บทความล่าสุด

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ขายของบน facebook อย่าลืมจดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ธุรกิจอะไรที่จะต้องจดบ้าง 1. ธุรกิจที่มีการซื้อ/ขาย/บริการ ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (ร้านออนไลน์, ขายของผ่าน Facebook หรือ Social media) 2. ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) 3. ผู้ให้บริการ Web Hosting 4. ผู้ให้บริการตัวกลางในการซื้อขายบนอินเตอร์เน็ต (พวก Lazada, Kaidee, iTruemart ฯลฯ) วิธีการจดทะเบียน 1.เตรียมสำเนาบัตรปชช + ทะเบียนบ้าน ผู้ประกอบการ 2.แบบคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.) และเอกสารประกอบการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (เอกสารแนบแบบ ทพ.) 3.Print หน้าแรกของร้านค้าออนไลน์ วิธีการสั่งซื้อ วิธีการชําระเงิน วิธีการส่งสินค้า 4.วาดแผนที่ตั้งร้าน 5.กรณีเป็นนิติบุคคล (เตรียมหนังสือรับรองบริษัท) 6.เตรียมเงิน 50 บาท ไปจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สำเนาเขต, เทศบาล, อบต. กรณีที่ผู้ประกอบการไม่ใช่เจ้าของบ้าน •หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่หรือสัญญาเช่า •สำเนาบัตรปชช. + ทะเบียนบ้าน ของเจ้าของกรรมสิทธิ์

by KKN การบัญชี

Uncategorized

e-Withholding tax บอกเลยชีวิตดี๊ดี

สรุปขั้นตอนการทำงานของ e-Withholding tax e-Withholding Tax คือ การดำเนินการหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งผ่านช่องทางหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารผู้รับเงิน โดยกฎหมายจะกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้ประเภทที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย มีหน้าที่แจ้งธนาคารให้ทราบ ธนาคารในฐานะผู้ให้บริการรับชำระเงินจะมีหน้าที่เป็นตัวกลางในการรับเงินจำนวนดังกล่าว หักภาษีตามยอดที่แจ้ง และนำส่งเงินภาษีให้กับกรมสรรพากร ระบบ e-Withholding Tax เป็นระบบที่ออกมาเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการอย่างแท้จริง จะดีแค่ไหนถ้ามีคนมาเขียนหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายแทนเรา รวมถึงยื่นนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายแทนเราอีก บอกเลยว่าชีวิตฟินมาก ถ้าบริษัทไหนไม่ได้จด VAT นี่แทบจะไม่ต้องจ้างสำนักงานบัญชีรายเดือนเลย ธนาคารเป็นตัวกลางช่วยส่งข้อมูลต่างๆให้ ส่วนผู้รับก็ไม่ต้องเก็บหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย เป็นกระดาษอีกต่อไป เนื่องจากจะสามารถตรวจสอบข้อมูลภาษีของตนได้ที่ Web Portal ของกรมสรรพากร การยื่นภาษีประจำปีก็จะง่ายขึ้นเยอะ e-Withholding tax มันดีต่อผู้ประกอบการอย่างไร ผู้ประกอบการไม่ต้องเขียนใบหักภาษี ณ ที่จ่าย มีตัวกลางยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่ายแทนเรา บุคคลหรือนิติบุคคลสะดวกในการยื่นภาษีประจำปี เพราะไม่ต้องมานั่งเก็บเอกสารหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50ทวิ) อีกต่อไปเพราะกรมสรรพากรมีข้อมูลการหักภาษี ณ ที่จ่ายครบถ้วนอยู่แล้ว ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการยื่นแบบภาษีเพราะมีคนอื่นทำแทนให้เราเสร็จเรียบร้อย

by KKN การบัญชี

ภาษีDropship

ภาษีสำหรับ Dropship

Dropship คือ การนำสินค้าของคนอื่นมาขายโดยที่เราไม่จำเป็นจะต้องสต็อกสินค้านั้นเลย ทำให้สามารถเริ่มต้นธุรกิจโดยไม่จำเป็นจะต้องมีเงินทุน ทันทีที่ลูกค้าสั่งสินค้าและชำระเงิน เราก็จะส่งคำสั่งซื้อไปให้เจ้าของสินค้าเพื่อส่งสินค้าไปให้กับลูกค้าเราโดยตรง สรุปสั้นๆเราเป็นตัวกลางขายสินค้าให้กับเจ้าของสินค้านั่นเอง

