ผลลัพท์การค้นหา

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

เจ้าของบ้านไม่ให้หัก ณ ที่จ่าย + ไม่อยากมีข้อมูลรายได้ในระบบกรมสรรพากรด้วย 😂 ทำอย่างไรดี???

วันนี้แอดมินมีแนวทางมาช่วยแก้ปัญหาสำหรับผู้ประกอบการที่เจอปัญหาเจ้าของบ้านหรือเจ้าของตึกที่เราต้องการจะเช่าต้องการหนีภาษีแบบสุดซอย ท่านใดมีไอเดียอื่นลองเสนอแนะนำเพิ่มมาได้นะครับ

by KKN การบัญชี

ภาษีนำเข้าสินค้า

สรุปนำเข้าสินค้า (บัญชี+ภาษี)

📌สรุปนำเข้าสินค้า (บัญชี+ภาษี) มีลูกเพจท่านหนึ่ง Inbox มาสอบถามเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ว่าจะต้องบันทึกบัญชีเมื่อไหร่ เงื่อนไขการค้าแต่ละประเภทคืออะไร และมีประเด็นภาษีอะไรบ้างที่ต้องระมัดระวัง แอดมินเลยไปยำ Slide ที่เกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าที่เคยทำในอดีตมารวมกันอยู่โพสนี้ครับ

by KKN การบัญชี

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

รู้หรือไม่❓ ฟรีแลน์ซ์โดนหักภาษี ณ ที่จ่าย สามารถขอคืนภาษีได้นะ

เวลาฟรีแลนซ์รับจ้างทำงานให้กับบริษัทต่างๆ เมื่อบริษัทจ่ายชำระเงินค่าบริการให้กับฟรีแลนซ์ ส่วนใหญ่แล้วฟรีแลนซ์จะได้รับเงินไม่เต็มจำนวนค่าบริการที่ตกลงกันไว้ เนื่องจากโดนหักภาษีเงินได้ ณ ที่่จ่ายเอาไว้บางส่วน เมื่อบริษัทหักภาษี ณ ที่จ่ายจะส่งหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้กับฟรีแลนซ์ เป็นเอกสารใบเล็กๆ มา 1 ใบเรียกว่า “หนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)” แอดมินแนะนำให้เก็บรวบรวมหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ที่ได้รับจากผู้ว่าจ้างในระหว่างปี จากนั้นมารวมยอดข้อมูลรายได้ และภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย ที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อเป็นข้อมูลในการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี สำหรับฟรีแลนซ์ที่มีรายได้ไม่สูงนัก มักจะได้ภาษีที่ถูกหักเอาไว้คืนจากกรมสรรพากร (ในส่วนนี้แอดมินลองคำนวนแล้วถ้ารายได้ไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี เวลายื่นภาษีมักจะได้ภาษีที่โดนหัก ณ ที่จ่ายไว้อื่น)

by KKN การบัญชี

ภาษี

นำสินค้าไปบริจาค กระทบภาษีและบันทึกบัญชีอย่างไร

ในช่วงวิกฤตโควิดนี้ มีหลายกิจการอยากที่จะมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือสังคม โดยการบริจาคสินค้าของกิจการให้กับหน่วยงานต่างๆ เช่น โรงพยาบาลของรัฐ แต่ก็มีความกังวลว่าบริษัทไปแล้วจะมีภาษีอะไรบ้างที่กิจการจะต้องให้ความระมัดระวัง รวมถึงในเรื่องของการบันทึกบัญชีและตัดสต็อกจะต้องทำอย่างไร วันนี้แอดมินมาสรุปประเด็นเกี่ยวกับการบริจาคสินค้าให้ครับ

by KKN การบัญชี

e-filing

พร้อมรึยังกับระบบ E-FILING ใหม่ของกรมสรรพากร

ในฐานะนักบัญชีบอกเลยว่า “น่าจะมีแบบนี้ตั้งนานแล้ว” สิ่งที่นักบัญชีทั้งหลายเรียกร้องกันมาอยู่ในระบบ E-FILING ใหม่นี้แล้ว 👉 รองรับการยื่นแบเกินกำหนดเวลา (คำนวนเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม ค่าปรับอาญาอัตโนมัติอีกด้วย) 👉 ยกเลิกการยื่นแบบได้ (ระบบนี้ให้ 5 ดาวเลย เชื่อว่านักบัญชีต้องเคยเจ็บช้ำกับการยื่นแบบผิดแต่ไม่สามารถยกเลิกได้กันมาแล้ว) รอใช้ระบบใหม่กันได้ในเดือนตุลาคมนี้ครับ

