ผลลัพท์การค้นหา

จดทะเบียน

การจองคิวจดทะเบียนออนไลน์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

1.ผ่าน Application DBD e-Service 1.1 Download Application DBD e-Service 1.2 เลือก “บริการออนไลน์” และ จองคิวลงทะเบียน 1.3 เลือกหน่วยบริการ และ เลือกวันที่/เวลาจองคิว 1.4 กรอกรายละเอียดการจอง และ หลักฐานในการยื่นขอรับบริการ 2.ผ่าน www.dbd.go.th 2.1 เข้า www.dbd.go.th 2.2 เลือก “จองคิวลงทะเบียน” 2.3 เลือกหน่วยบริการ 2.4 เลือกวัน/เวลาการจองคิว 2.5 กรอกรายละเอียดการจอง 2.6 หลักฐานในการยื่นขอรับบริการ

by KKN การบัญชี

ภาษี

ดวงดีถูกหวย! จะต้องเสียภาษีด้วยนะจ๊ะ

ที่มาhttps://www.itax.in.thhttps://money.kapook.com/view194609.htmlhttps://tigersoft.co.thhttps://www.moneyexpo.net/tax/lottery

by KKN การบัญชี

เลิกทำธุรกิจ

รายได้ลดลงต้องปิดสาขา ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง?

เอกสารสำหรับยื่นกรมพัฒนาธุรกิจการค้า1.คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด (แบบ บอจ.1)2.แบบคำรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด3.รายการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม และ/หรือ มติพิเศษ (แบบ บอจ.4)4.หลักฐานการอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่หรือสำนักงานสาขาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ใช้เฉพาะในการประกอบธุรกิจที่มีกฎหมายพิเศษควบคุม)5.สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน6.สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)7.หนังสือมอบอำนาจ  (กรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเองก็มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนโดยทำหนังสือมอบอำนาจและผนึกหรือชำระค่าอากรแสตมป์10 บาท) เอกสารสำหรับยื่นกรมสรรพากรเอกสารที่ใช้ยื่นแก้ไขเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม1.แบบคำขอแจ้งเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียน ภ.พ.092.แบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.013.ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.20 (เดิม)4.หนังสือมอบอำนาจ(ปิดอากรแสตมป์) พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ (กรณีผู้ประกอบการไม่ได้มายื่นด้วยตนเอง)5.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน – ของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม6.สำเนาหนังสือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มีการแก้ไข7.สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท (ไม่เกิน 6 เดือน) เอกสารหรือหลักฐานที่ต้องใช้สำหรับยื่นประกันสังคม1.แบบเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงนายจ้าง สปส. 6-15 จำนวน 1 ฉบับ*เอกสารประกอบการพิจารณา (ไม่มีเอกสารหรือหลักฐานที่ต้องใช้) เอกสารประกอบการยื่นคำขอฯ ที่เป็นสำเนาให้รับรองความถูกต้องของสำเนาทุกฉบับ และแสดงเอกสารที่เป็นต้นฉบับเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบนะครับ ที่มา https://dbd.go.th/download/downloads/03_boj/intro_step_bj_change_02.pdfhttp://download.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/vat/VAT09.pdfhttp://www.oic.go.th

by KKN การบัญชี

ภาษีที่ดิน

ปี 2564 ภาษีที่ดินปรับลด 90%

ลดภาษีที่ดินลง 90% สำหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ดังต่อไปนี้ ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกจากตาม (1) และ (2) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ อัปเดตอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2564 (หลังประกาศลด 90 %) (1) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม บุคคลธรรมดา ไม่ต้องเสียภาษี : ได้รับการยกเว้นภาษี 3 ปีแรกอยู่แล้ว (2563-2565) นิติบุคคล ต้องเสียภาษีเหมือนเดิม (แต่ลด 90 % จ่ายแค่ 10%) (2) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย บ้านหลังหลัก : กรณีเป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และ มีชื่อในทะเบียนบ้าน ต้องเสียภาษีเหมือนเดิม (แต่ลด 90 % จ่ายแค่ 10%) บ้านหลังหลัก : กรณีเป็นเจ้าของเฉพาะสิ่งปลูกสร้าง และ มีชื่อในทะเบียนบ้าน ต้องเสียภาษีเหมือนเดิม (แต่ลด 90 % […]

by KKN การบัญชี

ลาออกจากงาน

ออกจากงานระหว่างปีภาษี แล้วจะยื่นภาษียังไงกัน ?

