บทความล่าสุด

ภาษีฟรีแลนซ์

ฟรีแลนซ์ ขายของออนไลน์อยากขอสินเชื่อทำยังไง

ธนาคารจะให้กู้ เมื่อเค้ามั่นใจว่าจะได้เงินกู้คืน •คุณต้องทำบัญชีรายรับและรายจ่าย •มีการเดิน statement ธนาคาร •อธิบายธุรกิจคุณ แหล่งที่มาของเงิน รูปแบบการขายได้ชัดเจน •ยื่นภาษีประจำปี และเก็บหลักฐานที่โดนคนอื่นหักภาษี (50ทวิ) •อย่ามีประวัติผิดชำระหนี้ •ไม่ไปก่อหนี้แบบสิ้นคิด เช่น ค้ำประกันเงินกู้คืนอื่น ทำบัญชีรายรับและรายจ่าย อธิบายธุรกิจของคุณ •มี Website, Page Facebook ให้ capture ไปให้ธนาคารดูให้หมด •มีสินค้าคงเหลือ มีหน้าร้าน เชิญธนาคารมาถ่ายรูป •สัญญาจ้างงานทั้งหมด ประวัติการจ้างงาน มีต้องเอาไปอวดให้หมด •ประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจมีส่วนสำคัญมาก ถ้ายิ่งทำมาหลายปีโอกาสปล่อยกู้จะง่ายขึ้น •มี Asset ค้ำประกันวงเงินกู้จะช่วยให้ปล่อยง่ายขึ้น

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

กำไรสุทธิทางภาษี ทุกรายการค้าที่เกิดขึ้น ทางพนักงานบัญชีจะต้องบันทึกบัญชีเพื่อให้เงินในบริษัทตรงกับความเป็นจริง เมื่อปิดงบการเงินเสร็จเราจะได้กำไรสุทธิทางบัญชี แต่กำไรสุทธิทางบัญชีจะมี ค่าใช้จ่ายที่ไม่ให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายบริษัท รวมถึงมีรายได้ที่ไม่ให้ถือเป็นรายได้บริษัทปนมาด้วย เราจะต้องเอาออกเพื่อให้ได้กำไรสุทธิทางภาษี เพื่อไปคำนวนภาษี รายจ่ายที่ไม่ถือเป็นรายจ่ายทางภาษี รายจ่ายซึ่งมิได้เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกิจการ, เป็นการส่วนตัว, ให้โดยเสน่หา รายจ่ายซึ่งผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ รายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง รายจ่ายซึ่งควรจะได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีอื่น รายจ่ายใดๆ ที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีแล้ว รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน ค่ารับรองส่วนที่เกิน 0.3% ของทุนจดทะเบียนหรือยอดขายแล้วแต่อะไรจะสูงกว่าและค่ารับรองต้องไม่เกิน 10 ล้านบาท สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.rd.go.th/publish/827.0.html

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

เปิดบริษัทจ่ายเงินเดือนให้ตัวเองได้หรือไม่?

บริษัทมีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกออกมาต่างหากจากตัวเจ้าของกิจการ เมื่อเจ้าของทำงานให้กับบริษัท บริษัทควรจะต้องจ่ายค่าตอบแทนให้กับเจ้าของ ซึ่งการจ่ายเงินเดือนให้กับเจ้าของก็เป็นการวางแผนภาษีทางหนึ่ง เช่น บริษัทจ่ายเงินเดือนให้เจ้าของเดือนละ 25,000 บาท ต่อปีบริษัทจะมีค่าใช้จ่าย 300,000 บาท ทำให้เสียภาษีน้อยลง บริษัทจ่ายเงินเดือนให้เจ้าของเดือนละ 25,000 บาท ต่อปีบริษัทจะมีค่าใช้จ่าย 300,000 บาท ทำให้เสียภาษีน้อยลง กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการตั้งเงินเดือนเจ้าของกิจการ ตามมาตรา 65 ตรี (8) เงินเดือนของผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนเฉพาะส่วนที่จ่ายเกินสมควรเป็นรายจ่ายต้องห้าม เจ้าพนักงานมีอำนาจพิจารณารายจ่ายประเภทเงินเดือนของผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน เปรียบเทียบกับรายอื่นซึ่งอยู่ในฐานะหรือลักษณะเดียวกัน อยู่ในหน่วยงานเดียวกัน หรือทำเลเดียวกัน ประกอบกิจการค้าอย่างเดียวกันหรือลักษณะเดียวกัน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1150 ผู้เป็นกรรมการจะพึงมีจำนวนมากน้อยเท่าใด และจะพึงได้บำเหน็จเท่าใด ให้สุดแล้วแต่ที่ประชุมใหญ่จะกำหนด

