บทความล่าสุด

เงินสำรองจ่าย

กรรมการสำรองเงินส่วนตัวจ่ายแทนบริษัทได้หรือไม่

มีคำถามจากผู้ประกอบการท่านหนึ่งสอบถามเข้ามา และผมก็คิดว่าเป็นคำถามที่ดีมาก คิดว่าหลายคนคงจะสงสัยเหมือนกัน “จำเป็นมัน ค่าใช้จ่ายทุกอย่างจะต้องจ่ายผ่านบัญชีบริษัทเท่านั้น” ถ้าให้ตอบแบบฟันธงก็คงตอบว่าไม่จำเป็น แต่ถ้าสามารถจ่ายค่าใช้จ่ายทุกอย่างผ่านบัญชีบริษัทได้ ก็เป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะการจ่ายเงินผ่านบัญชีบริษัทจะช่วยให้สามารถตรวจสอบการจ่ายเงินได้ง่าย และเป็นการแบ่งแยกเงินของบริษัทออกจากเงินส่วนตัว แต่สำหรับกิจการไหนที่มีความจำเป็น การจ่ายเงินผ่านบัญชีบริษัทจะทำให้การทำงานยุ่งยากไม่สะดวก กรรมการก็สามารถที่จะสำรองเงินส่วนตัวจ่ายแทนบริษัทได้ เพียงแต่กิจการจะต้องมีการวางระบบควบคุมภายในเรื่องดังกล่าวให้ชัดเจนและเป็นระบบ เพื่อให้ง่ายต่อการทำงานและตรวจสอบ ซึ่งวันนี้แอดมินก็แนะนำการวางระบบควบคุมภายในเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้มาเพื่อเป็นแนวทางให้กับทุกคน 🗯

by KKN การบัญชี

อากรแสตมป์

ทำสัญญาจ้างที่ปรึกษาต้องติดอากรแสตมป์หรือไม่

✔ ต้องติดครับ เพราเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายต่างมีหน้าที่ตอบแทนซึ่งกันและกันเข้าลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของ

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

บริษัทจ้างร้านถ่ายเอกสารอย่าลืมหัก ณ ที่จ่ายด้วย

การจ่ายค่าถ่ายเอกสารถือเป็นการจ่ายค่าบริการ ถ้ายอดค่าบริการตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไปอย่าลืมหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่จ่ายค่าบริการด้วย ถ้าค่าบริการ 1,300 บาท แล้วไม่อยากหักภาษี ณ ที่จ่ายเพราะวุ่นวายเราจะทำอย่างไรดีนะ ? ถ่ายเอกสารไป 900 บาทแล้วบอกให้ร้านถ่ายเอกสารคิดเงินและออกใบเสร็จค่าถ่ายเอกสารก่อนรอบหนึ่ง จากนั้นถ่ายเอกสารอีก 300 บาท แล้วให้ร้านถ่ายเอกสารออกใบเสร็จอีกรอบหนึ่ง ค่าบริการต่อครั้งไม่ถึง 1,000 บาทไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีเป็นสัญญาบริการต่อเนื่องเช่น Internet แม้ว่าต่อเดือนจะไม่ถึง 1,000 บาท แต่ถ้ารวมกันตลอดสัญญาแล้วถึง 1,000 บาทจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายครับ.กรณีถ่ายเอกสารเราไม่มีการทำสัญญากับร้านถ่ายเอกสารค่าจ่ายค่าบริการต่อครั้งไม่ถึง 1,000 บาทไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายครับ การจ้างร้านถ่ายเอกสารเดิมทุกครั้งก็ไม่ถือเป็นการทำสัญญาบริการครับ

by KKN การบัญชี

ใบกำกับภาษี

ห้ามออกใบกำกับภาษีโดยใส่ชื่อลูกค้าว่า “สด”