by KKN การบัญชี

Uncategorized

ใบกำกับภาษีเต็มรูปที่ถูกต้องเป็นอย่างไร

คำว่า “ใบกำกับภาษี” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด รายการคำว่า “ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการ จดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี” รายการ “ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ” รายการ “หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขของเล่ม ถ้ามี” รายการ “ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ” รายการ “จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการให้ชัดแจ้ง” รายการ “วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี” รายการอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด (ไม่ได้บังคับทุกกิจการ)– คำว่า “เอกสารออกเป็นชุด”   (กรณีกิจการทำใบกำกับภาษีเต็มรูปรวมกับเอกสารทางการค้าอื่นเช่นใบส่งของ ใบแจ้งหนี้ และเอกสารมีหลายฉบับ)– สาขาที่ออกใบกำกับภาษีคือ…  (กรณีกิจการมีสาขาที่ออกใบกำกับภาษีหลายแห่ง)– มีเลขทะเบียนรถ  (กรณีผู้ออกเป็นปั้มน้ำมัน)

by KKN การบัญชี

ภาษีซื้อ

ผู้ประกอบการจด VATไม่ขอคืนภาษีซื้อบันทึกบัญชีอย่างไร

วันนี้ได้มีโอกาสตรวจสอบงบการเงินของกิจการแห่งหนึ่ง พบว่านักบัญชีที่บันทึกบัญชีมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการที่กิจการไม่ขอคืนภาษีซื้ออยู่ โดยนักบัญชีได้นำภาษีซื้อที่กิจการมีสิทธิ์ที่จะขอคืน แต่ไม่ได้ขอคืนนำมารวมเป็นต้นทุนของค่าใช้จ่าย ตามหลักปฏิบัติที่นิยมกันจะแยกรายการภาษีซื้อที่ไม่ขอคืนเป็นอีกหนึ่งบัญชีต่างหาก เพราะตามมาตรา 65 ตรี (6 ทวิ) กำหนดให้ภาษีซื้อที่กิจการมีสิทธิขอคืนแต่ไม่ดำเนินการขอคืนเอง ทางกรมสรรพากรจะไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ การแยกบัญชีออกมาจะช่วยทำให้ตอนคำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลสิ้นปีทำได้ง่ายขึ้น ตามมาตรา 65 ตรี (6 ทวิ) กำหนดให้ภาษีซื้อที่กิจการมีสิทธิที่จะสามารถขอคืนภาษีซื้อได้ แต่กิจการไม่ประสงค์ขอคืนภาษีเอง รายการภาษีซื้อดังกล่าวไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ *สำหรับบัญชีภาษีซื้อไม่ขอคืนตอนสิ้นปีเมื่อคำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคล อย่าลืมที่จะปรับปรุงให้เป็นรายการค่าใช้จ่ายบวกกลับในการคำนวนภาษี

by KKN การบัญชี

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

บุคคลธรรมดาทำธุรกิจเสียภาษีอะไรบ้าง

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา – เสียภาษีจากเงินได้สุทธิ (เงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน) ภาษีมูลค่าเพิ่ม– รายได้จากการขายหรือบริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีจะต้องVAT ภาษีโรงเรือนและที่ดิน– ให้เช่าหรือให้ผู้อื่นอยู่อาศัยโดยไม่คิดค่าเช่า – ใช้เป็นสำนักงาน ใช้เป็นสถานประกอบพาณิชย์ ภาษีป้าย– ป้ายที่ใช้เพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้า จะต้องเสียภาษีป้าย 1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การหักค่าใช้จ่าย สิ่งที่ควรระวังสำหรับบุคคลธรรมดาในปี 25601.การหักค่าใช้จ่ายเหมาจ่ายปี 2560 มีการปรับลดลง 85% >> 60%2.สรรพากรบังคับให้ใครที่มีรายได้ 40(5)–(8) จะต้องจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย 2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม หลักจำง่ายๆ : ใครก็ตามที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีจะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อจดภาษีมูลค่าเพิ่มคุณมีหน้าที่หลักๆดังนี้ 1.เรียกเก็บภาษีขายในอัตรา 7% จากผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ 2.ออกใบกำกับภาษีขายให้กับลูกค้า 3.จัดทำรายงานภาษีซื้อและภาษีขาย พร้อมนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับกรมสรรพากร ไม่เกินวันที่ 15 ของเดือนถัดไป 4.จัดทำสต็อกสินค้า ณ วันที่ 31 มิถุนายน และ 30 ธันวาคม สรุปการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม Note: […]