by KKN การบัญชี

เงินกู้ยืมกรรมการ

เงินกู้ยืมกรรมการทำไมบัญชีนี้ถึงน่ากลัว

เงินกู้ยืมกรรมการเกิดได้จากอะไรบ้าง จดทะเบียนบริษัทแต่ไม่ได้มีเงินจริงตามทุนจดทะเบียน นักบัญชีเลยปรับปรุงเงินส่วนต่างเป็นเงินที่บริษัทให้กู้ยืมแก่กรรมการ บริษัทมีเงินเหลือเยอะ กรรมการอยากเอาเงินออกไปใช้ แต่ไม่อยากทำเป็นเงินปันผล เพราะจะต้องเสียภาษี 10% ของเงินปันผล จึงทำเป็นเงินกู้ยืมกรรมการ เงินหายไปจากบริษัท หาสาเหตุไม่ได้ (กรรมการรับกรรมไป) ปิดบัญชีไม่ลงตัว หมกไว้บัญชีนี้ก่อน ทำไมถึงมีบัญชีเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการมากไม่ดี สรรพากรบอกว่า การให้กู้ยืมเงินไม่มีการคิดดอกเบี้ย หรือคิดดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินดอกเบี้ยนั้นตามราคาตลาดในวันที่ให้กู้ยืมเงิน สรุป : เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการต้องคิดดอกเบี้ยและดอกเบี้ยนั้นต้องไม่น้อยกว่าอัตราตลาด ผมเคยเจอบริษัทนึงจดทะเบียน 100 ล้าน แต่ไม่มีเงินในบัญชีเลยซักบาท ผู้ทำบัญชีจึงบันทึกเป็นเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการทั้งก้อน ผมไม่อยากจะคิดเลยว่าถ้าโดนสรรพากรประเมินจะเสียภาษีเยอะขนาดไหน

by KKN การบัญชี

ภาษีขาย

ให้ของแถมลูกค้าก็ต้องเสียภาษีขายด้วยนะ(แต่มีข้อยกเว้น)

ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อมีการจำหน่าย จ่าย โอนสินค้า ไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่มีค่าตอบแทน จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับกรมสรรพากร ดังนั้น ของแถมที่ให้ลูกค้าจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย แต่ๆๆๆทุกอย่างมันมีข้อยกเว้นเสมอ ถ้าไม่อยากเสียภาษีขายจากการให้ของแถมลูกค้าต้องปฏิบัติตามดังต่อไปนี้ มูลค่าของแถมจะต้องไม่เกินมูลค่าสินค้าที่ขายหรือบริการ โดยของที่แถมไม่จำเป็นจะต้องเป็นชนิดเดียวกันก็ได้ ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีสำหรับสินค้าที่ขายและสินค้าที่แจกหรือแถมนั้น โดยระบุรายการสินค้าที่แจกหรือแถมไว้ในใบกำกับภาษีฉบับเดียวกันกับสินค้าที่ขาย ผู้ประกอบการจะส่งมอบสินค้าที่แถมทันทีพร้อมกับการขาย หรือส่งมอบทีหลังก็ได้ (ถ้าส่งมอบทีหลังไม่ต้องออกใบกำกับภาษีซ้ำอีกรอบ)

