ผลลัพท์การค้นหา

ลดหย่อนทางภาษี

ภริยามีเงินได้จากดอกเบี้ยเงินฝาก ใช้สิทธิ์ลดหย่อนภริยาได้หรือไม่

ตัวอย่าง : ภริยามีเงินฝากประจำ 100 ล้านบาท มีรายได้ดอกเบี้ยที่ได้รับจากธนาคารปีละ2 ล้านบาท ซึ่งธนาคารได้หักภาษี ณ ที่จ่ายเอาไว้ 15% ทุกปีภริยาเลือกที่ให้ภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีสุดท้ายแล้วจบไปเลย (ไม่นำรายได้มารวมยื่นภาษีประจำปี) นายนัทซึ่งเป็นสามี สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภริยา 60,000 บาทได้หรือไม่? คำตอบ : กรณีภริยามีเงินได้จากดอกเบี้ยเงินฝากโดยได้เสียภาษีไว้แล้ว 15% และภริยาเลือกว่าที่จะปล่อยให้ภาษีถูกหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีสุดท้ายจบไปเลย (ไม่นำรายได้ดอกเบี้ยมายื่นแบบภาษีตอนสิ้นปี) สามีก็จะสามารถนำภริยามาหักลดหย่อนในฐานะคู่สมรสของผู้มีเงินได้จำนวน 60,000 บาท

by KKN การบัญชี

ลดหย่อนทางภาษี

คนต่างชาติ สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภรรยาได้หรือไม่

นายจอน เป็นคนต่างประเทศได้เข้ามาทำงานในประเทศไทย โดยมีใบอนุญาตทำงานถูกต้องตามกฎหมาย ตอนนี้นายจอนกำลังจะยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี เลยสงสัยว่านายจอนสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภรรยา ได้หรือไม่ นายจอนมีภรรยาเป็นชาวต่างประเทศและอาศัยอยู่ที่ต่างประเทศ คำตอบ : กรณีชาวต่างชาติเข้ามาทำงานในไทยเกิน 180 วัน ถือว่าผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในไทย สามารถหักลดหย่อนภริยาได้ ไม่ว่าภริยาจะอยู่ในไทยหรืออยู่ต่างประเทศ และยังสามารถใช้สิทธิค่าลดหย่อนบุตรได้อีกคนละ 30,000 บาท ไม่ว่าบุตรจะอยู่ไทยหรือต่างประเทศ แต่จะใช้สิทธิบิดาและมารดาได้หรือไม่จะต้องดูว่าบิดาและมารดามีเลขที่บัตรประจำตัวประชาชนตามกฎหมายทะเบียนราษฎรหรือไม่

by KKN การบัญชี

รายจ่ายต้องห้าม

การบันทึกรายจ่ายต้องห้าม ทำให้กิจการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลมากขึ้นจริงหรือไม่

ตัวอย่าง : บริษัทซื้อสินค้าจากบุคคลธรรมดา 200,000 บาท โดยจ่ายชำระเงินเป็นเงินสด และบุคคลธรรมดาไม่ได้ให้หลักฐานอะไรเลย เช่น ใบเสร็จรับเงิน, สำเนาบัตรประชาชน ดังนั้นค่าใช้จ่ายดังกล่าวถูกจัดประเภทเป็นรายจ่ายต้องห้าม การบันทึกรายจ่ายต้องห้าม 200,000 บาท เข้าไปในงบการเงินของบริษัทจะทำให้บริษัทเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นหรือไม่ รายจ่ายต้องห้ามไม่ทำให้เสียภาษีเพิ่มขึ้น แถมยังช่วยทำให้กำไรสะสมของกิจการลดลง

by KKN การบัญชี

ค่าตรวจสุขภาพ

ค่าตรวจสุขภาพประจำปีของพนักงาน นำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่

