บทความล่าสุด

Uncategorized

สัดส่วนการถือหุ้น เรื่องสำคัญที่ต้องระวัง

สัดส่วนการถือหุ้นมีผลอะไรบ้าง…… 20% –   สามารถเรียกร้องให้มีการจัดประชุมผู้ถือหุ้นได้ 51% –   จำนวนเสียงขั้นต่ำสำหรับการโหวตเพื่อดำเนินการอะไรบางอย่าง เช่น การจ่ายเงินปันผล, การเปลี่ยนแปลงกรรมการ (หรือเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน) 75% –   จำนวนเสียงขั้นต่ำสำหรับการโหวตมติพิเศษได้แก่ • การแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิหรือข้อบังคับ • การเพิ่มทุนโดยออกหุ้นใหม่ • การออกหุ้นใหม่ให้ชำระค่าหุ้นด้วยสิ่งอื่นนอกจากชำระด้วยเงิน • การลดทุน • การเลิกบริษัท การควบบริษัทเข้าด้วยกัน (หรือเสียงมากกว่า3ใน4ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน) เรื่องเล่าจากประสบการณ์จริง!

by KKN การบัญชี

กรมสรรพากร

ร่างกฏหมายแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่..)เพื่อรองรับ National e-Payment Master Plan!

สรุปสั้นๆ ไม่เกิน 8 บรรทัด ไม่ต้องถามแล้วว่าสรรพากรจะสามารถดู Statement เราได้รึเปล่า เพราะต่อไปสถาบันการเงินจะต้องมีหน้าที่รายงานคนที่มีธุรกรรมผิดปกติให้สรรพากรเองภายใน มี.ค. ของทุกปี ธุรกิจผิดปกติ ได้แก่ มีรายการหรือรับโอนเงิน เกิน 3,000 รายการต่อปี (นับรวมทุกบัญชี) มีรายการหรือรับโอนเงิน เกิน 200 รายการต่อปี และมียอดรวมกันเกิน 2 ล้านบาทต่อปี (นับรวมทุกบัญชี) ขายของออนไลน์ รับเงินวันละ 8 ครั้งก็โดนแล้ว ใครที่หนีภาษีอยู่ ก็ระวังเอาไว้นะครับภาษีย้อนหลังมันน่ากลัว

by KKN การบัญชี

กรมสรรพากร

ไม่ต้องเป็นหมอดูก็ทายอนาคตได้ “จะโดนสรรพากรเรียกตรวจมั้ย”

รู้หรือไม่ปัจจุบันกรมสรรพากรใบระบบ Risk Based Audit System (RBA) ในการเลือกผู้ประกอบการมาตรวจสอบภาษี RBA คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่วิเคราะห์ความเสี่ยงจากข้อมูลภายนอกและภายใน เช่น งบการเงิน การยื่นแบบภาษี GDP กรมศุลกากร เป็นต้น ซึ่งกรมสรรพากรได้ใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกถึง 132 เกณฑ์ความเสี่ยงมาวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งงบการเงิน จัดได้ว่าเป็นตัวแปรที่สำคัญโครตๆ ว่ากิจการเรามีความเสี่ยงที่จะโดนตรวจหรือไม่ ดังนั้นผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับงบการเงิน ตัวอย่างงบการเงิน (ที่เจ้าของไม่เคยสนใจ จนกระทั้งมีปัญหาโดนตรวจ) ประเด็นความเสี่ยงเบื้องต้นที่ผู้ประกอบการสามารถดูเองได้ กำไรขั้นต้นติดลบ กิจการบันทึกบัญชีด้วยเงินสดทุกรายการ มีเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ หรือบุคคลอื่น แต่ไม่ได้คิดดอกเบี้ย มีสินค้าคงเหลือสูงจนผิดปกติ เมื่อเทียบกับยอดขาย กิจการมีลูกหนี้การค้าสูงมากจนผิดปกติ กิจการมีการตั้งค่าใช้จ่ายทิ้งไว้ในงบการเงิน และไม่ได้มีจ่ายเงินออกไปจริง กิจการมีธุรกิจค้าขายกับต่างประเทศแต่ไม่มีการบันทึกกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน มีบัญชีค่าใช้จ่ายในการขาย เช่น ค่านายหน้า ค่าที่ปรึกษา ค่าใช้จ่ายพนักงานสูงจนผิดปกติ