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

การยื่นภาษีกลางปี (ภ.ง.ด. 51)

เมื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จะถือว่าเป็นนิติบุคคลมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีปีละ 2 ครั้งคือ ช่วงกลางปียื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ช่วงปลายปียื่นแบบ ภ.ง.ด.50 โดยการนำรายได้มาหักรายจ่าย ค่าลดหย่อนเพื่อคำนวณกำไรสุทธิ และนำมาเสียภาษีตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ข้อควรระวัง ไม่ยื่นรายการ (ภ.ง.ด.51) และชำระภาษีจากประมาณการกำไรสุทธิ ยื่นรายการและชำระ แต่แสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ โดยไม่มีเหตุผลอันควร บทลงโทษ เงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของภาษีที่ต้องชำระ หรือจากภาษีที่ชำระขาดไป ค่าปรับยื่นแบบภาษีล่าช้าไม่เกิน 7 วัน 1,000 เกิน 7 วัน 2,000 *เหตุผลสมควร จัดทำประมาณการกำไรสุทธิและยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว

by KKN การบัญชี

พร้อมเพย์

ทำความรู้จัก “พร้อมเพย์”ก่อนจะพลาดสิ่งดีดี

ข้อดีของพร้อมเพย์ ใช้พร้อมเพย์แล้วค่าธรรมเนียมถูกลงกว่าเดิม รับเงินคืนภาษีรวมถึงเงินโอนภาครัฐรวดเร็วด้วยพร้อมเพย์ อยากยกเลิกพร้อมเพย์เมื่อไหร่ก็ได้ ข้อจำกัดของพร้อมเพย์ เลขบัตรประชาชนผูกบัญชีพร้อมเพย์ได้ 1 บัญชีเท่านั้น (ต้องเลือกให้ดีว่าจะผูกกับบัญชีอะไร) เบอร์โทรศัพท์ที่ใช้ผูกต้องเป็นเบอร์มือถือเท่านั้น 1 เบอร์ผูกได้ 1 บัญชีเงินฝาก และผูกได้สูงสุด 3 เบอร์ / 1 บัญชี พร้อยเพย์กับภาษี สรรพากรได้ชี้แจงแล้วว่าการใช้พร้อมเพย์เป็นช่องทางการโอนเงินช่องทางหนึ่งเช่นเดียวกับ การโอนเงินผ่านทาง e-Banking หรือผ่านทางเคาน์เตอร์ธนาคาร ซึ่งข้อมูลดังกล่าวไม่ได้มีการส่งให้แก่กรมสรรพากร กรมสรรพากรมีอำนาจออกหมายเรียกให้ธนาคารส่งข้อมูลการทำธุรกรรมทางการเงิน(ไม่ว่าจะทำผ่านช่องทางใดก็ตาม) ให้แก่กรมสรรพากรตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้เสียภาษีรายนั้นยื่นเสียภาษีไม่ถูกต้องเท่านั้น ซึ่งกฎหมายให้ อำนาจไว้อย่างจำกัด

by KKN การบัญชี

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ธุรกิจให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

วันนี้แอดมินมาสรุปภาษีที่เกี่ยวข้องทั้งหมดสำหรับการทำธุรกิจให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ เช่น หอพักให้เช่า บ้านพักให้เช่า ให้เช่าที่ดินเปล่า เป็นต้น

