บทความล่าสุด

ประกันสังคม

เงินบำนาญชราภาพ(ประกันสังคม)

 ผู้ประกันตน  : ลูกจ้างที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์: ลูกจ้างอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แต่นายจ้างยังจ้างให้ทำงานต่อให้ถือเป็นผู้ประกันตนต่อไป เงื่อนไขผู้ประกันตนที่มีสิทธิรับเงินบำนาญ มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงหรือกรณีที่ มีอายุไม่ครบ 55 ปีบริบูรณ์เมื่อมีคำวินิจฉัยให้เป็น “ผู้ทุพพลภาพ” เสียชีวิตก่อนอายุครบ55 ปี อัตราการจ่ายเงินบำนาญ กรณีที่ 1 : อายุครบ 55 ปี ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 180 เดือน ผู้ประกันตนจะได้รับบำนาญชราภาพในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายกรณีที่ 2 : อายุครบ 55 ปี ส่งเงินสมทบมากกว่า 180 เดือนจะได้รับการปรับเพิ่มบำนาญชราภาพเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ ครบทุก 12 เดือน ก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง อายุครบ 55 […]

by KKN การบัญชี

ภาษี

สรุปมาตรการทางภาษี เยียวยา COVID-19

มาตรการเลื่อนเวลาการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เลื่อนเวลาการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากเดิมสิ้นสุดวันที่30 มิถุนายน 2563 เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 สิงหาคม 2563 มาตรการเพิ่มวงเงินหักลดหย่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพ ตั้งแต่ปี 2563 เพิ่มวงเงินหักลดหย่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพจากเดิมตามจ่ายจริงไม่เกิน 15,000 บาท เป็นไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับการหักลดหย่อนค่าเบี้ยประกันชีวิตและเงินฝากประเภทสงเคราะห์ชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท มาตรการเลื่อนเวลาการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล (เฉพาะกิจการที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์) (1) เลื่อนการนำส่งภาษีประจำปี (ภ.ง.ด. 50) สำหรับกรณีที่จะต้องยื่นรายการชำระภาษีตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2563 ออกไปเป็นภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2563 ปกติภาษีประจำปีเราจะต้องยื่นนำส่งภายใน 150 วันนับจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ดังนั้นกิจการที่ได้รับสิทธินี้คือกิจการที่มีรอบบัญชีสิ้นสุดวันที่ 2 พ.ย. 62 – 1 เม.ย. 63 สามารถยื่นแบบนำส่งภาษีได้ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2563 […]

by KKN การบัญชี

ภาษีซื้อ

เติมน้ำมันเบ็นซินใช้เป็นค่าใช้จ่าย/เคลมภาษีซื้อได้หรือไม่

1.น้ำมันดังกล่าวใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อกิจการ2.กิจการเป็นผู้จ่ายเงิน และมีหลักฐานการจ่ายเงินที่พิสูจน์ได้ว่าผู้รับเงินคือใคร และจำนวนเงินเท่าไหร่ ขอภาษีซื้อคืนได้หรือไม่ ในการพิจารณาเรื่องขอภาษีซื้อคืนจากกรมสรรพากร จะไม่ได้อยู่ที่ชนิดของน้ำมัน แต่ขึ้นอยู่กับชนิดของรถยนต์ กรมสรรพากรบอกว่า “ภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน” ไม่สามารถขอคืนภาษีซื้อได้ ตัวอย่างชนิดของรถยนต์ที่สามารถขอภาษีซื้อคืนได้

