บทความล่าสุด

ลดหย่อนทางภาษี

ภริยามีเงินได้จากดอกเบี้ยเงินฝาก ใช้สิทธิ์ลดหย่อนภริยาได้หรือไม่

ตัวอย่าง : ภริยามีเงินฝากประจำ 100 ล้านบาท มีรายได้ดอกเบี้ยที่ได้รับจากธนาคารปีละ2 ล้านบาท ซึ่งธนาคารได้หักภาษี ณ ที่จ่ายเอาไว้ 15% ทุกปีภริยาเลือกที่ให้ภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีสุดท้ายแล้วจบไปเลย (ไม่นำรายได้มารวมยื่นภาษีประจำปี) นายนัทซึ่งเป็นสามี สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภริยา 60,000 บาทได้หรือไม่? คำตอบ : กรณีภริยามีเงินได้จากดอกเบี้ยเงินฝากโดยได้เสียภาษีไว้แล้ว 15% และภริยาเลือกว่าที่จะปล่อยให้ภาษีถูกหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีสุดท้ายจบไปเลย (ไม่นำรายได้ดอกเบี้ยมายื่นแบบภาษีตอนสิ้นปี) สามีก็จะสามารถนำภริยามาหักลดหย่อนในฐานะคู่สมรสของผู้มีเงินได้จำนวน 60,000 บาท

by KKN การบัญชี

ลดหย่อนทางภาษี

คนต่างชาติ สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภรรยาได้หรือไม่

นายจอน เป็นคนต่างประเทศได้เข้ามาทำงานในประเทศไทย โดยมีใบอนุญาตทำงานถูกต้องตามกฎหมาย ตอนนี้นายจอนกำลังจะยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี เลยสงสัยว่านายจอนสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภรรยา ได้หรือไม่ นายจอนมีภรรยาเป็นชาวต่างประเทศและอาศัยอยู่ที่ต่างประเทศ คำตอบ : กรณีชาวต่างชาติเข้ามาทำงานในไทยเกิน 180 วัน ถือว่าผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในไทย สามารถหักลดหย่อนภริยาได้ ไม่ว่าภริยาจะอยู่ในไทยหรืออยู่ต่างประเทศ และยังสามารถใช้สิทธิค่าลดหย่อนบุตรได้อีกคนละ 30,000 บาท ไม่ว่าบุตรจะอยู่ไทยหรือต่างประเทศ แต่จะใช้สิทธิบิดาและมารดาได้หรือไม่จะต้องดูว่าบิดาและมารดามีเลขที่บัตรประจำตัวประชาชนตามกฎหมายทะเบียนราษฎรหรือไม่

by KKN การบัญชี

รายจ่ายต้องห้าม

การบันทึกรายจ่ายต้องห้าม ทำให้กิจการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลมากขึ้นจริงหรือไม่

ตัวอย่าง : บริษัทซื้อสินค้าจากบุคคลธรรมดา 200,000 บาท โดยจ่ายชำระเงินเป็นเงินสด และบุคคลธรรมดาไม่ได้ให้หลักฐานอะไรเลย เช่น ใบเสร็จรับเงิน, สำเนาบัตรประชาชน ดังนั้นค่าใช้จ่ายดังกล่าวถูกจัดประเภทเป็นรายจ่ายต้องห้าม การบันทึกรายจ่ายต้องห้าม 200,000 บาท เข้าไปในงบการเงินของบริษัทจะทำให้บริษัทเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นหรือไม่ รายจ่ายต้องห้ามไม่ทำให้เสียภาษีเพิ่มขึ้น แถมยังช่วยทำให้กำไรสะสมของกิจการลดลง

by KKN การบัญชี

ค่าตรวจสุขภาพ

ค่าตรวจสุขภาพประจำปีของพนักงาน นำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่

บริษัทมีสวัสดิการตรวจสุขภาพให้กับพนักงานทุกคนในบริษัทฟรี สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่?? ค่าตรวจสุขภาพประจำปีของพนักงาน ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่ารักษาพยาบาลในประเทศไทยที่นายจ้างจ่ายให้ สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีของกิจการได้ และสำหรับพนักงานถือเป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (กฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ข้อที่ 2 (4)) สรุป : เป็นรายจ่ายทางภาษีได้

by KKN การบัญชี

สัญญาเช่าที่ดิน

สัญญาเช่าที่ดิน 3 ปี จะต้องคิดค่าเสื่อมอาคารกี่ปี

กฏหมายกำหนดให้ กิจการมีสิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินที่เป็นอาคารถาวรได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 5 ของมูลค่าต้นทุน (ตามมาตรา 4 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527) สรุป : ไม่ว่ากิจการจะทำสัญญาเช่ากี่ปี ก็ต้องหักค่าเสือมราคาตามอัตราที่กฏหมายกำหนดเท่านั้น (กฎหมายกำหนดตัดค่าเสื่อมราคา 20 ปี)