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

9 เทคนิคในการวางแผนภาษีบุคคลธรรมดา

1. เปลี่ยนรายได้ให้เป็นรายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี ตัวอย่างเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี •กำไรจากการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ (แต่เสี่ยงขาดทุน) •ดอกเบี้ยสลากออมสิน หรือดอกเบี้ยเงินฝากออมสินของรัฐบาลเฉพาะประเภท ฝากเผื่อเรียก •ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่ได้รับจากสหกรณ์ •เงินรางวัลที่ถูกหวย (บนดิน) •เงินประกันที่บริษัทประกันจ่ายให้ •รายได้ที่คนอายุ 65 ปีขึ้นไป หรือคนพิการได้รับให้ยกเว้นรายได้ 190,000 บาทแรก ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.ar.co.th/kp/th/114 2. การเลือกใช้ประโยชน์จากเกณฑ์เงินสด รายได้บุคคลธรรมดาสรรพากรจะใช้เกณฑ์เงินสด หมายความว่าบุคคลธรรมดาได้เงินจริงปีไหนก็ถือเป็นรายได้ปีนั้น ตัวอย่าง : เรามีรายได้ก้อนใหญ่ 4 ล้านบาท ถ้าเรากระจายการรับเงินเป็น2 งวด คือปี2560 จำนวน 2 ล้านบาท, ปี2561 จำนวน 2 ล้านบาท เราจะเสียภาษีน้อยกว่ารับก้อนเดียว 4 ล้านบาทในปี2560 3. เลือกเสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่า ภาษีบุคคลธรรมดามีอัตราภาษีตั้งแต่ 5%-35% แต่มีรายได้บางประเภทที่เลือกเสียภาษีในอัตราที่ลดลงได้เช่น รายได้เงินปันผล กฎหมายให้สิทธิผู้มีเงินได้เลือกเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายในอัตรา 10% หรือจะเลือกนำเงินปันผลนั้นไปรวมเงินได้ปลายปีเพื่อคำนวณภาษี 4. แตกหน่วยภาษี […]

by KKN การบัญชี

การลงทุน

วางแผนภาษีด้วยประกันชีวิต

ทำไมประกันชีวิตถึงเป็นตัวเลือกแรกในการวางแผนภาษี 1.ค่าประกันชีวิต (แบบทั่วไป) นำมาเป็นค่าลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาท ค่าประกันชีวิต (แบบบำนาญ) นำมาเป็นค่าลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมินแต่ไม่เกิน 200,000 บาท2.เป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยง ประกันจะช่วยคุ้มครองความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ประกันชีวิตมันประหยัดภาษีขนาดไหน ตัวอย่าง :ถ้าคุณซื้อประกันชีวิตเพื่อลดหย่อนภาษี 100,000 บาท ฐานภาษีของคุณอยู่ที่ 20 % เท่ากับคุณ จะได้ผลตอบแทนจากการลดหย่อนภาษีสูงสุด 20,000 บาท ประกันชีวิตแบบทั่วไป ต้องมีเงื่อนไขดังนี้ 1.กรมธรรม์ประกันชีวิตมีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป2.ต้องทำกับบริษัทรับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในประเทศไทย3.ถ้ามีการจ่ายเงินคืน เงินปันผล หรือผลตอบแทนระหว่างสัญญา จะต้องมีเงื่อนไขดังนี้ – กรณีได้รับเงินคืนทุกปี ยอดเงินคืนนั้นต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี – กรณีได้รับเงินคืนตามช่วงระยะเวลา อย่างเช่น 2 ปี, 3 ปี, และ 5 ปี ยอดเงินคืนต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตสะสมของแต่ละช่วงระยะเวลา – กรณีอื่น ๆ […]

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายทางภาษี

บิลค่าไฟฟ้าเป็นชื่อบุคคลเอามาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่

1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล      ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์ ที่มีใบเสร็จรับเงินออกในนามของเจ้าของอาคารผู้ให้เช่า บริษัทสามารถนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ เนื่องจากเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการ 2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม      ส่วนภาษีซื้อที่ปรากฏในใบกำกับภาษีที่ออกในนามของเจ้าของอาคารผู้ให้เช่านั้น บริษัทไม่สามารถนำมาเป็นภาษีซื้อได้ เนื่องจากใบกำกับภาษีไม่ได้แสดงชื่อของบริษัท