by KKN การบัญชี

สำนักงานบัญชี

7 สิ่งที่ไม่ควรเชื่อจากสำนักงานบัญชีที่ไม่ได้หวังดี

กำไรเยอะปรับสต็อกปลายงวดไปเลยสรรพากรไม่รู้ การปรับปรุงสินค้าคงเหลือปลายงวดสามารถช่วยทำให้กำไรของกิจการลดลงได้จริง สมการ : ต้นทุนสินค้าขาย = สินค้าคงเหลือต้นงวด + ซื้อ – สินค้าคงเหลือปลายงวด จากสมการจะพบว่ายิ่งสินค้าคงเหลือปลายงวดน้อยมากเท่าไหร่ ต้นทุนสินค้าขายก็จะสูงขึ้นตาม เมื่อต้นทุนขายสูงขึ้นจะทำให้กำไรเพื่อไปคำนวนภาษีของกิจการน้อยลง make เงินเดือนกรรมการ ไม่ยื่น ภ.ง.ด.1 และ ภ.ง.ด1ก รอด สำนักงานบัญชีให้เหตุผลว่าบันทึกเงินเดือนกรรมการ แต่ไม่ยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่ายจะไม่มีข้อมูลรายได้กรรมการในระบบกรมสรรพากร กรรมการไม่จำเป็นต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนสิ้นปีก็ได้ ค่าน้ำมันรถเก๋งขอคืนภาษีซื้อไม่ได้ ให้บอกเด็กปั้มเขียนใบเสร็จว่า “เติมใส่ถัง” ก็จะใช้ได้ เอกสารไม่ใช่ใบกำกับภาษี ไม่สามารถนำมาบันทึกบัญชีได้ กรมสรรพากรไม่เคยบอกว่าเอกสารที่ใช้ประกอบการบันทึกบัญชีจะต้องเป็นใบกำกับภาษีเท่านั้น เอกสารที่สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้ขอแค่เข้าเงื่อนไขต่อไปนี้ก็พอ ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้รับเงินคือใคร กิจการเป็นผู้จ่ายเงินไปจริง ปล. เอกสารไม่ใช่ใบกำกับภาษี เราแค่ขอคืนภาษีซื้อไม่ได้เท่านั้น แต่เอามาเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ค๊าบบบ ทำธุรกิจขาดทุนไม่ได้ คำขู่จากสำนักงานบัญชีที่เรามักได้ยิน แม้เศรษฐกิจแย่ ยอดขายตก แต่ห้ามส่งงบการเงินว่าบริษัทขาดทุนไม่งั้นจะโดนเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรเรียกด้วยสอบบัญชี ในความเป็นจริงกรมสรรพากรให้กิจการจัดทำบัญชีชุดเดียว ถ้าผลประกอบการขาดทุน ก็สามารถนำผลขาดทุนสะสมยกไปใช้ในปีถัดไปได้ถึง 5 รอบบัญชี กำไรเยอะซื้อใบกำกับภาษีกับสำนักงานบัญชีได้ เพราะสำนักงานบัญชีดูแลผู้ขายบิลให้ยื่นรายการขายบิลเข้าไปในรายงานภาษีขายเอง หลายคนเข้าใจผิดว่าถ้าซื้อใบกำกับภาษี แต่ถ้าผู้ขายยื่นรายการใบกำกับดังกล่าวเข้าไปในรายงานภาษีขายจะไม่ถือว่าเป็นใบกำกับภาษีปลอม […]

by KKN การบัญชี

ธุรกรรม

ข้อมูลธุรกรรมลักษณะเฉพาะ เริ่มนับเมื่อไหร่?

นิยามของธุรกรรมที่มีลักษณะเฉพาะ1.ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้งขึ้นไป2.ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้ง และ มียอดเงินรวมของธุรกรรมฝากหรือรับโอนรวมกันตั้งแต่ 2,000,000 บาทขึ้นไป *** เข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งถือเป็นธุรกรรมลักษณะเฉพาะทันทีหมายเหตุ: ลักษณะข้อมูลที่ส่งกรมสรรพากรได้แก่(1) เลขประจําตัวประชาชน หรือเลขที่ผู้เสียภาษี, ชื่อ นามสกุล ของผู้ที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะ(2) เลขที่บัญชีเงินฝากที่เกี่ยวข้อง(3) จํานวนครั้งของเงินเข้าบัญชีและมูลค่ารวมใน 1 ปี (ม.ค. ถึง ธ.ค.)

