บทความล่าสุด

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

เจ้าของบ้านไม่ให้หัก ณ ที่จ่าย + ไม่อยากมีข้อมูลรายได้ในระบบกรมสรรพากรด้วย 😂 ทำอย่างไรดี???

วันนี้แอดมินมีแนวทางมาช่วยแก้ปัญหาสำหรับผู้ประกอบการที่เจอปัญหาเจ้าของบ้านหรือเจ้าของตึกที่เราต้องการจะเช่าต้องการหนีภาษีแบบสุดซอย ท่านใดมีไอเดียอื่นลองเสนอแนะนำเพิ่มมาได้นะครับ

by KKN การบัญชี

ภาษีนำเข้าสินค้า

สรุปนำเข้าสินค้า (บัญชี+ภาษี)

📌สรุปนำเข้าสินค้า (บัญชี+ภาษี) มีลูกเพจท่านหนึ่ง Inbox มาสอบถามเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ว่าจะต้องบันทึกบัญชีเมื่อไหร่ เงื่อนไขการค้าแต่ละประเภทคืออะไร และมีประเด็นภาษีอะไรบ้างที่ต้องระมัดระวัง แอดมินเลยไปยำ Slide ที่เกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าที่เคยทำในอดีตมารวมกันอยู่โพสนี้ครับ

by KKN การบัญชี

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

รู้หรือไม่❓ ฟรีแลน์ซ์โดนหักภาษี ณ ที่จ่าย สามารถขอคืนภาษีได้นะ

เวลาฟรีแลนซ์รับจ้างทำงานให้กับบริษัทต่างๆ เมื่อบริษัทจ่ายชำระเงินค่าบริการให้กับฟรีแลนซ์ ส่วนใหญ่แล้วฟรีแลนซ์จะได้รับเงินไม่เต็มจำนวนค่าบริการที่ตกลงกันไว้ เนื่องจากโดนหักภาษีเงินได้ ณ ที่่จ่ายเอาไว้บางส่วน เมื่อบริษัทหักภาษี ณ ที่จ่ายจะส่งหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้กับฟรีแลนซ์ เป็นเอกสารใบเล็กๆ มา 1 ใบเรียกว่า “หนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)” แอดมินแนะนำให้เก็บรวบรวมหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ที่ได้รับจากผู้ว่าจ้างในระหว่างปี จากนั้นมารวมยอดข้อมูลรายได้ และภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย ที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อเป็นข้อมูลในการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี สำหรับฟรีแลนซ์ที่มีรายได้ไม่สูงนัก มักจะได้ภาษีที่ถูกหักเอาไว้คืนจากกรมสรรพากร (ในส่วนนี้แอดมินลองคำนวนแล้วถ้ารายได้ไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี เวลายื่นภาษีมักจะได้ภาษีที่โดนหัก ณ ที่จ่ายไว้อื่น)

by KKN การบัญชี

ภาษี

นำสินค้าไปบริจาค กระทบภาษีและบันทึกบัญชีอย่างไร

ในช่วงวิกฤตโควิดนี้ มีหลายกิจการอยากที่จะมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือสังคม โดยการบริจาคสินค้าของกิจการให้กับหน่วยงานต่างๆ เช่น โรงพยาบาลของรัฐ แต่ก็มีความกังวลว่าบริษัทไปแล้วจะมีภาษีอะไรบ้างที่กิจการจะต้องให้ความระมัดระวัง รวมถึงในเรื่องของการบันทึกบัญชีและตัดสต็อกจะต้องทำอย่างไร วันนี้แอดมินมาสรุปประเด็นเกี่ยวกับการบริจาคสินค้าให้ครับ