by KKN การบัญชี

โทษปรับ

ทำผิดพระราชบัญญัติการบัญชี ระวังโทษปรับหรือจำคุก

📌ทำผิดพระราชบัญญัติการบัญชี ระวังโทษปรับหรือจำคุก สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเปิด “บริษัท” คือเรื่องของการจัดทำบัญชี และในการจัดทำบัญชีนั้นมีกฏหมายที่เกี่ยวข้องอยู่นักบัญชีรวมถึงผู้บริหารของกิจการคือ พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2547 วันนี้แอดมินเลยถือโอกาสมาสรุปบทลงโทษที่สำคัญให้กับทุกคนทราบจะได้ไม่ทำผิดกันครับ

by KKN การบัญชี

ภาษี e-Service

สรุปภาษี e-Service แบบเข้าใจง่าย

📌สรุปภาษี e-Service แบบเข้าใจง่าย 100 บาท” เป็นการสมมุติว่าถ้าทาง Platform เรียกเก็บค่าบริการ 100 บาท เราจะต้องจ่ายค่าบริการกี่บาท ( อย่าเข้าใจผิดว่าเก็บค่าบริการเพิ่ม 100 บาททุกเดือนนะครับ) สำหรับรายชื่อผู้ให้บริการ Platform ต่างประเทศที่จดทะเบียน VAT แล้ว เช็คได้ที่นี่ครับ : https://eservice.rd.go.th/rd-ves-web/search/company…

by KKN การบัญชี

ยื่นแบบอย่างไรให้ประหยัดค่าปรับที่สุด

ไม่มีเงินจ่าย VAT ต้องยื่นแบบอย่างไรให้ประหยัดค่าปรับที่สุด

ในช่วงโควิดแบบนี้ เชื่อว่ามีผู้ประกอบการหลายท่านที่เริ่มหมุนเงินไม่ทัน จึงเกิดคำถามว่า ถ้าไม่ยื่นภาษีค่าปรับเยอะมั้ย และยื่นแบบไหนถึงจะช่วยประหยัดค่าปรับมากที่สุด ในส่วนนี้ผมจึงได้กำหนดข้อมูลของกิจการแห่งหนึ่งขึ้นมาเพื่อเปรียบเทียบค่าปรับดังนี้ ยอดขาย 100,000 บาท ภาษีขาย 7,000 บาทยอดซื้อที่มีสิทธิขอคืนภาษีซื้อ 70,000 บาท ภาษีซื้อ 4,900 บาทโดนเจ้าของกิจการไม่มีจ่ายชำระค่าภาษีและจะมาชำระในอีก 6 เดือนต่อมา สิ่งที่ผมตกใจจากการจำลองข้อมูลก็คือ “ยื่นแบบเปล่า” ค่าปรับภาษีเยอะกว่าการไม่ยื่นแบบอีก สำหรับใครที่อยากรู้ว่าค่าปรับกี่บาท ผมมีไฟล์ ภ.พ.30 ที่ผูกสูตรคำนวนเบี้ยปรับ เงินเพิ่มอัตโนมัติพัฒนาโดยนายอธิฐ สุทธิปัญโญ www.iliketax.com/download/pp30.pdf

by KKN การบัญชี

ยื่นแบบ

การยื่น ภ.พ.36 และ ภ.ง.ด.54 [แบบหัก ณ ที่จ่าย] และ [แบบออกแทน]

เมื่อมีการจ่ายเงินออกนอกประเทศตาม ม.70 แห่งประมวลรัษฎากร แบบยื่นฯ ที่หลายคนคิดถึงคงหนีไม่พ้น ภ.พ.36 และ ภ.ง.ด.54 แบบ ภ.พ. 36 คืออะไร?คือแบบที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ที่พิเศษก็คือผู้จ่ายค่าสินค้าหรือบริการจะเป็นผู้ยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มแทน เนื่องจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการไม่ได้เข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทย โดยต้องยื่นแบบ ภ.พ.36 ไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป แบบ ภ.ง.ด. 54 คืออะไร?ทุกครั้งที่นิติบุคคลจ่ายเงินได้ประเภท 40(2) – (6) ให้กับนิติบุคคลที่ตั้งตามกฏหมายต่างประเทศจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรโดยการหักภาษี ณ ที่จ่ายจะแบ่งเป็น 2 กรณีดังนี้ – เงินได้พึงประเมิณ 40(2) – 40(6) หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% – เงินได้พึงประเมิณ 40(4) – เงินปันผล หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% หลังจากหักภาษี ณ ที่จ่าย เราก็มีหน้าที่นำส่งภาษีหัก […]