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

ค่าใช้จ่ายต้องเป็นเอกสารใบกำกับภาษีหรือไม่

ค่าใช้จ่ายต้องเป็นเอกสารใบกำกับภาษีหรือไม่ เอกสารประกอบการจ่ายชำระเงินจะเป็นใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงินธรรมดาก็ได้ขอแค่มีข้อมูลดังต่อไปนี้ ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ขาย ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้า รายละเอียดสินค้าหรือบริการ จำนวนเงินค่าสินค้าหรือบริการ กิจการสามารถนำมาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีของกิจการได้

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

บิลค่าใช้จ่ายต้องเป็นชื่อบริษัทหรือไม่

ตัวอย่าง : บริษัท คิดไม่ออก จำกัด ได้เช่าตึกแถวจากนายนัทเพื่อใช้เป็นสำนักงาน ต่อมาบริษัทได้จ่ายชำระค่าไฟฟ้าไป แต่ปรากฏว่าชื่อในเอกสารใบเสร็จค่าไฟฟ้าไม่ได้ออกมาเป็นชื่อของบริษัท แต่ออกมาเป็นชื่อของนายนัท (ผู้ให้เช่า) บริษัทสามารถนำใบเสร็จค่าไฟฟ้ามาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่ คำตอบคือ ได้นั่นเอง ถ้าผู้ประกอบการสามารถพิสูจน์ได้ว่าค่าไฟฟ้าดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ เช่น ที่อยู่ในใบเสร็จค่าค่าไฟฟ้า ตรงกับที่อยู่ของสถานประกอบการ และกิจการเป็นผู้จ่ายเงินค่าไฟฟ้านั้นไปจริง ค่าใช้จ่ายดังกล่าวสามารถนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (14) แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับภาษีซื้อจะถือเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5(1)แห่งประมวลรัษฎากร (ลงเป็นรายได้ต้องห้าม ห้ามนำไปรวมเป็นต้นทุนค่าไฟฟ้า)

by KKN การบัญชี

เคลมภาษีซื้อ ค่าอบรม

ค่าอบรมทำอย่างไรถึงหักค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่า

ค่าอบรมที่สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่า ต้องเป็นค่าใช้จ่ายในการอบรมของลูกจ้างเท่านั้น นายจ้างไปอบรมจะเอาค่าอบรมมาหักเป็นรายจ่าย 2 เท่าไม่ได้ หลักสูตรจะต้องเกี่ยวข้องกับการทำงานของพนักงาน ช่วยพัฒนาฝีมือแรงงาน ต้องมีการกำหนดเงื่อนไขให้ลูกจ้างที่เข้ารับการฝึกอบรมนั้นกลับเข้าทำงานให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นหลังจากการฝึกอบรมเสร็จสิ้น บริษัทจะต้องกรอก “แบบขึ้นทะเบียนผู้ประกอบกิจการ (สท. 1)” พร้อมแนบเอกสารของบริษัท เพื่อใช้ในการสมัคร หลังจากสมัครเรียบร้อยแล้วกิจการจะได้รับ Username & Password ในการขออนุมัติหลักสูตรจะยื่นผ่านระบบออนไลน์ แนบหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น เนื้อหา, ตารางเวลาอบรม, ประวัติวิทยากร, รูปถ่ายเป็นต้น ลักษณาการอบรมแบ่งออกเป็น 2 แบบ In house training (จัดอบรมภายในกิจการ) Public training (อบรมกับบุคคลทั่วไป) ไม่ว่าอบรมแบบไหนเมื่ออบรมเสร็จสิ้นจะต้องส่งข้อมูลเพื่อขออนุมัติกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงานทุกครั้งก่อนจึงจะใช้สิทธิหักค่าใช้จ่าย 2 เท่าได้ ปัจจุบันการอบรมผ่านระบบออนไลน์ ยังไม่สามารถหักค่าใช้จ่าย 2 เท่าได้ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการอบรม (ที่นำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่า) ค่าจ้างบริษัทภายนอกให้เข้ามาจัดการฝึกอบรมแก่พนักงานของตน ค่าใช่จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าอาหารว่าง ค่าอาหารกลางวันที่ทางบริษัทจัดสรรให้กับพนักงานที่เข้าอบรมและวิทยากรนั้น

by KKN การบัญชี

จัดตั้งบริษัท

อยากเปลี่ยนจากบุคคลเป็นนิติบุคคลมีภาระภาษีอะไรบ้าง?