by KKN การบัญชี

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

พร้อมกันรึยังกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอัพเดทล่าสุดปี 2562 บ้านหลังหลักยกเว้นมูลค่า 50 ล้านบาทแรก ที่ดินรกร้างว่างเปล่า มีอัตราจัดเก็บแบบเดียวกับประเภทพาณิชยกรรม ทั้งนี้ หากไม่มีการทำประโยชน์ที่ดิน อัตราภาษีเพิ่ม 0.3% ทุก 3 ปี แต่ไม่เกิน 3% เมื่อเทียบกับอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เสนอครั้งแรกปี 2559 จะพบว่ามีการเก็บภาษีในอัตราที่น้อยลงกว่า 40% ขอบคุณภาพจาก : www.dotproperty.co.th

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ว่าด้วยเรื่องกฎหมายภาษีสินทรัพย์ดิจิทัล!

ส่วนแบ่งกำไร หรือประโยชน์จากการถือครองโทเคนดิจิทัล ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(4)(ซ)(ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร (ให้นึกถึงพวกเงินปันผล ดอกเบี้ย) สิ้นปีให้นำรายได้ไปกรอกแบบยื่นภาษีด้วย ผู้จ่ายเงินได้จะต้องทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ซื้อรถยนต์ในนามบริษัทดีหรือไม่

หลายคนอาจสงสัยว่า ซื้อรถยนต์ในนามบริษัทดีหรือไม่ วันนี้เราลองมาเปรียบเทียบกันให้เห็นชัดๆไปเลย! จะเห็นได้เลยว่า หากซื้อรถยนต์ในนามบริษัทนั้นและถือสินทรัพย์นี้ในระยะยาว จะสามารถช่วยให้ประหยัดภาษีได้เป็นอย่างมากเลยครับ

by KKN การบัญชี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

จ่ายค่าโฆษณา Facebook Google ด้วยบัตรเครดิตกรรมการ เอาเป็นค่าใช้จ่ายบริษัทได้หรือไม่?

สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้แน่นอนครับด้วยหลักพิจารณาง่ายๆ คือ ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกิจการ เป็นค่าใช้จ่ายที่จ่ายเงินออกไปจริง วิธีการปฎิบัติ มีดังนี้ พิมพ์ใบเสร็จรับเงินจาก Facebook / Google แนบหลักฐานการจ่ายเงิน เช่น Statement บัตรเครดิต นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% แทน FB Google ด้วยแบบ ภ.พ. 36 (บริษัทสามารถนำมาใช้เป็นภาษีซื้อได้ในเดือนถัดไป) ตัวอย่างใบเสร็จรับเงินจาก Facebook ตัวอย่างใบเสร็จรับเงินจาก Google ตัวอย่างการยื่น ภ.พ.36

by KKN การบัญชี

ภาษีขาย

ขายของออนไลน์ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้หรือไม่?

สรรพากรบอกว่ากิจการที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ ได้แก่ กิจการที่เป็นขายสินค้าในลักษณะขายปลีก หรือกิจการให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก สามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้ การขายปลีก เป็นการขายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง เพื่อนำไปบริโภคหรือใช้สอย มิได้มีวัตถุประสงค์ นำไปขายต่อ เช่น ขายของชำ ขายยา ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น การให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก เช่น กิจการภัตตาคาร โรงแรม ซ่อมแซมทุกชนิด เป็นต้น จะเห็นว่าขายของออนไลน์ เป็นการขายปลีกให้ผู้บริโภคจำนวนมากเพื่อนำไปใช้บริโภคหรือใช้สอยเอง ดังนั้นขายของออนไลน์จึงสามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้

