บทความล่าสุด

Uncategorized

จ่ายค่า Netflix ต้องยื่น ภ.พ.36 และ ภ.ง.ด.54 หรือไม่

📌 ภ.พ.36 จะยื่นก็ต่อเมื่อเราเป็นผู้ประกอบการจด VAT ได้จ่ายค่าบริการให้กับนิติบุคคลต่างประเทศและนำบริการเข้ามาใช้ในประเทศไทย ดังนั้นถ้าเราเป็นบริษัทจด VAT จ่ายค่าบริการ Netflix จะต้องยื่น ภ.พ.36 นำส่ง VAT 7% ของค่าบริการ แทนผู้ให้บริการต่างประเทศให้กับกรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป และสามารถนำมาใช้เป็นภาษีซื้อได้ในเดือนถัดไป บริษัทที่ไม่ได้จด VAT จะโดนทาง Platform เรียกเก็บ VAT มาอยู่แล้วจึงไม่ต้องยื่น ภ.พ.36 ไม่งั้นจะยื่น VAT ซ้ำซ้อน ภ.ง.ด. 54 ค่า Netflix ถือเป็นค่าสิทธิเป็นเงินได้ 40(3) จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วยแบบ ภ.ง.ด.54 ไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป หักภาษีในอัตรา 15% (แนะนำให้ดูอนุสัญญาาภาษีซ้อนเผื่อได้ลดอัตราภาษีที่จะต้องหัก) แต่อนุสัญญาภาษีซ้อนมันยากไปกรมสรรพากรเลยสรุปการหักค่าสิทธิสำหรับผู้ให้บริการในแต่ละประเทศตาม link นี้ครับ https://www.rd.go.th/14933.html แล้วเราก็จะเป็นเทพอนุสัญญาภาษีซ้อนได้ทันที 🎉

by KKN การบัญชี

สวัสดิการพนักงาน

รายจ่ายสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล

สำหรับกิจการไหนที่เสียภาษีเยอะ ต้องการวางแผนภาษีเพื่อให้จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลน้อยลง แอดมินแนะนำค่าใช้จ่ายอันนี้เลยครับ “สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล” บริษัทไหนมีสวัสดิการนี้พนักงานจะรักและทุ่มเททำงานให้กับบริษัทเป็นพิเศษเลยครับ ข้อดีของสวัสดิการนี้คือ สวัสดิการค่ารักษาพยาบาลไม่ถือเป็นเงินได้ของพนักงานที่ได้รับด้วย จึงไม่สร้างภาระทางภาษีให้กับพนักงาน

by KKN การบัญชี

ค่ารับรอง

เงินใส่ซองงานแต่งถือเป็นค่ารับรองหรือไม่❓

เงินใส่ซองงานแต่งลูกค้า และเงินสนับสนุนของรางวัลจัดงานปีใหม่บริษัทลูกค้า สามารถนำมาลงเป็นค่ารับรองได้หรือไม่ ✍️ รายจ่ายค่ารับรองค่าบริการ 👉บุคคลซึ่งได้รับรองหรือรับบริการต้องมิใช่ลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เว้นแต่ ลูกจ้างดังกล่าวจะมีหน้าที่เข้าร่วมในการรับรองหรือรับบริการนั้นด้วย และเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการรับรอง เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่าดูมหรสพ 👉เป็นค่าสิ่งของให้ไม่เกินคนละ 2,000 บาท นำมาหักได้แต่ไม่เกิน 0.3% ของรายได้ที่ต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิ และจะต้องมีจำนวนสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท

by KKN การบัญชี

ภาษีซื้อ

ของขวัญกับการเสียภาษี 🎁

ช่วงใกล้สิ้นปี บริษัทต่างๆ ก็มักจะมีการแจกของขวัญให้กับลูกค้าของบริษัท วันนี้แอดมินจึงมาสรุปภาษีที่เกี่ยวข้องกับการแจกของขวัญให้กับลูกค้า

by KKN การบัญชี

เอกสารทางภาษี

เอกสารประกอบการบันทึกบัญชีค่าใช้จ่ายของบริษัท

วันนี้แอดมินมาแนะนำเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการบันทึกบัญชีในฝั่งของค่าใช้จ่าย เพื่อเตรียมเอาไว้เผื่อเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรเรียกตรวจสอบภาษีย้อนหลัง Download แบบฟอร์ม >> https://www.dropbox.com/t/ID74Z3ozUD6ly4f3