ทรัพย์สินเดิมธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา ได้แก่ สินค้าสำหรับขาย สังหาริมทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์ จดทะเบียนบริษัทโดยชำระค่าหุ้นด้วย “ทรัพย์สิน” สินค้าสำหรับขาย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นเงินได้พึงประเมิน มาตรา 40(8) สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบ แบบเหมาได้ร้อยละ 60 แบบตามความเป็นจริงและสมควร (ต้องแนบเอกสาร) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีที่เป็นผู้ประกอบการการจดทะเบียนเท่านั้น) ไม่ถือเป็นการขาย ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/1 (8)(ฉ) สำหรับสินค้าคงเหลือของผู้ประกอบการที่ได้โอนกิจการทั้งหมด ***ทั้งนี้ผู้รับโอนกิจการต้องอยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 สังหาริมทรัพย์ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา 42(9) แห่งผลประมวลรัษฎากรสำหรับการขายสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรือได้มาโดยไม่ได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีที่เป็นผู้ประกอบการการจดทะเบียนเท่านั้น) ไม่ถือเป็นการขาย ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/1 (8)(ฉ) สำหรับสินค้าคงเหลือของผู้ประกอบการที่ได้โอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน ***ทั้งนี้ผู้รับโอนกิจการต้องอยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 อสังหาริมทรัพย์ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นเงินได้พึงประเมิน มาตรา 40(8) การขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรือที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา หรือ การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่น(เสียที่กรมที่ดินจบเลย) ภาษีธุรกิจเฉพาะ เฉพาะการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไร กรณีที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ มีชื่อในทะเบียนบ้านเกิน […]

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

ทุกครั้งที่จ่ายค่าอาหาร เหมือนได้ส่วนลดภาษี 10%

ทุกคนจะท่องจำว่าค่ารับรองใช้ได้ 1,000,000 ละ 3,000 บาท ส่วนที่เกินไม่ต้องขอบิลใบเสร็จมาแล้วเพราะมันเป็นค่าใช้จ่ายบวกกลับ ไม่ช่วยทำให้เสียภาษีเงินได้น้อยลง คนส่วนใหญ่จะเลิกขอบิลมาบันทึกบัญชี เมื่อค่ารับรองเกินที่ใช้ได้ นักบัญชีไม่เคยบอกอีกด้านหนึ่งให้คุณรู้> แค่คุณขอบิลใบเสร็จมาจะช่วยทำให้คุณเหมือนได้ส่วนลดค่าอาหาร 10% ทำไมแค่ขอบิลใบเสร็จ เหมือนได้ส่วนลดค่าอาหาร 10% ในภาพจะถูกอย่างที่ทุกคนเข้าใจคือบันทักค่ารับรองไม่ช่วยให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลลดลง แต่ความลับคือการบันทึกค่ารับรองช่วยทำให้กิจการมีกำไรสะสมลดลง ส่งผลทำให้ประหยัดภาษีเงินปันผล 10% สรุป ค่ารับรองที่เกินกฏหมายกำหนด ให้ขอบิลใบเสร็จมาบันทึกบัญชีด้วย ค่ารับรองนี้ไม่ช่วยทำให้เสียภาษีเงินได้น้อยลง ช่วยทำให้กำไรสะสมทางบัญชีลดลง กำไรสะสมลดลง = ประหยัดภาษีเงินได้ผล 10% = ส่วนลดค่าอาหาร เงื่อนไขของค่ารับรอง ค่ารับรองมี 5 ประเภทได้แก่ ที่พัก อาหาร พาหนะ มหรสพ และสิ่งของ กรณีให้เป็นสิ่งของต้องไม่เกิน 2,000 บาท และต้องให้ตามเทศกาลเช่น กระเช้าปีใหม่ เป็นการรับรองตามปกติธุรกิจทั่วไป และบุคคลที่ได้รับการรับรองไม่ใช่ลูกจ้างหรือกรรมการของกิจการ เว้นแต่มีหน้าที่เข้าร่วมการรับรองนั้น ค่ารับรองนั้นจะต้องได้รับการอนุมัติจากกรรมการ/ผู้ได้รับมอบหมาย

by KKN การบัญชี

เปิดบริษัท

เปิดบริษัทแต่มีชาวต่างชาติมาหุ้นด้วยต้องทำอย่างไร??