by KKN การบัญชี

e-filing

พร้อมรึยังกับระบบ E-FILING ใหม่ของกรมสรรพากร

ในฐานะนักบัญชีบอกเลยว่า “น่าจะมีแบบนี้ตั้งนานแล้ว” สิ่งที่นักบัญชีทั้งหลายเรียกร้องกันมาอยู่ในระบบ E-FILING ใหม่นี้แล้ว 👉 รองรับการยื่นแบเกินกำหนดเวลา (คำนวนเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม ค่าปรับอาญาอัตโนมัติอีกด้วย) 👉 ยกเลิกการยื่นแบบได้ (ระบบนี้ให้ 5 ดาวเลย เชื่อว่านักบัญชีต้องเคยเจ็บช้ำกับการยื่นแบบผิดแต่ไม่สามารถยกเลิกได้กันมาแล้ว) รอใช้ระบบใหม่กันได้ในเดือนตุลาคมนี้ครับ

by KKN การบัญชี

โทษปรับ

ทำผิดพระราชบัญญัติการบัญชี ระวังโทษปรับหรือจำคุก

📌ทำผิดพระราชบัญญัติการบัญชี ระวังโทษปรับหรือจำคุก สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเปิด “บริษัท” คือเรื่องของการจัดทำบัญชี และในการจัดทำบัญชีนั้นมีกฏหมายที่เกี่ยวข้องอยู่นักบัญชีรวมถึงผู้บริหารของกิจการคือ พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2547 วันนี้แอดมินเลยถือโอกาสมาสรุปบทลงโทษที่สำคัญให้กับทุกคนทราบจะได้ไม่ทำผิดกันครับ

by KKN การบัญชี

ภาษี e-Service

สรุปภาษี e-Service แบบเข้าใจง่าย

📌สรุปภาษี e-Service แบบเข้าใจง่าย 100 บาท” เป็นการสมมุติว่าถ้าทาง Platform เรียกเก็บค่าบริการ 100 บาท เราจะต้องจ่ายค่าบริการกี่บาท ( อย่าเข้าใจผิดว่าเก็บค่าบริการเพิ่ม 100 บาททุกเดือนนะครับ) สำหรับรายชื่อผู้ให้บริการ Platform ต่างประเทศที่จดทะเบียน VAT แล้ว เช็คได้ที่นี่ครับ : https://eservice.rd.go.th/rd-ves-web/search/company…

by KKN การบัญชี

ยื่นแบบอย่างไรให้ประหยัดค่าปรับที่สุด

ไม่มีเงินจ่าย VAT ต้องยื่นแบบอย่างไรให้ประหยัดค่าปรับที่สุด

ในช่วงโควิดแบบนี้ เชื่อว่ามีผู้ประกอบการหลายท่านที่เริ่มหมุนเงินไม่ทัน จึงเกิดคำถามว่า ถ้าไม่ยื่นภาษีค่าปรับเยอะมั้ย และยื่นแบบไหนถึงจะช่วยประหยัดค่าปรับมากที่สุด ในส่วนนี้ผมจึงได้กำหนดข้อมูลของกิจการแห่งหนึ่งขึ้นมาเพื่อเปรียบเทียบค่าปรับดังนี้ ยอดขาย 100,000 บาท ภาษีขาย 7,000 บาทยอดซื้อที่มีสิทธิขอคืนภาษีซื้อ 70,000 บาท ภาษีซื้อ 4,900 บาทโดนเจ้าของกิจการไม่มีจ่ายชำระค่าภาษีและจะมาชำระในอีก 6 เดือนต่อมา สิ่งที่ผมตกใจจากการจำลองข้อมูลก็คือ “ยื่นแบบเปล่า” ค่าปรับภาษีเยอะกว่าการไม่ยื่นแบบอีก สำหรับใครที่อยากรู้ว่าค่าปรับกี่บาท ผมมีไฟล์ ภ.พ.30 ที่ผูกสูตรคำนวนเบี้ยปรับ เงินเพิ่มอัตโนมัติพัฒนาโดยนายอธิฐ สุทธิปัญโญ www.iliketax.com/download/pp30.pdf

by KKN การบัญชี

ยื่นแบบ

การยื่น ภ.พ.36 และ ภ.ง.ด.54 [แบบหัก ณ ที่จ่าย] และ [แบบออกแทน]