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

จัดหนี้สูญอย่างไรให้นำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้

ลักษณะหนี้ที่สามารถตัดหนี้สูญได้ 1.เป็นหนี้ที่เกิดจากการประกอบกิจการ ห้ามเป็นหนี้ซึ่งผู้เป็นลูกหนี้คือ กรรมการ หรือ หุ้นส่วนผู้จัดการ2.ต้องเป็น หนี้ที่ยังไม่ขาดอายุความ และต้องมีหลักฐานโดยชัดแจ้งที่สามารถฟ้องลูกหนี้ได้*เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ ไม่สามารถตัดหนี้สูญได้นะครับ*โดยทั่วไปอายุความการติดตามทวงถามเพื่อให้ลูกหนี้ชำระหนี้มี 2 ปี การจำหน่ายหนี้สูญแบ่งได้ 3 กรณี กรณีที่ 1 : ลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน 100,000 บาท1.)มีการทวงถามหนี้โดยทำเป็นหนังสือทวงถามหนี้ไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง และยังไม่ได้รับชำระหนี้(ใช้ใบตอบรับทางไปรษณีย์มาเป็นหลักฐานได้)2.)มีหลักฐานการคำนวณค่าใช้จ่ายในการฟ้องที่แสดงว่าไม่คุ้มกับยอดหนี้ที่ได้รับชำระ กรณีที่ 2 :ลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนเกิน 100,000 บาทแต่ไม่เกิน 500,000 บาท1.)ติดตามทวงถามตามสมควรโดยมีหลักฐาน และปรากฏลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เนื่องจาก -ลูกหนี้ตาย, สาบสูญ และไม่มีทรัพย์สินชำระหนี้ -ลูกหนี้เลิกกิจการ และมีเจ้าหนี้รายอื่นมีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกค้าทั้งหมดอยู่ในลำดับก่อนเป็นจำนวนมากกว่าทรัพย์สินของลูกหนี้2.) กรณีที่ 2 :ลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนเกิน 100,000 บาทแต่ไม่เกิน 500,000 บาท1.)ติดตามทวงถามตามสมควรโดยมีหลักฐาน และปรากฏลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เนื่องจาก -ลูกหนี้ตาย, สาบสูญ และไม่มีทรัพย์สินชำระหนี้ -ลูกหนี้เลิกกิจการ และมีเจ้าหนี้รายอื่นมีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกค้าทั้งหมดอยู่ในลำดับก่อนเป็นจำนวนมากกว่าทรัพย์สินของลูกหนี้2.)ต้องมีการฟ้องศาลกรณีมีการฟ้องร้องต่อศาล บริษัทจะตัดหนี้สูญได้เมื่อศาลมีคำสั่งรับคำร้อง ไม่ต้องรอผลของคดีกรณีลูกหนี้ถูกฟ้องล้มละลาย บริษัทจะตัดหนี้สูญได้เมื่อศาลมีคำสั่งรับคำร้อง หรือได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลาย […]

by KKN การบัญชี

ดอกเบี้ยค้างรับ

บัญชีดอกเบี้ยค้างรับอยากล้างทิ้งทำได้หรือไม่

จดทะเบียนบริษัทด้วยทุนจดทะเบียนที่สูงเกินไป โดยที่ไม่ได้มีเงินจริง บริษัททำธุรกิจมีกำไรเยอะ เจ้าของนำเงินกำไรออกออกมาใช้ส่วนตัว แต่ไม่อยากจ่ายเงินปันผลเพราะจะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% รู้หรือไม่ ?เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการไม่จำเป็นต้องคิดดอกเบี้ยเข้าไปในงบการเงินได้ถ้าไม่ได้มีการคิดดอกเบี้ยกันจริง การล้างดอกเบี้ยค้างรับ 1.ดอกเบี้ยค้างรับเมื่อไม่ได้มีการคิดดอกเบี้ยกันจริง และผู้กู้ไม่ได้คิดจะจ่ายชำระดอกเบี้ยค้างรับ บริษัทสามารถปรับปรุงรายการเป็นค่าใช้จ่ายในงบการเงินได้ และค่าใช้จ่ายดังนั้นจะไม่สามารถนำไปรวมในการคำนวนภาษีเงินได้ตอนสิ้นปีได้ (จัดประเภทเป็นรายจ่ายต้องห้าม)2.ทันทีที่ปรับปรุงล้างรายการดอกเบี้ยค้างรับเป็นค่าใช้จ่าย บริษัทจะต้องจ่ายชำระภาษีธุรกิจเฉพาะให้กับกรมสรรพากรทันที

by KKN การบัญชี

อั่งเปา

ตรุษจีนได้รับเงินอั่งเปาต้องเสียภาษีหรือไม่??