หากมีชาวต่างชาติมาถือหุ้นด้วย จะให้ชาวต่างชาติถือหุ้นเท่าไหร่ดี?? มากกว่า 50 % >> บริษัทต่างด้าว มีข้อจำกัดในธุรกิจบางประเภทที่ห้ามทำ หรือจะต้องขออนุญาตก่อนถึงจะทำได้ ห้ามถือครองที่ดิน น้อยกว่า 50 % >> นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย แล้วคนต่างชาติเป็นเจ้าของที่แท้จริง แต่อยากจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่ตั้งตามกฎหมายไทยล่ะ?? หานอมินีทำสัญญาโอนขายหุ้นล่วงหน้า [ผิดกฏหมาย] การถือหุ้นไขว้กัน[เลี่ยงกฏหมาย] การถือหุ้นบุริมสิทธิ์ [คนต่างชาติถือหุ้นสามัญ คนไทยถือหุ้นบุริมสิทธิโดยกำหนดในข้อบังคับ ให้หุ้นบริสิทธิ 2 หุ้น = 1 เสียงเป็นต้น ] ถ้ามีคนต่างชาติมาถือหุ้น คนไทยต้องแสดงหลักฐานว่ามีเงินจริง (ป้องกันนอมินี) กรณีจดทะเบียนนิติบุคคลและมีคนต่างชาติเป็นผู้ถือหุ้น กรมพัฒน์จะกำหนดให้ผู้ถือหุ้นคนไทยจะต้องแสดงหลักฐานทางการเงินว่ามีเงินจริงตามสัดส่วนการถือหุ้น เพื่อป้องกันการเป็นนิมินี บริษัททุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท คนต่างชาติถือหุ้น 49% = 510,000 บาท คนไทย A ถือหุ้น 26% = 260,000 บาท คนไทย B ถือหุ้น 25% […]

by KKN การบัญชี

ค่าเช่า

กรรมการให้บริษัทใช้สถานที่ ถ้าไม่คิดค่าเช่าจะมีประเด็นอะไรหรือไม่

เงินได้ตามมาตรา 40(5)(ก)“เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินไม่ว่าจะเป็นการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ถ้าเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้มีเงินได้แสดงเงินได้ต่ำไป ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเงินได้นั้นตามจำนวนเงินที่ทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ตามปกติ และให้ถือว่าจำนวนเงินที่ประเมินนี้เป็นเงินได้พึงประเมินของผู้มีเงินได้” สรุป : บุคคลธรรมดาให้เช่าทรัพย์สิน ถ้าคิดค่าเช่าต่ำไป หรือไม่คิดค่าเช่า เจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินรายได้เพิ่ม และจะต้องไปเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การแบ่งรายได้เงินเดือนมาเป็นรายได้ค่าเช่าจะช่วยประหยัดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา รายได้เงินเดือน โบนัส เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% แต่ไม่กิน 100,000 บาท เงินเดือน 200,000 ก็หักค่าใช้จ่ายได้ 100,000 เงินเดือน 500,000 ก็หักค่าใช้จ่ายได้ 100,000 รายได้ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ สามารถหักค่าใช้จ่ายตามจริงและสมควร หรือหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 30% (ไม่มีเพดานสูงสุด) ถ้าให้บริษัทเช่าจะเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเยอะหรือไม่? กรรมการ เป็นที่ดินของกรรมการ ขออนุญาตปลูกสร้างอาคารในชื่อของกรรมการ จัดทำหนังสือยินยอมให้ที่ดินและอาคารเป็นสถานประกอบการ ของกิจการโดยไม่จำกัดระยะเวลา ให้ใช้ตราบที่ยังใช้อยู่ กิจการ กิจการเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างอาคาร ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากตัวอาคารทั้งหมด กิจการเป็นผู้จ่าย ภาษีซื้อ เนื่องจากอาคารไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของกิจการ ดังนั้นจึงไม่สามารถนำภาษีซื้อจากการก่อสร้างอาคารไปใช้เป็นเครดิตหักออกจากภาษีขาย ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระในแบบ ภ.พ.30 ได้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา – […]