by KKN การบัญชี

ใบเสร็จรับเงิน

อย่าคิดสั้นวางแผนภาษีโดยการซื้อบิล

วงจรการซื้อบิล ทำไมถึงต้องเลิกซื้อบิล สมัย 20 ปีก่อน สรรพากรบอกว่ากิจการไหน ถ้ามีใบกำกับภาษีปลอมไม่เกิน 75% ของทั้งหมด ถ้ามาชำระภาษีจะไม่เอาผิดทางภาษี > ปลอมกันทั้งประเทศเพราะไม่กฏหมายไม่โหด ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2560 ใครใช้ใบกำกับภาษีปลอม 1 ใบติดคุก 7 ปี  ถ้าปลอม 10 ใบติดคุก 70 ปี (แต่กฎหมายให้ติดคุกสูงสุดไม่เกิน 20 ปี)

by KKN การบัญชี

การลงทุน

ผลตอบแทนลงทุนคอนโด มันคำนวณยังไง?

สมัยนี้ทุกคนล้วนอยากมี Passive income และในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาการซื้อคอนโดเพื่อปล่อยเช่าเป็นเทรนฮิตมาก ผมก็เป็นส่วนใหญ่หนึ่งที่เข้าข่ายนั้นเพราะไปจองซื้อคอนโดเพื่อปล่อยเช่าถึง 9 ห้องตลอด 5 ปี แต่หลังๆก็ทยอยปล่อยขายทำกำไรจาก Capital gain สิ่งที่ผมพบเห็นในช่วงตั้งแต่ปีที่ผ่านมาคือ ราคาคอนโดเรียกว่าแพงและสร้างใหม่ขึ้นมาเยอะโครตๆ การปล่อยเช่าอาจจะได้ราคาไม่ดีเนื่องจากมีตัวเลือดเยอะขึ้น ผมเลยคิดว่าคนจะที่ลงทุนซื้อคอนโดควรลองคำนวนผลตอบแทนที่แท้จริงจากการลงทุนคอนโดเพราะการลงทุนอาจจะไม่คุ้มค่าเหมือนในอดีต พี่ชายผมเป็นหนึ่งในคนที่ตกเป็นเหยื่อของการลงทุนคอนโด โดยเค้าไม่ได้เอาค่าส่วนกลาง และไม่ได้คิดถึงช่วงว่างตอนไม่มีคนเช่า ทำให้จาก Passive income เป็นภาระที่ต้องคอยเติมเงินใส่เข้าไปไม่ให้ขาดทุน แล้วไปรอลุ้นว่าอนาคตราคาคอนโดจะปรับขึ้นรึเปล่า Passive income ยอดฮิตของยุคนี้หนีไม่ลงการซื้อคอนโดปล่อยเช่า แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่า ไอ้ที่เราซื้อมันเป็น Passive income หรือภาระ ง่ายมั๊กๆๆๆ เรา ผลตอบแทน > ดอกเบี้ยเงินกู้ = ควรลงทุน

by KKN การบัญชี

บิลเงินสด

บิลเงินสดกับใบเสร็จรับเงินต่างกันอย่างไร?

ชื่อเอกสารไม่สำคัญเท่ากับเอกสารที่ได้รับมา สรรพากรยอมรับให้นำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีหรือไม่ สรรพากรได้ออกแนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบการในกรณีซื้อสินค้าหรือบริการจากบุคคลธรรมดาหรือหลักฐานไม่เพียงพอ ให้สามารถนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีที่สรรพากรยอมรับ ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ 1.จัดทำเอกสารใบแทนการรับเงิน (เลือกใช้ให้ถูกต้องตามแต่ละสถานการณ์) เอกสารใบสำคัญรับเงิน + แนบบัตรประชาชน ใบสำคัญรับเงิน : ใช้กรณีผู้รับเงินไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินหรือบิลเงินสดที่ถูกต้องให้ได้ แต่ยินยอมจะลงรายมือชื่อในช่อง “ผู้รับเงิน” และแนบสำเนาบัตรประชาชนผู้ขายด้วย หรือเอกสารใบรับรองแทนใบสำคัญรับเงิน ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน : ใช้กรณีใช้ในกรณีกิจการจ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือบริการเบ็ดเตล็ด (ยอดเงินน้อยๆ) แต่ไม่สามารถเรียกใบเสร็จรับเงินหรือบิลเงินสดที่ถูกต้องจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการได้ต้องให้พนักงานของกิจการเป็นผู้รับรองการจ่ายเงินดังกล่าว