by KKN การบัญชี

คริปโทเคอร์เรนซี

ลงทุนคริปโทเคอร์เรนซีอย่างไร❓ ไม่ต้องเสียภาษี

เงินได้จากต่างประเทศ (จากสินทรัพย์ที่อยู่ต่างประเทศ) จะเสียภาษีให้กับประเทศไทย เมื่อเข้าองค์ประกอบทั้ง 2 ข้อดังนี้ 1. เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยในปีปฏิทินนั้นเกิน 180 วัน (ปีปฏิทินนับ ม.ค. – ธ.ค.) 2. นำเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทย ในปีปฏิทินเดียวกันกับที่ได้รับเงินได้พึงประเมินนั้น ดังนั้นวิธีการที่จะไม่ต้องเสียภาษีก็คือการทำให้ไม่เข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ก็จะไม่ต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทย ความยากของเรื่องนี้คือการที่เราจะต้องพิสูจน์กับเจ้าหน้าที่ให้ได้ว่าสิ่งที่เรานำเข้าประเทศคือเงินลงทุนเท่านั้นซึ่งไม่ใช่เงินกำไรที่จะต้องเสียภาษี เนื่องจากการขายแต่ละครั้งจะมีทั้งส่วนของต้นทุนและเงินกำไร และในแต่ละปีนักลงทุนไม่ได้ซื้อครั้งเดียวและขายครั้งเดียว ชีวิตจริงซื้อขายรัวๆ แทบจะทุกวัน นักลงทุนจะต้องมีการจัดทำบัญชีหรือรายงานการซื้อขายว่าในแต่ละปีมีการนำเงินไปลงทุนจำนวนกี่บาท ได้ผลกำไรกี่บาท พร้อมแนบเป็นหลักฐานประกอบการบันทึกบัญชี เผื่อในกรณีที่เจ้าหน้าที่เรียกตรวจสอบ สำหรับคำถามว่าจัดทำบัญชีแบบนี้เพียงพอแล้วรึยัง แนะนำให้เข้าไปปรึกษาเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรได้โดยตรงเลย ทางกรมสรรพากรมี #ฑูตภาษี (Tax ambassador) รอให้คำปรึกษาทุกท่านเพื่อเสียภาษีให้ถูกต้องครับ

by KKN การบัญชี

ใบลดหนี้และใบเพิ่มหนี้

ใบลดหนี้และใบเพิ่มหนี้

วันนี้แอดมินจะมาทำความรู้จักกับเอกสารที่สำคัญ 2 ชนิดได้แก่ “ใบลดหนี้” และ “ใบเพิ่มหนี้” โดยเอกสารทั้ง 2 ชนิดนี้เราจะใช้เมื่อมูลค่ารายการขายสินค้าหรือให้บริการมีการเปลี่ยนแปลงไปจากที่ตกลงกัน ยกตัวอย่างเช่น นาย A ขายสินค้าให้ลูกค้าแล้ว ตอนที่ขายสินค้าได้ออกเอกสารใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ต่อมาลูกค้าที่ซื้อของไปแจ้งว่าสินค้าที่ซื้อมีปัญหาไม่มีคุณภาพ นาย A จึงตัดสินใจให้ส่วนลดแก่ลูกค้า จึงได้ออกใบลดหนี้พร้อมกับคืนเงินให้กับลูกค้า ใบลดหนี้ และใบเพิ่มหนี้ ถือว่าเป็นใบกำกับภาษีชนิดหนึ่ง ดังนั้นกรมสรรพากรจึงได้มีการกำหนดรายการสาระสำคัญที่ควรจะมีในเอกสารใบลดหนี้ และใบเพิ่มหนี้ รวมถึงสาเหตุที่สามารถออกใบลดหนี้ได้เอาไว้