by KKN การบัญชี

เงินได้พนักงาน

สวัสดิการที่ไม่ถือเป็นเงินได้ของพนักงาน

อยากให้สวัสดิการพนักงาน หรืออยากวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ยังไม่แน่ใจว่าสวัสดิการไหน เมื่อพนักงานได้รับจะไม่ถือเป็นประโยชน์ส่วนเพิ่มของพนักงาน (ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา) วันนี้แอดมินรวบรวมมาให้เพื่อเป็นไอเดียเบื้องต้นครับ

by KKN การบัญชี

แจกไฟล์

ไฟล์แบบ + คำนวนค่าปรับ เงินเพิ่ม

📌 ไฟล์แบบ + คำนวนค่าปรับ เงินเพิ่ม ภ.พ.30 : www.iliketax.com/download/pp30.pdf ภ.พ.36 : www.iliketax.com/download/pp36.pdf ภ.ง.ด.1 : www.iliketax.com/download/pnd1.pdf ภ.ง.ด.3 : www.iliketax.com/download/pnd3.pdf ภ.ง.ด.53 : www.iliketax.com/download/pnd53.pdf ภ.ธ.40 : www.iliketax.com/download/pt40.pdf ปล. แอดมินก็เกือบพลาดเหมือนกันนึกว่าจ่ายได้ถึงสิ้นเดือน ดีที่ไหวตัวทันตอน 3 ทุ่มกว่าของวันที่ 30

by KKN การบัญชี

เงินสมทบประกันสังคม

แจกไฟล์นำส่งเงินสมทบประกันสังคม (แบบผูกสูตร)

ไฟล์นี้จะช่วยอำนวยความสะดวกในการกรอกแบบนำส่งเงินสมทบประกันสังคม เพราะสามารถคำนวนยอดเงินสมทบในส่วนของนายจ้างและลูกจ้างได้แบบอัตโนมัติ พิเศษเข้าไปอีกมีการออกแบบในส่วนของการระบุ % เงินสมทบของลูกจ้าง และนายจ้างแยกออกจากกัน ให้สอดคลองกับอัตรานำส่งเงินสมทบประกันสังคมในช่วงโควิด www.iliketax.com/download/sso.pdf *แนะนำให้ใช้โปรแกรม Adobe reader dc ในการเปิดไฟล์สามารถดาวโหลดได้ฟรีที่ https://get.adobe.com/uk/reader/

by KKN การบัญชี

ภ.ง.ด.54

แจกไฟล์ ภ.ง.ด.54 และ ภ.พ.36 (แบบผูกสูตร)

สามารถคำนวนภาษี เบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้แบบอัตโนมัติ😊 [ภ.ง.ด.54] www.iliketax.com/download/cit54.pdf[ภ.พ.36] www.iliketax.com/download/pp36.pdf พัฒนาโดยนายอธิฐ สุทธิปัญโญ. กรณีที่กิจการจ่ายค่าบริการไปให้กับนิติบุคคลต่างประเทศ และมีการใช้บริการนั้นประเทศไทย ยกตัวอย่างเช่นจ่ายค่าโฆษณาให้กับ Facebook, Google เป็นต้น เราจะต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้ให้บริการต่างประเทศด้วยแบบ ภ.พ.36 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป นอกจากนี้ถ้าเงินได้ที่เราจ่ายให้กับนิติบุคคลต่างประเทศเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2) ถึง 40(6) กิจการมีหน้าทที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรด้วยแบบ ภ.ง.ด.54 โดยการหักภาษี ณ ที่จ่ายจะแบ่งเป็น 2 กรณีดังนี้ เงินได้พึงประเมิณ 40(2) – 40(6) หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% เงินได้พึงประเมิณ 40(4) – เงินปันผล หักภาษี ณ ที่จ่าย 10%(ก่อนหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่าลืมเช็คอนุสัญญาภาษีซ้อนด้วยครับ เพื่อได้ลดอัตรา % ที่หักลง หรืออาจจะไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายก็ได้นะครับ) […]

