บทความล่าสุด

จดทะเบียน

การจองคิวจดทะเบียนออนไลน์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

1.ผ่าน Application DBD e-Service 1.1 Download Application DBD e-Service 1.2 เลือก “บริการออนไลน์” และ จองคิวลงทะเบียน 1.3 เลือกหน่วยบริการ และ เลือกวันที่/เวลาจองคิว 1.4 กรอกรายละเอียดการจอง และ หลักฐานในการยื่นขอรับบริการ 2.ผ่าน www.dbd.go.th 2.1 เข้า www.dbd.go.th 2.2 เลือก “จองคิวลงทะเบียน” 2.3 เลือกหน่วยบริการ 2.4 เลือกวัน/เวลาการจองคิว 2.5 กรอกรายละเอียดการจอง 2.6 หลักฐานในการยื่นขอรับบริการ

by KKN การบัญชี

ภาษี

ดวงดีถูกหวย! จะต้องเสียภาษีด้วยนะจ๊ะ

ที่มาhttps://www.itax.in.thhttps://money.kapook.com/view194609.htmlhttps://tigersoft.co.thhttps://www.moneyexpo.net/tax/lottery

by KKN การบัญชี

เลิกทำธุรกิจ

รายได้ลดลงต้องปิดสาขา ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง?

เอกสารสำหรับยื่นกรมพัฒนาธุรกิจการค้า1.คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด (แบบ บอจ.1)2.แบบคำรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด3.รายการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม และ/หรือ มติพิเศษ (แบบ บอจ.4)4.หลักฐานการอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่หรือสำนักงานสาขาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ใช้เฉพาะในการประกอบธุรกิจที่มีกฎหมายพิเศษควบคุม)5.สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน6.สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)7.หนังสือมอบอำนาจ  (กรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเองก็มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนโดยทำหนังสือมอบอำนาจและผนึกหรือชำระค่าอากรแสตมป์10 บาท) เอกสารสำหรับยื่นกรมสรรพากรเอกสารที่ใช้ยื่นแก้ไขเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม1.แบบคำขอแจ้งเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียน ภ.พ.092.แบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.013.ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.20 (เดิม)4.หนังสือมอบอำนาจ(ปิดอากรแสตมป์) พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ (กรณีผู้ประกอบการไม่ได้มายื่นด้วยตนเอง)5.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน – ของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม6.สำเนาหนังสือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มีการแก้ไข7.สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท (ไม่เกิน 6 เดือน) เอกสารหรือหลักฐานที่ต้องใช้สำหรับยื่นประกันสังคม1.แบบเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงนายจ้าง สปส. 6-15 จำนวน 1 ฉบับ*เอกสารประกอบการพิจารณา (ไม่มีเอกสารหรือหลักฐานที่ต้องใช้) เอกสารประกอบการยื่นคำขอฯ ที่เป็นสำเนาให้รับรองความถูกต้องของสำเนาทุกฉบับ และแสดงเอกสารที่เป็นต้นฉบับเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบนะครับ ที่มา https://dbd.go.th/download/downloads/03_boj/intro_step_bj_change_02.pdfhttp://download.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/vat/VAT09.pdfhttp://www.oic.go.th

by KKN การบัญชี

ภาษีที่ดิน

ปี 2564 ภาษีที่ดินปรับลด 90%

ลดภาษีที่ดินลง 90% สำหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ดังต่อไปนี้ ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกจากตาม (1) และ (2) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ อัปเดตอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2564 (หลังประกาศลด 90 %) (1) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม บุคคลธรรมดา ไม่ต้องเสียภาษี : ได้รับการยกเว้นภาษี 3 ปีแรกอยู่แล้ว (2563-2565) นิติบุคคล ต้องเสียภาษีเหมือนเดิม (แต่ลด 90 % จ่ายแค่ 10%) (2) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย บ้านหลังหลัก : กรณีเป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และ มีชื่อในทะเบียนบ้าน ต้องเสียภาษีเหมือนเดิม (แต่ลด 90 % จ่ายแค่ 10%) บ้านหลังหลัก : กรณีเป็นเจ้าของเฉพาะสิ่งปลูกสร้าง และ มีชื่อในทะเบียนบ้าน ต้องเสียภาษีเหมือนเดิม (แต่ลด 90 % […]