บริษัทมีสวัสดิการตรวจสุขภาพให้กับพนักงานทุกคนในบริษัทฟรี สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่?? ค่าตรวจสุขภาพประจำปีของพนักงาน ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่ารักษาพยาบาลในประเทศไทยที่นายจ้างจ่ายให้ สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีของกิจการได้ และสำหรับพนักงานถือเป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (กฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ข้อที่ 2 (4)) สรุป : เป็นรายจ่ายทางภาษีได้

by KKN การบัญชี

สัญญาเช่าที่ดิน

สัญญาเช่าที่ดิน 3 ปี จะต้องคิดค่าเสื่อมอาคารกี่ปี

กฏหมายกำหนดให้ กิจการมีสิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินที่เป็นอาคารถาวรได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 5 ของมูลค่าต้นทุน (ตามมาตรา 4 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527) สรุป : ไม่ว่ากิจการจะทำสัญญาเช่ากี่ปี ก็ต้องหักค่าเสือมราคาตามอัตราที่กฏหมายกำหนดเท่านั้น (กฎหมายกำหนดตัดค่าเสื่อมราคา 20 ปี)

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

ค่าใช้จ่ายต้องเป็นเอกสารใบกำกับภาษีหรือไม่

ค่าใช้จ่ายต้องเป็นเอกสารใบกำกับภาษีหรือไม่ เอกสารประกอบการจ่ายชำระเงินจะเป็นใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงินธรรมดาก็ได้ขอแค่มีข้อมูลดังต่อไปนี้ ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ขาย ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้า รายละเอียดสินค้าหรือบริการ จำนวนเงินค่าสินค้าหรือบริการ กิจการสามารถนำมาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีของกิจการได้

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

บิลค่าใช้จ่ายต้องเป็นชื่อบริษัทหรือไม่

ตัวอย่าง : บริษัท คิดไม่ออก จำกัด ได้เช่าตึกแถวจากนายนัทเพื่อใช้เป็นสำนักงาน ต่อมาบริษัทได้จ่ายชำระค่าไฟฟ้าไป แต่ปรากฏว่าชื่อในเอกสารใบเสร็จค่าไฟฟ้าไม่ได้ออกมาเป็นชื่อของบริษัท แต่ออกมาเป็นชื่อของนายนัท (ผู้ให้เช่า) บริษัทสามารถนำใบเสร็จค่าไฟฟ้ามาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่ คำตอบคือ ได้นั่นเอง ถ้าผู้ประกอบการสามารถพิสูจน์ได้ว่าค่าไฟฟ้าดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ เช่น ที่อยู่ในใบเสร็จค่าค่าไฟฟ้า ตรงกับที่อยู่ของสถานประกอบการ และกิจการเป็นผู้จ่ายเงินค่าไฟฟ้านั้นไปจริง ค่าใช้จ่ายดังกล่าวสามารถนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (14) แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับภาษีซื้อจะถือเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5(1)แห่งประมวลรัษฎากร (ลงเป็นรายได้ต้องห้าม ห้ามนำไปรวมเป็นต้นทุนค่าไฟฟ้า)