by KKN การบัญชี

สำนักงานบัญชี

การบันทึกบัญชีเบื้องต้น

เดบิต (Dr.) แปลว่าซ้าย , เครดิต (Cr.) แปลว่าขวา เดบิต จะต้องเท่ากับ เครดิตเสมอ ตัวอย่างการวิเคราะห์รายการค้าทางธุรกิจ 1.บริษัท คิดไม่ออก จำกัด เปิดดำเนินกิจการเกี่ยวกับการรับซ่อมคอมพิวเตอร์ โดยนำเงินสดมาลงทุนทั้งสิ้นจำนวน 30,000 บาท 2. บริษัทซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นเงินสดจำนวน 10,000 บาท 3. บริษัทซื้อสินค้าเพื่อนำมาขายให้ลูกค้า เป็นเงินเชื่อจำนวน 2,000 บาท 4. บริษัทรับเงินสดจากการให้บริการซ่อมคอมพิวเตอร์จำนวน 1,500 บาท 5. บริษัทจ่ายค่าแรงพนักงาน 500 บาท

by KKN การบัญชี

ภาษีป้าย

ป้ายโฆษณาแบบไหน ไม่เสียภาษีป้าย

ป้ายที่ได้รับการยกเว้นภาษีมีทั้งหมด 13 ประเภท ป้ายที่แสดงไว้ ณ โรงมหรสพและบริเวณของโรงมหรสพนั้นเพื่อโฆษณามหรสพ ป้ายที่แสดงไว้ที่สินค้าหรือที่สิ่งหุ้มห่อหรือบรรจุสินค้า ป้ายที่แสดงไว้ในบริเวณงานที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว ป้ายที่แสดงไว้ที่ยานพาหนะ และมีพื้นที่ไม่เกิน 500 ตารางเซนติเมตร และป้ายที่แสดงไว้ที่รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยายนต์ รถบดถนน รถแทรกเตอร์ และล้อเลื่อน ป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารที่ใช้ประกอบการค้า แต่ละป้ายมีพื้นที่ไม่เกิน 1 ตารางเมตร ป้ายของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมาย ป้ายขององค์การที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือตามกฎหมาย ป้ายของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ป้ายของโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่แสดงไว้ ณ อาคารหรือบริเวณของโรงเรียนเอกชนหรือสถาบันอุดมศึกษานั้น ป้ายของผู้ประกอบการเกษตร ซึ่งค้าผลผลิตอันเกิดจากการเกษตรของตน ป้ายของวัดหรือผู้ด าเนินกิจการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนาหรือการกุศลสาธารณะโดยเฉพาะ ป้ายของสมาคมหรือมูลนิธิ ป้ายตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ปัจจุบันมีกฎกระทรวงฉบับที่2 (พ.ศ.2535) ให้เจ้าของป้ายไม่ต้องเสียภาษีสำหรับ ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ รถบดถนน หรือรถแทรกเตอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ล้อเลื่อนตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ยานพาหนะนอกเหนือจากข้างต้นที่กล่าวมา โดยมีพื้นที่ไม่เกิน ห้าร้อยเซนติเมตร

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

ค่าน้ำมันสำหรับรถยนต์ที่ไม่ใช่ในนามกิจการ นำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่!

สรรพากรบอกว่า ค่าน้ำมันรถยนต์ซึ่งไม่ใช่รถยนต์ของบริษัท ไม่สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวนกำไรสุทธิได้ เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าเป็นการนำรถยนต์มาใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อกิจการ มีหลักฐานการใช้รถยนต์ซึ่งสามารถพิสูจน์จนเป็นที่เชื่อถือแก่เจ้าพนักงาน เช่น ระเบียบอนุญาตในการเบิกจ่าย มีหนังสืออนุญาตพร้อมบันทึกอนุญาตให้เดินทางไปติดต่องานเรื่องใด จาดที่ใดถึงที่ใด ระยะเวลาเท่าใด ทะเบียนรถยนต์ บิลค่าน้ำมัน สรุปคือ สามารถนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้นะครับแต่ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าใช้ในกิจการจริง!