หลายคนมีคำถามมาว่า บริษัทจ่ายเงินอั่งเปาให้กับลูกจ้างสามารถลงเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่??! คำตอบคือ บริษัทจ่ายเงินอั่งเปาให้กับลูกจ้างสามารถลงเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ แต่มีข้อแม้ดังต่อไปนี้ บริษัทต้องจ่ายเงินอั่งเปาให้กับพนักงานหรือลูกจ้างทุกคน โดยไม่เลือกปฏิบัติในการให้ หากบริษัทเลือกให้พนักงานบางคนเป็นการเฉพาะเจาะจง จะถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะส่วนตัว บริษัทไม่สามารถนำมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ เมื่อพนักงานได้รับอั่งเปาถือเป็นการจ่ายค่าตอบแทนจากการจ้าง และถือเป็นเงินได้ของลูกจ้างและพนักงานตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากรต้องคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายเหมือนเงินเดือน ปล 1. ได้รับอั่งเปาจากบิดาหรือมารดา หรือผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรสนั้น ยอดเงินไม่เกิน 20 ล้านบาทไม่ต้องเสียภาษี ปล 2. ได้รับเงินอั่งเปาจากบุคคลอื่นที่ไม่ใช่บุคคลตามด้านบน ยอดเงินไม่เกิน 10 ล้านบาทไม่ต้องเสียภาษี

by KKN การบัญชี

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

จ่ายค่าบริการลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย นำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่

ทุกครั้งที่นิติบุคคลจ่ายค่าบริการ จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป กรณีลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย จะสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่?หลักการพิจารณาให้แยกพิจารณาทีละภาษี ภาษีเงินได้นิติบุคคล •ค่าบริการนั้นเกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ •รู้ว่าผู้ให้บริการคือใคร (สามารถกรอกข้อมูลหักภาษี ณ ที่จ่ายได้) •มีการจ่ายเงินไปจริง *นำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้*เป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรมสรรพากรบอกว่าถ้าเราลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือผู้ให้บริการไม่ยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่าย เราจะต้องควักเงินจ่ายค่าภาษีแทน T_T * ภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่เราควักจ่ายแทน ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามเพราะไม่เกี่ยวข้องกับกิจการ (ยกเว้นมีสัญญาตั้งแต่ต้นว่ากิจการจะเป็นผู้ออกภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้) จ่ายค่าบริการลืมหักภาษี ณ ที่จ่ายเลือกอะไรดีระหว่าง 1.โยนบิลค่าใช้จ่ายทิ้ง2.ควักเงินออกภาษีหัก ณ ที่จ่ายแทน หลักคิดคือ ถ้าบริษัทมีผลประกอบการที่กำไร ปกติเมื่อบริษัทมีกำไรจะเสียภาษีในอัตรา 15-20% ของกำไรทางภาษี ดังนั้นถ้าเราโยนบิลค่าใช้จ่ายทิ้งจะส่งผลทำให้เราเสียภาษีเพิ่ม 15-20% เลยทีเดียว ในขณะที่ภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่นำส่งแค่ 1-5% […]

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

ค่าใช้จ่ายเดินทางต่างประเทศตั๋ว

1.รายจ่ายที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการประกอบกิจการ 2.รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ และพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุผลอันสมควรที่จะจ่ายรายการรายจ่ายนั้น  3.รายจ่ายที่สามารถพิสูจน์ผู้รับเป็นผู้ใดได้ คำพิพากษาฎีกา ที่ 2951/2527“รายจ่ายค่าเดินทางของกรรมการผู้จัดการกับพวก กรณีไม่มีรายงานการประชุมที่อนุมัติให้เดินทาง และเมื่อเดินทางกลับมาก็ไม่มีรายละเอียดรายงานการเดินทางและไม่มีเอกสารอื่นใดเป็นหลักฐานว่าเดินทางไปในกิจการ ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายในการเดินทางไปในเรื่องส่วนตัว และมิใช่เป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ ไม่มีสิทธินำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ” หัวใจหลักคือ 1.มีการขออนุมัติการเดินทาง 2.มีหลักฐานว่าไปทำงานจริงๆนะ ไม่ใช่ไปเที่ยว ประเด็นภาษี • ใบเสร็จค่าตั๋วเครื่องบิน/ค่าที่พักออกในชื่อผู้เดินทางกรณีที่ใบเสร็จออกในชื่อผู้เดินทางแทนชื่อของกิจการนั้น สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวนภาษีของกิจการได้ ก็ต่อเมื่อสามารถพิสูจน์ได้ว่ารายจ่ายนั้นเป็นรายจ่ายของกิจการ วิธีการพิสูจน์ เช่น เอกสารขออนุมัติการเดินทางไปต่างประเทศของผู้เดินทางดังกล่าว และเหตุผลที่จำเป็นในการเดินทางไปต่างประเทศ กรมสรรพากรไม่เคยบอกว่า “บิลค่าใช้จ่ายต้องเป็นชื่อของกิจการเท่านั้น” คนชอบคิดไปเอง