by KKN การบัญชี

ใบเสร็จรับเงิน

บุคคลธรรมดาออกใบเสร็จรับเงินได้หรือไม่

บางครั้งบุคคลธรรมดาทำธุรกิจกับพวกบริษัท เวลาจะไปเรียกเก็บเงินบริษัทมักจะให้บุคคลธรรมดาออกเอกสารใบแจ้งหนี้เพื่อไปวางบิล หรือออกเอกสารใบเสร็จรับเงินเพื่อไปรับเช็ค ตัวอย่างใบเสร็จรับเงิน ใส่ข้อมูลชื่อและที่อยู่บุคคลธรรมดา เลขประจำตัวบัตรประชาชนของบุคคลธรรมดา ก็คือเลขประจำตัวผู้เสียภาษีนั้นเอง และสำหรับแบบฟอร์มใบเสร็จรับเงินสามารถปรับเปลี่ยนให้เพราะสมกับธุรกิจของแต่ละคนครับ ปล. กรณีออกเอกสารใบแจ้งหนี้ ก็แค่เปลี่ยนจากคำว่า “ใบเสร็จรับเงิน” เป็น “ใบแจ้งหนี้”

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

ซื้ออาคารพาณิชย์นำมาเป็นค่าใช้จ่ายบริษัทได้หรือไม่

ทันทีที่เราซื้ออาคารพาณิชย์จะยังไม่ใช่ค่าใช้จ่ายของบริษัท เนื่องจากประโยชน์การใช้งานของอาคารไม่ได้หมดทันทีที่เราจ่ายเงินซื้อ เพราะอายุของการใช้ประโยชน์อาคารมันหลายปีมากๆ ดังนั้นนักบัญชีจะบันทึกอาคารเป็นทรัพย์สินย์เอาไว้ก่อน และจะทยอยรับรู้ค่าใช้จ่ายในรูปแบบของค่าเสื่อมราคาตามอายุการใช้งานของทรัพย์สิน ตัวอย่างการคำนวณค่าเสื่อมราคา มูลค่าอาคาร 2 ล้านบาท อายุการใช้งาน 20 ปี ค่าเสื่อมราคาต่อปี (2,000,000/20) = 1 แสนบาท ถ้าซื้อตึกตั้งแต่ต้นปีกำไรที่นำไปคำนวนภาษีก็คือ 6 ล้านบาท – ค่าเสื่อมราคา 1 แสนบาท

by KKN การบัญชี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

จำเป็นมั้ยต้องเป็นบิลบริษัท หรือ บิล VAT ถึงสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้

รายจ่ายที่ไม่ถือเป็นรายจ่ายทางภาษี รายจ่ายซึ่งมิได้เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกิจการ, เป็นการส่วนตัว, ให้โดยเสน่หา รายจ่ายซึ่งผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็น รายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่าย รายจ่ายซึ่งควรจะได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีอื่น รายจ่ายใดๆ ที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีแล้ว รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน เช่นการซื้อรถยนต์ ค่ารับรองส่วนที่เกิน 0.3% ของทุนจดทะเบียนหรือยอดขายแล้วแต่อะไรจะสูงกว่าและค่ารับรองต้องไม่เกิน 10 ล้านบาท สรุป ไม่มีข้อไหนบอกเลยว่าบิลจะต้องเป็นบิลบริษัท หรือต้องเป็นใบกำกับภาษีเท่านั้นถึงจะนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ มโนกันไปเองทั้งนั้น

by KKN การบัญชี

ภาษีธุรกิจเฉพาะ

บุคคคลธรรมดาขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรถึงไม่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

สรรพากรบอกว่า การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไรจะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ในอัตราร้อยละ 3.3 (ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3% และภาษีท้องถิ่น 10% ของภาษีธุรกิจเฉพาะ) ของราคาประเมินหรือราคาขายแล้วแต่อะไรจะสูงกว่า “แค่ทำให้ไม่เข้าเงื่อนไขเป็นทางการค้าหรือหากำไรเราก็ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว” การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี(นับแบบวันชนวัน) ถือครองกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์เกิน 5 ปี (นับแบบวันชนวัน) การโอนกรรมสิทธิ์ให้กับบุตรโดยไม่มีค่าตอบแทน การขายหรือการถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ การโอนอสังหาริมทรัพย์ให้หน่วยงานราชการโดยไม่มีค่าตอบแทน การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางมรดก

by KKN การบัญชี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ให้ของแถมลูกค้าก็ต้องเสียภาษีขายด้วยนะ(แต่มีข้อยกเว้น)

ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อมีการจำหน่าย จ่าย โอนสินค้า ไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่มีค่าตอบแทน จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับกรมสรรพากร ดังนั้นของแถมที่ให้ลูกค้าจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย แต่ๆๆๆทุกอย่างมันมีข้อยกเว้นเสมอ ถ้าไม่อยากเสียภาษีขายจากการให้ของแถมลูกค้าต้องปฏิบัติตามดังต่อไปนี้ 1.มูลค่าของแถมจะต้องไม่เกินมูลค่าสินค้าที่ขายหรือบริการ โดยของที่แถมไม่จำเป็นจะต้องเป็นชนิดเดียวกันก็ได้2.ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีสำหรับสินค้าที่ขายและสินค้าที่แจกหรือแถมนั้น โดยระบุรายการสินค้าที่แจกหรือแถมไว้ในใบกำกับภาษีฉบับเดียวกันกับสินค้าที่ขาย3.ผู้ประกอบการจะส่งมอบสินค้าที่แถมทันทีพร้อมกับการขาย หรือส่งมอบทีหลังก็ได้ (ถ้าส่งมอบทีหลังไม่ต้องออกใบกำกับภาษีซ้ำอีกรอบ)

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

บริษัทจ่ายค่าโฆษณาให้ Facebook Google เอามาเป็นค่าใช้จ่ายบริษัทได้มั้ย

ภาษีเงินได้นิติบุคคล ค่าโฆษณาที่จ่ายให้ FB และ Google เกี่ยวข้องกับกิจการ ดังนั้นค่าใช้จ่ายนี้สามารถนำมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ แน่นอน 100% ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เงินได้ดังกล่าวถือเป็นเงินได้ 40(8) เมื่อนิติบุคคลจ่ายค่าบริการไม่มีหน้าที่จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม การให้บริการดังกล่าว เข้าข่ายเป็นการให้บริการต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการในประเทศไทย ดังนั้นบริษัทผู้จ่ายเงินมีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยแบบ ภ.พ.36 ในอัตราร้อยละ 7  สรุป 1.ค่าโฆษณา FB และ Google เอามาเป็นค่าใช้จ่ายได้ 2.ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3.อย่าลืมให้บัญชียื่น ภพ.36 และสามารถเอามาเป็นภาษีซื้อในเดือนถัดไปได้

by KKN การบัญชี

จัดตั้งบริษัท

จดทะเบียนบริษัท ทุน 1 ล้านจำเป็นต้องมีเงินจริงหรือไม่

รู้หรือไม่?? ตอนจดทะเบียนบริษัทที่กรมพัฒน์ เจ้าหน้าที่จะไม่ขอดูว่าผู้ประกอบการมีเงินจริงตามที่จดทะเบียนตั้งบริษัท เจ้าหน้าที่จะเชื่อเอกสาร “ใบสำคัญรับชำระเงินค่าหุ้น” ที่ผู้ก่อการจัดทำขึ้น กรณีไหนบ้างที่เจ้าหน้าที่ต้องตรวจสอบการมีเงินจริง1.ทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาท2.มีคนต่างชาติร่วมถือหุ้นในบริษัท การพิสูจน์ว่ามีเงินจริง กรมพัฒน์จะให้ผู้ถือหุ้นไปขอเอกสารยืนยันยอดคงเหลือในบัญชีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์ เพื่อยื่นยันว่าผู้ถือหุ้นมีเงินในบัญชีตามสัดส่วนการถือหุ้นจริง กรณีไม่มีเงินจริง นักบัญชีทำอย่างไร 1. นักบัญชีจะบันทึกรายการว่า “เจ้าของเอาเงินสดมาลงทุนครบตามที่จดทะเบียน” 2. นักบัญชีจะบันทึกรายการว่า “บริษัทให้กรรมการกู้ยืมเงินออกไป” ข้อควรระวัง บริษัทให้กรรมการกู้ยืมเงิน บริษัทจะต้องมีการคิดดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมและรายได้ดอกเบี้ยรับที่เรียกเก็บจากกรรมการจะต้องถูกเอาไปรวมเป็นรายได้ในการคำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคล

by KKN การบัญชี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ทำความเข้าใจกับ พ.ร.ก. 630 สิทธิประโยชน์ทางภาษี ที่ช่วยบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคล

1. ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่ บุคคลธรรมดา ที่โอนทรัพย์สิน ขายสินค้า หรือการกระทำตราสาร ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยมีเงื่อนไขดังนี้ • เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย • ได้รับค่าตอบแทนเป็นหุ้นสามัญของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น • การโอนทรัพย์สิน และการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคล ต้องกระทำตั้งแต่วันที่ 10 ส.ค. 2559 – 31 ธ.ค. 2560 2.สำหรับนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ที่มีทุนที่ชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท และจดทะเบียนจัดตั้ง ตั้งแต่วันที่ 10 ส.ค. 2559 – 31 ธ.ค. 2560 จะสามารถนำรายจ่ายมาหักได้เพิ่มอีก 1 เท่า เป็นระยะเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน ได้แก่ • รายจ่ายจากการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคล • ค่าทำบัญชี • […]

by KKN การบัญชี

ประชุมบริษัท

ว่าด้วยเรื่องการจัดประชุมของบริษัท

มาตรา 1171 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นทั่วไปเป็นประชุมใหญ่ภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ได้จดทะเบียนบริษัท และต่อนั้นไปก็ให้มีการประชุมเช่นนี้ครั้งหนึ่งเป็นอย่างน้อยทุกระยะเวลา 12 เดือน  บทลงโทษ ถ้าไม่เรียกประชุมมีความผิดปรับบริษัทไม่เกิน 20,000 บาท และปรับกรรมการไม่เกิน 50,000 บาท

by KKN การบัญชี

กรมสรรพากร

การขออนุญาตใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน

ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการค้าปลีก ซึ่งประสงค์จะใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน เพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ ให้ยื่นคำขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรด้วยแบบคำขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน (ภ.พ.06) คุณสมบัติโดยย่อของเครื่องบันทึกการเก็บเงิน รายละเอียดรุ่น ยี่ห้อ หมายเลขประจำเครื่อง (Serial Number) และจำนวนเครื่องบันทึกการเก็บเงินที่ขออนุมัติ แผนผังแสดงตำแหน่งการวางเครื่องบันทึกการเก็บเงิน ในกรณีที่มีการต่อเชื่อมเครื่องบันทึกการเก็บเงินเข้ากับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น ให้แสดงแผนผังระบบการต่อเชื่อมดังกล่าวด้วย ตัวอย่างใบกำกับภาษีอย่างย่อ และตัวอย่างรายงานการขายสินค้าหรือการให้บริการ ประจำวันที่ออกด้วยเครื่องบันทึกการเก็บเงิน จะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรก่อนจึงจะใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินได้ มิฉะนั้นมีความผิดตามมาตรา 90/3(2) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

by KKN การบัญชี

เลิกทำธุรกิจ

เลิกทำธุรกิจอย่าลืม ยกเลิกทะเบียนพาณิชย์

ได้รับ Inbox จากผู้ประกอบการท่านหนึ่งมาเล่าว่าเป็นครั้งแรกในชีวิตเลยที่ตื่นเต้นมาก มีเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรมาหาที่บ้าน ว่าเค้ามีการจดทะเบียนพาณิชย์ร้านค้า แต่ปีที่ผ่านมาไม่ได้ยื่นภาษีบุคคลธรรมดา เจ้าหน้าที่เลยสงสัยว่ายังประกอบกิจการอยู่หรือไม่ ซึ่งเค้าก็ได้ให้ข้อมูลไปว่าตั้งแต่จดทะเบียนพาณิชย์ก็ไม่ได้ประกอบกิจการเลย เจ้าหน้าที่เลยแนะนำว่าถ้าเลิกประกอบกิจการแล้วควรที่จะไปดำเนินการจดทะเบียนยกเลิกใบทะเบียนพาณิชย์ให้ถูกต้อง ดังนั้นท่านใดไม่อยากตกใจเหมือนผู้ประกอบการท่านนี้ก็ควรดำเนินการให้ถูกต้องนะครับ ปล. สำหรับคนที่จดทะเบียนที่กรุงเทพมหานคร ให้ไปที่สำนักงานเขต ของกรุงเทพมหานครครับ ตัวอย่างเอกสารยกเลิกทะเบียนพาณิชย์