by KKN การบัญชี

Uncategorized

ผลตอบแทนลงทุนคอนโดมันคำนวนยังไง

Passive income ยอดฮิตของยุคนี้หนีไม่ลงการซื้อคอนโดปล่อยเช่าแล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่า ไอ้ที่เราซื้อมันเป็น Passive income หรือภาระ “เราแค่คำนวณผลตอบแทนจากการลงทุนให้อยู่ในหน่วย% ต่อปี ผลตอบแทน > ดอกเบี้ยเงินกู้ ควรลงทุน“ อัตราผลตอบแทน = (ประมาณค่าเช่าสุทธิทั้งปี / มูลค่าทรัพย์สินให้เช่า) x 100 ประมาณค่าเช่าสุทธิทั้งปี = ค่าเช่าทั้งปี – ค่าส่วนกลาง มูลค่าทรัพย์สินให้เช่า = ค่าคอนโด + ค่าโอน + เงินกองทุน + ค่าตกแต่ง * คิดแบบละเอียดยิบแล้วจะไม่ขาดทุน ตัวอย่าง: 1.คอนโดราคา 2,200,000 บาท ค่าโอน 50,000 บาท ค่าตกแต่ง 80,000 บาทค่ากองทุนแรกเข้า 16,000 บาท 2.คอนโดคาดว่าจะมีคนเช่า 12,000 บาทต่อเดือน ค่าส่วนกลางต่อปี 17,000 บาท อัตราผลตอบแทน […]

by KKN การบัญชี

ประกันสังคม

สรุปประกันสังคม

เมื่อเปิดกิจการที่มีพนักงานจำนวนตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปนั้น ตามกฎหมายระบุว่านายจ้างต้องเป็นผู้จัดการทำประกันสังคมให้กับลูกจ้าง เพื่อที่ลูกจ้างจะได้รับสิทธิประโยชน์  วันนี้เลยมาสรุปสิ่งที่ต้องทำ ระยะเวลาที่แจ้ง แอะเอกสารที่เกี่ยวข้องครับ

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

รายได้ 5 ล้าน (กำไร 20%) บุคคลกับบริษัทใครเสียเงินมากกว่ากัน

สมมุติฐานเพิ่มเติมให้สะท้อนความเป็นจริงมากที่สุด 1.บริษัทเป็น SME 2.บุคคลเลือกเสียแบบหักค่าใช้จ่ายตามจริง 3.รายได้ 5 ล้าน (กำไร 20%) รายได้หลังหักค่าใช้จ่าย = 1,000,000 บาท 4.บริษัทมีค่าใช้จ่ายทำบัญชี + ตรวจสอบบัญชี = 30,000 บาทต่อปี หมายเหตุ : บริษัทมีผลกำไรถ้าเจ้าของอยากจะนำเงินออกมาใช้จะต้องเสียภาษีเงินปันผลอีก 10% ของเงินปันผลที่จ่าย