by KKN การบัญชี

ใบกำกับภาษี

อยากออกใบกำกับภาษีใจจะขาด แต่ลูกค้าดันไม่ให้ข้อมูลทำไงดี

วิธีแก้ไขกรณีลูกค้าไม่ให้ข้อมูล 1. ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ (จะได้ไม่ต้องใส่ข้อมูลลูกค้า) กิจการที่เป็นขายสินค้าในลักษณะขายปลีก หรือกิจการให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก การขายปลีก เป็นการขายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง เพื่อนำไปบริโภคหรือใช้สอย มิได้มีวัตถุประสงค์นำไปขายต่อ เช่น ขายของชำ ขายยา ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น การให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก เช่น กิจการภัตตาคาร โรงแรม ซ่อมแซมทุกชนิด เป็นต้น *** หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าการจะออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้ต้องขออนุญาตสรรพากร ที่ต้องขอมันคือเครื่องบันทึกการเก็บเงิน (เครื่องแคชเชียร์) 2. ออกใบกำกับภาษีเต็มรูป สรรพากรบอกว่าถ้าผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนVAT ผู้ขายก็ไม่จำเป็นต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ซื้อ ผู้ประกอบการจะต้องมีการปิดประกาศ เช่นแปะป้าย ประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์(กรณีขายของออนไลน์) เกี่ยวกับการให้ข้อมูลของผู้ซื้อเพื่อออกใบกำกับภาษี แต่ถ้าผู้ซื้อไม่ให้ก็ไม่เป็นไร ถือว่าทำเต็มความสามารถแล้ว

by KKN การบัญชี

ค้าขายออนไลน์

ขายของออนไลน์ รายได้เท่าไหร่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้

ข้อสมมุติฐานเบื้องต้น1.หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาอัตราค่าใช้จ่ายที่ 60%2.บุคคลธรรมดาไม่มีค่าลดหย่อนอะไรเลยนอกจากค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท “มาลุ้นกันครับว่ารายได้เท่าไหร่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากันครับ”

by KKN การบัญชี

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

บุคคลธรรมดาก็ต้องทำบัญชีด้วยมันพีคมากกกก

สรุปภาระบุคคลธรรมดากับการทำบัญชี จัดทำรายงานเงินสดรับ จ่ายไม่จำเป็นต้องมีเอกสารประกอบทุกรายการ (กรณีเลือกค่าใช้จ่ายแบบเหมา) แนบเอกสารประกอบค่าใช้จ่ายทุกรายการ(กรณีเลือกค่าใช้จ่ายตามจริง) จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องทำเอกสารดังต่อไปนี้เพิ่ม รายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ รายละเอียดสินค้าคงเหลือ ณ วันที่ 30 มิถุนายน และวันที่ 31 ธันวาคม

by KKN การบัญชี

ภาษีซื้อ

สรุปการใช้สิทธิภาษีซื้อของแต่ละชนิดเอกสาร

ใบกำกับภาษีนำไปเป็นภาษีซื้อภายใน 6 เดือน ถัดจากเดือนที่ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ / ใบลดหนี้ให้ใช้สิทธิ์ในเดือนที่ได้รับเอกสารใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้ (ถ้าเดือนที่ได้รับห่างจากเดือนที่ระบุในเอกสารเยอะ เราจะต้องมีหลักฐานพิสูจน์ให้เจ้าหน้าที่เชื่อได้) ใบเสร็จ ภ.พ. 36นำภาษีซื้อมาหักภาษีขายในเดือนที่มีการนำส่งภาษีเท่านั้น ใบเสร็จจากกรมศุลกากรนำไปเป็นภาษีซื้อภายใน 6 เดือน ถัดจากเดือนที่ออกใบกำกับภาษีสำหรับผู้ขาย จะต้องยื่นภาษีขายในเดือนที่ออกเอกสารเท่านั้น

by KKN การบัญชี

ฟรีแลนซ์

ฟรีแลนซ์โดนหักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ใช่จุดสิ้นสุดของการเสียภาษี