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

ใบเสร็จค่างวดผ่อนรถไม่ใช่ค่าใช้จ่ายของบริษัท

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า บัญชีหนี้สิน คืออะไร หนี้สิน คือ ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการที่ต้องจ่ายชำระคืนแก่บุคคลภายนอกในอนาคต ภาระผูกพันดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีตซึ่งการชำระภาระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้กิจการสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ สรุปง่าย : หนี้สินคือ ของๆคนอื่นที่เราเอามา เขามีสิทธิ์ที่จะทวงเรา และเราต้องคืนเขาไป ดังนั้นการจ่ายชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ ที่เราเช่าซื้อรถยนต์มานั้นจึงไม่ถือเป็นรายจ่ายของบริษัทนั่นเอง และเนื่องจากรถยนต์ประโยชน์การใช้งานไม่ได้หมดไปทันทีเมื่อจ่ายเงินซื้อ เพราะรถยนต์มีอายุการใช้งานที่นาน บริษัทจะบันทึกรถยนต์เป็นสินทรัพย์ และทยอยรับรู้ค่าใช้จ่ายในรูปแบบของค่าเสื่อมราคา

by KKN การบัญชี

สำนักงานบัญชี

ทำอย่างไรเมื่อเอกสารบัญชี หาย/เสียหาย

ทันทีเมื่อรู้ว่าเอกสารบัญชีหายหรือเสียหาย 1.ทำการสำรวจก่อนว่าเป็นเอกสารชนิดไหนของปีและเดือนอะไร เพื่อทำสรุปข้อมูลเอกสารทั้งหมด2.กรณีเอกสารบัญชีเสียหาย ให้เราถ่ายรูปสถานที่เกิดเหตุเอาไว้เป็นหลักฐาน3.แจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อออกใบแจ้งความ4.ต้องแจ้งต่อกรมสรรพากรและกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายใน 15 วัน นับแต่วันทีทราบหรือควรทราบถึงการสูญหายหรือเสียหายนั้น ด้วยแบบแจ้งบัญชีสูญหายฯ (ส.บช.2) รู้หรือไม่ ??เอกสารบัญชีบางอย่างที่หายอาจจะหามาแทนที่ได้ ใบกำกับภาษีขาย : เราอาจจะพิมพ์ออกมาใหม่ หรือขอสำเนาจากลูกค้า ใบกำกับภาษีซื้อ : ติดต่อผู้ขายให้ช่วยออกใบแทน แบบยื่นภาษี : ขอคัดสำเนาจากรมสรรพากรใหม่ได้