by KKN การบัญชี

ภาษีขาย

ทำธุรกิจเสียภาษีอะไรบ้าง

ภาษีเงินได้ เป็นภาษีทีเก็บจากเงินได้ ดังนั้นใครที่มีรายได้จะต้องเสียภาษี บุคคลธรรมดา – เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินได้สุทธิ (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) นิติบุคคล – เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิทางภาษี ภาษีมูลค่าเพิ่ม มีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นภาษีที่จะต้องจ่ายทันทีเมื่อมีรายได้จากการให้บริการ โดยนิติบุคคลผู้จ่ายเงินได้เป็นผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ภาษีอากรแสตมป์ ตราสารที่จะต้องติดอากรแสตมป์ ได้แก่ สัญญาเช่าโรงเรือน, เช่าซื้อทรัพย์สิน,จ้างทำของ, เงินกู้ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ได้แก่ เกษตรกรรม, ที่อยู่อาศัย, อื่น ๆ (พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม) และที่ดินรกร้างว่างเปล่า โดยคิดอัตราภาษีเป็นรูปแบบขั้นบันไดเพิ่มขึ้นตามมูลค่าราคาประเมิน  ภาษีศุลกากร เรียกเก็บจากการนำสินค้า หรือสิ่งของผ่านเข้าออกจากเขตแดนหนึ่งไปยังอีกเขตแดนหนึ่ง ภาษีสรรพสามิต เรียกเก็บจากสินค้าที่ผลิตหรือนำเข้าและการให้บริการในทางธุรกิจตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ภาษีน้ำมัน, ภาษีน้ำหอม, ภาษีรถยนต์ ภาษีธุรกิจเฉพาะ เรียกเก็บจากการประกอบธุรกิจธนาคารหรือประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์, ประกันชีวิต, โรงรับจำนำ รวมถึงการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นการค้าหรือหากำไร […]

by KKN การบัญชี

ภาษีฟรีแลนซ์

ภาษีฟรีแลนซ์

สรุปการเสียภาษีของฟรีแลนซ์ การหักค่าใช้จ่าย การหักค่าลดหย่อน

by KKN การบัญชี

สต็อกสินค้า

ค่าปรับกรณีไม่จัดทำสต็อกสินค้า

ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่จัดทำรายงานตามมาตรา 87 ซึ่งประกอบไปด้วย รายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ เฉพาะผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการขายสินค้า ตามมาตรา 90/3 ระบุไว้ว่าต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ Note: โดยปกติเจ้าหน้าที่จะปรับเพียง 5,000 บาท และจะสั่งให้ผู้ประกอบการไปจัดทำสต็อกย้อนหลังให้ถูกต้อง (บอกเลยทำย้อนหลังยากโครตๆๆๆๆๆๆๆ)

