views

ร้านกาแฟสด เสียภาษีอย่างไร

ในขั้นตอนการเตรียมธุรกิจร้านกาแฟเรามีการซื้อวัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือในการเปิดร้านกาแฟจะต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องของภาษีดังต่อไปนี้

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าจะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือไม่ก็ตาม
  • ผู้ประกอบการต้องเก็บใบกำกับภาษีเอาไว้เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีที่เราเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน) และ เพื่อเป็นหลักฐานในการรับรู้รายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้
  • หมายเหตุ ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนเราต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อและรายงานสินค้าและวัตถุดิบด้วย

ภาษีศุลกากร

หากเรามีการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการประกอบธุรกิจเราก็มีหน้าที่ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งจะมีขั้นตอนดังนี้

  • เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรกเท่านั้น)
  • ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้องศึกษาเรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติมตามแต่ละประเภทของสินค้าที่เรานำเข้ามาด้วย

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

หากร้านมีการจ้างลูกจ้างมีการเช่าสถานที่ตั้งร้าน หรือจ่ายซื้อแฟรนไชส์ ก็ต้องมีหน้าที่หักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายด้วย

  • การจ้างลูกจ้างในกรณีที่เรามีลูกจ้างเราต้องทำการเสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป ที่เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ
  • การจัดหาสถานที่ตั้งผู้เช่าที่เป็นนิติบุคคลเมื่อจ่ายค่าเช่ามีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
  • การจ่ายค่าแฟรนไชส์ ผู้จ่ายที่เป็นนิติบุคคลเมื่อจ่ายค่าแฟรนไชส์ให้แก่ผู้รับที่เป็นนิติบุคคล มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย จากเจ้าของแฟรนไชส์ในฐานะเป็นเจ้าของสิทธิแฟรนไชส์

เมื่อเริ่มเปิดร้านและมีรายได้ก็ต้องมีภาษีเกิดขึ้น

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม และออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อ
  • มีหน้าที่จัดทำ
    • รายงานสินค้าและวัตถุดิบรายงานภาษีขายรายงานภาษีซื้อ
    • และยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง ได้แก่

  • ครั้งแรกขึ้นตามแบบภ. ง. ด. 94 ในเดือนกรกฎาคม – กันยายน สำหรับเงินได้ในเดือนมกราคม – มิถุนายน
  • ครั้งที่ 2 ขึ้นตามแบบภ. ง. ด. 90 ในเดือนมกราคม-มีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ในเดือนมกราคม – ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่ายครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ในครั้งที่ 2

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

เราต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยต้องยื่นแบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือทางอินเทอร์เน็ตปีละ 2 ครั้ง ได้แก่

  • ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีอื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับแต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
  • ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชีอื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยนำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี


February 9, 2021
by KKN การบัญชี

- ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต
- อาจารย์พิเศษให้กับสถาบันของรัฐและเอกชน


บทความที่น่าสนใจ