by KKN การบัญชี

เคลมภาษีซื้อ ค่าอบรม

ค่าอบรมทำอย่างไรถึงหักค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่า

ค่าอบรมที่สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่า ต้องเป็นค่าใช้จ่ายในการอบรมของลูกจ้างเท่านั้น นายจ้างไปอบรมจะเอาค่าอบรมมาหักเป็นรายจ่าย 2 เท่าไม่ได้ หลักสูตรจะต้องเกี่ยวข้องกับการทำงานของพนักงาน ช่วยพัฒนาฝีมือแรงงาน ต้องมีการกำหนดเงื่อนไขให้ลูกจ้างที่เข้ารับการฝึกอบรมนั้นกลับเข้าทำงานให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นหลังจากการฝึกอบรมเสร็จสิ้น บริษัทจะต้องกรอก “แบบขึ้นทะเบียนผู้ประกอบกิจการ (สท. 1)” พร้อมแนบเอกสารของบริษัท เพื่อใช้ในการสมัคร หลังจากสมัครเรียบร้อยแล้วกิจการจะได้รับ Username & Password ในการขออนุมัติหลักสูตรจะยื่นผ่านระบบออนไลน์ แนบหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น เนื้อหา, ตารางเวลาอบรม, ประวัติวิทยากร, รูปถ่ายเป็นต้น ลักษณาการอบรมแบ่งออกเป็น 2 แบบ In house training (จัดอบรมภายในกิจการ) Public training (อบรมกับบุคคลทั่วไป) ไม่ว่าอบรมแบบไหนเมื่ออบรมเสร็จสิ้นจะต้องส่งข้อมูลเพื่อขออนุมัติกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงานทุกครั้งก่อนจึงจะใช้สิทธิหักค่าใช้จ่าย 2 เท่าได้ ปัจจุบันการอบรมผ่านระบบออนไลน์ ยังไม่สามารถหักค่าใช้จ่าย 2 เท่าได้ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการอบรม (ที่นำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่า) ค่าจ้างบริษัทภายนอกให้เข้ามาจัดการฝึกอบรมแก่พนักงานของตน ค่าใช่จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าอาหารว่าง ค่าอาหารกลางวันที่ทางบริษัทจัดสรรให้กับพนักงานที่เข้าอบรมและวิทยากรนั้น

by KKN การบัญชี

จัดตั้งบริษัท

อยากเปลี่ยนจากบุคคลเป็นนิติบุคคลมีภาระภาษีอะไรบ้าง?

ทรัพย์สินเดิมธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา ได้แก่ สินค้าสำหรับขาย สังหาริมทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์ จดทะเบียนบริษัทโดยชำระค่าหุ้นด้วย “ทรัพย์สิน” สินค้าสำหรับขาย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นเงินได้พึงประเมิน มาตรา 40(8) สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบ แบบเหมาได้ร้อยละ 60 แบบตามความเป็นจริงและสมควร (ต้องแนบเอกสาร) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีที่เป็นผู้ประกอบการการจดทะเบียนเท่านั้น) ไม่ถือเป็นการขาย ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/1 (8)(ฉ) สำหรับสินค้าคงเหลือของผู้ประกอบการที่ได้โอนกิจการทั้งหมด ***ทั้งนี้ผู้รับโอนกิจการต้องอยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 สังหาริมทรัพย์ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา 42(9) แห่งผลประมวลรัษฎากรสำหรับการขายสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรือได้มาโดยไม่ได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีที่เป็นผู้ประกอบการการจดทะเบียนเท่านั้น) ไม่ถือเป็นการขาย ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/1 (8)(ฉ) สำหรับสินค้าคงเหลือของผู้ประกอบการที่ได้โอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน ***ทั้งนี้ผู้รับโอนกิจการต้องอยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 อสังหาริมทรัพย์ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นเงินได้พึงประเมิน มาตรา 40(8) การขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรือที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา หรือ การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่น(เสียที่กรมที่ดินจบเลย) ภาษีธุรกิจเฉพาะ เฉพาะการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไร กรณีที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ มีชื่อในทะเบียนบ้านเกิน […]