หลายคนสงสัยกันว่า หากออกจากงานระหว่างปีภาษี แล้วจะยื่นภาษียังไง? วันนี้ผมมีสรุปสำหรับคำถามนี้มาให้ครับ รายได้ทุกอย่างต้องนำมายื่นภาษี

by KKN การบัญชี

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ผู้หักภาษีไม่ได้นำส่งกรมสรรพากร ขอคืนภาษีซื้อได้ไหม?

กรณีผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายและได้ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) ให้แก่ผู้มีเงินได้แล้ว แต่ไม่นำเงินส่งกรมสรรพากรหรือนำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้ดังกล่าวจะต้องรับผิดแต่เพียงผู้เดียว ผู้มีเงินได้จะพ้นความรับผิดในจำนวนเงินภาษีเท่ากับจำนวนที่ถูกหักไว้ (ตามมาตรา54) และ มีสิทธินำเงินที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามจำนวนที่ระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย มาถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีเงินได้ สรุป : สามารถขอคืนได้ครับ

by KKN การบัญชี

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

จ้างผลิตเสื้อบริษัท ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ ?

ตัวอย่าง : บริษัท คิดไม่ออก จำกัด ได้ไปว่าจ้างร้านขายเสื้อผ้าแห่งหนึ่ง ให้ช่วยจัดทำเสื้อบริษัทเพื่อจะไม่เหมือนกับของใครในประเทศ แบบนี้มีเจ้าเดียวในประเทศ ในการออกแบบบริษัทฯ ได้เลือกชนิดผ้าที่ร้านขายเสื้อผ้ามีวัตถุอยู่แล้วจะได้ไม่ต้องซื้อใหม รวมถึงบล็อกเสื้อผ้าก็เป็นแบบปกติที่ร้านขาย คำตอบ กรณีห้างฯ ได้ผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายเป็นปกติอยู่แล้ว ไม่ว่าลูกค้าจะสั่งซื้อสินค้าตามรูปแบบที่ห้างฯ จัดเตรียมไว้หรือลูกค้าเป็นผู้ออกแบบเอง แต่ใช้วัตถุดิบในการผลิตของห้างฯ ที่จัดเตรียมและมีไว้ให้เลือก การรับทำสินค้าดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการขายสินค้า ไม่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528

by KKN การบัญชี

ใบกำกับภาษี

ใบกำกับภาษีซื้อ “ชื่อลูกค้าเป็นภาษาอังกฤษ” แต่ส่วนอื่นเป็นภาษาไทย ผิดหรือไม่?

กรณีออกใบกำกับภาษีเฉพาะรายการ ชื่อและนามสกุลของผู้ซื้อเป็นภาษาอังกฤษ แต่รายการอื่นที่เป็นสาระสำคัญเป็นภาษาไทย บริษัทสามารถปฏิบัติได้ เนื่องจากตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 92) เขียนไว้ดังนี้ “ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งจัดทำรายการในใบกำกับภาษีเป็นภาษาอังกฤษและ เป็นหน่วยเงินตราไทย ตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ให้ถือว่าได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรตามประกาศฉบับนี้” สรุป: ใบกำกับภาษีสามารถเขียนเป็นภาษาอังกฤษได้

by KKN การบัญชี

ใบกำกับภาษี

ได้รับใบกำกับภาษีที่ไม่ถูกต้อง และต้องการแก้ไขใหม่ ทำอย่างไร??