by KKN การบัญชี

50 ทวิ
Bitcoin
DBD Registered
e-filing
LTF
SME
SMEs
TFRS16
Uncategorized
Voucher
กท.20 ก
กรมสรรพากร
กองทุนรวม
ก่อสร้างอาคารบนที่ดินของกรรมการ
การขอรับบริจาค
การจัดสรรกำไรสะสม
การตัดหนี้สูญ
การบริจาค
การบันทึกบัญชีเงินสดรับ-จ่าย
การประมาณการกำไรสุทธิขาดไป
การลงทุน
การลงประกาศหนังสือพิมพ์
การลดหย่อนบริจาคทั่วไป
การเช่า
กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กิจการร่วมค้า และกิจการค้าร่วม
กิจการเพื่อสังคม
กิจการโรงแรม
ขนส่ง
ขอคืนเงินประกันไฟฟ้า
ขายกิจการ
ขายสินค้าต่ำกว่าทุน
ขายสินค้าส่งออกไปต่างประเทศ
ขายหนังสือแถมคอร์สเรียนออนไลน์
คริปโทเคอร์เรนซี
ความเสี่ยง-ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ความเสี่ยงของกิจการ
ค่าขนส่ง
ค้าขายออนไลน์
ค่าตรวจสุขภาพ
ค่าปรับ
ค่ารักษาพยาบาล
ค่ารับรอง
ค่าสินไหมทดแทน
ค่าเช่า
ค่าเช่ารับล่วงหน้า
ค่าเบี้ยประกันชีวิต
ค่าเสื่อมราคา
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายของกิจการ
ค่าใช้จ่ายทางภาษี
ค่าใช้จ่ายในการอบรม
งบการเงิน
งบการเงินส่วนบุคคล
จดทะเบียน
จดทะเบียนเพิ่มสาขา
จดภาษีมูลค่าเพิ่ม
จัดตั้งบริษัท
จ้างงานผู้สูงอายุ
จ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ
จ้างเด็กจบใหม่
ช้อปดีมีคืน
ดอกเบี้ยค้างรับ
ตราประทับ
ทรัพย์สิน
ทั่วไป
ทำประกันให้พนักงาน
ธุรกรรม
ธุรกิจขนส่ง
บริจาค
บริษัท กับ กรรมการ
บัญชีและภาษี
บิลเงินสด
ประกัน keyman
ประกันCovid-19
ประกันสังคม
ประชุมบริษัท
ประเภทเช็ค
ผลขาดทุน
ผู้ถือหุ้น
ผู้ประกอบการ
พร้อมเพย์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ฟรีแลนซ์
ภ.ง.ด. 1ก
ภ.ง.ด.1 ก
ภ.ง.ด.54
ภ.พ.36
ภาษี
ภาษี e-Service
ภาษีDropship
ภาษีกองทุนตราสารหนี้
ภาษีกับการออกจากงาน
ภาษีการรับมรดก
ภาษีของแพทย์
ภาษีขาย
ภาษีซื้อ
ภาษีซื้อต้องห้าม
ภาษีดอกเบีี้ย
ภาษีที่ดิน
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีนำเข้าสินค้า
ภาษีป้าย
ภาษีฟรีแลนซ์
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีรถยนต์
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีอากร
ภาษีอากรนำเข้า
ภาษีอีเพย์เมนต์
ภาษีเงินปันผล
ภาษีเงินได้จากการรับให้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ภาษีโรงแรม
มาตรการผู้กู้ยืม กยศ.
มูลค่าต้นทุน
ย้ายกิจการ
ยื่นแบบ
ยื่นแบบอย่างไรให้ประหยัดค่าปรับที่สุด
รถยนต์นั่ง
รถแลกเงิน
ระบบรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
ร้านกาแฟ-เสียภาษี
รายจ่ายค่าซ่อมแซม
รายจ่ายจริง
รายจ่ายต้องห้าม
รายได้อื่น
ลดหย่อนทางภาษี
ลดหย่อนภาษี
ลาออกจากงาน
วงจรเงินสด
วางระบบบัญชี
วางแผนภาษี
ศุลกากร
ส่งสินค้าทางไปรษณีย์
ส่งเสริมการขาย
สต็อกสินค้า
สรุปประเด็นภาษี
ส่วนลดกาาค้าและส่วนลดเงินสด
สวัสดิการพนักงาน
สวัสดิการอาหารพนักงาน
สัญญาขายฝาก
สัญญาซื้อ
สัญญาฝากทรัพย์
สัญญายินยอม
สัญญาเช่า
สัญญาเช่าที่ดิน
สำนักงานบัญชี
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
หนี้สิน
อั่งเปา
อากรแสตมป์
เกษตรกับวิธีเสียภาษี
เครื่องบันทึกการเก็บเงิน
เคลมภาษีซื้อ ค่าอบรม
เงินกู้ยืมกรรมการ
เงินค่าฝึกอบรม
เงินชดใช้ค่าเสียหาย
เงินทดรองจ่าย
เงินบำนาญชราภาพ
เงินบำเหน็จ
เงินปันผล
เงินมัดจำ
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
เงินสมทบประกันสังคม
เงินสำรองจ่าย
เงินเรียกเก็บล่วงหน้าจากการขายสินค้า
เงินได้พนักงาน
เงินได้พึงประเมิน
เช่าซื้อ-ลิสซิ่ง
เบี้ยประกัน
เบี้ยปรับ
เปิดบริษัท
เราเที่ยวด้วยกัน
เลขประจำตัวผู้เสียอากร
เลิกทำธุรกิจ
เสน่หากับภาษ๊
เอกสารการเบิกจ่ายเงิน
เอกสารทางภาษี
เอกสารบัญชี
แจกไฟล์
แรงงานต่างด้าว
โครงการคนละครึ่ง
โทษปรับ
ใบกำกับภาษี
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
ใบลดหนี้
ใบลดหนี้และใบเพิ่มหนี้
ใบสำคัญจ่าย
ใบหุ้น
ใบเสนอราคา
ใบเสร็จรับเงิน