❌ห้ามออกใบกำกับภาษีโดยใส่ชื่อลูกค้าว่า “สด” หรือ “ลูกค้าไม่ประสงค์ออกนาม” เพราะเป็นการออกใบกำกับภาษีไม่ถูกต้องในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท กรณีเป็นความผิดครั้งแรก ต้องระวางโทษปรับเป็นรายกระทง กระทงละ 100 บาท สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท. 📣 กรณีที่่ลูกค้าไม่บอกชื่อ ที่อยู่ ให้ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อแทน

by KKN การบัญชี

ภาษี

เปลี่ยนจากบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคลต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

มีผู้ประกอบการหลายท่าน Inbox มาปรึกษาว่าตอนนี้เค้าทำธุรกิจอยู่ในรูปแบบของบุคคลธรรมดา และธุรกิจมีแนวโน้มไปได้ดีปีที่ผ่านมาเสียภาษีแบบเหมาอัตราค่าใช้จ่ายซึ่งเสียไปเยอะมาก และรายได้ก็เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี เลยอยากที่จะวางแผนเปลี่ยนจากบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคล คำถามคือถ้าโอนกิจการจากบุคคลเป็นนิติบุคคลได้มั้ย และเสียภาษีเท่าไหร่ วันนี้แอดมินสรุปภาษีที่เกี่ยวข้องกับการโอนกิจการมาให้ทุกคนเพื่อใช้ในการวางาแผนภาษีกันนะครับ

by KKN การบัญชี

การตัดหนี้สูญ

หลักเกณฑ์ใหม่ตัดหนี้สูญอย่างไรให้นำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้

คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหลักการร่างกฎหมาย เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ สาระสำคัญของร่างกฎหมายในการปรับปรุงหลักเกณฑ์การจำหน่ายหนี้สูญ สรุปได้ดังนี้ ขยายเพดานการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป โดยยังคงแบ่งเป็น 3 ระดับเหมือนเดิม คือ ลูกหนี้รายเล็ก รายกลาง และรายใหญ่ แต่ขยายเพดาน ดังนี้ • รายเล็ก จากเดิม ไม่เกิน 100,000 บาท เป็น ไม่เกิน 200,000 บาท • รายกลาง จากเดิม ไม่เกิน 500,000 บาท เป็น ไม่เกิน 2,000,000 บาท • รายใหญ่ จากเดิม เกิน 500,000 บาทขึ้นไป เป็น เกิน 2,000,000 บาทขึ้นไป กำหนดวันที่มีผลบังคับใช้ ให้กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับสำหรับการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่ม ในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป

by KKN การบัญชี

การประมาณการกำไรสุทธิขาดไป

วิธีคำนวณประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25

★ ☆ ✰✩ บทลงโทษ★ ☆ ✰✩ ประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกิน 25% ของกำไรสุทธิ โดยไม่มีเหตุอันสมควร นิติบุคคลต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระ หรือของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชำระขาด

by KKN การบัญชี

Bitcoin

Bitcoin เสียภาษีอย่างไร

หลังจากที่ 1BTC มีมูลค่าเกิน 2 ล้านบาท กระแส Bitcoin ก็มาแรงสุดๆ พร้อมกับ Inbox เข้ามาถามเกี่ยวกับ Bitcoin เสียภาษีอย่างไร ก่อนอื่นเลยแอดมินต้องออกตัวก่อนว่าเรื่อง Bitcoin เป็นเรื่องใหม่มากในประเทศไทย และคิดว่าแทบจะยังไม่มีใครได้เสียภาษีตัวนี้กัน แอดมินรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่ง และต้องขอบคุณข้อมูลจากเพจอาจารย์สุเทพ พงษ์พิทักษ์ที่ตอบเรื่องนี้ได้ละเอียดมาก โพสจัดทำจากการหาข้อมูลจากหลายแหล่งและการตีความส่วนตัว คงต้องรอให้ทางกรมสรรพากรสรุปอีกทีหนึ่งถึงจะได้คำตอบที่ถูกต้องที่สุดครับ สำหรับแนวทางการวางแผนภาษีที่คิดออกตอนนี้คือ การทำซื้อขาย BTC ในรูปของบุคคลธรรมดา และใช้ประโยชน์จากหลักแหล่งเงินได้ของบุคคลธรรมดา โดยเลือกเทรด Website ต่างประเทศและนำเงินกำไรเข้ามาในอีกปีภาษีหนึ่งก็จะทำให้ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครับ

by KKN การบัญชี

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

10 สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ไม่ควรพลาดสำหรับนิติบุคคล