by KKN การบัญชี

จดทะเบียนเพิ่มสาขา

1 บริษัทหลายสาขา หรือ1 สาขา 1 บริษัท

ถ้าคุณเป็นเจ้าของธุรกิจที่มีสาขามากถึง 4 สาขาคุณจะเลือกตัดสินใจอย่างไรระหว่าง 1 บริษัทหลายสาขา หรือ1 สาขา 1 บริษัท คำตอบคือ ไม่มีข้อใดถูก และไม่มีข้อใดผิด!! ขึ้นอยู่กับเหตุผลสนับสนุนของแต่ละกิจการ ซึ่งจะต้องพิจารณาเป็นรายกิจการไปไม่มีคำตอบที่ตายตัว ตัวอย่าง : นางสาว A เป็นร้านขายชานมไข่มุกตามห้างสรรพาสินค้าและมีถึง 4 สาขา ซึ่งปัจจุบันประกอบธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา จากการขายสำหรับสาขาที่ขายดีทีสุดยอดขายประมาณ 200,000 – 250,000 บาทต่อเดือน และสาขาที่ขายไม่ดียอดขายประมาณ100,000 บาทต่อเดือน ตอนนี้อยากจะเป็นเป็นบริษัทเพื่อจะเสียภาษีให้ถูกต้อง ควรจะเปิด 1 บริษัท หรือเปิดสาขาละ 1 บริษัทดี 1 สาขา 1 บริษัท ข้อดี บางสาขาอาจจะไม่ต้องจด VAT เป็น SME กำไร 300,000 บาทแรกยกเว้นภาษี เวลาโดนเจ้าหนี้ที่กรมสรรพากรตรวจสอบภาษีจะโดยแค่ 1 บริษัท ไม่โดนทั้ง 4 สาขา ข้อเสีย […]

by KKN การบัญชี

วางแผนภาษี

วางแผนภาษีด้วยการซื้อคอนโด ดีไหมนะ??

ปีนี้กำไรเยอะ ผู้บริหารอยากวางแผนภาษีโดยให้บริษัทซื้อคอนโดจะได้นำค่าเสื่อมราคาของคอนโดมาเป็นค่าใช้จ่าย จะได้เสียภาษีน้อยลง [คอนโดที่ซื้อเอาไว้ให้ผู้บริหารนอน เวลากลับบ้านดึก] ตัวอย่าง ซื้อคอนโด 10 ล้านบาท ในแต่ละปีบริษัทจะมีค่าใช้จ่ายในรูปแบบของ “ค่าเสื่อมราคา” (10,000,000 / 20ปี) = 500,000 บาท แต่เดี๋ยวก่อนนะ!!! ซื้อมาให้กรรมการของบริษัทอยู่ มันเป็นรายจ่ายส่วนตัว >> ค่าเสือมราคาจะต้องถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามไม่ให้นำมารวมคำนวนภาษีเงินได้ ถ้าวางแผนภาษี บอกว่าเป็นสวัสดิการให้กับกรรมการล่ะ แค่นี้มันก็เกี่ยวข้องกับกิจการเรียบร้อยแล้ว เป็นสวัสดิการก็ดีนะ เพราะกรณีพนักงานได้อยู่ห้องพัก โดยไม่เสียค่าเช่า ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) พนักงานจึงต้องนำประโยชน์เพิ่มที่ได้รับทั้งหมดมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตอนขายคอนโดระวังเสียภาษีเพิ่มอีก ปี 2560 ซื้อคอนโด 10 ล้านบาท ปี 2570 มูลค่าคอนโดคงเหลือตามบัญชี (10 ล้าน – ค่าเสื่อม 10 ปี) = 5 ล้านบาท ปี 2570 ตัดสินใจขายคอนโด (คอนโดส่วนใหญ่มักจะมีราคาที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับตอนซื้อมา (ถ้าไม่ซวย) […]

by KKN การบัญชี

เงินกู้ยืมกรรมการ

เงินกู้ยืมกรรมการ

หลายคนถามมาว่าเงินกู้ยืมกรรมการคืออะไร? วันนี้เรามาทำความรู้จักกันไปพร้อมๆกันเลยครับ เงินกู้ยืมกรรมการแบ่งเป็น 2 ฝั่งได้ดังนี้ บริษัท กู้ยืมเงิน กรรมการ บริษัท ให้ กรรมการกู้ วิธีแก้ไข กิจการขาดทุนจริง / เงินไม่พอใช้เพราะมีการลงทุนในช่วงเริ่มต้น >>ปล่อยทิ้งไว้ไม่ต้องทำอะไรเลย ขาดทุนจนเกินทุนจากการตกแต่งบัญชี >> เพิ่มทุนจดทะเบียน >>ภาวนาขออย่าให้โดนตรวจสอบภาษีย้อนหลัง เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการเกิดจากสาเหตุไหนบ้าง จดทะเบียนบริษัท แต่ไม่มีเงินจริงตามทุนจดทะเบียน จ่ายเงินซื้อสินค้าหรือบริการแต่ไม่ได้รับใบเสร็จ ทำให้ไม่มีหลักฐานมาบันทึกบัญชี บริษัทประกอบธุรกิจมีกำไร เจ้าของอยากนำเงินออกมาใช้ส่วนตัว แต่ไม่อยากทำเรื่องจ่ายเงินปันผล เพราะจะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% เงินหายไปจากบริษัทหรือปิดงบการเงินไม่ลงตัวและไม่สามารถหาสาเหตุไม่ได้ กรรมการรับผิดชอบไป บัญชีเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการน่ากลัวเพราะอะไร?? มาตรา 65 ทวิ (4) กรมสรรพากรบอกว่าในกรณีให้กู้ยืมเงิน โดยไม่มีค่าตอบแทนหรือดอกเบี้ย หรือดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินค่าตอบแทนดอกเบี้ยนั้นให้เป็น ตามราคาตลาดในวันที่ให้กู้ยืมเงิน สรุป : บริษัทให้กรรมการกู้ยืมเงิน จะต้องคิดดอกเบี้ย ดอกเบี้ยจะต้องคิดในอัตราที่ OK ด้วย ปัญหาต่อเนื่องจากการที่มีเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการเยอะ บริษัทมีเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ >> กรมสรรพากรบังคับบริษัทจะต้องคิดดอกเบี้ยเงินให้กู้ […]