by KKN การบัญชี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

อยากออกจาก VAT ต้องทำอย่างไร

มีผู้ประกอบการท่านหนึ่งสอบถามเข้ามาว่า ตอนจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเข้าใจผิดคิดว่าจดบริษัทจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย แต่ตั้งแต่เปิดบริษัทมา 2 ปียังไม่เคยมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีเลย ตอนนี้รู้สึกว่าเป็นภาระมาก เพราะบางครั้งก็ไม่สามารถเก็บ VAT จากลูกค้าได้จะต้องควักเงินจ่ายเองและทุกเดือนจะต้องยืนแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ตอนนี้อยากออกจาก VAT มากทำอย่างไรได้บ้าง VAT เป็นเรื่องที่คนใจอยากออก แต่ไม่มีคนนอกที่ไหนอยากจะเข้าเลย ดังนั้นก่อนจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องคิดให้ดีก่อนเพราะจดแล้วออกลำบากมาก คุณจะต้องมียอดขายต่ำกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีติดต่อกันมากกว่า 3 ปีถึงจะสามารถยื่นเรื่องขอออกจากระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้ หรืออีกวิธีที่ไม่ต้องรอ 3 ปีคือการเลิกกิจการแล้วจดทะเบียนใหม่ครับ

by KKN การบัญชี

e-filing

แก้ปัญหา Rd prep ฟ้องว่าไฟล์ที่นำเข้ามีตัวอักษรพิเศษ

มีหลายท่านเจอปัญหา Import text file เข้าโปรแกรม Rd prep แล้วโปรแกรมแจ้งเตือนว่ามีข้อมูลที่มีอักษรพิเศษ ทำให้ไม่สามารถสร้างไฟล์ .rdx เพื่อใช้สำหรับยื่นภาษีในระบบ new e-Filing ได้ แอดมินไปงมหาวิธีแก้ไขให้เรียบร้อยแล้วครับ

by KKN การบัญชี

ใบกำกับภาษี

ใบกำกับภาษีซื้อ ยื่นผิดหรือลืมยื่นทำอย่างไรดี

ปัญหาเกี่ยวกับใบกำกับภาษีซื้อที่มักเจอจะเป็นกรณีดังต่อไปนี้ 1. ใส่ข้อมูลตัวเลขผิด (ตัวเลขไม่ตรงกับใบกำกับภาษีตัวจริง) 2. ยื่นใบกำกับภาษีซ้ำ ส่วนใหญ่มักจะเกิดจากผู้ขายส่งใบกำกับภาษีตัวจริงมาให้ช้า จึงยื่นภาษีซื้อจากสำเนารูปถ่ายไปก่อน พอได้รับเอกสารใบกำกับภาษีตัวจริงมาก็ยื่นซ้ำอีกรอบหนึ่ง 3.เคลมภาษีซื้อ โดยใบกำกับภาษีซื้อดังกล่าวเป็นใบกำกับภาษีซื้อที่ห้ามขอคืน เช่น เป็นค่ารับรอง, ใบกำกับภาษีออกไม่ถูกต้องในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ เป็นต้น 4. ลืมยื่นใบกำกับภาษีซื้อ วันนี้แอดมินจึงมาโพสวิธีแก้ไขปัญหาเบื้องต้นที่เกิดจากใบกำกับภาษีซื้อที่ยื่นผิดหรือลืมยื่น ว่ามีทางเลือกอะไรบ้างครับ

by KKN การบัญชี

ใบหุ้น

“ใบหุ้น” ลืมทำระวังค่าปรับโครตโหด

ใบหุ้น เป็นหลักฐานที่บริษัทออกให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัท เพื่อเป็นหลักฐานในการแสดงการถือหุ้นว่าผู้ถือหุ้นได้ถือหุ้นจำนวนกี่่หุ้น มูลค่าหุ้นละกี่บาท ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวกับใบหุ้นคือ กรณีบริษัทไม่ได้จัดทำใบหุ้น หรือใส่รายละเอียดในใบหุ้นไม่ครบตามที่กฏหมายกำหนดจะมีโทษปรับบริษัทไม่เกิน 10,000 บาท และกรรมการที่กระทำผิดหรือละเว้น มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท เรียกว่าค่าปรับโครตโหด