เมื่อมีการจ่ายเงินออกนอกประเทศตาม ม.70 แห่งประมวลรัษฎากร แบบยื่นฯ ที่หลายคนคิดถึงคงหนีไม่พ้น ภ.พ.36 และ ภ.ง.ด.54 แบบ ภ.พ. 36 คืออะไร?คือแบบที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ที่พิเศษก็คือผู้จ่ายค่าสินค้าหรือบริการจะเป็นผู้ยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มแทน เนื่องจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการไม่ได้เข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทย โดยต้องยื่นแบบ ภ.พ.36 ไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป แบบ ภ.ง.ด. 54 คืออะไร?ทุกครั้งที่นิติบุคคลจ่ายเงินได้ประเภท 40(2) – (6) ให้กับนิติบุคคลที่ตั้งตามกฏหมายต่างประเทศจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรโดยการหักภาษี ณ ที่จ่ายจะแบ่งเป็น 2 กรณีดังนี้ – เงินได้พึงประเมิณ 40(2) – 40(6) หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% – เงินได้พึงประเมิณ 40(4) – เงินปันผล หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% หลังจากหักภาษี ณ ที่จ่าย เราก็มีหน้าที่นำส่งภาษีหัก […]

by KKN การบัญชี

เงินได้พนักงาน

สวัสดิการที่ไม่ถือเป็นเงินได้ของพนักงาน

อยากให้สวัสดิการพนักงาน หรืออยากวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ยังไม่แน่ใจว่าสวัสดิการไหน เมื่อพนักงานได้รับจะไม่ถือเป็นประโยชน์ส่วนเพิ่มของพนักงาน (ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา) วันนี้แอดมินรวบรวมมาให้เพื่อเป็นไอเดียเบื้องต้นครับ

by KKN การบัญชี

แจกไฟล์

ไฟล์แบบ + คำนวนค่าปรับ เงินเพิ่ม

📌 ไฟล์แบบ + คำนวนค่าปรับ เงินเพิ่ม ภ.พ.30 : www.iliketax.com/download/pp30.pdf ภ.พ.36 : www.iliketax.com/download/pp36.pdf ภ.ง.ด.1 : www.iliketax.com/download/pnd1.pdf ภ.ง.ด.3 : www.iliketax.com/download/pnd3.pdf ภ.ง.ด.53 : www.iliketax.com/download/pnd53.pdf ภ.ธ.40 : www.iliketax.com/download/pt40.pdf ปล. แอดมินก็เกือบพลาดเหมือนกันนึกว่าจ่ายได้ถึงสิ้นเดือน ดีที่ไหวตัวทันตอน 3 ทุ่มกว่าของวันที่ 30

by KKN การบัญชี

เงินสมทบประกันสังคม

แจกไฟล์นำส่งเงินสมทบประกันสังคม (แบบผูกสูตร)

ไฟล์นี้จะช่วยอำนวยความสะดวกในการกรอกแบบนำส่งเงินสมทบประกันสังคม เพราะสามารถคำนวนยอดเงินสมทบในส่วนของนายจ้างและลูกจ้างได้แบบอัตโนมัติ พิเศษเข้าไปอีกมีการออกแบบในส่วนของการระบุ % เงินสมทบของลูกจ้าง และนายจ้างแยกออกจากกัน ให้สอดคลองกับอัตรานำส่งเงินสมทบประกันสังคมในช่วงโควิด www.iliketax.com/download/sso.pdf *แนะนำให้ใช้โปรแกรม Adobe reader dc ในการเปิดไฟล์สามารถดาวโหลดได้ฟรีที่ https://get.adobe.com/uk/reader/

by KKN การบัญชี

ภ.ง.ด.54

แจกไฟล์ ภ.ง.ด.54 และ ภ.พ.36 (แบบผูกสูตร)