by KKN การบัญชี

ระบบรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์

เปลี่ยนมาใช้ระบบรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ทำให้ไม่ถูกส่งข้อมูลจริงหรือไม่

ถ้ามีรายการรับเงินในระบบรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์เข้าเงื่อนไข ผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องรายงานข้อมูลให้กับกรมสรรพากรเหมือนกันสถาบันการเงินทุกประการ 1.ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้งขึ้นไป 2.ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้งและมียอดเงินรวมของธุรกรรมฝากหรือรับโอนรวมกันตั้งแต่ 2,000,000 บาทขึ้นไป สรุป: ใช้วิธีนี้ไม่รอดจากการโดนรายงานข้อมูล

by KKN การบัญชี

ใบเสร็จรับเงิน

ใบเสร็จแยกค่าของ กับ ค่าแรงหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร

ในการหักภาษี ณ ที่จ่าย เราต้องแยกให้ได้ก่อนว่ารายการจ่ายเงินดังกล่าวเป็นลักษณะไหน ระหว่าง มุ่งโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้า กับ มุ่งความสำเร็จของงาน มุ่งโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้า มุ่งโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้า = ขายสินค้า ลักษณะจะเป็นเน้นขายสินค้า แต่บางครั้งอาจจะมีบริการช่วยติดตั้งเล็กๆ น้อยๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าทำให้ขายสินค้าได้ง่ายขึ้น เช่น ซื้อแอร์แถมบริการติดตั้ง, ซื้อเครื่องซักผ้าแถมบริการติดตั้ง เป็นต้น สรุป: มุ่งโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้า ผู้ขายออกบิลมาแต่ค่าสินค้า ก็ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ผู้ขายออกบิลแยกค่าสินค้า กับ ค่าบริการออกจากกัน ให้เราทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายเฉพาะค่าบริการเท่านั้น มุ่งความสำเร็จของงาน มุ่งความสำเร็จของงาน = สัญญาจ้างทำของ คือสัญญาซึ่งผู้รับจ้างตกลงจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น สาระสำคัญของสัญญาจ้างทำของ อยู่ที่ผลสำเร็จของงานดังนั้น ค่าวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการรับจ้างทำของ ย่อมถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้า้งทำของ ซึ่งอยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย สรุป: มุ่งความสำเร็จของงาน หักภาษี ณ ที่จ่าย จาก ค่าของ + ค่าแรง […]

by KKN การบัญชี

เงินปันผล

มีกำไรสะสม ไม่อยากจ่ายเงินปันผล ทำอย่างไรได้บ้าง???

หลังจากที่เปิดบริษัททำธุรกิจมีกำไรเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ชีวิตเหมือนจะจบแบบ Happy ending แต่ที่ไหนได้ผลกำไรอยู่ในบริษัทในรูปของ “กำไรสะสม” เราไม่สามารถนำเงินออกมาใช้ได้จนกว่าจะจ่ายเงินปันผลซึ่งผู้ถือหุ้นจะต้องโดนหักภาษี ณ ที่จ่าย 10%  ไม่อยากจ่ายเงินปันผลทำอย่างไรได้บ้าง ทำเป็นเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการวิธีนี้ไม่ใช่การแก้ไขปัญหา เพราะเมื่อทำเป็นเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ บริษัทก็ต้องคิดดอกเบี้ยการให้กู้ยืมเงิน ทำให้กิจการมีรายได้ดอกเบี้ยไปเสียภาษีเพิ่ม และสุดท้ายกรรมการต้องหาเงินมาคืนบริษัทอยู่ดี เพิ่มค่าใช้จ่ายให้กรรมการเพื่อนำเงินออกวิธีนี้ดูเหมือนจะเข้าท่านะ เทียบความคุ้มค่า [จ่ายปันผล VS ค่าใช้จ่าย]