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนจดทะเบียนบริษัท สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่

ตอนที่เราจดทะเบียนบริษัท ในเอกสารรายงานการประชุมจะมีข้อที่ 3 ให้ที่ประชุมอนุมัติรายการค่าใช้จ่ายที่จำเป็นใจการตั้งบริษัท ที่ผู้ริเริ่มได้จ่ายเงินส่วนตัวออกไปก่อน แสดงว่ากฏหมายเปิดช่องให้สามารถสามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนจดทะเบียนบริษัทมาเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทในการตั้งบริษัท สรรพากร: หากที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติเป็นเอกฉันท์อนุมัติให้ถือเป็นรายจ่ายในการดำเนินกิจการ บริษัท ก็สามารถนำมาบันทึกเป็นรายจ่ายในการดำเนินกิจการได้เช่นเดียวกับรายจ่ายที่เกิดขึ้นนับแต่วันที่ได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัท โดยจะต้องพิจารณาตามเกณฑ์ 65ทวิ และ 65ตรี โดยสรุปง่ายดังนี้ เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกิจการ เป็นรายจ่ายที่จ่ายไปโดยมีเหตุผลความจำเป็นที่ต้องจ่ายรายการรายจ่ายนั้น สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้รับเงินคือใคร เป็นรายจ่ายที่มีการจ่ายเงินไปจริง

by KKN การบัญชี

หนี้สิน

ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย คืออะไร!??

ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีปัจจุบันแล้ว แต่กิจการยังไม่ได้จ่ายเงิน ตัวอย่างเช่น บริษัทใช้ไฟฟ้าในเดือนธันวาคม แต่ใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าเดือนธันวาคมจะถูกส่งมาให้บริษัทในเดือนมกราคม ดังนั้นในเดือนธันวาคมที่ปิดงบการเงินบริษัทจะยังไม่ได้จ่ายค่าไฟฟ้า ค่าไฟฟ้าจึงถือเป็นค่าใช้จ่ายค้างจ่าย บริษัทประกาศจ่ายเงินโบนัสพนักงาน 1 เดือน สำหรับการทำงานหนักในปี 2560 แต่จะจ่ายเงินโบนัสให้ในสิ้นเดือน มกราคม 2561 ดังนั้นในเดือนธันวาคมที่ปิดงบการเงินบริษัทเงินโบนัสดังกล่าวคือเป็นค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เพราะยังไม่ได้จ่ายเงิน ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายกับการวางแผนภาษี สรรพากรกำหนดให้ใช้เกณฑ์สิทธิ์ในการคำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคล หมายความว่า รายได้และค่าใช้จ่ายเกิดในรอบบัญชีใด ก็ให้ถือรายได้และค่าใช้จ่ายในรอบบัญชีนั้น โดยไม่ได้สนใจว่าจะได้รับเงินหรือจ่ายเงินในรอบบัญชีนั้นหรือไม่ เช่น ค่าไฟฟ้าของเดือนธันวาคม 2560 บริษัทจ่ายเงินค่าไฟฟ้าเดือน มกราคม 2561 สรรพากรจะให้ถือว่าค่าไฟฟ้าเป็นค่าใช้จ่ายของรอบปี 2560 และนอกจากนี้สรรพากรกำหนดให้นิติบุคคลจะต้องบันทึกค่าใช้จ่ายให้ตรงรอบบัญชีเท่านั้น หมายความว่าในการคำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลปี 2561 เราจะเอาค่าใช้จ่ายของปี 2560 หรือ 2562 มารวมในการคำนวนภาษีไม่ได้ ดังนั้นเราจะต้องบันทึกค่าใช้จ่ายค้างจ่ายให้ครบถ้วนก่อนปิดบัญชี ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายกับตกแต่งบัญชี ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายเป็นหนึ่งตัวที่ผู้ประกอบการมักจะนิยมใช้ตกแต่งบัญชี เพราะ ทำได้ง่ายเพียงตั้งเป็นค่าบริการค้างจ่าย แม้จะเลยวันสิ้นรอบบัญชีแล้วก็ยังบันทึกค่าใช้จ่ายเข้าไปได้ (ก็มันค่าใช้จ่ายค้างจ่าย) สร้างเรื่องราวให้เกี่ยวข้องกับกิจการง่าย เช่น ค่าคอม ค่าที่ปรึกษา หากปีนี้กำไรเยอะ ขอตั้งค่าใช้จ่ายค้างจ่ายเข้าไปในงบการเงินได้มั้ย??? สรรพากรบอกว่า […]