สามารถคำนวนภาษี เบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้แบบอัตโนมัติ😊 [ภ.ง.ด.54] www.iliketax.com/download/cit54.pdf[ภ.พ.36] www.iliketax.com/download/pp36.pdf พัฒนาโดยนายอธิฐ สุทธิปัญโญ. กรณีที่กิจการจ่ายค่าบริการไปให้กับนิติบุคคลต่างประเทศ และมีการใช้บริการนั้นประเทศไทย ยกตัวอย่างเช่นจ่ายค่าโฆษณาให้กับ Facebook, Google เป็นต้น เราจะต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้ให้บริการต่างประเทศด้วยแบบ ภ.พ.36 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป นอกจากนี้ถ้าเงินได้ที่เราจ่ายให้กับนิติบุคคลต่างประเทศเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2) ถึง 40(6) กิจการมีหน้าทที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรด้วยแบบ ภ.ง.ด.54 โดยการหักภาษี ณ ที่จ่ายจะแบ่งเป็น 2 กรณีดังนี้ เงินได้พึงประเมิณ 40(2) – 40(6) หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% เงินได้พึงประเมิณ 40(4) – เงินปันผล หักภาษี ณ ที่จ่าย 10%(ก่อนหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่าลืมเช็คอนุสัญญาภาษีซ้อนด้วยครับ เพื่อได้ลดอัตรา % ที่หักลง หรืออาจจะไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายก็ได้นะครับ) […]

by KKN การบัญชี

ประกันสังคม

วิธีขึ้นทะเบียนรับเงินเยียวยาให้ลูกจ้างตามมาตรา 33

👉ถ้านายจ้างไม่ขึ้นทะเบียนให้ลูกจ้าง ลูกจ้างจะไม่ได้รับสิทธิเงินเยียวยา👈 ก่อนอื่นขอขอบคุณ คุณPilaiporn Forpiami ที่ช่วยศึกษาข้อมูลและส่งรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนการขึ้นทะเบียนมาให้ครับ เมื่อวานนี้หลังจากที่ประกันสังคมเปิดระบบให้เช็คสิทธิเยียวยา มีลูกจ้างหลายคนเข้าไปเช็คสิทธิแล้วไม่พบข้อมูล เนื่องจากลูกจ้างจะได้รับสิทธิก็ต่อเมื่อนายจ้างขึ้นทะเบียนให้เท่านั้น ดังนั้นถ้าท่านใดเช็คแล้วยังไม่ได้รับสิทธิจะต้องติดต่อนายจ้างให้ดำเนินการให้ครับ สำหรับการขึ้นทะเบียนนายจ้างจะต้องมี Username & Password สำหรับทำธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์ของประกันสังคมก่อนครับ บัญชีเงินฝากของลูกจ้างจะต้องผูกกับระบบพร้อมเพย์ อยากให้นายจ้างเข้าไปขึ้นทะเบียนให้กับลูกจ้างทุกคนครับ เพราะเงินส่วนแม้จะจำนวนน้อย แต่ก็จำเป็นกับลูกจ้างมากครับ

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

มีรายได้โครงการคนละครึ่งเสียภาษีกี่บาท

บอกข่าวดีก่อนยอดภาษีที่เห็นในภาพเป็นยอดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามากสุดที่จะต้องเสีย ซึ่งเราสามารถทำให้เสียภาษีน้อยลงได้ด้วย 2 วิธีดังนี้ เลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริง แทนการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% (วิธีนี้จะต้องมีการจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย และเก็บเอกสารประกอบการจ่ายค่าใช้จ่าย) ใช้สิทธิค่าลดหย่อนเพิ่ม เช่น ลดหย่อนบุตร เป็นต้น เวลาดูยอดรายได้จะต้องนำรายได้อื่นมารวมกับรายได้คนละครึ่งด้วยนะครับ ไม่ใส่เสียภาษีเฉพาะรายได้ที่เข้าโครงการ ไม่งั้นจะเสียภาษีไม่ครบ และที่สำคัญเมื่อรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยนะครับ หลังจากจด VAT ก็จะมีภาระเพิ่มในส่วนของการออกใบกำกับภาษีขายและเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จากลูกค้าเพิ่มนำส่งกรมสรรพากร ร้านค้าที่รายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี แต่ไม่ได้จด VAT ระวังโดนท่านสรรพากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มย้อนหลังด้วยนะครับ บอกเลยภาษีนี้หนักมากๆๆๆๆ

by KKN การบัญชี

ภาษี

Live สดขายของต้องเสียภาษีหรือไม่?

