ผลลัพท์การค้นหา

เงินสำรองจ่าย

กรรมการสำรองเงินส่วนตัวจ่ายแทนบริษัทได้หรือไม่

มีคำถามจากผู้ประกอบการท่านหนึ่งสอบถามเข้ามา และผมก็คิดว่าเป็นคำถามที่ดีมาก คิดว่าหลายคนคงจะสงสัยเหมือนกัน “จำเป็นมัน ค่าใช้จ่ายทุกอย่างจะต้องจ่ายผ่านบัญชีบริษัทเท่านั้น” ถ้าให้ตอบแบบฟันธงก็คงตอบว่าไม่จำเป็น แต่ถ้าสามารถจ่ายค่าใช้จ่ายทุกอย่างผ่านบัญชีบริษัทได้ ก็เป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะการจ่ายเงินผ่านบัญชีบริษัทจะช่วยให้สามารถตรวจสอบการจ่ายเงินได้ง่าย และเป็นการแบ่งแยกเงินของบริษัทออกจากเงินส่วนตัว แต่สำหรับกิจการไหนที่มีความจำเป็น การจ่ายเงินผ่านบัญชีบริษัทจะทำให้การทำงานยุ่งยากไม่สะดวก กรรมการก็สามารถที่จะสำรองเงินส่วนตัวจ่ายแทนบริษัทได้ เพียงแต่กิจการจะต้องมีการวางระบบควบคุมภายในเรื่องดังกล่าวให้ชัดเจนและเป็นระบบ เพื่อให้ง่ายต่อการทำงานและตรวจสอบ ซึ่งวันนี้แอดมินก็แนะนำการวางระบบควบคุมภายในเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้มาเพื่อเป็นแนวทางให้กับทุกคน 🗯

by KKN การบัญชี

อากรแสตมป์

ทำสัญญาจ้างที่ปรึกษาต้องติดอากรแสตมป์หรือไม่

✔ ต้องติดครับ เพราเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายต่างมีหน้าที่ตอบแทนซึ่งกันและกันเข้าลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของ

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

บริษัทจ้างร้านถ่ายเอกสารอย่าลืมหัก ณ ที่จ่ายด้วย

การจ่ายค่าถ่ายเอกสารถือเป็นการจ่ายค่าบริการ ถ้ายอดค่าบริการตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไปอย่าลืมหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่จ่ายค่าบริการด้วย ถ้าค่าบริการ 1,300 บาท แล้วไม่อยากหักภาษี ณ ที่จ่ายเพราะวุ่นวายเราจะทำอย่างไรดีนะ ? ถ่ายเอกสารไป 900 บาทแล้วบอกให้ร้านถ่ายเอกสารคิดเงินและออกใบเสร็จค่าถ่ายเอกสารก่อนรอบหนึ่ง จากนั้นถ่ายเอกสารอีก 300 บาท แล้วให้ร้านถ่ายเอกสารออกใบเสร็จอีกรอบหนึ่ง ค่าบริการต่อครั้งไม่ถึง 1,000 บาทไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีเป็นสัญญาบริการต่อเนื่องเช่น Internet แม้ว่าต่อเดือนจะไม่ถึง 1,000 บาท แต่ถ้ารวมกันตลอดสัญญาแล้วถึง 1,000 บาทจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายครับ.กรณีถ่ายเอกสารเราไม่มีการทำสัญญากับร้านถ่ายเอกสารค่าจ่ายค่าบริการต่อครั้งไม่ถึง 1,000 บาทไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายครับ การจ้างร้านถ่ายเอกสารเดิมทุกครั้งก็ไม่ถือเป็นการทำสัญญาบริการครับ

by KKN การบัญชี

ใบกำกับภาษี

ห้ามออกใบกำกับภาษีโดยใส่ชื่อลูกค้าว่า “สด”

❌ห้ามออกใบกำกับภาษีโดยใส่ชื่อลูกค้าว่า “สด” หรือ “ลูกค้าไม่ประสงค์ออกนาม” เพราะเป็นการออกใบกำกับภาษีไม่ถูกต้องในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท กรณีเป็นความผิดครั้งแรก ต้องระวางโทษปรับเป็นรายกระทง กระทงละ 100 บาท สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท. 📣 กรณีที่่ลูกค้าไม่บอกชื่อ ที่อยู่ ให้ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อแทน

by KKN การบัญชี

ภาษี

เปลี่ยนจากบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคลต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