by KKN การบัญชี

50 ทวิ

หนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) คืออะไร

เอกสาร 50 ทวิ เป็นหลักฐานที่ผู้จ่ายเงินได้ออกให้กับผู้รับเงินได้ เพื่อเป็นหลักฐานว่าได้มีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากร ถ้าพูดให้ง่ายคือ ผู้ให้บริการได้มีการจ่ายภาษีล่วงหน้าให้กับกรมสรรพากร โดยมีหลักฐานยืนยันว่าได้จ่ายภาษีล่วงหน้าไปแล้วคือเอกสาร 50 ทวิ แต่การจ่ายภาษีล่วงหน้าไม่ได้หมายความว่าผู้รับเงินได้เสียภาษีถูกต้องครบถ้วนแล้ว เพราะภาษีที่ถูกหักไปอาจจะมากกว่า หรือน้อยกว่าภาษีจริงที่คำนวนได้ตอนสิ้นปีก็ได้ ดังนั้นสิ้นปีผู้มีเงินได้มีหน้าที่คำนวนภาษีเงินได้ทั้งปีจากรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในระหว่างปี เมื่อคำนวนภาษีเงินได้แล้วได้เท่าไหร่ ก็สามารถนำภาษีที่จ่ายล่วงหน้ามาเป็นเครดิตภาษี เพื่อลดยอดภาษีที่จะต้องจ่ายลงได้ แต่ถ้าภาษีที่คำนวนได้น้อยกว่า ภาษีที่เคยจ่ายไปแล้วล่วงหน้า ก็สามารถขอคืนภาษีจากกรมสรรพากรได้ ปล. ถ้าเอกสาร 50ทวิ หายจะไม่สามารถนำภาษีที่จ่ายล่วงหน้าไปใช้เป็นเครดิตภาษีตอนปลายปีได้ จะต้องให้ผู้จ่ายเงินได้ออกเอกสารใบแทนให้ใหม่ครับ

by KKN การบัญชี

ภาษี

ยื่นภาษีเดือนใหม่ไม่ต้องเสียเวลา Key ข้อมูลใหม่ ด้วยเทคนิคการ Copy ข้อมูล

มีหลายท่านสอบถามมาว่าเวลายื่นภาษี ภ.ง.ด.1 ต้องเสียเวลามา Key ข้อมูลพนักงานใหม่ทุกเดือนหรือไม่ พอดีวิธีไหนที่ช่วยได้บ้าง แอดมินได้ไปทำการบ้านสืบเสาะหาวิธีให้เรียบร้อยแล้ว เวลาที่เราใช้โปรแกรม RD Prep ของกรมสรรพากรในการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อใช้สำหรับยื่นภาษี เมื่อเตรียมข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้วระบบจะทำการ Save ข้อมูลการยื่นแบบภาษีเอาไว้ในโปรแกรม เราสามารถ Copy ข้อมูลการยื่นภาษีของเดือนก่อนหน้า เพื่อมาใช้ยื่นภาษีในเดือนปัจจุบันได้ครับ เรียกว่าโปรแกรมใหม่นี้ ความสามารถรอบด้านจริงๆ เลยครับ เหลือแค่แก้ไข Bug เล็กๆ น้อยๆ ก็จะสมบูรณ์ ปล. มีหลายท่านสอบถามเข้ามาเยอะว่าข้อมูลที่ copy สามารถแก้ไขได้หรือไม่ ผมได้เพิ่มภาพวิธีการแก้ไขข้อมูลให้เรียบร้อยแล้วครับ

by KKN การบัญชี

ค่าเสื่อมราคา

มาทำความรู้จักกับ “ค่าเสื่อมราคา” กัน

ผู้ประกอบการหลายท่านอาจจะเคยสงสัยว่าทำไมเราซื้อรถยนต์มา 1 ล้านบาท ทำไมไม่สามารถบันทึกเป็นค่าใช้จ่าย 1 ล้านบาทได้ทันที แล้ว “ค่าเสื่อมราคา” คืออะไรทำไมมันวุ่นวายจัง ค่าเสื่อมราคา เกิดมาจากแนวคิดว่าพวกสินทรัพย์ถาวรเช่น คอมพิวเตอร์ ทันทีที่จ่ายเงินซื้อ ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ไม่ได้หมดไปทันทีที่เราซื้อ (คอมพิวเตอร์ใช้ได้หลายปีเลย) ดังนั้นการบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทันที 100% ดูจะไม่เหมาะสม จึงเกิดแนวคิดที่ว่างั้นเราบันทึกเป็นทรัพย์สินถาวรเอาไว้ก่อน และทยอยรับรู้ค่าใช้จ่ายตามอายุการใช้งานของทรัพย์สิน โดยค่าใช้จ่ายที่ทยอยรับรู้ตามอายุการใช้งานของทรัพย์สินเราเรียกว่า “ค่าเสื่อมราคา” นั่นเอง ปล. ค่าเสื่อมราคาในปี 2564 = 160,000X(153/365) ค่าเสื่อมราคาในปี 2564 67,068.49 บาท