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

ทุกครั้งที่จ่ายค่าอาหาร เหมือนได้ส่วนลดภาษี 10%

ทุกคนจะท่องจำว่าค่ารับรองใช้ได้ 1,000,000 ละ 3,000 บาท ส่วนที่เกินไม่ต้องขอบิลใบเสร็จมาแล้วเพราะมันเป็นค่าใช้จ่ายบวกกลับ ไม่ช่วยทำให้เสียภาษีเงินได้น้อยลง คนส่วนใหญ่จะเลิกขอบิลมาบันทึกบัญชี เมื่อค่ารับรองเกินที่ใช้ได้ นักบัญชีไม่เคยบอกอีกด้านหนึ่งให้คุณรู้> แค่คุณขอบิลใบเสร็จมาจะช่วยทำให้คุณเหมือนได้ส่วนลดค่าอาหาร 10% ทำไมแค่ขอบิลใบเสร็จ เหมือนได้ส่วนลดค่าอาหาร 10% ในภาพจะถูกอย่างที่ทุกคนเข้าใจคือบันทักค่ารับรองไม่ช่วยให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลลดลง แต่ความลับคือการบันทึกค่ารับรองช่วยทำให้กิจการมีกำไรสะสมลดลง ส่งผลทำให้ประหยัดภาษีเงินปันผล 10% สรุป ค่ารับรองที่เกินกฏหมายกำหนด ให้ขอบิลใบเสร็จมาบันทึกบัญชีด้วย ค่ารับรองนี้ไม่ช่วยทำให้เสียภาษีเงินได้น้อยลง ช่วยทำให้กำไรสะสมทางบัญชีลดลง กำไรสะสมลดลง = ประหยัดภาษีเงินได้ผล 10% = ส่วนลดค่าอาหาร เงื่อนไขของค่ารับรอง ค่ารับรองมี 5 ประเภทได้แก่ ที่พัก อาหาร พาหนะ มหรสพ และสิ่งของ กรณีให้เป็นสิ่งของต้องไม่เกิน 2,000 บาท และต้องให้ตามเทศกาลเช่น กระเช้าปีใหม่ เป็นการรับรองตามปกติธุรกิจทั่วไป และบุคคลที่ได้รับการรับรองไม่ใช่ลูกจ้างหรือกรรมการของกิจการ เว้นแต่มีหน้าที่เข้าร่วมการรับรองนั้น ค่ารับรองนั้นจะต้องได้รับการอนุมัติจากกรรมการ/ผู้ได้รับมอบหมาย

by KKN การบัญชี

เปิดบริษัท

เปิดบริษัทแต่มีชาวต่างชาติมาหุ้นด้วยต้องทำอย่างไร??

หากมีชาวต่างชาติมาถือหุ้นด้วย จะให้ชาวต่างชาติถือหุ้นเท่าไหร่ดี?? มากกว่า 50 % >> บริษัทต่างด้าว มีข้อจำกัดในธุรกิจบางประเภทที่ห้ามทำ หรือจะต้องขออนุญาตก่อนถึงจะทำได้ ห้ามถือครองที่ดิน น้อยกว่า 50 % >> นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย แล้วคนต่างชาติเป็นเจ้าของที่แท้จริง แต่อยากจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่ตั้งตามกฎหมายไทยล่ะ?? หานอมินีทำสัญญาโอนขายหุ้นล่วงหน้า [ผิดกฏหมาย] การถือหุ้นไขว้กัน[เลี่ยงกฏหมาย] การถือหุ้นบุริมสิทธิ์ [คนต่างชาติถือหุ้นสามัญ คนไทยถือหุ้นบุริมสิทธิโดยกำหนดในข้อบังคับ ให้หุ้นบริสิทธิ 2 หุ้น = 1 เสียงเป็นต้น ] ถ้ามีคนต่างชาติมาถือหุ้น คนไทยต้องแสดงหลักฐานว่ามีเงินจริง (ป้องกันนอมินี) กรณีจดทะเบียนนิติบุคคลและมีคนต่างชาติเป็นผู้ถือหุ้น กรมพัฒน์จะกำหนดให้ผู้ถือหุ้นคนไทยจะต้องแสดงหลักฐานทางการเงินว่ามีเงินจริงตามสัดส่วนการถือหุ้น เพื่อป้องกันการเป็นนิมินี บริษัททุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท คนต่างชาติถือหุ้น 49% = 510,000 บาท คนไทย A ถือหุ้น 26% = 260,000 บาท คนไทย B ถือหุ้น 25% […]