by KKN การบัญชี

สำนักงานบัญชี

เปลี่ยนสำนักงานบัญชีต้องขอเอกสารหรือข้อมูลอะไรบ้าง

ขอเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีคืน โดยปกติผู้ประกอบการจะส่งเอกสารบิลซื้อและขายตัวจริงให้กับสำนักงานบัญชีเพื่อไปดำเนินการบันทึกบัญชี ดังนั้นเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีตัวจริงทั้งหมดเราจะต้องขอคืนจากสำนักงานบัญชีกลับมาให้หมด ซึ่งกฏหมายกำหนดเก็บเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีไว้ไม่น้อยกว่า 5ปี ได้แก่ บิลซื้อ บิลขาย (เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี) แบบนำส่งภาษีและใบเสร็จ (ภ.ง.ด. 1, 3, 53 ภ.พ. 30 ภ.ง.ด. 50, 51) แบบนำส่งประกันสังคมและใบเสร็จรับเงิน หมายเหตุ: สำนักงานบัญชีส่วนใหญ่ จะทำใบสำคัญการลงบัญชีพร้อมแนบเอกสาร จัดเป็นแฟ้มและส่งคืนลูกค้าทุกปีอยู่แล้ว ขอข้อมูลการบันทึกบัญชี ข้อมูลการบันทึกบัญชีที่สำนักงานบัญชีจัดทำบัญชีให้เรา ได้แก่ งบทดลอง (TB) สมุดรายวันแยกประเภท (GL) สมุดรายวันเฉพาะ (สมุดรายวันซื้อ, ขาย, จ่ายเงิน, รับเงิน) ทะเบียนทรัพย์สิน ทะเบียนลูกหนี้ ทะเบียนเจ้าหนี้ และรายละเอียดประกอบยอดคงเหลือฝั่งสินทรัพย์และหนี้สิน โดยปกติเมื่อเราเปลี่ยนสำนักงานบัญชี เราจะต้องให้เวลาสำนักงานบัญชีเก่าในการปิดบัญชีเพื่อส่งต่อข้อมูลให้กับสำนักงานบัญชีใหม่ การปิดบัญชีอาจจะต้องใช้เวลา 1-2 เดือนในการส่งต่อข้อมูลไปให้กับสำนักงานบัญชีใหม่ ขอรหัสผ่านต่างๆ รหัสผ่าน DBD e-Filing รหัสผ่านยื่นภาษีกับกรมสรรพากร รหัสผ่านทำธุรกรรมผ่านอินเตอร์เน็ตประกันสังคม ช่วงที่เหมาะสมในการเปลี่ยนสำนักงานบัญชี คือ ตอนเริ่มต้นรอบบัญชีใหม่

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ทำธุรกิจ “เจ๊ง” จะเลิกกิจการ ระวังต้องเสียภาษีก้อนโต

นอกจากนี้ก่อนที่เราจะสิ้นสุดการชำระบัญชี เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรอาจจะขอตรวจสอบภาษีย้อนหลัง เพื่อดูว่าในอดีตที่ผ่านมากิจการเคยกระทำความผิดทางภาษีหรือไม่

by KKN การบัญชี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ทำไมกิจการถึงห้ามขอคืนภาษี

ณ บริษัทข้ามชาติแห่งหนึ่งที่เพิ่งเปิดกิจการไทย ผู้บริหารต่างชาติกำลังคุยกับผู้จัดการบัญชี

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

ค่าเดินทาง,ค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายไม่ต้องมีบิลมาเบิก ทำได้หรือไม่