มีผู้ประกอบการหลายท่าน Inbox มาปรึกษาว่าตอนนี้เค้าทำธุรกิจอยู่ในรูปแบบของบุคคลธรรมดา และธุรกิจมีแนวโน้มไปได้ดีปีที่ผ่านมาเสียภาษีแบบเหมาอัตราค่าใช้จ่ายซึ่งเสียไปเยอะมาก และรายได้ก็เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี เลยอยากที่จะวางแผนเปลี่ยนจากบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคล คำถามคือถ้าโอนกิจการจากบุคคลเป็นนิติบุคคลได้มั้ย และเสียภาษีเท่าไหร่ วันนี้แอดมินสรุปภาษีที่เกี่ยวข้องกับการโอนกิจการมาให้ทุกคนเพื่อใช้ในการวางาแผนภาษีกันนะครับ

by KKN การบัญชี

การตัดหนี้สูญ

หลักเกณฑ์ใหม่ตัดหนี้สูญอย่างไรให้นำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้

คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหลักการร่างกฎหมาย เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ สาระสำคัญของร่างกฎหมายในการปรับปรุงหลักเกณฑ์การจำหน่ายหนี้สูญ สรุปได้ดังนี้ ขยายเพดานการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป โดยยังคงแบ่งเป็น 3 ระดับเหมือนเดิม คือ ลูกหนี้รายเล็ก รายกลาง และรายใหญ่ แต่ขยายเพดาน ดังนี้ • รายเล็ก จากเดิม ไม่เกิน 100,000 บาท เป็น ไม่เกิน 200,000 บาท • รายกลาง จากเดิม ไม่เกิน 500,000 บาท เป็น ไม่เกิน 2,000,000 บาท • รายใหญ่ จากเดิม เกิน 500,000 บาทขึ้นไป เป็น เกิน 2,000,000 บาทขึ้นไป กำหนดวันที่มีผลบังคับใช้ ให้กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับสำหรับการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่ม ในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป

by KKN การบัญชี

การประมาณการกำไรสุทธิขาดไป

วิธีคำนวณประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25

★ ☆ ✰✩ บทลงโทษ★ ☆ ✰✩ ประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกิน 25% ของกำไรสุทธิ โดยไม่มีเหตุอันสมควร นิติบุคคลต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระ หรือของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชำระขาด

by KKN การบัญชี

Bitcoin

Bitcoin เสียภาษีอย่างไร

หลังจากที่ 1BTC มีมูลค่าเกิน 2 ล้านบาท กระแส Bitcoin ก็มาแรงสุดๆ พร้อมกับ Inbox เข้ามาถามเกี่ยวกับ Bitcoin เสียภาษีอย่างไร ก่อนอื่นเลยแอดมินต้องออกตัวก่อนว่าเรื่อง Bitcoin เป็นเรื่องใหม่มากในประเทศไทย และคิดว่าแทบจะยังไม่มีใครได้เสียภาษีตัวนี้กัน แอดมินรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่ง และต้องขอบคุณข้อมูลจากเพจอาจารย์สุเทพ พงษ์พิทักษ์ที่ตอบเรื่องนี้ได้ละเอียดมาก โพสจัดทำจากการหาข้อมูลจากหลายแหล่งและการตีความส่วนตัว คงต้องรอให้ทางกรมสรรพากรสรุปอีกทีหนึ่งถึงจะได้คำตอบที่ถูกต้องที่สุดครับ สำหรับแนวทางการวางแผนภาษีที่คิดออกตอนนี้คือ การทำซื้อขาย BTC ในรูปของบุคคลธรรมดา และใช้ประโยชน์จากหลักแหล่งเงินได้ของบุคคลธรรมดา โดยเลือกเทรด Website ต่างประเทศและนำเงินกำไรเข้ามาในอีกปีภาษีหนึ่งก็จะทำให้ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครับ

by KKN การบัญชี

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

10 สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ไม่ควรพลาดสำหรับนิติบุคคล

การประหยัดภาษีแบบถูกวิธีคือการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีให้ครบถ้วน จะช่วยให้ประหยัดภาษีได้ วันนี้แอดมินเลยรวบรวม 10 สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่น่าสนใจเอามาฝากทุกคนครับ

by KKN การบัญชี

จดภาษีมูลค่าเพิ่ม

รายได้ไม่ถึง 1.8 ล้านบาท ควรจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่