by KKN การบัญชี

ค่าเช่า

กรรมการให้บริษัทใช้สถานที่ ถ้าไม่คิดค่าเช่าจะมีประเด็นอะไรหรือไม่

เงินได้ตามมาตรา 40(5)(ก)“เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินไม่ว่าจะเป็นการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ถ้าเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้มีเงินได้แสดงเงินได้ต่ำไป ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเงินได้นั้นตามจำนวนเงินที่ทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ตามปกติ และให้ถือว่าจำนวนเงินที่ประเมินนี้เป็นเงินได้พึงประเมินของผู้มีเงินได้” สรุป : บุคคลธรรมดาให้เช่าทรัพย์สิน ถ้าคิดค่าเช่าต่ำไป หรือไม่คิดค่าเช่า เจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินรายได้เพิ่ม และจะต้องไปเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การแบ่งรายได้เงินเดือนมาเป็นรายได้ค่าเช่าจะช่วยประหยัดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา รายได้เงินเดือน โบนัส เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% แต่ไม่กิน 100,000 บาท เงินเดือน 200,000 ก็หักค่าใช้จ่ายได้ 100,000 เงินเดือน 500,000 ก็หักค่าใช้จ่ายได้ 100,000 รายได้ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ สามารถหักค่าใช้จ่ายตามจริงและสมควร หรือหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 30% (ไม่มีเพดานสูงสุด) ถ้าให้บริษัทเช่าจะเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเยอะหรือไม่? กรรมการ เป็นที่ดินของกรรมการ ขออนุญาตปลูกสร้างอาคารในชื่อของกรรมการ จัดทำหนังสือยินยอมให้ที่ดินและอาคารเป็นสถานประกอบการ ของกิจการโดยไม่จำกัดระยะเวลา ให้ใช้ตราบที่ยังใช้อยู่ กิจการ กิจการเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างอาคาร ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากตัวอาคารทั้งหมด กิจการเป็นผู้จ่าย ภาษีซื้อ เนื่องจากอาคารไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของกิจการ ดังนั้นจึงไม่สามารถนำภาษีซื้อจากการก่อสร้างอาคารไปใช้เป็นเครดิตหักออกจากภาษีขาย ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระในแบบ ภ.พ.30 ได้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา – […]

by KKN การบัญชี

จดทะเบียนเพิ่มสาขา

1 บริษัทหลายสาขา หรือ1 สาขา 1 บริษัท

ถ้าคุณเป็นเจ้าของธุรกิจที่มีสาขามากถึง 4 สาขาคุณจะเลือกตัดสินใจอย่างไรระหว่าง 1 บริษัทหลายสาขา หรือ1 สาขา 1 บริษัท คำตอบคือ ไม่มีข้อใดถูก และไม่มีข้อใดผิด!! ขึ้นอยู่กับเหตุผลสนับสนุนของแต่ละกิจการ ซึ่งจะต้องพิจารณาเป็นรายกิจการไปไม่มีคำตอบที่ตายตัว ตัวอย่าง : นางสาว A เป็นร้านขายชานมไข่มุกตามห้างสรรพาสินค้าและมีถึง 4 สาขา ซึ่งปัจจุบันประกอบธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา จากการขายสำหรับสาขาที่ขายดีทีสุดยอดขายประมาณ 200,000 – 250,000 บาทต่อเดือน และสาขาที่ขายไม่ดียอดขายประมาณ100,000 บาทต่อเดือน ตอนนี้อยากจะเป็นเป็นบริษัทเพื่อจะเสียภาษีให้ถูกต้อง ควรจะเปิด 1 บริษัท หรือเปิดสาขาละ 1 บริษัทดี 1 สาขา 1 บริษัท ข้อดี บางสาขาอาจจะไม่ต้องจด VAT เป็น SME กำไร 300,000 บาทแรกยกเว้นภาษี เวลาโดนเจ้าหนี้ที่กรมสรรพากรตรวจสอบภาษีจะโดยแค่ 1 บริษัท ไม่โดนทั้ง 4 สาขา ข้อเสีย […]

by KKN การบัญชี

วางแผนภาษี

วางแผนภาษีด้วยการซื้อคอนโด ดีไหมนะ??