1.บริษัทต้องร้องขอให้ผู้ออกใบกำกับภาษีดำเนินการ ยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิม บริษัทต้องถ่ายเอกสารใบกำกับภาษีฉบับเดิมที่ขอยกเลิกติดเรื่องไว้และส่งมอบใบกำกับภาษีฉบับเดิมให้แก่ผู้ออกใบกำกับภาษี จัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ โดยให้ระบุชื่อบริษัท และที่อยู่ให้ถูกต้อง ถึงจะมีสิทธินำไปถือเป็นภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ 2.การยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมและจัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ ผู้ออกใบกำกับภาษีต้องนำใบกำกับภาษีฉบับเดิมมาประทับตราว่า “ยกเลิก” หรือ “ขีดฆ่า“แล้วเก็บรวบรวมไว้กับสำเนาใบกำกับภาษีฉบับเดิมและจัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ ผู้ออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่ ต้องหมายเหตุการยกเลิกใบกำกับภาษีไว้ในรายงานภาษีขายของเดือนภาษีที่จัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ด้วย แล้วถ้าใบกำกับภาษีที่ไม่มีการลงลายมือชื่อจากผู้ขายล่ะ? ใบกำกับภาษีจะเซ็นลายเซ็นด้วยปากกา ใช้ลายเซ็นแสกน หรือจะไม่มีลายเซ็นเลยก็ได้ เพราะลายเซ็นไม่ได้ถูกำหนดให้เป็น 1 ใน 8 องค์ประกอบสำคัญที่ใบกำกับภาษีที่ต้องมี

by KKN การบัญชี

ภาษีอากร

สรุปประเด็นเรื่อง“ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร”

ฝั่งผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ ชื่อ ต้องเป็นชื่อผู้ประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ชื่อสถานประกอบการ หรือ ชื่อการค้าของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่อยู่ ต้องเป็นที่ตั้งของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีระบุที่อยู่ไม่ครบถ้วนตามที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่รายการที่อยู่ที่ระบุไว้ถูกต้อง และสามารถบอกตำแหน่งที่ตั้งที่ชัดเจนได้ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ต้องระบุให้ชัดเจนและครบถ้วน ฝั่งผู้ซื้อสินค้าหรือผู้ให้บริการ ชื่อ กรณีเป็นนิติบุคล ต้องเป็นชื่อผู้ประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ชื่อสถานประกอบการ หรือ ชื่อการค้าของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเป็นบุคคลธรรมดา ชื่อต้องรวมถึงนามสกุลด้วย กรณีมีการใช้เครื่องหมายไปยาลน้อย (ฯ) ต้องเห็นได้อย่างชัดเจนและไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นผู้ประกอบการรายอื่น เช่น “องค์การสวนยางแห่งประเทศไทย” เขียนว่า “องค์การสวนยางฯ” “บริษัท โบรกเกอร์กรุงเทพมหานคร จำกัด” เขียนว่า “บริษัท โบรกเกอร์กรุงเทพฯ จำกัด กรณีตัวสะกด สระ วรรณยุกต์ การันต์ ผิดพลาด ต้องเห็นได้อย่างชัดเจนและไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นผู้ประกอบการรายอื่น ที่อยู่ ต้องเป็นที่ตั้งของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีระบุที่อยู่ไม่ครบถ้วนตามที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่รายการที่อยู่ที่ระบุไว้ถูกต้อง และสามารถบอกตำแหน่งที่ตั้งที่ชัดเจนได้ ก็ถือว่าได้ระบุที่อยู่ครบถ้วนแล้ว เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ต้องระบุให้ชัดเจนและครบถ้วน ไม่กรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อก็ได้

by KKN การบัญชี

เงินกู้ยืมกรรมการ

หจก. เลือกชำระค่าหุ้นบางส่วนได้หรือไม่

ช่วงนี้ไม่ค่อยมีเงิน และไม่อยากให้ในงบการเงินมีเงินให้กู้ยืมแก่หุ้นส่วนผู้จัดการ ต้องชำระเต็ม 100% เท่านั้น