by KKN การบัญชี

ภาษีซื้อต้องห้าม

สรุปภาษีซื้อต้องห้ามและค่าใช้จ่ายทางภาษี

ภาษีซื้อต้องห้าม คือ ภาษีซื้อที่ไม่สามารถขอคืนได้ หรือไม่สามารถนำไปหักกับภาษีขายได้ซึ่งผู้ประกอบการหลายคนมักเข้าใจผิดว่า รายการไหนที่ขอคืนภาษีซื้อไม่ได้ จะเป็นรายจ่ายต้องห้ามด้วย ไม่สามารถนำมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ในการพิจารณาเรื่องของภาษี เราจะต้องพิจารณาแต่ละชนิดภาษีแยกออกจากกัน

by KKN การบัญชี

ส่วนลดกาาค้าและส่วนลดเงินสด

มาทำความรู้จักกับส่วนลดกาาค้าและส่วนลดเงินสดกัน

คิดว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่น่าจะเคยได้ยิน 2 คำนี้กันอยู่แล้ว แต่หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าส่วนลดการค้า และส่วนลดเงินสดแตกต่างกันอย่างไร และกระทบการบันทึกบัญชีอย่างไร วันนี้แอดมินมาอธิบายส่วนลดทั้ง 2 ประเภทให้ฟังครับ ส่วนลดการค้า -> เป็นส่วนลดที่ให้กับลูกค้าทันทีที่ขายเพื่อจูงใจให้ลูกค้าซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น เช่นถ้าซื้อสินค้าในวันที่ 9/9 จากราคาสินค้า 20,000 บาท ลดเหลือ 999 บาท เป็นต้น ส่วนลดเงินสด -> จะเป็นการให้ส่วนลดแก่ลูกค้าที่ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ เพื่อให้ลูกค้ารีบมาจ่ายชำระเงินให้เร็วขึ้น เช่นเครดิตเทอมลูกค้าคือ 60 วัน แต่บริษัทอยากได้เงินสดไปหมุนก่อนจึงออกนโยบายว่า ถ้าชำระเงินภายใน 15 วัน เอาส่วนลดไปเลย 2% เป็นต้นครับ คิดว่าทุกคนน่าจะเห็นความแตกต่างระหว่างส่วนลดทั้ง 2 ประเภทกันแล้วนะครับ

by KKN การบัญชี

ประเภทเช็ค

ประเภทของเช็ค

👉 เช็คมีกี่ประเภท มาทำความรู้จักกันครับ วันนี้แอดมินจะพามาทำความรู้จักกับเช็คประเภทต่างๆ ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน รวมถึงมาพูดถึงข้อควรระมัดระวังในการใช้เช็คกันด้วยครับ

by KKN การบัญชี

วงจรเงินสด

ขายดี มีกำไร แต่เงินหายไปไหนหมด

แอดมินเชื่อว่าคุณคนเคยได้ยินคำว่า “ขายดี จนเจ๊ง” แต่ทุกคนที่เคยได้ยินคำพูดนี้ครั้งแรกก็จะคิดทันทีเลยว่ามันมีจริงใช่มั้ยที่ขายดีมากๆ จนต้องปิดกิจการ เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาแอดมินได้คุยกับผู้ประกอบการท่านหนึ่ง ซึ่งปี 2564 บริษัทมีผลประกอบการที่ดีมากยอดขายเติบโตเมื่อเทียบกับปี 2563 กว่า 30% แต่ปัญหาคือทั้งทียอดขายเยอะมาก แต่บริษัทกลับไม่มีเงินสดเหลือที่จะจ่ายให้กับ Supplier ทำให้ผู้ประกอบการท่านนี้ต้องไล่หาว่าเงินหายไปไหนหมด แน่นอนไม่ใช่เรื่องของการขายสินค้าขาดทุน เพราะราคาขายสินค้าที่ตั้งเอาไว้เป็นราคาที่มีกำไร และเมื่อวิเคราะห์ไปเรื่อยๆ พบว่ามีบัญชีหนึ่งที่มียอดคงเหลือเยอะมากนั่นคือ “ลูกหนี้การค้า” บทความนี้แอดมินจึงตั้งใจทำขึ้นมาเพื่อให้ผู้ประกอบการลองสำรวจตัวเองว่าทุกวันนี้เราบริหารสภาพคล่องเป็นอย่างไรกันบ้าง