“พี่ครับ ผมไลฟ์สดขายของทาง Facebook ต้องเสียภาษีมั้ยครับ” แน่นอนครับน้องไม่ว่าจะขายผ่านช่องทางไหน หรือขายแบบแบบไหนต้องเสียภาษีหมด จำเอาไว้สั้นๆ “มีรายได้ ต้องจ่ายภาษี” “แล้วต้องเสียภาษีอะไรบ้าง” คำถามของน้องมันสั้นมาก แต่เวลาตอบนี่โครตยาว พี่ขอเอาไปทำโพสเลยดีกว่าคนอื่นจะได้รู้ด้วย เวลาที่ธุรกิจจะมี 2 ภาษีหลักที่มาเกี่ยวข้องกับชีวิติของเรา ภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ในโพสนี้จะพูดถึงกรณีที่ทำธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดานะครับ สำหรับนิติบุคคลเชื่อว่าผู้ประกอบการน่าจะศึกษาข้อมูลเรื่องการจัดทำบัญชีและการเสียภาษีก่อนเริ่มจดทะเบียนบริษัทเรียบร้อยแล้ว (มั้งนะ) ภาษีเงินได้ ถ้าเราประกอบกิจการในรูปแบบของบุคคลธรรมดา เราจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และในการเสียภาษีเงินได้บุคคลนั้นจะคำนวนจากกำไรจากการประกอบธุรกิจ โดยมีสูตรคำนวนดังนี้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา = เงินได้สุทธิสำหรับคำนวนภาษี X อัตราภาษี*เงินได้สุทธิสำหรับคำนวนภาษี = (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน)**อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปัจจุบันอยู่ที่ 5 – 35% ดังนั้นคำถามที่ว่ารายได้ 1 ล้านบาทเสียภาษีกี่บาท รายได้ xxx บาทเสียภาษีกี่บาท แอดมินตอบไม่ได้เราต้องไปดูที่กำไร ว่ามีกำไรจากการประกอบธุรกิจกี่บาทถึงจะคำนวนภาษีได้ นอกจากนี้บุคคลธรรมดามีความพิเศษในเรื่องของค่าใช้จ่าย กรณีที่คุณประกอบธุรกิจขายสินค้าโดยที่คุณไม่ได้ผลิตเองสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบดังนี้ (1) หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% […]

by KKN การบัญชี

Uncategorized

บริษัทจ่ายค่าฉีดวัคซีน Covid-19 ให้พนักงาน

📌 บริษัทจ่ายค่าฉีดวัคซีน Covid-19 ให้พนักงาน ถือเป็นเงินได้พนักงานหรือไม่? บริษัทจ่ายค่าฉีดวัคซีน Covid-19 ให้พนักงาน ต้องถือเป็นเงินได้พนักงานด้วยนะครับ .

by KKN การบัญชี

ทำประกันให้พนักงาน

ประเด็นภาษีที่เกี่ยวกับการทำประกันให้พนักงาน

ช่วงนี้การแพร่ระบาดของ COVID-19 หลายกิจการก็มีการให้สวัสดิการพนักงานในเรื่องของการทำประกันต่างๆ วันนี้แอดมินจึงมาสรุปประเด็นภาษีที่เกี่ยวข้องกับการทำประกันมาให้ครับ ปล. ปัจจุบันประกันกลุ่มบางบริษัทก็จะคุ้มครองเรื่อง COVID-19 ด้วย ดังนั้นบริษัทสามารถเลือกทำประกันกลุ่มแทนเพื่อไม่ให้ค่าเบี้ยประกันถือเป็นประโยชน์ส่วนเพิ่ม (รายได้) ของพนักงานในการคำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