by KKN การบัญชี

ใบกำกับภาษี

ใบกำกับภาษีไม่ถูกต้อง แบบไหนใช้ได้และใช้ไม่ได้

เรามาดูกันว่า ในใบกำกับภาษี ต้องมีข้อมูลอะไรบ้างง?? ออกใบกำกับภาษีโดยระบุชื่อผู้ซื้อว่า “สด” ลูกค้าไม่บอกชื่อและที่อยู่ ผู้ขายสามารถเขียนชื่อลูกค้าว่า “สด” “ลูกค้าไม่ประสงค์ออกนาม” เพื่อออกใบกำกับภาษีเต็มรูปได้หรือไม่ บริษัทฯ ออกใบกำกับภาษีโดยระบุชื่อผู้ซื้อว่า “สด” โดยไม่ได้ระบุที่อยู่ของผู้ซื้อ เป็นการออกใบกำกับภาษีโดยมีรายการในส่วนที่เป็นสาระสำคัญไม่ครบถ้วนตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีความผิดดังนี้(1) คดีอาญา บริษัทฯ มีความผิดตามมาตรา 90 (12) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท หากเป็นการพบความผิดครั้งแรก ต้องระวางโทษเปรียบเทียบปรับเป็นรายกระทง กระทงละ 100 บาท(2) คดีแพ่ง บริษัทฯ ไม่มีความผิดการแก้ไขใบกำกับภาษีที่บริษัทฯ ออกไปแล้วดังกล่าวข้างต้น ไม่สามารถแก้ไขได้ เราสามารถใช้วิธีการออกใบกำกับภาษีอย่างย่อเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ได้ ออกใบกำกับภาษีโดยไม่ระบุ “เลขผู้เสียภาษี” ของผู้ซื้อ คำชี้แจงกรมสรรพากร เรื่องการระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ในใบกำกับภาษีแบบเต็มรูประบุว่า “กรณีผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ไม่จำต้องแจ้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของตนเองให้แก่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการแต่อย่างใด” ปล. ถ้าลูกค้าไม่ได้จด VAT ไม่จำเป็นต้องใส่เลขประจำตัวผู้เสียภาษีก็ได้ ใบกำกับภาษีซื้อระบุ “บ้านเลขที่” ไม่ถูกต้อง กรณีใบกำกับภาษีระบุเลขที่ที่อยู่ไม่ถูกต้องจากเลขที่ […]

by KKN การบัญชี

ภาษี

ประเด็นภาษีที่น่าสนใจ

ค่าเช่ารถยนต์ติดอากรกี่บาท บริษัททำสัญญาให้นาย A เช่ารถยนต์เป็นระยะเวลา 1 ปี มูลค่าสัญญา 200,000 บาท บริษัทจะต้องติดอากรแสตมป์กี่บาท> ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์สัญญาให้เช่าสังหาริมทรัพย์ ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องเสียอากรแสตมป์ ค่าเช่าที่ดินติดอากรแสตมป์กี่บาท บริษัททำสัญญาเช่าที่ดินจากนาย A เป็นระยะเวลา 1 ปี มูลค่าสัญญา 200,000 บาท บริษัทในฐานะผู้เช่าจะต้องปิดอากรแสตมป์ในต้นฉบับสัญญาเช่าที่ดินกี่บาท> ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์บริษัทไม่มีหน้าที่ต้องปิดอากรแสตปม์ เพราะผู้มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์คือผู้ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์*ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ อัตรา 1 บาท ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของเงิน 1,000 บาท แห่งค่าเช่าหรือเงินกินเปล่าหรือสองอย่างรวมกันตลอดอายุการเช่า ค่าเช่าที่ดินติดอากรแสตมป์กี่บาท ตอนที่ 2 บริษัทมีที่ดินเปล่าที่ไม่ใช้งานประโยชน์ จึงให้กับนาย A เช่าที่ดินเพื่อใช้ในการทำไร่และทำสวนเป็นระยะเวลา 3 ปี มูลค่าสัญญา 200,000 บาท บริษัทจะต้องปิดอากรแสตมป์กี่บาท> ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ คู่สัญญาติดอากรแสตมป์กี่บาท สัญญาเช่าพื้นที่สำนักงานมูลค่าสัญญา 200,000 บาท “คู่สัญญา” จะต้องปิดอากรแสตมป์กี่บาท> ปิดอากรแสตมป์ […]

by KKN การบัญชี

ภาษีอากร

อธิบายภาษีสำหรับคนที่ไม่ได้จบบัญชี

พร้อมจะทำความเข้าใจเรื่องภาษีด้วยภาษีชาวบ้านๆกันรึยัง

by KKN การบัญชี

ลดหย่อนทางภาษี

สิทธิค่าลดหย่อน “ค่าเบี้ยประกันชีวิตบิดาและมารดา”