by KKN การบัญชี

ลาออกจากงาน

ออกจากงานระหว่างปีภาษี แล้วจะยื่นภาษียังไงกัน ?

หลายคนสงสัยกันว่า หากออกจากงานระหว่างปีภาษี แล้วจะยื่นภาษียังไง? วันนี้ผมมีสรุปสำหรับคำถามนี้มาให้ครับ รายได้ทุกอย่างต้องนำมายื่นภาษี

by KKN การบัญชี

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ผู้หักภาษีไม่ได้นำส่งกรมสรรพากร ขอคืนภาษีซื้อได้ไหม?

กรณีผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายและได้ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) ให้แก่ผู้มีเงินได้แล้ว แต่ไม่นำเงินส่งกรมสรรพากรหรือนำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้ดังกล่าวจะต้องรับผิดแต่เพียงผู้เดียว ผู้มีเงินได้จะพ้นความรับผิดในจำนวนเงินภาษีเท่ากับจำนวนที่ถูกหักไว้ (ตามมาตรา54) และ มีสิทธินำเงินที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามจำนวนที่ระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย มาถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีเงินได้ สรุป : สามารถขอคืนได้ครับ

by KKN การบัญชี

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

จ้างผลิตเสื้อบริษัท ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ ?

ตัวอย่าง : บริษัท คิดไม่ออก จำกัด ได้ไปว่าจ้างร้านขายเสื้อผ้าแห่งหนึ่ง ให้ช่วยจัดทำเสื้อบริษัทเพื่อจะไม่เหมือนกับของใครในประเทศ แบบนี้มีเจ้าเดียวในประเทศ ในการออกแบบบริษัทฯ ได้เลือกชนิดผ้าที่ร้านขายเสื้อผ้ามีวัตถุอยู่แล้วจะได้ไม่ต้องซื้อใหม รวมถึงบล็อกเสื้อผ้าก็เป็นแบบปกติที่ร้านขาย คำตอบ กรณีห้างฯ ได้ผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายเป็นปกติอยู่แล้ว ไม่ว่าลูกค้าจะสั่งซื้อสินค้าตามรูปแบบที่ห้างฯ จัดเตรียมไว้หรือลูกค้าเป็นผู้ออกแบบเอง แต่ใช้วัตถุดิบในการผลิตของห้างฯ ที่จัดเตรียมและมีไว้ให้เลือก การรับทำสินค้าดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการขายสินค้า ไม่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528

by KKN การบัญชี

ใบกำกับภาษี

ใบกำกับภาษีซื้อ “ชื่อลูกค้าเป็นภาษาอังกฤษ” แต่ส่วนอื่นเป็นภาษาไทย ผิดหรือไม่?

กรณีออกใบกำกับภาษีเฉพาะรายการ ชื่อและนามสกุลของผู้ซื้อเป็นภาษาอังกฤษ แต่รายการอื่นที่เป็นสาระสำคัญเป็นภาษาไทย บริษัทสามารถปฏิบัติได้ เนื่องจากตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 92) เขียนไว้ดังนี้ “ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งจัดทำรายการในใบกำกับภาษีเป็นภาษาอังกฤษและ เป็นหน่วยเงินตราไทย ตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ให้ถือว่าได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรตามประกาศฉบับนี้” สรุป: ใบกำกับภาษีสามารถเขียนเป็นภาษาอังกฤษได้

by KKN การบัญชี

ใบกำกับภาษี

ได้รับใบกำกับภาษีที่ไม่ถูกต้อง และต้องการแก้ไขใหม่ ทำอย่างไร??