การประหยัดภาษีแบบถูกวิธีคือการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีให้ครบถ้วน จะช่วยให้ประหยัดภาษีได้ วันนี้แอดมินเลยรวบรวม 10 สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่น่าสนใจเอามาฝากทุกคนครับ

by KKN การบัญชี

จดภาษีมูลค่าเพิ่ม

รายได้ไม่ถึง 1.8 ล้านบาท ควรจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่

แอดมินได้รับคำถามใน Inbox สอบถามมาว่าตอนนี้เพิ่งเปิดบริษัทรายได้ยังไม่ถึง 1.8 ล้านบาท จึงยังไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตอนนี้มีลูกค้ารายหนึ่งต้องการซื้อสินค้าจากบริษัทแต่ลูกค้าอยากได้ใบกำกับภาษี บริษัทควรจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ กรณีรายได้ไม่ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปี ควรจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ ให้เราพิจารณาว่าบริษัทมีความสามารถในการผลักภาระ VAT ไปให้ลูกค้าได้มากน้อยขนาดไหน คำว่าผลักภาระ VAT ให้ลูกค้า หมายความว่าเดิมสินค้าราคา 100 บาท หลังจากจด VAT จึงเรียกเก็บ VAT เพิ่ม 7% เป็น 107 บาท และลูกค้าก็ยอมที่จะขายที่จะจ่ายเงิน 107 บาทในการซื้อสินค้าจากบริษัท ส่วนใหญ่แล้วถ้าลูกค้าที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่แล้ว เราเก็บเงินค่าสินค้า 107 (100 + 7) ลูกค้าก็จะไม่ได้รู้สึกว่าสินค้าเราแพงขึ้น เพราะเค้าสามารถขอคืน 7 บาท ที่เป็นภาษีซื้อจากกรมสรรพากรได้ ดังนั้นถ้าเราสามารถผลักภาระ VAT ให้ลูกค้าได้ เราก็ควรจด VAT เพราะไม่ได้กระทบกับการขายสินค้า และในทางกลับกันเราสามารถขอคืนภาษีซื้อจากกรมสรรพากรได้อีกทำให้ต้นทุนเราลดลง แต่ถ้าเราไม่สามารถผลักภาระ VAT ให้กับลูกค้าได้ เราจะต้องยอมลดราคาสินค้าลง […]

by KKN การบัญชี

ค่าปรับ

อัตราค่าปรับการส่งงบการเงินล่าช้า

❤ เอากำลังใจมาฝาก สำหรับนักบัญชีที่กำลังอดหลับอดนอนในการปิดงบการเงิน ถ้ารู้สึกเหนื่อยเพียงแค่จ้องมองรูปนี้นาน กำลังใจจะเพิ่มขึ้นมาอัตโนมัติ ต้องปิดงบใหัทันไม่งั้นค่าปรับบาน ท่องเอาไว้ปีนี้ไม่เลื่อนสงสัยแล้วนะ

by KKN การบัญชี

ค่าปรับ

ค่าปรับการกระทำผิดเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม

สำหรับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จะต้องระมัดระวังไม่กระทำผิดฝ่าฝืนเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มเพราะมีค่าปรับที่ค่อนข้างสูง รวมถึงมีโทษหนักถึงขั้นจำคุกในเรื่องของการนำใบกำกับภาษีปลอมไปใช้ หรือออกใบกำกับภาษีปลอม