อาชีพฟรีแลนซ์ เมื่อรับงานบริการจากพวกลูกค้าที่เป็นบริษัท หจก. มักจะโดนหัก ณ ที่จ่าย ตัวอย่าง : ฟรีแลนซ์รับงานออกแบบ 10,000 บาท บริษัทผู้จ้างเมื่อจ่ายเงินจะหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% จำนวน 300 บาท และจ่ายค่าบริการฟรีแลนซ์ เพียง 9,700 บาท พร้อมกับใบรับรองการหัก ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) (สำหรับเงิน 300 บาท ทางผู้ว่าจ้างจะนำส่งให้กับกรมสรรพากร แทนผู้รับจ้าง) ภาษีที่ฟรีแลนซ์โดนหัก ณ ที่จ่ายเป็นแค่การ จ่ายภาษีล่วงหน้า เท่านั้น สิ้นปียังคงมีหน้าที่จะต้องยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี •ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่คำนวณได้ น้อยกว่า ภาษีที่จ่ายไปล่วงหน้า สามารถขอภาษีที่จ่ายเกินไปคืนได้ •ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่คำนวณได้ มากกว่า ภาษีที่จ่ายไปล่วงหน้า ให้จ่ายส่วนต่างเพิ่มให้กับสรรพากร **สรรพากรมีข้อมูลเงินได้ของฟรีแลนซ์จากข้อมูลการหัก ณ ที่จ่าย ที่ผู้ว่าจ้างส่งให้กับกรมสรรพากร ดังนั้นถ้าฟรีแลนซ์ไม่ยื่นภาษีตอนสิ้นปีถือว่าคิดสั้น**

by KKN การบัญชี

จดทะเบียนเพิ่มสาขา

เมื่อไหร่เราถึงจะต้องจดทะเบียนสาขาเพิ่ม???

เราจะจดทะเบียนสาขาก็ต่อเมื่อเรามีสถานประกอบการมากกว่า 1 แห่ง สถานประกอบการ หมายถึง สถานที่ซึ่งผู้ประกอบการใช้ประกอบกิจการเป็นประจำและให้หมายความรวมถึงสถานที่ซึ่งใช้เป็นที่ผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำด้วย ใช้ประกอบกิจการ เช่น หน้าร้านขายสินค้า ใช้ผลิต เช่น โรงงานผลิตสินค้า ใช้เก็บสินค้า เช่น โกดังเก็บสินค้า ปล.หากแต่ใช้เพียงการชั่วคราวไม่เข้าลักษณะของสถานประกอบการ ไม่ต้องจดทะเบียนสาขา กรณีต่อไปนี้ไม่ต้องจดทะเบียนสาขา •เราเป็นกิจการรับเหมาก่อสร้าง ไปก่อสร้างบ้านให้ลูกค้า หน่วยก่อสร้างชั่วคราวไม่ต้องจดทะเบียนสาขา •จ้างบริษัทอื่นผลิตสินค้าให้เรา โดยไม่มีพนักงานของเราไปปฏิบัติงาน หรือให้บริการลูกค้า เมื่อผลิตเสร็จผู้รับจ้างผลิตก็ส่งสินค้าคืนให้กับเรา ไม่เข้าเงือนไขสถานประกอบการประจำ ไม่ต้องจดทะเบียนสาขา •กรณีบริษัทเช่าโกดังเก็บสินค้า และผู้รับฝากรับผิดชอบในการดูแลรักษาสินค้าของเรา ถ้าเกิดมีการเสียหาย สูญหาย ผู้รับฝากต้องรับผิดชอบเข้าลักษณะเป็นการให้บริการรับฝากทรัพย์ รวมทั้งบริษัทไม่มีสิทธิครอบครองคลังสินค้าที่ใช้จัดเก็บสินค้า จึงไม่ถือเป็นสถานที่เก็บสินค้าเป็นประจำ ไม่ต้องจดทะเบียนสาขา •ไปเปิดบูธขายสินค้าหรือแนะนำสินค้าตามงานแสดงสินค้าต่างๆ ไม่ต้องจดทะเบียนสาขา เนื่องจากเราไม่ได้ประกอบกิจการเป็นประจำ