by KKN การบัญชี

เราเที่ยวด้วยกัน

เราเที่ยวด้วยกัน เฟส3

วันที่ 24 กันยายน 2564 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เตรียมเปิดให้ประชาชนลงทะเบียน “เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 3” ผ่านเว็บไซต์ www. เราเที่ยวด้วยกัน .com สิทธิพิเศษสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ ได้รับส่วนลดค่าที่พัก 40% สูงสุดไม่เกิน 3,000 บาทต่อห้องหรือต่อคืน จำกัดสิทธิคนละไม่เกิน 15 ห้อง หรือ 15 คืน เมื่อจองที่พักแล้ว ไม่สามารถยกเลิกได้แต่สามารถเลื่อนวันเข้าพักได้ หมายเหตุ: โครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 3 จะเป็นโครงการต่อเนื่องจากเฟส 1 และเฟส 2 ที่มอบโควต้ารับสิทธิจำนวน 15 ห้องต่อคน ยกตัวอย่างเช่น นาย A ใช้สิทธิไปแล้ว 5 สิทธิ ในเฟส 1-2 ส่วนเฟส 3 จะเหลือสิทธิให้เที่ยวอีก 10 สิทธิ รัฐบาลจะสนับสนุนคูปองอาหาร/ท่องเที่ยวมูลค่า 600 บาทต่อห้องต่อคืน ให้กับประชาชน […]

by KKN การบัญชี

กิจการร่วมค้า และกิจการค้าร่วม

กิจการร่วมค้า และกิจการค้าร่วม

👉 มาทำความรู้จักกับกิจการร่วมค้า และกิจการค้าร่วม 👈 หลายคนเคยได้ยินคำว่า “กิจการร่วมค้า” กับ “กิจการค้าร่วม” กันมาบ้างแล้วแต่อาจจะสงสัยว่าทั้ง 2 ประเภทกิจการแตกต่างกันอย่างไร ในโพสนี้เราจะไปทำความรู้จักกับทั้ง 2 กิจการให้มาขึ้นไปอีก – ข้อดี ข้อเสีย – ฐานะทางภาษี – การแบ่งผลประโยชน์ และความรับผิดชอบ