by KKN การบัญชี

การบันทึกบัญชีเงินสดรับ-จ่าย

การบันทึกบัญชีเงินสดรับ-จ่าย

สำหรับบุคคลธรรมดาที่เลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริงและสมควร จะต้องจัดทำบัญชีเงินสดรับ-จ่าย รวมถึงเก็บเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีค่าใช้จ่าย เตรียมเอาไว้เผื่อเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร (ที่รัก) เรียกตรวจสอบ Excel บัญชีเงินสดรับ-จ่าย [No VAT] http://bit.ly/2WcFhxB Excel บัญชีเงินสดรับ-จ่าย [VAT] http://bit.ly/2U5As6J ◥หลักการบันทึกบัญชี◤ บันทึกเป็นภาษาไทยเท่านั้น ต้องบันทึกบัญชีภายใน 3 วันทำการนับจากวันที่เกิดรายรับ-รายจ่าย ลงบันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายก็ต่อเมื่อได้จ่ายเงินหรือรับชำระเงินแล้วเท่านั้น เช่น ขายเชื่อจะลงบันทึกบัญชีรายได้ก็ต่อเมื่อได้รับชำระเงิน รายการที่จะนำมาบันทึกในรายงานฉบับนี้จะต้องมีเอกสารประกอบการลงบัญชี เช่น ใบเสร็จรับเงิน, ใบกำกับภาษี รายได้และค่าใช้จ่ายที่เป็นหมวดเดียวกันสามารถบันทึกสรุปยอดรายการเดียวในหนึ่งวันได้ เช่น วันที่ 1 ม.ค. 64 มีรายการขายทั้งหมด 5 รายการ เราจะบันทึก 5 รายการหรือสรุปยอดรวมบันทึก 1 รายการก็ได้ รายจ่ายที่นำมาบันทึกบัญชีจะต้องเกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ

by KKN การบัญชี

จดภาษีมูลค่าเพิ่ม

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วมีภาระต้องทำอะไรบ้าง

หลังจากที่เรามีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี กฏหมายจะบังคับให้ผู้ประกอบการจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม วันนี้ผมจะมาสรุปภาระหน้าที่ที่จะต้องทำหลังจากจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มว่ามีอะไรกันบ้าง . ออกใบกำกับภาษีทุกครั้ง (แม้ลูกค้าจะไม่ต้องการก็ตาม) จัดทำรายงานภาษีซื้อ และภาษีขาย จัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม

by KKN การบัญชี

ค่าขนส่ง

ค่าขนส่งกรณีขายของใน Shopee

ปัจจุบันนี้ช่องทางการขายสินค้ายอดฮิตที่สุดคงหนีไม่พ้นการขายสินค้าผ่าน Platform ไม่ว่าจะเป็น Shopee Lazada และคำถามยอดฮิตสำหรับประเด็นภาษีที่เกี่ยวกับการขายสินค้าผ่าน Platform ที่ผมได้รับ Inbox ก็คือเรื่องของ “ค่าขนส่ง” ① ค่าขนส่งที่ลูกค้าจ่าย ถือเป็นรายได้ของใครระหว่างร้านค้ากับ Platform คำตอบคือเป็นรายได้ของร้านค้า เพราะทาง Platform ไม่ได้ออกใบเสร็จค่าขนส่งให้กับลูกค้าที่มาซื้อของ โยนหน้าที่ในการออกใบเสร็จค่าขนส่งให้เป็นหน้าที่ของร้านค้าดังนั้นค่าขนจึงเป็นรายได้ของร้านค้า เนื่องจากร้านค้าไม่ได้ประกอบกิจการขนส่งเป็นปกติธุรกิจ ดังนั้นค่าขนส่งที่ร้านค้าเรียกเก็บจากลูกค้าจึงต้องมีภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย (ไม่ได้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม) ② ค่าขนส่งที่ร้านค้าจ่ายให้กับบริษัทขนส่ง สามารถนำมาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวนภาษีเงินได้ของร้านค้าได้ ③ ค่าขนส่งที่ทาง Platform ช่วยออก ร้านค้าเมื่อได้รับเงินสนับสนุนค่าขนส่งจะต้องบันทึกเป็นรายได้เพื่อนำมารวมในการคำนวนภาษีเงินได้ เงินสนับสนุนที่ได้รับ ไม่ถือเป็นการขายสินค้าหรือให้บริการดังนั้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