by KKN การบัญชี

บิลเงินสด

บิลเงินสด/บิลที่ใช้ไม่ได้ ทิ้งเลย หรือ บันทึกบัญชีดี

เอกสารประกอบการบันทึกค่าใช้จ่ายแบบไหนที่ไม่สามารถใช้ได้ ค่าใช้จ่ายที่ไม่ถือให้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี รายจ่ายซึ่งมิได้เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกิจการ, เป็นการส่วนตัว, เสน่หา รายจ่ายซึ่งผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ รายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง บิลค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถนำมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี >> บันทึกบัญชีไป ก็ไม่ช่วยทำให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลน้อยลง ทำไมถึงไม่ควรทิ้งบิลที่ใช้ได้ทางภาษี และควรบันทึกบัญชี การบันทึกค่าใช้จ่ายทุกรายการ ทำให้เงินของกิจการตรงกับความเป็นจริง และลดปัญหาเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ แม้ค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะไม่ช่วยทำให้เสียภาษีเงินได้น้อยลง แต่ก็ทำให้กำไรสะสมของกิจการลดลง ทำให้เราประหยัดภาษีเงินปันผล (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย10%)

by KKN การบัญชี

เงินทดรองจ่าย

ระบบการทำงานเงินทดรองจ่ายและการเคลียร์เงิน

มาดูกระบวนการของเงินทดรองจ่ายและการเคลียร์เงินทดลองจ่ายกันเลยครับ กำหนดระเบียบการเบิก และ การเคลียร์เงินทดรองจ่าย เงินทดรองจ่ายมีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับกิจกรรมหรือการดำเนินงานทางธุรกิจ ผู้ขอเบิกเงินทดรองจ่ายจะต้องกรอกแบบฟอร์ม “ใบเบิกเงินทดรองจ่าย” ส่งให้หัวหน้าแผนกอนุมัติ และทำการขอเบิกเงินกับแผนกบัญชีล่วงหน้าไม่น้อยกว่า XX วันก่อนวันที่ต้องการใช้เงินทดรองจ่าย การจ่ายเงินทดรองจ่ายจะจ่ายเป็นเช็คขีดคร่อมระบุชื่อผู้เบิกเงินทดรองจ่าย หรือโอนเงินเข้าบัญชีของผู้เบิกเงินทดรองจ่ายเท่านั้น ผู้ขอเบิกจะต้องเก็บรวบรวมเอกสารประกอบการรายจ่าย สำหรับใช้ประกอบการเคลียร์เงินทดรองจ่าย ผู้ขอเบิกจะต้องเคลียร์เงินทดรองจ่ายภายใน 15 วันหลังจากวันที่เสร็จสิ้นกิจกรรม ตัวอย่างแบบฟอร์ม – ใบเบิกเงินทดรองจ่าย ตัวอย่างแบบฟอร์ม – ใบเคลียร์เงินทดรองจ่าย จัดทำทะเบียนคุมลูกหนี้เงินทดรองและติดตามทวงถาม