by KKN การบัญชี

งบการเงินส่วนบุคคล

ลองจัดทำงบการเงินส่วนบุคคลกัน

หลายคนน่าจะเคยมีความสงสัยว่า ที่เราขยันทำงานเก็บเล็กผสมน้อยสร้างเนื้อสร้างตัวกันมาหลายปี ณ ปัจจุบันเรามีสถานะการเงินเป็นอย่างไรบ้าง เพราะครั้งก็จะสับสนอยู่หน่อยๆ เช่น เรามีบ้าน 1 หลัง รถ 1 คัน แต่ทรัพย์สินทั้ง 2 อย่างเราก็ยังติดหนี้ธนาคารอยู่ การจัดทำงบการเงินส่วนตัวจะทำให้เรารู้ว่าปัจจุบันเรามีสินทรัพย์ หนี้สิน สภาพคล่องเท่าไหร่เพื่อจะได้วางแผนการเงินส่วนบุคคลได้ ใครมีเวลาว่างอย่าลืมลองทำกันดูนะครับ น่าจะมีประโยชน์กับทุกคน

by KKN การบัญชี

อากรแสตมป์

ใบแจ้งหนี้ต้องติดอากรแสตมป์หรือไม่

กรณีที่บริษัทไม่มีการจัดทำเอกสารสัญญาจ้าง, ใบเสนอราคา, ใบสั่งจ้าง มีเพียงแค่การพูดคุยปากเปล่า และเมื่อให้บริการเสร็จสิ้นจึงได้ออกเอกสารใบแจ้งหนี้เพื่อเรียกเก็บค่าบริการ กรณีนี้ใบแจ้งหนี้ดังกล่าวไม่เข้าลักษณะเป็นตราสารที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ จึงไม่ต้องติดอากรแสตมป์