by KKN การบัญชี

ประกันสังคม

วิธีขึ้นทะเบียนรับเงินเยียวยาให้ลูกจ้างตามมาตรา 33

👉ถ้านายจ้างไม่ขึ้นทะเบียนให้ลูกจ้าง ลูกจ้างจะไม่ได้รับสิทธิเงินเยียวยา👈 ก่อนอื่นขอขอบคุณ คุณPilaiporn Forpiami ที่ช่วยศึกษาข้อมูลและส่งรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนการขึ้นทะเบียนมาให้ครับ เมื่อวานนี้หลังจากที่ประกันสังคมเปิดระบบให้เช็คสิทธิเยียวยา มีลูกจ้างหลายคนเข้าไปเช็คสิทธิแล้วไม่พบข้อมูล เนื่องจากลูกจ้างจะได้รับสิทธิก็ต่อเมื่อนายจ้างขึ้นทะเบียนให้เท่านั้น ดังนั้นถ้าท่านใดเช็คแล้วยังไม่ได้รับสิทธิจะต้องติดต่อนายจ้างให้ดำเนินการให้ครับ สำหรับการขึ้นทะเบียนนายจ้างจะต้องมี Username & Password สำหรับทำธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์ของประกันสังคมก่อนครับ บัญชีเงินฝากของลูกจ้างจะต้องผูกกับระบบพร้อมเพย์ อยากให้นายจ้างเข้าไปขึ้นทะเบียนให้กับลูกจ้างทุกคนครับ เพราะเงินส่วนแม้จะจำนวนน้อย แต่ก็จำเป็นกับลูกจ้างมากครับ

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

มีรายได้โครงการคนละครึ่งเสียภาษีกี่บาท

บอกข่าวดีก่อนยอดภาษีที่เห็นในภาพเป็นยอดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามากสุดที่จะต้องเสีย ซึ่งเราสามารถทำให้เสียภาษีน้อยลงได้ด้วย 2 วิธีดังนี้ เลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริง แทนการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% (วิธีนี้จะต้องมีการจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย และเก็บเอกสารประกอบการจ่ายค่าใช้จ่าย) ใช้สิทธิค่าลดหย่อนเพิ่ม เช่น ลดหย่อนบุตร เป็นต้น เวลาดูยอดรายได้จะต้องนำรายได้อื่นมารวมกับรายได้คนละครึ่งด้วยนะครับ ไม่ใส่เสียภาษีเฉพาะรายได้ที่เข้าโครงการ ไม่งั้นจะเสียภาษีไม่ครบ และที่สำคัญเมื่อรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยนะครับ หลังจากจด VAT ก็จะมีภาระเพิ่มในส่วนของการออกใบกำกับภาษีขายและเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จากลูกค้าเพิ่มนำส่งกรมสรรพากร ร้านค้าที่รายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี แต่ไม่ได้จด VAT ระวังโดนท่านสรรพากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มย้อนหลังด้วยนะครับ บอกเลยภาษีนี้หนักมากๆๆๆๆ

by KKN การบัญชี

ภาษี

Live สดขายของต้องเสียภาษีหรือไม่?