by KKN การบัญชี

50 ทวิ
Bitcoin
DBD Registered
e-filing
LTF
SME
SMEs
TFRS16
Uncategorized
Voucher
กท.20 ก
กรมสรรพากร
กองทุนรวม
ก่อสร้างอาคารบนที่ดินของกรรมการ
การขอรับบริจาค
การจัดสรรกำไรสะสม
การตัดหนี้สูญ
การบริจาค
การบันทึกบัญชีเงินสดรับ-จ่าย
การประมาณการกำไรสุทธิขาดไป
การลงทุน
การลงประกาศหนังสือพิมพ์
การลดหย่อนบริจาคทั่วไป
การเช่า
กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กิจการร่วมค้า และกิจการค้าร่วม
กิจการเพื่อสังคม
กิจการโรงแรม
ขนส่ง
ขอคืนเงินประกันไฟฟ้า
ขายกิจการ
ขายสินค้าต่ำกว่าทุน
ขายสินค้าส่งออกไปต่างประเทศ
ขายหนังสือแถมคอร์สเรียนออนไลน์
คริปโทเคอร์เรนซี
ความเสี่ยง-ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ความเสี่ยงของกิจการ
ค่าขนส่ง
ค้าขายออนไลน์
ค่าตรวจสุขภาพ
ค่าปรับ
ค่ารักษาพยาบาล
ค่ารับรอง
ค่าสินไหมทดแทน
ค่าเช่า
ค่าเช่ารับล่วงหน้า
ค่าเบี้ยประกันชีวิต
ค่าเสื่อมราคา
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายของกิจการ
ค่าใช้จ่ายทางภาษี
ค่าใช้จ่ายในการอบรม
งบการเงิน
งบการเงินส่วนบุคคล
จดทะเบียน
จดทะเบียนเพิ่มสาขา
จดภาษีมูลค่าเพิ่ม
จัดตั้งบริษัท
จ้างงานผู้สูงอายุ
จ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ
จ้างเด็กจบใหม่
ช้อปดีมีคืน
ดอกเบี้ยค้างรับ
ตราประทับ
ทรัพย์สิน
ทั่วไป
ทำประกันให้พนักงาน
ธุรกรรม
ธุรกิจขนส่ง
บริจาค
บริษัท กับ กรรมการ
บัญชีและภาษี
บิลเงินสด
ประกัน keyman
ประกันCovid-19
ประกันสังคม
ประชุมบริษัท
ประเภทเช็ค
ผลขาดทุน
ผู้ถือหุ้น
ผู้ประกอบการ
พร้อมเพย์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ฟรีแลนซ์
ภ.ง.ด. 1ก
ภ.ง.ด.1 ก
ภ.ง.ด.54
ภ.พ.36
ภาษี
ภาษี e-Service
ภาษีDropship
ภาษีกองทุนตราสารหนี้
ภาษีกับการออกจากงาน
ภาษีการรับมรดก
ภาษีของแพทย์
ภาษีขาย
ภาษีซื้อ
ภาษีซื้อต้องห้าม
ภาษีดอกเบีี้ย
ภาษีที่ดิน
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีนำเข้าสินค้า
ภาษีป้าย
ภาษีฟรีแลนซ์
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีรถยนต์
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีอากร
ภาษีอากรนำเข้า
ภาษีอีเพย์เมนต์
ภาษีเงินปันผล
ภาษีเงินได้จากการรับให้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ภาษีโรงแรม
มาตรการผู้กู้ยืม กยศ.
มูลค่าต้นทุน
ย้ายกิจการ
ยื่นแบบ
ยื่นแบบอย่างไรให้ประหยัดค่าปรับที่สุด
รถยนต์นั่ง
รถแลกเงิน
ระบบรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
ร้านกาแฟ-เสียภาษี
รายจ่ายค่าซ่อมแซม
รายจ่ายจริง
รายจ่ายต้องห้าม
รายได้อื่น
ลดหย่อนทางภาษี
ลดหย่อนภาษี
ลาออกจากงาน
วงจรเงินสด
วางระบบบัญชี
วางแผนภาษี
ศุลกากร
ส่งสินค้าทางไปรษณีย์
ส่งเสริมการขาย
สต็อกสินค้า
สรุปประเด็นภาษี
ส่วนลดกาาค้าและส่วนลดเงินสด
สวัสดิการพนักงาน
สวัสดิการอาหารพนักงาน
สัญญาขายฝาก
สัญญาซื้อ
สัญญาฝากทรัพย์
สัญญายินยอม
สัญญาเช่า
สัญญาเช่าที่ดิน
สำนักงานบัญชี
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
หนี้สิน
อั่งเปา
อากรแสตมป์
เกษตรกับวิธีเสียภาษี
เครื่องบันทึกการเก็บเงิน
เคลมภาษีซื้อ ค่าอบรม
เงินกู้ยืมกรรมการ
เงินค่าฝึกอบรม
เงินชดใช้ค่าเสียหาย
เงินทดรองจ่าย
เงินบำนาญชราภาพ
เงินบำเหน็จ
เงินปันผล
เงินมัดจำ
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
เงินสมทบประกันสังคม
เงินสำรองจ่าย
เงินเรียกเก็บล่วงหน้าจากการขายสินค้า
เงินได้พนักงาน
เงินได้พึงประเมิน
เช่าซื้อ-ลิสซิ่ง
เบี้ยประกัน
เบี้ยปรับ
เปิดบริษัท
เราเที่ยวด้วยกัน
เลขประจำตัวผู้เสียอากร
เลิกทำธุรกิจ
เสน่หากับภาษ๊
เอกสารการเบิกจ่ายเงิน
เอกสารทางภาษี
เอกสารบัญชี
แจกไฟล์
แรงงานต่างด้าว
โครงการคนละครึ่ง
โทษปรับ
ใบกำกับภาษี
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
ใบลดหนี้
ใบลดหนี้และใบเพิ่มหนี้
ใบสำคัญจ่าย
ใบหุ้น
ใบเสนอราคา
ใบเสร็จรับเงิน