กรณีที่บริษัท จ่ายค่าพาหนะเหมาจ่ายหรือค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางให้แก่พนักงานของบริษัท ไม่ถือเป็นเงินได้ของพนักงาน เมื่อเข้าลักษณะดังต่อไปนี้ 1. ต้องเป็นค่าพาหนะเหมาจ่ายหรือค่าเบี้ยเลี้ยงสำหรับการปฏิบัติงานเพื่อกิจการตามหน้าที่ของตนเองเท่านั้น 2. อัตราที่จ่ายจะต้องไม่เกินอัตราค่าสูงสุดที่ทางราชการกำหนดจ่ายให้แก่ข้าราชการ (ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในประเทศหรือต่างประเทศ) ถ้าไม่เกินอัตราค่าสูงสุดไม่จำเป็นต้องมีเอกสารมาเบิก 3. กรณีที่จ่ายเกินกว่าอัตราค่าสูงสุดที่ทางราชการกำหนด จะต้องมีเอกสารหลักฐานมาพิสูจน์ได้ว่ามีการจ่ายเงินไปจริง ถ้าไม่สามารถหาหลักฐานมาพิสูจน์ได้เฉพาะส่วนที่เกินจากอัตราค่าสูงสุดให้ถือเป็นเงินได้ของพนักงาน สำหรับกิจการควรจะต้องแบบฟอร์มควบคุมการเบิกจ่ายให้ครอบคลุมเรื่องดังต่อไปนี้ การอนุมัติให้พนักงานไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ รายละเอียดลักษณะงานที่ทำ ระยะเวลาในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ สรุป การจ่ายค่าน้ำมันและค่าเดินทางเหมาจ่ายทำได้ และไม่จำเป็นต้องมีบิลค่าใช้จ่ายมาเบิก ถ้ากำหนดอัตราไม่เกินอัตราค่าสูงสุดที่ทางราชการกำหนด บริษัทควรมีแบบฟอร์มและเกณฑ์ในการเบิดค่าใช้จ่ายดังกล่าว

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

เงินช่วยเหลือค่าโทรศัพท์พนักงาน นำมาเป็นค่าใช้จ่ายบริษัทได้หรือไม่

กรณีที่บริษัทจ่ายค่าบริการโทรศัพท์และเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ ให้แก่พนักงานเพื่อช่วยเหลือ เนื่องจากพนักงานได้นำโทรศัพท์และเครื่องมือสื่อสารส่วนตัวมาใช้ในกิจการ ซึ่งบริษัทได้มีระเบียบการเบิกจ่ายเงินดังกล่าวนั้น หากบริษัทมีหลักฐานพิสูจน์ได้โดยชัดแจ้งว่า บริษัทเป็นผู้จ่ายไปและเกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจการแล้ว บริษัทมีสิทธิ์นำค่าบริการดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ไม่ต้องห้าม และกรณีดังกล่าวไม่ถือเป็นเงินได้ของพนักงานด้วยครับ