1.บริษัทต้องร้องขอให้ผู้ออกใบกำกับภาษีดำเนินการ ยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิม บริษัทต้องถ่ายเอกสารใบกำกับภาษีฉบับเดิมที่ขอยกเลิกติดเรื่องไว้และส่งมอบใบกำกับภาษีฉบับเดิมให้แก่ผู้ออกใบกำกับภาษี จัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ โดยให้ระบุชื่อบริษัท และที่อยู่ให้ถูกต้อง ถึงจะมีสิทธินำไปถือเป็นภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ 2.การยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมและจัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ ผู้ออกใบกำกับภาษีต้องนำใบกำกับภาษีฉบับเดิมมาประทับตราว่า “ยกเลิก” หรือ “ขีดฆ่า“แล้วเก็บรวบรวมไว้กับสำเนาใบกำกับภาษีฉบับเดิมและจัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ ผู้ออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่ ต้องหมายเหตุการยกเลิกใบกำกับภาษีไว้ในรายงานภาษีขายของเดือนภาษีที่จัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ด้วย แล้วถ้าใบกำกับภาษีที่ไม่มีการลงลายมือชื่อจากผู้ขายล่ะ? ใบกำกับภาษีจะเซ็นลายเซ็นด้วยปากกา ใช้ลายเซ็นแสกน หรือจะไม่มีลายเซ็นเลยก็ได้ เพราะลายเซ็นไม่ได้ถูกำหนดให้เป็น 1 ใน 8 องค์ประกอบสำคัญที่ใบกำกับภาษีที่ต้องมี

by KKN การบัญชี

ภาษีอากร

สรุปประเด็นเรื่อง“ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร”

ฝั่งผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ ชื่อ ต้องเป็นชื่อผู้ประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ชื่อสถานประกอบการ หรือ ชื่อการค้าของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่อยู่ ต้องเป็นที่ตั้งของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีระบุที่อยู่ไม่ครบถ้วนตามที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่รายการที่อยู่ที่ระบุไว้ถูกต้อง และสามารถบอกตำแหน่งที่ตั้งที่ชัดเจนได้ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ต้องระบุให้ชัดเจนและครบถ้วน ฝั่งผู้ซื้อสินค้าหรือผู้ให้บริการ ชื่อ กรณีเป็นนิติบุคล ต้องเป็นชื่อผู้ประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ชื่อสถานประกอบการ หรือ ชื่อการค้าของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเป็นบุคคลธรรมดา ชื่อต้องรวมถึงนามสกุลด้วย กรณีมีการใช้เครื่องหมายไปยาลน้อย (ฯ) ต้องเห็นได้อย่างชัดเจนและไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นผู้ประกอบการรายอื่น เช่น “องค์การสวนยางแห่งประเทศไทย” เขียนว่า “องค์การสวนยางฯ” “บริษัท โบรกเกอร์กรุงเทพมหานคร จำกัด” เขียนว่า “บริษัท โบรกเกอร์กรุงเทพฯ จำกัด กรณีตัวสะกด สระ วรรณยุกต์ การันต์ ผิดพลาด ต้องเห็นได้อย่างชัดเจนและไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นผู้ประกอบการรายอื่น ที่อยู่ ต้องเป็นที่ตั้งของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีระบุที่อยู่ไม่ครบถ้วนตามที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่รายการที่อยู่ที่ระบุไว้ถูกต้อง และสามารถบอกตำแหน่งที่ตั้งที่ชัดเจนได้ ก็ถือว่าได้ระบุที่อยู่ครบถ้วนแล้ว เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ต้องระบุให้ชัดเจนและครบถ้วน ไม่กรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อก็ได้