คำถาม : นายนัทเป็นบุตรที่รักคุณแม่มาก (คุณแม่อายุ 65 ปี) โดยในระหว่างปีนายนัทได้ทำประกันชีวิตให้กับคุณแม่เป็นจำนวนเงินถึง 20,000 บาท ตอนยื่นภาษีประจำปีนายนัทสามารถนำค่าลดหย่อนค่าเบี้ยประกันชีวิติมารดามาใช้สิทธิลดหย่อนได้หรือไม่ คำตอบ : ไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ เพราะว่า กฎหมายมีแต่ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาเท่านั้น (ตามที่จ่ายไปจริงแต่ไมเกิน 15,000 บาท)

by KKN การบัญชี

ลดหย่อนทางภาษี

ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้หรือไม่

คำถาม : นายนัทแต่งงานกับนางสาวโบ แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันต่อมามีบุตร 1 คน ซึ่งนายนัทและนางสาวโบต่างคนต่างมีรายได้ สิ้นปีทั้งนายนัทสามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้หรือไม่ คำตอบ : ไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ เพราะว่า พ่อกับแม่ถ้าไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันบุตรที่เกิดมาจะไม่ใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของพ่อ ดังนั้นพ่อจะไม่สามารถใช้สิทธิค่าลดหย่อนบุตรได้จนกว่าจะไปจดทะเบียนรับรองบุตร หรือศาลพิพากษาให้เป็นบุตร หรือพ่อและแม่ได้จดทะเบียนสมรสกับภายหลัง แม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้ทันทีแม่จะไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับพ่อ ปล. การแบ่งสิทธิลดหย่อนบุตรคนละครึ่งเป็นเงื่อนไขในอดีตที่ถูกยกเลิกไปแล้ว ปัจจุบันนี้กรณีพ่อและแม่แยกกันยื่นภาษีสามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้เต็มคนละ 30,000 บาท

by KKN การบัญชี

ลดหย่อนทางภาษี

บุตรอายุเกินเท่าไหร่ ไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้

ตัวอย่าง : นายนัทมีบุตร 1 คนอายุ 21 ปี ซึ่งเกินปี 2560 ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นายนัทสามารถใช้สิทธิค่าลดหย่อนบุตรได้กี่บาท คำตอบ : ไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ โดยมีเกณฑ์ดังต่อไปนี้ เกณฑ์อายุ อายุไม่ถึง 20 ปี อายุ 20 – 25 ปี แต่ต้องเรียนอยู่ในระดับอนุปริญญา (ปวส.) หรือปริญญาตรีขึ้นไป อายุเท่าไหร่ก็ได้ แต่ต้องถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ เกณฑ์รายได้ บุตรจะต้องไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เกินปีละ 30,000 บาท สิทธิลดหย่อน บุตรคนละ 30,000 บาท และบุตรคนที่ 2 ที่เกิดในปี 2561 หรือหลังจะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรตั้งแต่คนที่ 2 เป็นต้นไปคนละ 60,000 บาท

by KKN การบัญชี

ลดหย่อนทางภาษี

ภริยาไม่มีเงินได้ สามีใช้สิทธิลดหย่อนภริยาแล้ว บุตรได้สิทธิมารดาได้หรือไม่

คำถาม : ภริยาอายุ 65 ปีไม่มีเงินได้ สามียังทำงานประจำอยู่เลยใช้สิทธิลดหย่อนภริยา 60,000 บาท ภริยามีลูกอายุ 30 ปีทำงานประจำจะใช้สิทธิค่าเลี้ยงดูมารดาอีก 30,000 บาทได้หรือไม่ คำตอบ : ได้ เพราะว่าเป็นสิทธิตามค่าลดหย่อน และไม่ถือว่าเป็นการใช้สิทธิค่าลดหย่อนซ้ำ เพราะอยู่คนละรายการค่าลดหย่อน

by KKN การบัญชี

ลดหย่อนทางภาษี

สามีและภริยาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน จะใช้ลดหย่อนคู่สมรสได้หรือไม่

ตัวอย่าง : รักกันแต่ไม่อยากจดทะเบียนสมรส เพราะเดี๋ยวจะยุ่งยากในการทำธุรกรรมต่างๆ สามีสามารถใช้สิทธิลดหย่อนคู่สมรสได้หรือไม่ คำตอบ : ไม่ได้จดทะเบียนสมรส = สถานะ “โสด”

by KKN การบัญชี