by KKN การบัญชี

โครงการคนละครึ่ง

พ่อค้าแม่ค้า “ถุงเงิน” โครงการ “คนละครึ่ง” เสียภาษีอย่างไร

รายได้จากร้านค้าทั้งส่วนที่ได้รับจากลูกค้าและส่วนที่ได้รับจากรัฐ รายได้ดังกล่าวถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ถ้ามีรายได้ถึงเกณฑ์ที่จะต้องยื่นภาษีก็ต้องยื่นแบบนำภาษีเงินได้ส่วนจะเสียภาษีหรือไม่เสียก็ค่อยว่ากัน บางคนรายได้น้อยมากก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครับ เกณฑ์ที่จะต้องยื่นภาษี คือ คนโสด มีรายได้เกิน 60,000 บาทต่อปี คนมีคู่สมรส ไม่ว่าจะมีรายได้ฝ่ายเดียวหรือทั้งสองฝ่ายรวมกันเกิน 120,000 บาท ซึ่งเรื่องที่พ่อค้าแม่ค้าต้องระวังก็คือ หากมีรายรับเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนำส่งให้กรมสรรพากร โดยต้องจัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ เพื่อยื่นแบบ ภ.พ.30 นำ ส่งภาษีมูลค่าเพิ่มทุกเดือน และ ชำระเงินภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป บุคคลธรรมดาที่มีรายได้ 40 จะมีภาระในการยื่นนำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีละ 2 ครั้งดังนี้ ภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) กำหนดยื่นตั้งแต่ 1 ก.ค. – 30 ก.ย. ภาษีประจำปี (ภ.ง.ด.90) กำหนดยื่นตั้งแต่ 1 ม.ค. – 31 มี.ค. โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริง (ต้องมีเอกสารหลักฐานค่าใช้จ่าย) หรือหักเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 60 […]

by KKN การบัญชี

ภาษีการรับมรดก

ภาษีการรับมรดก

ภาษีการรับมรดกนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อเจ้ามรดกเสียชีวิต ผู้รับมรดกจากเจ้ามรดก ไม่ว่าจะได้รับมาในคราวเดียวหรือหลายคราว ซึ่งถ้ามรดกที่ได้รับมาหักด้วยภาระหนี้สินที่ตกทอดมาจากการรับมรดกเกิน 100 ล้านบาท ต้องเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท สำหรับใครที่คิดว่าถ้างั้นก็แค่แอบทยอยผ่องทรัพย์สินให้กับทายาทก่อนที่จะเสียชีวิตสิจะได้ไม่โดนภาษีมรดก ทาทงกรมสรรพากรก็ได้วางแผนป้องกันคนหนีภาษีมรดก โดยการออกกฏหมาย “ภาษีการรับให้” ออกมาพร้อมกันเลย ภาษีการรับให้ จะจัดเก็บภาษี 5% จากมูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับในส่วนที่เกิน 10 ล้านบาท (และขยายเพดานเป็น 20 ล้านบาทสำหรับกรณีได้รับจากบุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส)

by KKN การบัญชี

ขายหนังสือแถมคอร์สเรียนออนไลน์

ขายหนังสือแถมคอร์สเรียนออนไลน์ ยกเว้นภาษีหรือไม่

รู้หรือไม่การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน เป็นรายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ช่วงนี้เราจะพบว่ามีการคอร์สอบรมในรูปแบบของหนังสือแถมคอร์สเรียนออนไลน์ หรือขายแฟ้มคู่มือแถมเนื้อหาวีดีโออบรมที่อยู่ในรูปแบบของ Flash drive ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่ากรณีนี้จะต้องเสียภาษีหรือไม่ เราไปค้นหาคำตอบกันเลยครับ