by KKN การบัญชี

50 ทวิ
Bitcoin
DBD Registered
e-filing
LTF
SME
SMEs
TFRS16
Uncategorized
Voucher
กท.20 ก
กรมสรรพากร
กองทุนรวม
ก่อสร้างอาคารบนที่ดินของกรรมการ
การขอรับบริจาค
การจัดสรรกำไรสะสม
การตัดหนี้สูญ
การบริจาค
การบันทึกบัญชีเงินสดรับ-จ่าย
การประมาณการกำไรสุทธิขาดไป
การลงทุน
การลงประกาศหนังสือพิมพ์
การลดหย่อนบริจาคทั่วไป
การเช่า
กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กิจการร่วมค้า และกิจการค้าร่วม
กิจการเพื่อสังคม
กิจการโรงแรม
ขนส่ง
ขอคืนเงินประกันไฟฟ้า
ขายกิจการ
ขายสินค้าต่ำกว่าทุน
ขายสินค้าส่งออกไปต่างประเทศ
ขายหนังสือแถมคอร์สเรียนออนไลน์
คริปโทเคอร์เรนซี
ความเสี่ยง-ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ความเสี่ยงของกิจการ
ค่าขนส่ง
ค้าขายออนไลน์
ค่าตรวจสุขภาพ
ค่าปรับ
ค่ารักษาพยาบาล
ค่ารับรอง
ค่าสินไหมทดแทน
ค่าเช่า
ค่าเช่ารับล่วงหน้า
ค่าเบี้ยประกันชีวิต
ค่าเสื่อมราคา
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายของกิจการ
ค่าใช้จ่ายทางภาษี
ค่าใช้จ่ายในการอบรม
งบการเงิน
งบการเงินส่วนบุคคล
จดทะเบียน
จดทะเบียนเพิ่มสาขา
จดภาษีมูลค่าเพิ่ม
จัดตั้งบริษัท
จ้างงานผู้สูงอายุ
จ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ
จ้างเด็กจบใหม่
ช้อปดีมีคืน
ดอกเบี้ยค้างรับ
ตราประทับ
ทรัพย์สิน
ทั่วไป
ทำประกันให้พนักงาน
ธุรกรรม
ธุรกิจขนส่ง
บริจาค
บริษัท กับ กรรมการ
บัญชีและภาษี
บิลเงินสด
ประกัน keyman
ประกันCovid-19
ประกันสังคม
ประชุมบริษัท
ประเภทเช็ค
ผลขาดทุน
ผู้ถือหุ้น
ผู้ประกอบการ
พร้อมเพย์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ฟรีแลนซ์
ภ.ง.ด. 1ก
ภ.ง.ด.1 ก
ภ.ง.ด.54
ภ.พ.36
ภาษี
ภาษี e-Service
ภาษีDropship
ภาษีกองทุนตราสารหนี้
ภาษีกับการออกจากงาน
ภาษีการรับมรดก
ภาษีของแพทย์
ภาษีขาย
ภาษีซื้อ
ภาษีซื้อต้องห้าม
ภาษีดอกเบีี้ย
ภาษีที่ดิน
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีนำเข้าสินค้า
ภาษีป้าย
ภาษีฟรีแลนซ์
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีรถยนต์
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีอากร
ภาษีอากรนำเข้า
ภาษีอีเพย์เมนต์
ภาษีเงินปันผล
ภาษีเงินได้จากการรับให้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ภาษีโรงแรม
มาตรการผู้กู้ยืม กยศ.
มูลค่าต้นทุน
ย้ายกิจการ
ยื่นแบบ
ยื่นแบบอย่างไรให้ประหยัดค่าปรับที่สุด
รถยนต์นั่ง
รถแลกเงิน
ระบบรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
ร้านกาแฟ-เสียภาษี
รายจ่ายค่าซ่อมแซม
รายจ่ายจริง
รายจ่ายต้องห้าม
รายได้อื่น
ลดหย่อนทางภาษี
ลดหย่อนภาษี
ลาออกจากงาน
วงจรเงินสด
วางระบบบัญชี
วางแผนภาษี
ศุลกากร
ส่งสินค้าทางไปรษณีย์
ส่งเสริมการขาย
สต็อกสินค้า
สรุปประเด็นภาษี
ส่วนลดกาาค้าและส่วนลดเงินสด
สวัสดิการพนักงาน
สวัสดิการอาหารพนักงาน
สัญญาขายฝาก
สัญญาซื้อ
สัญญาฝากทรัพย์
สัญญายินยอม
สัญญาเช่า
สัญญาเช่าที่ดิน
สำนักงานบัญชี
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
หนี้สิน
อั่งเปา
อากรแสตมป์
เกษตรกับวิธีเสียภาษี
เครื่องบันทึกการเก็บเงิน
เคลมภาษีซื้อ ค่าอบรม
เงินกู้ยืมกรรมการ
เงินค่าฝึกอบรม
เงินชดใช้ค่าเสียหาย
เงินทดรองจ่าย
เงินบำนาญชราภาพ
เงินบำเหน็จ
เงินปันผล
เงินมัดจำ
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
เงินสมทบประกันสังคม
เงินสำรองจ่าย
เงินเรียกเก็บล่วงหน้าจากการขายสินค้า
เงินได้พนักงาน
เงินได้พึงประเมิน
เช่าซื้อ-ลิสซิ่ง
เบี้ยประกัน
เบี้ยปรับ
เปิดบริษัท
เราเที่ยวด้วยกัน
เลขประจำตัวผู้เสียอากร
เลิกทำธุรกิจ
เสน่หากับภาษ๊
เอกสารการเบิกจ่ายเงิน
เอกสารทางภาษี
เอกสารบัญชี
แจกไฟล์
แรงงานต่างด้าว
โครงการคนละครึ่ง
โทษปรับ
ใบกำกับภาษี
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
ใบลดหนี้
ใบลดหนี้และใบเพิ่มหนี้
ใบสำคัญจ่าย
ใบหุ้น
ใบเสนอราคา
ใบเสร็จรับเงิน