by KKN การบัญชี

50 ทวิ
Bitcoin
DBD Registered
e-filing
LTF
SME
SMEs
TFRS16
Uncategorized
Voucher
กท.20 ก
กรมสรรพากร
กองทุนรวม
ก่อสร้างอาคารบนที่ดินของกรรมการ
การขอรับบริจาค
การจัดสรรกำไรสะสม
การตัดหนี้สูญ
การบริจาค
การบันทึกบัญชีเงินสดรับ-จ่าย
การประมาณการกำไรสุทธิขาดไป
การลงทุน
การลงประกาศหนังสือพิมพ์
การลดหย่อนบริจาคทั่วไป
การเช่า
กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กิจการร่วมค้า และกิจการค้าร่วม
กิจการเพื่อสังคม
กิจการโรงแรม
ขนส่ง
ขอคืนเงินประกันไฟฟ้า
ขายกิจการ
ขายสินค้าต่ำกว่าทุน
ขายสินค้าส่งออกไปต่างประเทศ
ขายหนังสือแถมคอร์สเรียนออนไลน์
คริปโทเคอร์เรนซี
ความเสี่ยง-ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ความเสี่ยงของกิจการ
ค่าขนส่ง
ค้าขายออนไลน์
ค่าตรวจสุขภาพ
ค่าปรับ
ค่ารักษาพยาบาล
ค่ารับรอง
ค่าสินไหมทดแทน
ค่าเช่า
ค่าเช่ารับล่วงหน้า
ค่าเบี้ยประกันชีวิต
ค่าเสื่อมราคา
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายของกิจการ
ค่าใช้จ่ายทางภาษี
ค่าใช้จ่ายในการอบรม
งบการเงิน
งบการเงินส่วนบุคคล
จดทะเบียน
จดทะเบียนเพิ่มสาขา
จดภาษีมูลค่าเพิ่ม
จัดตั้งบริษัท
จ้างงานผู้สูงอายุ
จ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ
จ้างเด็กจบใหม่
ช้อปดีมีคืน
ดอกเบี้ยค้างรับ
ตราประทับ
ทรัพย์สิน
ทั่วไป
ทำประกันให้พนักงาน
ธุรกรรม
ธุรกิจขนส่ง
บริจาค
บริษัท กับ กรรมการ
บัญชีและภาษี
บิลเงินสด
ประกัน keyman
ประกันCovid-19
ประกันสังคม
ประชุมบริษัท
ประเภทเช็ค
ผลขาดทุน
ผู้ถือหุ้น
ผู้ประกอบการ
พร้อมเพย์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ฟรีแลนซ์
ภ.ง.ด. 1ก
ภ.ง.ด.1 ก
ภ.ง.ด.54
ภ.พ.36
ภาษี
ภาษี e-Service
ภาษีDropship
ภาษีกองทุนตราสารหนี้
ภาษีกับการออกจากงาน
ภาษีการรับมรดก
ภาษีของแพทย์
ภาษีขาย
ภาษีซื้อ
ภาษีซื้อต้องห้าม
ภาษีดอกเบีี้ย
ภาษีที่ดิน
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีนำเข้าสินค้า
ภาษีป้าย
ภาษีฟรีแลนซ์
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีรถยนต์
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีอากร
ภาษีอากรนำเข้า
ภาษีอีเพย์เมนต์
ภาษีเงินปันผล
ภาษีเงินได้จากการรับให้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ภาษีโรงแรม
มาตรการผู้กู้ยืม กยศ.
มูลค่าต้นทุน
ย้ายกิจการ
ยื่นแบบ
ยื่นแบบอย่างไรให้ประหยัดค่าปรับที่สุด
รถยนต์นั่ง
รถแลกเงิน
ระบบรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
ร้านกาแฟ-เสียภาษี
รายจ่ายค่าซ่อมแซม
รายจ่ายจริง
รายจ่ายต้องห้าม
รายได้อื่น
ลดหย่อนทางภาษี
ลดหย่อนภาษี
ลาออกจากงาน
วงจรเงินสด
วางระบบบัญชี
วางแผนภาษี
ศุลกากร
ส่งสินค้าทางไปรษณีย์
ส่งเสริมการขาย
สต็อกสินค้า
สรุปประเด็นภาษี
ส่วนลดกาาค้าและส่วนลดเงินสด
สวัสดิการพนักงาน
สวัสดิการอาหารพนักงาน
สัญญาขายฝาก
สัญญาซื้อ
สัญญาฝากทรัพย์
สัญญายินยอม
สัญญาเช่า
สัญญาเช่าที่ดิน
สำนักงานบัญชี
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
หนี้สิน
อั่งเปา
อากรแสตมป์
เกษตรกับวิธีเสียภาษี
เครื่องบันทึกการเก็บเงิน
เคลมภาษีซื้อ ค่าอบรม
เงินกู้ยืมกรรมการ
เงินค่าฝึกอบรม
เงินชดใช้ค่าเสียหาย
เงินทดรองจ่าย
เงินบำนาญชราภาพ
เงินบำเหน็จ
เงินปันผล
เงินมัดจำ
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
เงินสมทบประกันสังคม
เงินสำรองจ่าย
เงินเรียกเก็บล่วงหน้าจากการขายสินค้า
เงินได้พนักงาน
เงินได้พึงประเมิน
เช่าซื้อ-ลิสซิ่ง
เบี้ยประกัน
เบี้ยปรับ
เปิดบริษัท
เราเที่ยวด้วยกัน
เลขประจำตัวผู้เสียอากร
เลิกทำธุรกิจ
เสน่หากับภาษ๊
เอกสารการเบิกจ่ายเงิน
เอกสารทางภาษี
เอกสารบัญชี
แจกไฟล์
แรงงานต่างด้าว
โครงการคนละครึ่ง
โทษปรับ
ใบกำกับภาษี
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
ใบลดหนี้
ใบลดหนี้และใบเพิ่มหนี้
ใบสำคัญจ่าย
ใบหุ้น
ใบเสนอราคา
ใบเสร็จรับเงิน