by KKN การบัญชี

Uncategorized

การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ

สำหรับรายละเอียดด้านผู้สั่งซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบจากต่างประเทศ เรื่องที่เกี่ยวข้องสามารถแบ่งได้เป็น 1. การรับรู้รายการทางบัญชี ในการพิจารณาราคาทุนของสินค้าตามเงื่อนไขการส่งมอบสินค้า ว่าราคาในการคำนวณที่ตกลงกับผู้ขายนั้น ว่าจะใช้ F.O.B. หรือราคา C.I.F. หรือราคาอื่นตามที่ตกลงไว้ และการบันทึกรายการต้นทุนสินค้าคงเหลือ 2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล ในการรับรู้ต้นทุนของสินค้าตามเกณฑ์สิทธิ และการคำนวณราคาทุนของสินค้าเป็นเงินตราต่างประเทศ โดยคำนวณเป็นเงินตราไทย ตามอัตราแลกเปลี่ยนในท้องตลาดของวันที่ได้สินค้านั้นมา 3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นเกิดขึ้นเมื่อ ชำระอากรขาเข้า, วางหลักประกันอากรขาเข้าหรือจัดให้มีผู้ค้ำประกันอากรขาเข้า ส่วนใบกำกับภาษี (ภาษีซื้อ) ที่กรมศุลกากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มให้ถือเป็นใบกำกับภาษี (ตามมาตรา 86/14) ซึ่งผู้สั่งซื้อจะค้องจัดทำรายงานภาษีซื้อ และ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ จะมีรายละเอียดเพิ่มเติมยังไงนั้น ผมสรุปมาให้ในโพสนี้แล้วครับ

by KKN การบัญชี

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ปี 2564 ภาษีที่ดิน ปรับลด 90%

หลังจากวันที่ 31 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชกฤษฎีกา ลดภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางประเภท (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 ให้ลดจำนวนภาษีในอัตรา 90% ของจำนวนภาษีที่คำนวณได้ สำหรับการจัดเก็บภาษีของปีภาษี พ.ศ.2564 สำหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ดังต่อไปนี้ (1) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม (2) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย (3) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกจากตาม (1) และ (2)(4) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ วันนี้ผมเลยสรุปประเด็นของแต่ละที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างมาให้ครับ