ปีนี้กำไรเยอะ ผู้บริหารอยากวางแผนภาษีโดยให้บริษัทซื้อคอนโดจะได้นำค่าเสื่อมราคาของคอนโดมาเป็นค่าใช้จ่าย จะได้เสียภาษีน้อยลง [คอนโดที่ซื้อเอาไว้ให้ผู้บริหารนอน เวลากลับบ้านดึก] ตัวอย่าง ซื้อคอนโด 10 ล้านบาท ในแต่ละปีบริษัทจะมีค่าใช้จ่ายในรูปแบบของ “ค่าเสื่อมราคา” (10,000,000 / 20ปี) = 500,000 บาท แต่เดี๋ยวก่อนนะ!!! ซื้อมาให้กรรมการของบริษัทอยู่ มันเป็นรายจ่ายส่วนตัว >> ค่าเสือมราคาจะต้องถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามไม่ให้นำมารวมคำนวนภาษีเงินได้ ถ้าวางแผนภาษี บอกว่าเป็นสวัสดิการให้กับกรรมการล่ะ แค่นี้มันก็เกี่ยวข้องกับกิจการเรียบร้อยแล้ว เป็นสวัสดิการก็ดีนะ เพราะกรณีพนักงานได้อยู่ห้องพัก โดยไม่เสียค่าเช่า ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) พนักงานจึงต้องนำประโยชน์เพิ่มที่ได้รับทั้งหมดมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตอนขายคอนโดระวังเสียภาษีเพิ่มอีก ปี 2560 ซื้อคอนโด 10 ล้านบาท ปี 2570 มูลค่าคอนโดคงเหลือตามบัญชี (10 ล้าน – ค่าเสื่อม 10 ปี) = 5 ล้านบาท ปี 2570 ตัดสินใจขายคอนโด (คอนโดส่วนใหญ่มักจะมีราคาที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับตอนซื้อมา (ถ้าไม่ซวย) […]

by KKN การบัญชี

เงินกู้ยืมกรรมการ

เงินกู้ยืมกรรมการ

หลายคนถามมาว่าเงินกู้ยืมกรรมการคืออะไร? วันนี้เรามาทำความรู้จักกันไปพร้อมๆกันเลยครับ เงินกู้ยืมกรรมการแบ่งเป็น 2 ฝั่งได้ดังนี้ บริษัท กู้ยืมเงิน กรรมการ บริษัท ให้ กรรมการกู้ วิธีแก้ไข กิจการขาดทุนจริง / เงินไม่พอใช้เพราะมีการลงทุนในช่วงเริ่มต้น >>ปล่อยทิ้งไว้ไม่ต้องทำอะไรเลย ขาดทุนจนเกินทุนจากการตกแต่งบัญชี >> เพิ่มทุนจดทะเบียน >>ภาวนาขออย่าให้โดนตรวจสอบภาษีย้อนหลัง เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการเกิดจากสาเหตุไหนบ้าง จดทะเบียนบริษัท แต่ไม่มีเงินจริงตามทุนจดทะเบียน จ่ายเงินซื้อสินค้าหรือบริการแต่ไม่ได้รับใบเสร็จ ทำให้ไม่มีหลักฐานมาบันทึกบัญชี บริษัทประกอบธุรกิจมีกำไร เจ้าของอยากนำเงินออกมาใช้ส่วนตัว แต่ไม่อยากทำเรื่องจ่ายเงินปันผล เพราะจะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% เงินหายไปจากบริษัทหรือปิดงบการเงินไม่ลงตัวและไม่สามารถหาสาเหตุไม่ได้ กรรมการรับผิดชอบไป บัญชีเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการน่ากลัวเพราะอะไร?? มาตรา 65 ทวิ (4) กรมสรรพากรบอกว่าในกรณีให้กู้ยืมเงิน โดยไม่มีค่าตอบแทนหรือดอกเบี้ย หรือดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินค่าตอบแทนดอกเบี้ยนั้นให้เป็น ตามราคาตลาดในวันที่ให้กู้ยืมเงิน สรุป : บริษัทให้กรรมการกู้ยืมเงิน จะต้องคิดดอกเบี้ย ดอกเบี้ยจะต้องคิดในอัตราที่ OK ด้วย ปัญหาต่อเนื่องจากการที่มีเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการเยอะ บริษัทมีเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ >> กรมสรรพากรบังคับบริษัทจะต้องคิดดอกเบี้ยเงินให้กู้ […]