by KKN การบัญชี

50 ทวิ
Bitcoin
DBD Registered
e-filing
LTF
SME
SMEs
TFRS16
Uncategorized
Voucher
กท.20 ก
กรมสรรพากร
กองทุนรวม
ก่อสร้างอาคารบนที่ดินของกรรมการ
การขอรับบริจาค
การจัดสรรกำไรสะสม
การตัดหนี้สูญ
การบริจาค
การบันทึกบัญชีเงินสดรับ-จ่าย
การประมาณการกำไรสุทธิขาดไป
การลงทุน
การลงประกาศหนังสือพิมพ์
การลดหย่อนบริจาคทั่วไป
การเช่า
กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กิจการร่วมค้า และกิจการค้าร่วม
กิจการเพื่อสังคม
กิจการโรงแรม
ขนส่ง
ขอคืนเงินประกันไฟฟ้า
ขายกิจการ
ขายสินค้าต่ำกว่าทุน
ขายสินค้าส่งออกไปต่างประเทศ
ขายหนังสือแถมคอร์สเรียนออนไลน์
คริปโทเคอร์เรนซี
ความเสี่ยง-ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ความเสี่ยงของกิจการ
ค่าขนส่ง
ค้าขายออนไลน์
ค่าตรวจสุขภาพ
ค่าปรับ
ค่ารักษาพยาบาล
ค่ารับรอง
ค่าสินไหมทดแทน
ค่าเช่า
ค่าเช่ารับล่วงหน้า
ค่าเบี้ยประกันชีวิต
ค่าเสื่อมราคา
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายของกิจการ
ค่าใช้จ่ายทางภาษี
ค่าใช้จ่ายในการอบรม
งบการเงิน
งบการเงินส่วนบุคคล
จดทะเบียน
จดทะเบียนเพิ่มสาขา
จดภาษีมูลค่าเพิ่ม
จัดตั้งบริษัท
จ้างงานผู้สูงอายุ
จ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ
จ้างเด็กจบใหม่
ช้อปดีมีคืน
ดอกเบี้ยค้างรับ
ตราประทับ
ทรัพย์สิน
ทั่วไป
ทำประกันให้พนักงาน
ธุรกรรม
ธุรกิจขนส่ง
บริจาค
บริษัท กับ กรรมการ
บัญชีและภาษี
บิลเงินสด
ประกัน keyman
ประกันCovid-19
ประกันสังคม
ประชุมบริษัท
ประเภทเช็ค
ผลขาดทุน
ผู้ถือหุ้น
ผู้ประกอบการ
พร้อมเพย์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ฟรีแลนซ์
ภ.ง.ด. 1ก
ภ.ง.ด.1 ก
ภ.ง.ด.54
ภ.พ.36
ภาษี
ภาษี e-Service
ภาษีDropship
ภาษีกองทุนตราสารหนี้
ภาษีกับการออกจากงาน
ภาษีการรับมรดก
ภาษีของแพทย์
ภาษีขาย
ภาษีซื้อ
ภาษีซื้อต้องห้าม
ภาษีดอกเบีี้ย
ภาษีที่ดิน
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีนำเข้าสินค้า
ภาษีป้าย
ภาษีฟรีแลนซ์
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีรถยนต์
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีอากร
ภาษีอากรนำเข้า
ภาษีอีเพย์เมนต์
ภาษีเงินปันผล
ภาษีเงินได้จากการรับให้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ภาษีโรงแรม
มาตรการผู้กู้ยืม กยศ.
มูลค่าต้นทุน
ย้ายกิจการ
ยื่นแบบ
ยื่นแบบอย่างไรให้ประหยัดค่าปรับที่สุด
รถยนต์นั่ง
รถแลกเงิน
ระบบรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
ร้านกาแฟ-เสียภาษี
รายจ่ายค่าซ่อมแซม
รายจ่ายจริง
รายจ่ายต้องห้าม
รายได้อื่น
ลดหย่อนทางภาษี
ลดหย่อนภาษี
ลาออกจากงาน
วงจรเงินสด
วางระบบบัญชี
วางแผนภาษี
ศุลกากร
ส่งสินค้าทางไปรษณีย์
ส่งเสริมการขาย
สต็อกสินค้า
สรุปประเด็นภาษี
ส่วนลดกาาค้าและส่วนลดเงินสด
สวัสดิการพนักงาน
สวัสดิการอาหารพนักงาน
สัญญาขายฝาก
สัญญาซื้อ
สัญญาฝากทรัพย์
สัญญายินยอม
สัญญาเช่า
สัญญาเช่าที่ดิน
สำนักงานบัญชี
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
หนี้สิน
อั่งเปา
อากรแสตมป์
เกษตรกับวิธีเสียภาษี
เครื่องบันทึกการเก็บเงิน
เคลมภาษีซื้อ ค่าอบรม
เงินกู้ยืมกรรมการ
เงินค่าฝึกอบรม
เงินชดใช้ค่าเสียหาย
เงินทดรองจ่าย
เงินบำนาญชราภาพ
เงินบำเหน็จ
เงินปันผล
เงินมัดจำ
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
เงินสมทบประกันสังคม
เงินสำรองจ่าย
เงินเรียกเก็บล่วงหน้าจากการขายสินค้า
เงินได้พนักงาน
เงินได้พึงประเมิน
เช่าซื้อ-ลิสซิ่ง
เบี้ยประกัน
เบี้ยปรับ
เปิดบริษัท
เราเที่ยวด้วยกัน
เลขประจำตัวผู้เสียอากร
เลิกทำธุรกิจ
เสน่หากับภาษ๊
เอกสารการเบิกจ่ายเงิน
เอกสารทางภาษี
เอกสารบัญชี
แจกไฟล์
แรงงานต่างด้าว
โครงการคนละครึ่ง
โทษปรับ
ใบกำกับภาษี
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
ใบลดหนี้
ใบลดหนี้และใบเพิ่มหนี้
ใบสำคัญจ่าย
ใบหุ้น
ใบเสนอราคา
ใบเสร็จรับเงิน