ผลลัพท์การค้นหา

ภาษีการรับมรดก

ภาษีการรับมรดก

โดยภาษีการรับมรดกนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อเจ้ามรดกตาย ผู้รับมรดกจากเจ้ามรดก ไม่ว่าจะได้รับมาในคราวเดียวหรือหลายคราว ซึ่งถ้ามรดกที่ได้รับมาหักด้วยภาระหนี้สินที่ตกทอดมาจากการรับมรดกเกิน 100 ล้านบาท ต้องเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท จะมีรายละเอียดอะไรบ้างนั้น วันนี้ผมได้สรุปจบครบทุกประเด็นของ ภาษีการรับมรดกมาให้แล้วครับ

by KKN การบัญชี

สัญญาซื้อ

สัญญาซื้อฝาก-ขายฝากกับภาษีที่ควรรู้

การฝากขาย คือ การทำสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันที แต่ผู้ขายฝากสามารถนำเงินมาไถ่ถอนทรัพย์สินนั้นได้กายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา หรือภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ในสัญญาหรือภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ซึ่งหากเป็นการขายฝากอสังหาริมทรัพย์กฎหมายกำหนดให้สามารถทำสัญญาไถ่ถอนได้สูงสุด 10 ปีนับแต่เวลาซื้อขาย โดยผู้รับซื้อฝากจะได้ผลประโยชน์ตอบแทนจากผู้ขายฝากสูงสุดไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี และจะได้รับเงินจากการขายฝากคืนเมื่อมีการไถ่ถอนเกิดขึ้น 1. ด้านผู้ขายฝาก ภาษีจะเกิดขึ้นทันทีเมื่อมีการทำสัญญาขายฝาก เพราะการขายฝากถือเป็นการ “ขาย” ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งผู้ขายมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ทันทีที่มีการทำสัญญาขายฝาก รวมทั้งต้องเสียค่าธรรมเนียมและภาษีเงินได้เหมือนกับการขายอสังหาริมทรัพย์ตามปกติด้วย โดยทางสำนักงานที่ดินจะเป็นผู้จัดเก็บประกอบด้วย– ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน  ร้อยละ 2 ของราคาประเมินทุนทรัพย์– อากรแสตมป์  ให้เสียอากรแสตมป์ในอัตรา 1 บาทต่อทุกจำนวนเงิน 200 บาทและเศษของ 200 บาทของราคาขายหรือราคาประเมินทุนทรัพย์แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า– ภาษีธุรกิจเฉพาะ  ต้องชำระภาษีในอัตราร้อยละ 3 ของราคาขายหรือราคาประเมินแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า และรายได้ส่วนท้องถิ่นอีกร้อยละ 10 ของภาษีธุรกิจเฉพาะ (คืออัตราร้อยละ 3.3 ของราคาขาย) ในกรณีที่ขายอสังหาริมทรัพย์ภายใน 5 ปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น– ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 2. ด้านผู้รับซื้อฝากกรณีผู้ขายฝากไถ่ถอนทรัพย์ภายในกำหนด ผู้รับซื้อฝากซึ่งได้รับชำระเงินถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 […]

by KKN การบัญชี

จ้างเด็กจบใหม่

ค่าใช้จ่ายในการฝึกเตรียมเข้าทำงาน

วันนี้ผมจะมาพูดถึงในกรณีที่เป็นค่าใช้จ่ายในการฝึกเตรียมเข้าทำงาน ซึ่งค่าใช้จ่ายในการฝึกเตรียมเข้าทำงานจะมีค่าใช้จ่ายที่มากกว่าการฝึกงานธรรมดา ก็คือนอกจากจะมีการให้ค่าเบี้ยเลี้ยงแล้ว ก็อาจจะมีการจ่ายค่าเล่าเรียน หรือค่าที่พักให้ด้วย เพื่อที่จบมาแล้วจะรับเข้าทำงานเลย . เรามาดูกันครับว่ารายจ่ายเหล่านี้จะเป็นรายจ่ายต้องห้าม หรือได้รับการยกเว้นครับ

by KKN การบัญชี

เบี้ยประกัน

นายจ้างจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้พนักงาน

วันนี้เราจะมาพูดถึงกรณีที่นายจ้างจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตให้พนักงาน โดยที่พนักงานเป็นผู้เอาประกัน แต่นายจ้างจะเป็นผู้รับประโยชน์ ซึ่งเมื่อพนักงานมีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ หรือเมื่อมีอายุครบเกษียณ นายจ้างถึงจะยกผลประโยชน์ให้แก่พนักงานในกรณีที่พนักงานเกษียณอายุ หรือมอบให้แก่ทายาทของพนักงานในกรณีที่พนักงานเสียชีวิต สำหรับการรับรู้ผลประโยชน์ที่นายจ้างได้รับตามกรมธรรม์ นายจ้างจะต้องบันทึกบัญชีเป็นรายได้ และเมื่อได้ส่งมอบผลประโยชน์ให้พนักงานตามระเบียบสวัสดิการพนักงานของบริษัทแล้ว นายจ้างถึงจะมีสิทธินำผลประโยชน์ที่ส่งมอบให้พนักงานมาถือเป็นรายจ่ายได้ ส่วนค่าเบี้ยประกันชีวิตที่จ่ายแทนพนักงานทุกคน สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามครับ และที่จะลืมไม่ได้เลยในส่วนของพนักงาน เบี้ยประกันชีวิตที่นายจ้างจ่ายแทนพนักงานและผลประโยชน์ที่พนักงานจะได้รับจากนายจ้าง ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครับ

by KKN การบัญชี

กองทุนรวม

ภาษีเงินได้จากการลงทุน

กองทุนรวมการระดมเงินลงทุนจากคนจำนวนมาก ไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ตามนโยบายของแต่ละกองทุนเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนแล้วนำมาเฉลี่ยคืนให้กับผู้ลงทุนแต่ละตามสัดส่วนที่ลงทุน ตราสารหนี้ตราสารการเงินเป็นสัญญาที่แสดงความเป็นหนี้ระหว่างผู้ออกตราสารหนี้และผ๔ถือตราสารหนี้ ที่เรียกว่า “ผู้ลงทุนตราสารหนี้” โดยผู้ถือตราสารหนี้จะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้

by KKN การบัญชี

การเช่า

ขนส่ง กับ เช่ารถยนต์ต่างกันอย่างไร

ขนส่ง กับ เช่ารถยนต์ ต่างกันอย่างไร . ถ้าหากจะให้สรุปง่ายๆเลยก็คือ การขนส่ง ➡️ หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 และ ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม การเช่า  ➡️ หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 5 และ ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม . ซึ่งจะเป็นเช่าหรือขนส่งดูที่ข้อตกลง ส่วนเอกสารหลักฐานไม่ว่าจะเป็น ใบแจ้งหนี้, หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายใบกำกับภาษี (กรณีเช่ารถ) ควรระบุให้ชัดเจนตามลักษณะของข้อตกลงครับ

by KKN การบัญชี

เลิกทำธุรกิจ

หน้าที่ของผู้ชำระบัญชีเมื่อเลิกกิจการ

ผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ ดังนี้• จดเลิกบริษัท • ทำงบการเงิน ณ งวดบัญชที่ที่เลิกกิจการ • รวบรวมทรัพย์สินทั้งหมดของกิจการเพื่อจำหน่ายทรัพย์สิน รวมถึงการชำระบัญชีของกิจการ • รวมถึงผู้มีหน้าที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นทั้งหมดของกิจการด้วย

by KKN การบัญชี

กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี

ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  ที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าและบริการโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีสิทธิและหน้าที่ในการเสียภาษีเช่นเดียวกับผู้ประกอบการค้าขายมีหน้าร้านทั่วไป ที่ต้องนำรายได้มารวมคำนวณยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ และมีหน้าที่จดทะเบียนเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามเงื่อนไขของกฎหมาย 1. เว็บไซต์แสดงรูป และราคาสินค้า (Catalog Website) เว็บไซต์ที่ผู้ประกอบการจัดทำขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ เป็นห้องแสดงสินค้า รายการราคาสินค้า ประชาสัมพันธ์รายการสินค้าโปรโมชั่น ณ ช่วงเวลานั้น เน้นไปทางโฆษณาสินค้าตัวใหม่ๆ แต่ไม่ได้มีการซื้อขายสินค้าออนไลน์ หากผู้ซื้อสินค้าสนใจจะซื้อสินค้า ต้องโทรศัพท์เพื่อสั่งสินค้า การชำระราคาค่าสินค้า จะเกิดขึ้นทันทีที่รับมอบสินค้าจากพนักงานส่งสินค้า 2.เว็บไซต์เพื่อการขายสินค้า (e-Shopping) สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของกิจการ ใช้ชื่อกิจการเป็นชื่อเว็บไซต์โดยไม่มีคำอื่นต่อท้าย สร้างกิจกรรมบนเว็บไซต์แบบเต็มรูปแบบ โดยจะมีกิจกรรมต่างๆ มีการเคลื่อนไหว ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเว็บไซต์ให้ทันสมัยตลอดเวลา มักมีผู้เข้าชมเป็นจำนวนมาก การขายสินค้า จะมีระบบการรับชำระค่าสินค้า มีตะกร้าให้เลือกสินค้า มีระบบการตรวจสอบการส่งของ มีระบบต่างๆ อีกมากมาย เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้า ความแตกต่าง 3.การขายสินค้าบนชุมชนเว็บบอร์ดโดยผู้ขายไม่มีเว็บไซต์เป็นของตนเอง (Community Web) 4.เว็บไซต์เพื่อการประมูลขายสินค้า e-Auction (electronic auction) 5.เว็บไซต์ห้างสรรพสินค้าออนไลน์ e-Market Place หรือ Shopping Mall 6.เว็บไซต์แหล่งซื้อขายภาพถ่ายดิจิตอล Stock Photo […]

by KKN การบัญชี

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีผู้มีเงินได้ครบเกษียณอายุงานระหว่างปี

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในเดือนสุดท้ายที่ผู้มีเงินได้ออกจากงานระหว่างปี ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีสิทธิที่จะคำนวณภาษี เพื่อให้เงินภาษีที่หักไว้ถูกต้องครบถ้วนตามรายการค่าลดหย่อนที่แท้จริงตามหลักฐานที่ผู้มีเงินได้นำมาแสดง โดยนำเงินภาษีที่หักไว้ไม่ครบถ้วนหรือเกินในเดือนก่อน ๆ มารวมหรือหักกับภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายไว้ครั้งสุดท้าย ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้หักและนำส่งไว้เท่านั้น ตัวอย่าง – กรณีถูกหักภาษีในแต่ละเดือนไว้ขาด ตัวอย่าง – กรณีถูกหักภาษีในแต่ละเดือนไว้เกิน

by KKN การบัญชี