แอดมินได้รับคำถามใน Inbox สอบถามมาว่าตอนนี้เพิ่งเปิดบริษัทรายได้ยังไม่ถึง 1.8 ล้านบาท จึงยังไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตอนนี้มีลูกค้ารายหนึ่งต้องการซื้อสินค้าจากบริษัทแต่ลูกค้าอยากได้ใบกำกับภาษี บริษัทควรจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ กรณีรายได้ไม่ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปี ควรจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ ให้เราพิจารณาว่าบริษัทมีความสามารถในการผลักภาระ VAT ไปให้ลูกค้าได้มากน้อยขนาดไหน คำว่าผลักภาระ VAT ให้ลูกค้า หมายความว่าเดิมสินค้าราคา 100 บาท หลังจากจด VAT จึงเรียกเก็บ VAT เพิ่ม 7% เป็น 107 บาท และลูกค้าก็ยอมที่จะขายที่จะจ่ายเงิน 107 บาทในการซื้อสินค้าจากบริษัท ส่วนใหญ่แล้วถ้าลูกค้าที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่แล้ว เราเก็บเงินค่าสินค้า 107 (100 + 7) ลูกค้าก็จะไม่ได้รู้สึกว่าสินค้าเราแพงขึ้น เพราะเค้าสามารถขอคืน 7 บาท ที่เป็นภาษีซื้อจากกรมสรรพากรได้ ดังนั้นถ้าเราสามารถผลักภาระ VAT ให้ลูกค้าได้ เราก็ควรจด VAT เพราะไม่ได้กระทบกับการขายสินค้า และในทางกลับกันเราสามารถขอคืนภาษีซื้อจากกรมสรรพากรได้อีกทำให้ต้นทุนเราลดลง แต่ถ้าเราไม่สามารถผลักภาระ VAT ให้กับลูกค้าได้ เราจะต้องยอมลดราคาสินค้าลง […]

by KKN การบัญชี

ค่าปรับ

อัตราค่าปรับการส่งงบการเงินล่าช้า

❤ เอากำลังใจมาฝาก สำหรับนักบัญชีที่กำลังอดหลับอดนอนในการปิดงบการเงิน ถ้ารู้สึกเหนื่อยเพียงแค่จ้องมองรูปนี้นาน กำลังใจจะเพิ่มขึ้นมาอัตโนมัติ ต้องปิดงบใหัทันไม่งั้นค่าปรับบาน ท่องเอาไว้ปีนี้ไม่เลื่อนสงสัยแล้วนะ

by KKN การบัญชี

ค่าปรับ

ค่าปรับการกระทำผิดเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม

สำหรับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จะต้องระมัดระวังไม่กระทำผิดฝ่าฝืนเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มเพราะมีค่าปรับที่ค่อนข้างสูง รวมถึงมีโทษหนักถึงขั้นจำคุกในเรื่องของการนำใบกำกับภาษีปลอมไปใช้ หรือออกใบกำกับภาษีปลอม

by KKN การบัญชี

การบันทึกบัญชีเงินสดรับ-จ่าย

การบันทึกบัญชีเงินสดรับ-จ่าย

สำหรับบุคคลธรรมดาที่เลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริงและสมควร จะต้องจัดทำบัญชีเงินสดรับ-จ่าย รวมถึงเก็บเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีค่าใช้จ่าย เตรียมเอาไว้เผื่อเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร (ที่รัก) เรียกตรวจสอบ Excel บัญชีเงินสดรับ-จ่าย [No VAT] http://bit.ly/2WcFhxB Excel บัญชีเงินสดรับ-จ่าย [VAT] http://bit.ly/2U5As6J ◥หลักการบันทึกบัญชี◤ บันทึกเป็นภาษาไทยเท่านั้น ต้องบันทึกบัญชีภายใน 3 วันทำการนับจากวันที่เกิดรายรับ-รายจ่าย ลงบันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายก็ต่อเมื่อได้จ่ายเงินหรือรับชำระเงินแล้วเท่านั้น เช่น ขายเชื่อจะลงบันทึกบัญชีรายได้ก็ต่อเมื่อได้รับชำระเงิน รายการที่จะนำมาบันทึกในรายงานฉบับนี้จะต้องมีเอกสารประกอบการลงบัญชี เช่น ใบเสร็จรับเงิน, ใบกำกับภาษี รายได้และค่าใช้จ่ายที่เป็นหมวดเดียวกันสามารถบันทึกสรุปยอดรายการเดียวในหนึ่งวันได้ เช่น วันที่ 1 ม.ค. 64 มีรายการขายทั้งหมด 5 รายการ เราจะบันทึก 5 รายการหรือสรุปยอดรวมบันทึก 1 รายการก็ได้ รายจ่ายที่นำมาบันทึกบัญชีจะต้องเกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ

by KKN การบัญชี

จดภาษีมูลค่าเพิ่ม

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วมีภาระต้องทำอะไรบ้าง

หลังจากที่เรามีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี กฏหมายจะบังคับให้ผู้ประกอบการจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม วันนี้ผมจะมาสรุปภาระหน้าที่ที่จะต้องทำหลังจากจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มว่ามีอะไรกันบ้าง . ออกใบกำกับภาษีทุกครั้ง (แม้ลูกค้าจะไม่ต้องการก็ตาม) จัดทำรายงานภาษีซื้อ และภาษีขาย จัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม

by KKN การบัญชี

ค่าขนส่ง

ค่าขนส่งกรณีขายของใน Shopee

ปัจจุบันนี้ช่องทางการขายสินค้ายอดฮิตที่สุดคงหนีไม่พ้นการขายสินค้าผ่าน Platform ไม่ว่าจะเป็น Shopee Lazada และคำถามยอดฮิตสำหรับประเด็นภาษีที่เกี่ยวกับการขายสินค้าผ่าน Platform ที่ผมได้รับ Inbox ก็คือเรื่องของ “ค่าขนส่ง” ① ค่าขนส่งที่ลูกค้าจ่าย ถือเป็นรายได้ของใครระหว่างร้านค้ากับ Platform คำตอบคือเป็นรายได้ของร้านค้า เพราะทาง Platform ไม่ได้ออกใบเสร็จค่าขนส่งให้กับลูกค้าที่มาซื้อของ โยนหน้าที่ในการออกใบเสร็จค่าขนส่งให้เป็นหน้าที่ของร้านค้าดังนั้นค่าขนจึงเป็นรายได้ของร้านค้า เนื่องจากร้านค้าไม่ได้ประกอบกิจการขนส่งเป็นปกติธุรกิจ ดังนั้นค่าขนส่งที่ร้านค้าเรียกเก็บจากลูกค้าจึงต้องมีภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย (ไม่ได้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม) ② ค่าขนส่งที่ร้านค้าจ่ายให้กับบริษัทขนส่ง สามารถนำมาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวนภาษีเงินได้ของร้านค้าได้ ③ ค่าขนส่งที่ทาง Platform ช่วยออก ร้านค้าเมื่อได้รับเงินสนับสนุนค่าขนส่งจะต้องบันทึกเป็นรายได้เพื่อนำมารวมในการคำนวนภาษีเงินได้ เงินสนับสนุนที่ได้รับ ไม่ถือเป็นการขายสินค้าหรือให้บริการดังนั้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

by KKN การบัญชี

โครงการคนละครึ่ง

พ่อค้าแม่ค้า “ถุงเงิน” โครงการ “คนละครึ่ง” เสียภาษีอย่างไร

รายได้จากร้านค้าทั้งส่วนที่ได้รับจากลูกค้าและส่วนที่ได้รับจากรัฐ รายได้ดังกล่าวถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ถ้ามีรายได้ถึงเกณฑ์ที่จะต้องยื่นภาษีก็ต้องยื่นแบบนำภาษีเงินได้ส่วนจะเสียภาษีหรือไม่เสียก็ค่อยว่ากัน บางคนรายได้น้อยมากก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครับ เกณฑ์ที่จะต้องยื่นภาษี คือ คนโสด มีรายได้เกิน 60,000 บาทต่อปี คนมีคู่สมรส ไม่ว่าจะมีรายได้ฝ่ายเดียวหรือทั้งสองฝ่ายรวมกันเกิน 120,000 บาท ซึ่งเรื่องที่พ่อค้าแม่ค้าต้องระวังก็คือ หากมีรายรับเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนำส่งให้กรมสรรพากร โดยต้องจัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ เพื่อยื่นแบบ ภ.พ.30 นำ ส่งภาษีมูลค่าเพิ่มทุกเดือน และ ชำระเงินภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป บุคคลธรรมดาที่มีรายได้ 40 จะมีภาระในการยื่นนำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีละ 2 ครั้งดังนี้ ภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) กำหนดยื่นตั้งแต่ 1 ก.ค. – 30 ก.ย. ภาษีประจำปี (ภ.ง.ด.90) กำหนดยื่นตั้งแต่ 1 ม.ค. – 31 มี.ค. โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริง (ต้องมีเอกสารหลักฐานค่าใช้จ่าย) หรือหักเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 60 […]