by KKN การบัญชี

50 ทวิ
Bitcoin
DBD Registered
e-filing
LTF
SME
SMEs
TFRS16
Uncategorized
Voucher
กท.20 ก
กรมสรรพากร
กองทุนรวม
ก่อสร้างอาคารบนที่ดินของกรรมการ
การขอรับบริจาค
การจัดสรรกำไรสะสม
การตัดหนี้สูญ
การบริจาค
การบันทึกบัญชีเงินสดรับ-จ่าย
การประมาณการกำไรสุทธิขาดไป
การลงทุน
การลงประกาศหนังสือพิมพ์
การลดหย่อนบริจาคทั่วไป
การเช่า
กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กิจการร่วมค้า และกิจการค้าร่วม
กิจการเพื่อสังคม
กิจการโรงแรม
ขนส่ง
ขอคืนเงินประกันไฟฟ้า
ขายกิจการ
ขายสินค้าต่ำกว่าทุน
ขายสินค้าส่งออกไปต่างประเทศ
ขายหนังสือแถมคอร์สเรียนออนไลน์
คริปโทเคอร์เรนซี
ความเสี่ยง-ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ความเสี่ยงของกิจการ
ค่าขนส่ง
ค้าขายออนไลน์
ค่าตรวจสุขภาพ
ค่าปรับ
ค่ารักษาพยาบาล
ค่ารับรอง
ค่าสินไหมทดแทน
ค่าเช่า
ค่าเช่ารับล่วงหน้า
ค่าเบี้ยประกันชีวิต
ค่าเสื่อมราคา
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายของกิจการ
ค่าใช้จ่ายทางภาษี
ค่าใช้จ่ายในการอบรม
งบการเงิน
งบการเงินส่วนบุคคล
จดทะเบียน
จดทะเบียนเพิ่มสาขา
จดภาษีมูลค่าเพิ่ม
จัดตั้งบริษัท
จ้างงานผู้สูงอายุ
จ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ
จ้างเด็กจบใหม่
ช้อปดีมีคืน
ดอกเบี้ยค้างรับ
ตราประทับ
ทรัพย์สิน
ทั่วไป
ทำประกันให้พนักงาน
ธุรกรรม
ธุรกิจขนส่ง
บริจาค
บริษัท กับ กรรมการ
บัญชีและภาษี
บิลเงินสด
ประกัน keyman
ประกันCovid-19
ประกันสังคม
ประชุมบริษัท
ประเภทเช็ค
ผลขาดทุน
ผู้ถือหุ้น
ผู้ประกอบการ
พร้อมเพย์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ฟรีแลนซ์
ภ.ง.ด. 1ก
ภ.ง.ด.1 ก
ภ.ง.ด.54
ภ.พ.36
ภาษี
ภาษี e-Service
ภาษีDropship
ภาษีกองทุนตราสารหนี้
ภาษีกับการออกจากงาน
ภาษีการรับมรดก
ภาษีของแพทย์
ภาษีขาย
ภาษีซื้อ
ภาษีซื้อต้องห้าม
ภาษีดอกเบีี้ย
ภาษีที่ดิน
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีนำเข้าสินค้า
ภาษีป้าย
ภาษีฟรีแลนซ์
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีรถยนต์
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีอากร
ภาษีอากรนำเข้า
ภาษีอีเพย์เมนต์
ภาษีเงินปันผล
ภาษีเงินได้จากการรับให้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ภาษีโรงแรม
มาตรการผู้กู้ยืม กยศ.
มูลค่าต้นทุน
ย้ายกิจการ
ยื่นแบบ
ยื่นแบบอย่างไรให้ประหยัดค่าปรับที่สุด
รถยนต์นั่ง
รถแลกเงิน
ระบบรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
ร้านกาแฟ-เสียภาษี
รายจ่ายค่าซ่อมแซม
รายจ่ายจริง
รายจ่ายต้องห้าม
รายได้อื่น
ลดหย่อนทางภาษี
ลดหย่อนภาษี
ลาออกจากงาน
วงจรเงินสด
วางระบบบัญชี
วางแผนภาษี
ศุลกากร
ส่งสินค้าทางไปรษณีย์
ส่งเสริมการขาย
สต็อกสินค้า
สรุปประเด็นภาษี
ส่วนลดกาาค้าและส่วนลดเงินสด
สวัสดิการพนักงาน
สวัสดิการอาหารพนักงาน
สัญญาขายฝาก
สัญญาซื้อ
สัญญาฝากทรัพย์
สัญญายินยอม
สัญญาเช่า
สัญญาเช่าที่ดิน
สำนักงานบัญชี
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
หนี้สิน
อั่งเปา
อากรแสตมป์
เกษตรกับวิธีเสียภาษี
เครื่องบันทึกการเก็บเงิน
เคลมภาษีซื้อ ค่าอบรม
เงินกู้ยืมกรรมการ
เงินค่าฝึกอบรม
เงินชดใช้ค่าเสียหาย
เงินทดรองจ่าย
เงินบำนาญชราภาพ
เงินบำเหน็จ
เงินปันผล
เงินมัดจำ
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
เงินสมทบประกันสังคม
เงินสำรองจ่าย
เงินเรียกเก็บล่วงหน้าจากการขายสินค้า
เงินได้พนักงาน
เงินได้พึงประเมิน
เช่าซื้อ-ลิสซิ่ง
เบี้ยประกัน
เบี้ยปรับ
เปิดบริษัท
เราเที่ยวด้วยกัน
เลขประจำตัวผู้เสียอากร
เลิกทำธุรกิจ
เสน่หากับภาษ๊
เอกสารการเบิกจ่ายเงิน
เอกสารทางภาษี
เอกสารบัญชี
แจกไฟล์
แรงงานต่างด้าว
โครงการคนละครึ่ง
โทษปรับ
ใบกำกับภาษี
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
ใบลดหนี้
ใบลดหนี้และใบเพิ่มหนี้
ใบสำคัญจ่าย
ใบหุ้น
ใบเสนอราคา
ใบเสร็จรับเงิน