by KKN การบัญชี

ระบบรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์

เปลี่ยนมาใช้ระบบรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ทำให้ไม่ถูกส่งข้อมูลจริงหรือไม่

ถ้ามีรายการรับเงินในระบบรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์เข้าเงื่อนไข ผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องรายงานข้อมูลให้กับกรมสรรพากรเหมือนกันสถาบันการเงินทุกประการ 1.ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้งขึ้นไป 2.ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้งและมียอดเงินรวมของธุรกรรมฝากหรือรับโอนรวมกันตั้งแต่ 2,000,000 บาทขึ้นไป สรุป: ใช้วิธีนี้ไม่รอดจากการโดนรายงานข้อมูล

by KKN การบัญชี

ใบเสร็จรับเงิน

ใบเสร็จแยกค่าของ กับ ค่าแรงหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร

ในการหักภาษี ณ ที่จ่าย เราต้องแยกให้ได้ก่อนว่ารายการจ่ายเงินดังกล่าวเป็นลักษณะไหน ระหว่าง มุ่งโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้า กับ มุ่งความสำเร็จของงาน มุ่งโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้า มุ่งโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้า = ขายสินค้า ลักษณะจะเป็นเน้นขายสินค้า แต่บางครั้งอาจจะมีบริการช่วยติดตั้งเล็กๆ น้อยๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าทำให้ขายสินค้าได้ง่ายขึ้น เช่น ซื้อแอร์แถมบริการติดตั้ง, ซื้อเครื่องซักผ้าแถมบริการติดตั้ง เป็นต้น สรุป: มุ่งโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้า ผู้ขายออกบิลมาแต่ค่าสินค้า ก็ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ผู้ขายออกบิลแยกค่าสินค้า กับ ค่าบริการออกจากกัน ให้เราทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายเฉพาะค่าบริการเท่านั้น มุ่งความสำเร็จของงาน มุ่งความสำเร็จของงาน = สัญญาจ้างทำของ คือสัญญาซึ่งผู้รับจ้างตกลงจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น สาระสำคัญของสัญญาจ้างทำของ อยู่ที่ผลสำเร็จของงานดังนั้น ค่าวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการรับจ้างทำของ ย่อมถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้า้งทำของ ซึ่งอยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย สรุป: มุ่งความสำเร็จของงาน หักภาษี ณ ที่จ่าย จาก ค่าของ + ค่าแรง […]

by KKN การบัญชี

เงินปันผล

มีกำไรสะสม ไม่อยากจ่ายเงินปันผล ทำอย่างไรได้บ้าง???