by KKN การบัญชี

ภาษีการรับมรดก

ภาษีการรับมรดก

ภาษีการรับมรดกนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อเจ้ามรดกเสียชีวิต ผู้รับมรดกจากเจ้ามรดก ไม่ว่าจะได้รับมาในคราวเดียวหรือหลายคราว ซึ่งถ้ามรดกที่ได้รับมาหักด้วยภาระหนี้สินที่ตกทอดมาจากการรับมรดกเกิน 100 ล้านบาท ต้องเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท สำหรับใครที่คิดว่าถ้างั้นก็แค่แอบทยอยผ่องทรัพย์สินให้กับทายาทก่อนที่จะเสียชีวิตสิจะได้ไม่โดนภาษีมรดก ทาทงกรมสรรพากรก็ได้วางแผนป้องกันคนหนีภาษีมรดก โดยการออกกฏหมาย “ภาษีการรับให้” ออกมาพร้อมกันเลย ภาษีการรับให้ จะจัดเก็บภาษี 5% จากมูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับในส่วนที่เกิน 10 ล้านบาท (และขยายเพดานเป็น 20 ล้านบาทสำหรับกรณีได้รับจากบุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส)

by KKN การบัญชี

ขายหนังสือแถมคอร์สเรียนออนไลน์

ขายหนังสือแถมคอร์สเรียนออนไลน์ ยกเว้นภาษีหรือไม่

รู้หรือไม่การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน เป็นรายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ช่วงนี้เราจะพบว่ามีการคอร์สอบรมในรูปแบบของหนังสือแถมคอร์สเรียนออนไลน์ หรือขายแฟ้มคู่มือแถมเนื้อหาวีดีโออบรมที่อยู่ในรูปแบบของ Flash drive ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่ากรณีนี้จะต้องเสียภาษีหรือไม่ เราไปค้นหาคำตอบกันเลยครับ

by KKN การบัญชี

Uncategorized

การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ

สำหรับรายละเอียดด้านผู้สั่งซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบจากต่างประเทศ เรื่องที่เกี่ยวข้องสามารถแบ่งได้เป็น 1. การรับรู้รายการทางบัญชี ในการพิจารณาราคาทุนของสินค้าตามเงื่อนไขการส่งมอบสินค้า ว่าราคาในการคำนวณที่ตกลงกับผู้ขายนั้น ว่าจะใช้ F.O.B. หรือราคา C.I.F. หรือราคาอื่นตามที่ตกลงไว้ และการบันทึกรายการต้นทุนสินค้าคงเหลือ 2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล ในการรับรู้ต้นทุนของสินค้าตามเกณฑ์สิทธิ และการคำนวณราคาทุนของสินค้าเป็นเงินตราต่างประเทศ โดยคำนวณเป็นเงินตราไทย ตามอัตราแลกเปลี่ยนในท้องตลาดของวันที่ได้สินค้านั้นมา 3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นเกิดขึ้นเมื่อ ชำระอากรขาเข้า, วางหลักประกันอากรขาเข้าหรือจัดให้มีผู้ค้ำประกันอากรขาเข้า ส่วนใบกำกับภาษี (ภาษีซื้อ) ที่กรมศุลกากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มให้ถือเป็นใบกำกับภาษี (ตามมาตรา 86/14) ซึ่งผู้สั่งซื้อจะค้องจัดทำรายงานภาษีซื้อ และ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ จะมีรายละเอียดเพิ่มเติมยังไงนั้น ผมสรุปมาให้ในโพสนี้แล้วครับ

by KKN การบัญชี

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ปี 2564 ภาษีที่ดิน ปรับลด 90%

หลังจากวันที่ 31 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชกฤษฎีกา ลดภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางประเภท (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 ให้ลดจำนวนภาษีในอัตรา 90% ของจำนวนภาษีที่คำนวณได้ สำหรับการจัดเก็บภาษีของปีภาษี พ.ศ.2564 สำหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ดังต่อไปนี้ (1) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม (2) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย (3) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกจากตาม (1) และ (2)(4) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ วันนี้ผมเลยสรุปประเด็นของแต่ละที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างมาให้ครับ

by KKN การบัญชี