by KKN การบัญชี

เงินกู้ยืมกรรมการ

หจก. เลือกชำระค่าหุ้นบางส่วนได้หรือไม่

ช่วงนี้ไม่ค่อยมีเงิน และไม่อยากให้ในงบการเงินมีเงินให้กู้ยืมแก่หุ้นส่วนผู้จัดการ ต้องชำระเต็ม 100% เท่านั้น

by KKN การบัญชี

ใบกำกับภาษี

ใบกำกับภาษีไม่ถูกต้อง แบบไหนใช้ได้และใช้ไม่ได้

เรามาดูกันว่า ในใบกำกับภาษี ต้องมีข้อมูลอะไรบ้างง?? ออกใบกำกับภาษีโดยระบุชื่อผู้ซื้อว่า “สด” ลูกค้าไม่บอกชื่อและที่อยู่ ผู้ขายสามารถเขียนชื่อลูกค้าว่า “สด” “ลูกค้าไม่ประสงค์ออกนาม” เพื่อออกใบกำกับภาษีเต็มรูปได้หรือไม่ บริษัทฯ ออกใบกำกับภาษีโดยระบุชื่อผู้ซื้อว่า “สด” โดยไม่ได้ระบุที่อยู่ของผู้ซื้อ เป็นการออกใบกำกับภาษีโดยมีรายการในส่วนที่เป็นสาระสำคัญไม่ครบถ้วนตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีความผิดดังนี้(1) คดีอาญา บริษัทฯ มีความผิดตามมาตรา 90 (12) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท หากเป็นการพบความผิดครั้งแรก ต้องระวางโทษเปรียบเทียบปรับเป็นรายกระทง กระทงละ 100 บาท(2) คดีแพ่ง บริษัทฯ ไม่มีความผิดการแก้ไขใบกำกับภาษีที่บริษัทฯ ออกไปแล้วดังกล่าวข้างต้น ไม่สามารถแก้ไขได้ เราสามารถใช้วิธีการออกใบกำกับภาษีอย่างย่อเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ได้ ออกใบกำกับภาษีโดยไม่ระบุ “เลขผู้เสียภาษี” ของผู้ซื้อ คำชี้แจงกรมสรรพากร เรื่องการระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ในใบกำกับภาษีแบบเต็มรูประบุว่า “กรณีผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ไม่จำต้องแจ้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของตนเองให้แก่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการแต่อย่างใด” ปล. ถ้าลูกค้าไม่ได้จด VAT ไม่จำเป็นต้องใส่เลขประจำตัวผู้เสียภาษีก็ได้ ใบกำกับภาษีซื้อระบุ “บ้านเลขที่” ไม่ถูกต้อง กรณีใบกำกับภาษีระบุเลขที่ที่อยู่ไม่ถูกต้องจากเลขที่ […]

by KKN การบัญชี

ภาษี

ประเด็นภาษีที่น่าสนใจ

ค่าเช่ารถยนต์ติดอากรกี่บาท บริษัททำสัญญาให้นาย A เช่ารถยนต์เป็นระยะเวลา 1 ปี มูลค่าสัญญา 200,000 บาท บริษัทจะต้องติดอากรแสตมป์กี่บาท> ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์สัญญาให้เช่าสังหาริมทรัพย์ ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องเสียอากรแสตมป์ ค่าเช่าที่ดินติดอากรแสตมป์กี่บาท บริษัททำสัญญาเช่าที่ดินจากนาย A เป็นระยะเวลา 1 ปี มูลค่าสัญญา 200,000 บาท บริษัทในฐานะผู้เช่าจะต้องปิดอากรแสตมป์ในต้นฉบับสัญญาเช่าที่ดินกี่บาท> ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์บริษัทไม่มีหน้าที่ต้องปิดอากรแสตปม์ เพราะผู้มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์คือผู้ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์*ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ อัตรา 1 บาท ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของเงิน 1,000 บาท แห่งค่าเช่าหรือเงินกินเปล่าหรือสองอย่างรวมกันตลอดอายุการเช่า ค่าเช่าที่ดินติดอากรแสตมป์กี่บาท ตอนที่ 2 บริษัทมีที่ดินเปล่าที่ไม่ใช้งานประโยชน์ จึงให้กับนาย A เช่าที่ดินเพื่อใช้ในการทำไร่และทำสวนเป็นระยะเวลา 3 ปี มูลค่าสัญญา 200,000 บาท บริษัทจะต้องปิดอากรแสตมป์กี่บาท> ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ คู่สัญญาติดอากรแสตมป์กี่บาท สัญญาเช่าพื้นที่สำนักงานมูลค่าสัญญา 200,000 บาท “คู่สัญญา” จะต้องปิดอากรแสตมป์กี่บาท> ปิดอากรแสตมป์ […]