by KKN การบัญชี

50 ทวิ
Bitcoin
DBD Registered
e-filing
LTF
SME
SMEs
TFRS16
Uncategorized
Voucher
กท.20 ก
กรมสรรพากร
กองทุนรวม
ก่อสร้างอาคารบนที่ดินของกรรมการ
การขอรับบริจาค
การจัดสรรกำไรสะสม
การตัดหนี้สูญ
การบริจาค
การบันทึกบัญชีเงินสดรับ-จ่าย
การประมาณการกำไรสุทธิขาดไป
การลงทุน
การลงประกาศหนังสือพิมพ์
การลดหย่อนบริจาคทั่วไป
การเช่า
กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กิจการร่วมค้า และกิจการค้าร่วม
กิจการเพื่อสังคม
กิจการโรงแรม
ขนส่ง
ขอคืนเงินประกันไฟฟ้า
ขายกิจการ
ขายสินค้าต่ำกว่าทุน
ขายสินค้าส่งออกไปต่างประเทศ
ขายหนังสือแถมคอร์สเรียนออนไลน์
คริปโทเคอร์เรนซี
ความเสี่ยง-ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ความเสี่ยงของกิจการ
ค่าขนส่ง
ค้าขายออนไลน์
ค่าตรวจสุขภาพ
ค่าปรับ
ค่ารักษาพยาบาล
ค่ารับรอง
ค่าสินไหมทดแทน
ค่าเช่า
ค่าเช่ารับล่วงหน้า
ค่าเบี้ยประกันชีวิต
ค่าเสื่อมราคา
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายของกิจการ
ค่าใช้จ่ายทางภาษี
ค่าใช้จ่ายในการอบรม
งบการเงิน
งบการเงินส่วนบุคคล
จดทะเบียน
จดทะเบียนเพิ่มสาขา
จดภาษีมูลค่าเพิ่ม
จัดตั้งบริษัท
จ้างงานผู้สูงอายุ
จ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ
จ้างเด็กจบใหม่
ช้อปดีมีคืน
ดอกเบี้ยค้างรับ
ตราประทับ
ทรัพย์สิน
ทั่วไป
ทำประกันให้พนักงาน
ธุรกรรม
ธุรกิจขนส่ง
บริจาค
บริษัท กับ กรรมการ
บัญชีและภาษี
บิลเงินสด
ประกัน keyman
ประกันCovid-19
ประกันสังคม
ประชุมบริษัท
ประเภทเช็ค
ผลขาดทุน
ผู้ถือหุ้น
ผู้ประกอบการ
พร้อมเพย์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ฟรีแลนซ์
ภ.ง.ด. 1ก
ภ.ง.ด.1 ก
ภ.ง.ด.54
ภ.พ.36
ภาษี
ภาษี e-Service
ภาษีDropship
ภาษีกองทุนตราสารหนี้
ภาษีกับการออกจากงาน
ภาษีการรับมรดก
ภาษีของแพทย์
ภาษีขาย
ภาษีซื้อ
ภาษีซื้อต้องห้าม
ภาษีดอกเบีี้ย
ภาษีที่ดิน
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีนำเข้าสินค้า
ภาษีป้าย
ภาษีฟรีแลนซ์
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีรถยนต์
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีอากร
ภาษีอากรนำเข้า
ภาษีอีเพย์เมนต์
ภาษีเงินปันผล
ภาษีเงินได้จากการรับให้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ภาษีโรงแรม
มาตรการผู้กู้ยืม กยศ.
มูลค่าต้นทุน
ย้ายกิจการ
ยื่นแบบ
ยื่นแบบอย่างไรให้ประหยัดค่าปรับที่สุด
รถยนต์นั่ง
รถแลกเงิน
ระบบรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
ร้านกาแฟ-เสียภาษี
รายจ่ายค่าซ่อมแซม
รายจ่ายจริง
รายจ่ายต้องห้าม
รายได้อื่น
ลดหย่อนทางภาษี
ลดหย่อนภาษี
ลาออกจากงาน
วงจรเงินสด
วางระบบบัญชี
วางแผนภาษี
ศุลกากร
ส่งสินค้าทางไปรษณีย์
ส่งเสริมการขาย
สต็อกสินค้า
สรุปประเด็นภาษี
ส่วนลดกาาค้าและส่วนลดเงินสด
สวัสดิการพนักงาน
สวัสดิการอาหารพนักงาน
สัญญาขายฝาก
สัญญาซื้อ
สัญญาฝากทรัพย์
สัญญายินยอม
สัญญาเช่า
สัญญาเช่าที่ดิน
สำนักงานบัญชี
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
หนี้สิน
อั่งเปา
อากรแสตมป์
เกษตรกับวิธีเสียภาษี
เครื่องบันทึกการเก็บเงิน
เคลมภาษีซื้อ ค่าอบรม
เงินกู้ยืมกรรมการ
เงินค่าฝึกอบรม
เงินชดใช้ค่าเสียหาย
เงินทดรองจ่าย
เงินบำนาญชราภาพ
เงินบำเหน็จ
เงินปันผล
เงินมัดจำ
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
เงินสมทบประกันสังคม
เงินสำรองจ่าย
เงินเรียกเก็บล่วงหน้าจากการขายสินค้า
เงินได้พนักงาน
เงินได้พึงประเมิน
เช่าซื้อ-ลิสซิ่ง
เบี้ยประกัน
เบี้ยปรับ
เปิดบริษัท
เราเที่ยวด้วยกัน
เลขประจำตัวผู้เสียอากร
เลิกทำธุรกิจ
เสน่หากับภาษ๊
เอกสารการเบิกจ่ายเงิน
เอกสารทางภาษี
เอกสารบัญชี
แจกไฟล์
แรงงานต่างด้าว
โครงการคนละครึ่ง
โทษปรับ
ใบกำกับภาษี
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
ใบลดหนี้
ใบลดหนี้และใบเพิ่มหนี้
ใบสำคัญจ่าย
ใบหุ้น
ใบเสนอราคา
ใบเสร็จรับเงิน