หลังจากที่เปิดบริษัททำธุรกิจมีกำไรเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ชีวิตเหมือนจะจบแบบ Happy ending แต่ที่ไหนได้ผลกำไรอยู่ในบริษัทในรูปของ “กำไรสะสม” เราไม่สามารถนำเงินออกมาใช้ได้จนกว่าจะจ่ายเงินปันผลซึ่งผู้ถือหุ้นจะต้องโดนหักภาษี ณ ที่จ่าย 10%  ไม่อยากจ่ายเงินปันผลทำอย่างไรได้บ้าง ทำเป็นเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการวิธีนี้ไม่ใช่การแก้ไขปัญหา เพราะเมื่อทำเป็นเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ บริษัทก็ต้องคิดดอกเบี้ยการให้กู้ยืมเงิน ทำให้กิจการมีรายได้ดอกเบี้ยไปเสียภาษีเพิ่ม และสุดท้ายกรรมการต้องหาเงินมาคืนบริษัทอยู่ดี เพิ่มค่าใช้จ่ายให้กรรมการเพื่อนำเงินออกวิธีนี้ดูเหมือนจะเข้าท่านะ เทียบความคุ้มค่า [จ่ายปันผล VS ค่าใช้จ่าย]

by KKN การบัญชี

บิลเงินสด

บิลเงินสด/บิลที่ใช้ไม่ได้ ทิ้งเลย หรือ บันทึกบัญชีดี

เอกสารประกอบการบันทึกค่าใช้จ่ายแบบไหนที่ไม่สามารถใช้ได้ ค่าใช้จ่ายที่ไม่ถือให้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี รายจ่ายซึ่งมิได้เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกิจการ, เป็นการส่วนตัว, เสน่หา รายจ่ายซึ่งผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ รายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง บิลค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถนำมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี >> บันทึกบัญชีไป ก็ไม่ช่วยทำให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลน้อยลง ทำไมถึงไม่ควรทิ้งบิลที่ใช้ได้ทางภาษี และควรบันทึกบัญชี การบันทึกค่าใช้จ่ายทุกรายการ ทำให้เงินของกิจการตรงกับความเป็นจริง และลดปัญหาเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ แม้ค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะไม่ช่วยทำให้เสียภาษีเงินได้น้อยลง แต่ก็ทำให้กำไรสะสมของกิจการลดลง ทำให้เราประหยัดภาษีเงินปันผล (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย10%)

by KKN การบัญชี

เงินทดรองจ่าย

ระบบการทำงานเงินทดรองจ่ายและการเคลียร์เงิน

มาดูกระบวนการของเงินทดรองจ่ายและการเคลียร์เงินทดลองจ่ายกันเลยครับ กำหนดระเบียบการเบิก และ การเคลียร์เงินทดรองจ่าย เงินทดรองจ่ายมีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับกิจกรรมหรือการดำเนินงานทางธุรกิจ ผู้ขอเบิกเงินทดรองจ่ายจะต้องกรอกแบบฟอร์ม “ใบเบิกเงินทดรองจ่าย” ส่งให้หัวหน้าแผนกอนุมัติ และทำการขอเบิกเงินกับแผนกบัญชีล่วงหน้าไม่น้อยกว่า XX วันก่อนวันที่ต้องการใช้เงินทดรองจ่าย การจ่ายเงินทดรองจ่ายจะจ่ายเป็นเช็คขีดคร่อมระบุชื่อผู้เบิกเงินทดรองจ่าย หรือโอนเงินเข้าบัญชีของผู้เบิกเงินทดรองจ่ายเท่านั้น ผู้ขอเบิกจะต้องเก็บรวบรวมเอกสารประกอบการรายจ่าย สำหรับใช้ประกอบการเคลียร์เงินทดรองจ่าย ผู้ขอเบิกจะต้องเคลียร์เงินทดรองจ่ายภายใน 15 วันหลังจากวันที่เสร็จสิ้นกิจกรรม ตัวอย่างแบบฟอร์ม – ใบเบิกเงินทดรองจ่าย ตัวอย่างแบบฟอร์ม – ใบเคลียร์เงินทดรองจ่าย จัดทำทะเบียนคุมลูกหนี้เงินทดรองและติดตามทวงถาม

by KKN การบัญชี