“พี่ครับ ผมไลฟ์สดขายของทาง Facebook ต้องเสียภาษีมั้ยครับ” แน่นอนครับน้องไม่ว่าจะขายผ่านช่องทางไหน หรือขายแบบแบบไหนต้องเสียภาษีหมด จำเอาไว้สั้นๆ “มีรายได้ ต้องจ่ายภาษี” “แล้วต้องเสียภาษีอะไรบ้าง” คำถามของน้องมันสั้นมาก แต่เวลาตอบนี่โครตยาว พี่ขอเอาไปทำโพสเลยดีกว่าคนอื่นจะได้รู้ด้วย เวลาที่ธุรกิจจะมี 2 ภาษีหลักที่มาเกี่ยวข้องกับชีวิติของเรา ภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ในโพสนี้จะพูดถึงกรณีที่ทำธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดานะครับ สำหรับนิติบุคคลเชื่อว่าผู้ประกอบการน่าจะศึกษาข้อมูลเรื่องการจัดทำบัญชีและการเสียภาษีก่อนเริ่มจดทะเบียนบริษัทเรียบร้อยแล้ว (มั้งนะ) ภาษีเงินได้ ถ้าเราประกอบกิจการในรูปแบบของบุคคลธรรมดา เราจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และในการเสียภาษีเงินได้บุคคลนั้นจะคำนวนจากกำไรจากการประกอบธุรกิจ โดยมีสูตรคำนวนดังนี้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา = เงินได้สุทธิสำหรับคำนวนภาษี X อัตราภาษี*เงินได้สุทธิสำหรับคำนวนภาษี = (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน)**อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปัจจุบันอยู่ที่ 5 – 35% ดังนั้นคำถามที่ว่ารายได้ 1 ล้านบาทเสียภาษีกี่บาท รายได้ xxx บาทเสียภาษีกี่บาท แอดมินตอบไม่ได้เราต้องไปดูที่กำไร ว่ามีกำไรจากการประกอบธุรกิจกี่บาทถึงจะคำนวนภาษีได้ นอกจากนี้บุคคลธรรมดามีความพิเศษในเรื่องของค่าใช้จ่าย กรณีที่คุณประกอบธุรกิจขายสินค้าโดยที่คุณไม่ได้ผลิตเองสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบดังนี้ (1) หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% […]

by KKN การบัญชี

Uncategorized

บริษัทจ่ายค่าฉีดวัคซีน Covid-19 ให้พนักงาน

📌 บริษัทจ่ายค่าฉีดวัคซีน Covid-19 ให้พนักงาน ถือเป็นเงินได้พนักงานหรือไม่? บริษัทจ่ายค่าฉีดวัคซีน Covid-19 ให้พนักงาน ต้องถือเป็นเงินได้พนักงานด้วยนะครับ .

by KKN การบัญชี

ทำประกันให้พนักงาน

ประเด็นภาษีที่เกี่ยวกับการทำประกันให้พนักงาน

ช่วงนี้การแพร่ระบาดของ COVID-19 หลายกิจการก็มีการให้สวัสดิการพนักงานในเรื่องของการทำประกันต่างๆ วันนี้แอดมินจึงมาสรุปประเด็นภาษีที่เกี่ยวข้องกับการทำประกันมาให้ครับ ปล. ปัจจุบันประกันกลุ่มบางบริษัทก็จะคุ้มครองเรื่อง COVID-19 ด้วย ดังนั้นบริษัทสามารถเลือกทำประกันกลุ่มแทนเพื่อไม่ให้ค่าเบี้ยประกันถือเป็นประโยชน์ส่วนเพิ่ม (รายได้) ของพนักงานในการคำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

by KKN การบัญชี

งบการเงินส่วนบุคคล

ลองจัดทำงบการเงินส่วนบุคคลกัน

หลายคนน่าจะเคยมีความสงสัยว่า ที่เราขยันทำงานเก็บเล็กผสมน้อยสร้างเนื้อสร้างตัวกันมาหลายปี ณ ปัจจุบันเรามีสถานะการเงินเป็นอย่างไรบ้าง เพราะครั้งก็จะสับสนอยู่หน่อยๆ เช่น เรามีบ้าน 1 หลัง รถ 1 คัน แต่ทรัพย์สินทั้ง 2 อย่างเราก็ยังติดหนี้ธนาคารอยู่ การจัดทำงบการเงินส่วนตัวจะทำให้เรารู้ว่าปัจจุบันเรามีสินทรัพย์ หนี้สิน สภาพคล่องเท่าไหร่เพื่อจะได้วางแผนการเงินส่วนบุคคลได้ ใครมีเวลาว่างอย่าลืมลองทำกันดูนะครับ น่าจะมีประโยชน์กับทุกคน

by KKN การบัญชี

อากรแสตมป์

ใบแจ้งหนี้ต้องติดอากรแสตมป์หรือไม่

กรณีที่บริษัทไม่มีการจัดทำเอกสารสัญญาจ้าง, ใบเสนอราคา, ใบสั่งจ้าง มีเพียงแค่การพูดคุยปากเปล่า และเมื่อให้บริการเสร็จสิ้นจึงได้ออกเอกสารใบแจ้งหนี้เพื่อเรียกเก็บค่าบริการ กรณีนี้ใบแจ้งหนี้ดังกล่าวไม่เข้าลักษณะเป็นตราสารที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ จึงไม่ต้องติดอากรแสตมป์

by KKN การบัญชี