by KKN การบัญชี

ภาษีอากร

อธิบายภาษีสำหรับคนที่ไม่ได้จบบัญชี

พร้อมจะทำความเข้าใจเรื่องภาษีด้วยภาษีชาวบ้านๆกันรึยัง

by KKN การบัญชี

ลดหย่อนทางภาษี

สิทธิค่าลดหย่อน “ค่าเบี้ยประกันชีวิตบิดาและมารดา”

คำถาม : นายนัทเป็นบุตรที่รักคุณแม่มาก (คุณแม่อายุ 65 ปี) โดยในระหว่างปีนายนัทได้ทำประกันชีวิตให้กับคุณแม่เป็นจำนวนเงินถึง 20,000 บาท ตอนยื่นภาษีประจำปีนายนัทสามารถนำค่าลดหย่อนค่าเบี้ยประกันชีวิติมารดามาใช้สิทธิลดหย่อนได้หรือไม่ คำตอบ : ไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ เพราะว่า กฎหมายมีแต่ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาเท่านั้น (ตามที่จ่ายไปจริงแต่ไมเกิน 15,000 บาท)

by KKN การบัญชี

ลดหย่อนทางภาษี

ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้หรือไม่

คำถาม : นายนัทแต่งงานกับนางสาวโบ แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันต่อมามีบุตร 1 คน ซึ่งนายนัทและนางสาวโบต่างคนต่างมีรายได้ สิ้นปีทั้งนายนัทสามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้หรือไม่ คำตอบ : ไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ เพราะว่า พ่อกับแม่ถ้าไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันบุตรที่เกิดมาจะไม่ใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของพ่อ ดังนั้นพ่อจะไม่สามารถใช้สิทธิค่าลดหย่อนบุตรได้จนกว่าจะไปจดทะเบียนรับรองบุตร หรือศาลพิพากษาให้เป็นบุตร หรือพ่อและแม่ได้จดทะเบียนสมรสกับภายหลัง แม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้ทันทีแม่จะไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับพ่อ ปล. การแบ่งสิทธิลดหย่อนบุตรคนละครึ่งเป็นเงื่อนไขในอดีตที่ถูกยกเลิกไปแล้ว ปัจจุบันนี้กรณีพ่อและแม่แยกกันยื่นภาษีสามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้เต็มคนละ 30,000 บาท

by KKN การบัญชี

ลดหย่อนทางภาษี

บุตรอายุเกินเท่าไหร่ ไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้

ตัวอย่าง : นายนัทมีบุตร 1 คนอายุ 21 ปี ซึ่งเกินปี 2560 ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นายนัทสามารถใช้สิทธิค่าลดหย่อนบุตรได้กี่บาท คำตอบ : ไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ โดยมีเกณฑ์ดังต่อไปนี้ เกณฑ์อายุ อายุไม่ถึง 20 ปี อายุ 20 – 25 ปี แต่ต้องเรียนอยู่ในระดับอนุปริญญา (ปวส.) หรือปริญญาตรีขึ้นไป อายุเท่าไหร่ก็ได้ แต่ต้องถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ เกณฑ์รายได้ บุตรจะต้องไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เกินปีละ 30,000 บาท สิทธิลดหย่อน บุตรคนละ 30,000 บาท และบุตรคนที่ 2 ที่เกิดในปี 2561 หรือหลังจะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรตั้งแต่คนที่ 2 เป็นต้นไปคนละ 60,000 บาท

