเว้นสัญญาเงินกู้มูลค่าสัญญา 2,000 บาทติดอากรแสตมป์ 1 บาท (ติดสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท)
ค่าปรับ
6 เท่าของอากรแสตมป์ที่จะต้องติด
* ติดอากรแสตมป์เสร็จอย่างลืมขีดฆ่าป้องกันการนำกลับมาใช้อีก ถ้าไม่ขีดฆ่าก็โดนปรับ

สัญญาจ้างทำของ คือ สัญญาที่ผู้รับจ้างตกลงทำการงานสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้กับผู้ว่าจ้าง โดยผู้ว่าจ้างตกลงให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จของงานนั้น

ตัวอย่างการคำนวณอากรแสตมป์
บริษัท เอ จำกัด ประกอบธุรกิจหอพักให้เช่า ได้มีการทำสัญญาให้เช่าห้องพักกับนายสมชาย ในอัตราปีละ 100,000 บาท โดยทำสัญญา 1 ปี
บริษัทฯ จะต้องติดอากรแสตมป์ที่สัญญากี่บาท

ฐานภาษี (รายได้ค่าเช่า)100,000 บาท
อัตราภาษี1,000 ละ 1 บาท
ต้องติดอากรแสตมป์100 บาท

ใบเสนอราคาต้องติดอากรแสตมป์หรือไม่

เอกสารใบเสนอราคาและใบสั่งซื้อที่มีการลงลายมือชื่อผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง ถือว่าเป็นตราสารจ้างทำของจะต้องติดอากรแสตมป์

ถ้าไม่มีการเซ็นชื่อก็ไม่จำเป็นต้องติดอากรแสตมป์ แต่เวลาขึ้นศาลก็จะถือว่าสัญญาดังกล่าวไม่สมบูรณ์ (ชีวิตต้องเลือกระหว่างเสี่ยงโดนโกงหรือจะต้องติดอากรแสตมป์)


February 4, 2021
by KKN การบัญชี

- ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต
- อาจารย์พิเศษให้กับสถาบันของรัฐและเอกชน


บทความที่น่าสนใจ