by KKN การบัญชี

ลดหย่อนทางภาษี

ภริยาไม่มีเงินได้ สามีใช้สิทธิลดหย่อนภริยาแล้ว บุตรได้สิทธิมารดาได้หรือไม่

คำถาม : ภริยาอายุ 65 ปีไม่มีเงินได้ สามียังทำงานประจำอยู่เลยใช้สิทธิลดหย่อนภริยา 60,000 บาท ภริยามีลูกอายุ 30 ปีทำงานประจำจะใช้สิทธิค่าเลี้ยงดูมารดาอีก 30,000 บาทได้หรือไม่ คำตอบ : ได้ เพราะว่าเป็นสิทธิตามค่าลดหย่อน และไม่ถือว่าเป็นการใช้สิทธิค่าลดหย่อนซ้ำ เพราะอยู่คนละรายการค่าลดหย่อน

by KKN การบัญชี

ลดหย่อนทางภาษี

สามีและภริยาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน จะใช้ลดหย่อนคู่สมรสได้หรือไม่

ตัวอย่าง : รักกันแต่ไม่อยากจดทะเบียนสมรส เพราะเดี๋ยวจะยุ่งยากในการทำธุรกรรมต่างๆ สามีสามารถใช้สิทธิลดหย่อนคู่สมรสได้หรือไม่ คำตอบ : ไม่ได้จดทะเบียนสมรส = สถานะ “โสด”

by KKN การบัญชี

50 ทวิ
Bitcoin
DBD Registered
e-filing
LTF
SME
SMEs
TFRS16
Uncategorized
Voucher
กท.20 ก
กรมสรรพากร
กองทุนรวม
ก่อสร้างอาคารบนที่ดินของกรรมการ
การขอรับบริจาค
การจัดสรรกำไรสะสม
การตัดหนี้สูญ
การบริจาค
การบันทึกบัญชีเงินสดรับ-จ่าย
การประมาณการกำไรสุทธิขาดไป
การลงทุน
การลงประกาศหนังสือพิมพ์
การลดหย่อนบริจาคทั่วไป
การเช่า
กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กิจการร่วมค้า และกิจการค้าร่วม
กิจการเพื่อสังคม
กิจการโรงแรม
ขนส่ง
ขอคืนเงินประกันไฟฟ้า
ขายกิจการ
ขายสินค้าต่ำกว่าทุน
ขายสินค้าส่งออกไปต่างประเทศ
ขายหนังสือแถมคอร์สเรียนออนไลน์
คริปโทเคอร์เรนซี
ความเสี่ยง-ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ความเสี่ยงของกิจการ
ค่าขนส่ง
ค้าขายออนไลน์
ค่าตรวจสุขภาพ
ค่าปรับ
ค่ารักษาพยาบาล
ค่ารับรอง
ค่าสินไหมทดแทน
ค่าเช่า
ค่าเช่ารับล่วงหน้า
ค่าเบี้ยประกันชีวิต
ค่าเสื่อมราคา
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายของกิจการ
ค่าใช้จ่ายทางภาษี
ค่าใช้จ่ายในการอบรม
งบการเงิน
งบการเงินส่วนบุคคล
จดทะเบียน
จดทะเบียนเพิ่มสาขา
จดภาษีมูลค่าเพิ่ม
จัดตั้งบริษัท
จ้างงานผู้สูงอายุ
จ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ
จ้างเด็กจบใหม่
ช้อปดีมีคืน
ดอกเบี้ยค้างรับ
ตราประทับ
ทรัพย์สิน
ทั่วไป
ทำประกันให้พนักงาน
ธุรกรรม
ธุรกิจขนส่ง
บริจาค
บริษัท กับ กรรมการ
บัญชีและภาษี
บิลเงินสด
ประกัน keyman
ประกันCovid-19
ประกันสังคม
ประชุมบริษัท
ประเภทเช็ค
ผลขาดทุน
ผู้ถือหุ้น
ผู้ประกอบการ
พร้อมเพย์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ฟรีแลนซ์
ภ.ง.ด. 1ก
ภ.ง.ด.1 ก
ภ.ง.ด.54
ภ.พ.36
ภาษี
ภาษี e-Service
ภาษีDropship
ภาษีกองทุนตราสารหนี้
ภาษีกับการออกจากงาน
ภาษีการรับมรดก
ภาษีของแพทย์
ภาษีขาย
ภาษีซื้อ
ภาษีซื้อต้องห้าม
ภาษีดอกเบีี้ย
ภาษีที่ดิน
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีนำเข้าสินค้า
ภาษีป้าย
ภาษีฟรีแลนซ์
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีรถยนต์
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีอากร
ภาษีอากรนำเข้า
ภาษีอีเพย์เมนต์
ภาษีเงินปันผล
ภาษีเงินได้จากการรับให้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ภาษีโรงแรม
มาตรการผู้กู้ยืม กยศ.
มูลค่าต้นทุน
ย้ายกิจการ
ยื่นแบบ
ยื่นแบบอย่างไรให้ประหยัดค่าปรับที่สุด
รถยนต์นั่ง
รถแลกเงิน
ระบบรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
ร้านกาแฟ-เสียภาษี
รายจ่ายค่าซ่อมแซม
รายจ่ายจริง
รายจ่ายต้องห้าม
รายได้อื่น
ลดหย่อนทางภาษี
ลดหย่อนภาษี
ลาออกจากงาน
วงจรเงินสด
วางระบบบัญชี
วางแผนภาษี
ศุลกากร
ส่งสินค้าทางไปรษณีย์
ส่งเสริมการขาย
สต็อกสินค้า
สรุปประเด็นภาษี
ส่วนลดกาาค้าและส่วนลดเงินสด
สวัสดิการพนักงาน
สวัสดิการอาหารพนักงาน
สัญญาขายฝาก
สัญญาซื้อ
สัญญาฝากทรัพย์
สัญญายินยอม
สัญญาเช่า
สัญญาเช่าที่ดิน
สำนักงานบัญชี
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
หนี้สิน
อั่งเปา
อากรแสตมป์
เกษตรกับวิธีเสียภาษี
เครื่องบันทึกการเก็บเงิน
เคลมภาษีซื้อ ค่าอบรม
เงินกู้ยืมกรรมการ
เงินค่าฝึกอบรม
เงินชดใช้ค่าเสียหาย
เงินทดรองจ่าย
เงินบำนาญชราภาพ
เงินบำเหน็จ
เงินปันผล
เงินมัดจำ
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
เงินสมทบประกันสังคม
เงินสำรองจ่าย
เงินเรียกเก็บล่วงหน้าจากการขายสินค้า
เงินได้พนักงาน
เงินได้พึงประเมิน
เช่าซื้อ-ลิสซิ่ง
เบี้ยประกัน
เบี้ยปรับ
เปิดบริษัท
เราเที่ยวด้วยกัน
เลขประจำตัวผู้เสียอากร
เลิกทำธุรกิจ
เสน่หากับภาษ๊
เอกสารการเบิกจ่ายเงิน
เอกสารทางภาษี
เอกสารบัญชี
แจกไฟล์
แรงงานต่างด้าว
โครงการคนละครึ่ง
โทษปรับ
ใบกำกับภาษี
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
ใบลดหนี้
ใบลดหนี้และใบเพิ่มหนี้
ใบสำคัญจ่าย
ใบหุ้น
ใบเสนอราคา
ใบเสร็จรับเงิน