by KKN การบัญชี

50 ทวิ
Bitcoin
DBD Registered
e-filing
LTF
SME
SMEs
TFRS16
Uncategorized
Voucher
กท.20 ก
กรมสรรพากร
กองทุนรวม
ก่อสร้างอาคารบนที่ดินของกรรมการ
การขอรับบริจาค
การจัดสรรกำไรสะสม
การตัดหนี้สูญ
การบริจาค
การบันทึกบัญชีเงินสดรับ-จ่าย
การประมาณการกำไรสุทธิขาดไป
การลงทุน
การลงประกาศหนังสือพิมพ์
การลดหย่อนบริจาคทั่วไป
การเช่า
กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กิจการร่วมค้า และกิจการค้าร่วม
กิจการเพื่อสังคม
กิจการโรงแรม
ขนส่ง
ขอคืนเงินประกันไฟฟ้า
ขายกิจการ
ขายสินค้าต่ำกว่าทุน
ขายสินค้าส่งออกไปต่างประเทศ
ขายหนังสือแถมคอร์สเรียนออนไลน์
คริปโทเคอร์เรนซี
ความเสี่ยง-ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ความเสี่ยงของกิจการ
ค่าขนส่ง
ค้าขายออนไลน์
ค่าตรวจสุขภาพ
ค่าปรับ
ค่ารักษาพยาบาล
ค่ารับรอง
ค่าสินไหมทดแทน
ค่าเช่า
ค่าเช่ารับล่วงหน้า
ค่าเบี้ยประกันชีวิต
ค่าเสื่อมราคา
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายของกิจการ
ค่าใช้จ่ายทางภาษี
ค่าใช้จ่ายในการอบรม
งบการเงิน
งบการเงินส่วนบุคคล
จดทะเบียน
จดทะเบียนเพิ่มสาขา
จดภาษีมูลค่าเพิ่ม
จัดตั้งบริษัท
จ้างงานผู้สูงอายุ
จ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ
จ้างเด็กจบใหม่
ช้อปดีมีคืน
ดอกเบี้ยค้างรับ
ตราประทับ
ทรัพย์สิน
ทั่วไป
ทำประกันให้พนักงาน
ธุรกรรม
ธุรกิจขนส่ง
บริจาค
บริษัท กับ กรรมการ
บัญชีและภาษี
บิลเงินสด
ประกัน keyman
ประกันCovid-19
ประกันสังคม
ประชุมบริษัท
ประเภทเช็ค
ผลขาดทุน
ผู้ถือหุ้น
ผู้ประกอบการ
พร้อมเพย์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ฟรีแลนซ์
ภ.ง.ด. 1ก
ภ.ง.ด.1 ก
ภ.ง.ด.54
ภ.พ.36
ภาษี
ภาษี e-Service
ภาษีDropship
ภาษีกองทุนตราสารหนี้
ภาษีกับการออกจากงาน
ภาษีการรับมรดก
ภาษีของแพทย์
ภาษีขาย
ภาษีซื้อ
ภาษีซื้อต้องห้าม
ภาษีดอกเบีี้ย
ภาษีที่ดิน
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีนำเข้าสินค้า
ภาษีป้าย
ภาษีฟรีแลนซ์
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีรถยนต์
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีอากร
ภาษีอากรนำเข้า
ภาษีอีเพย์เมนต์
ภาษีเงินปันผล
ภาษีเงินได้จากการรับให้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ภาษีโรงแรม
มาตรการผู้กู้ยืม กยศ.
มูลค่าต้นทุน
ย้ายกิจการ
ยื่นแบบ
ยื่นแบบอย่างไรให้ประหยัดค่าปรับที่สุด
รถยนต์นั่ง
รถแลกเงิน
ระบบรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
ร้านกาแฟ-เสียภาษี
รายจ่ายค่าซ่อมแซม
รายจ่ายจริง
รายจ่ายต้องห้าม
รายได้อื่น
ลดหย่อนทางภาษี
ลดหย่อนภาษี
ลาออกจากงาน
วงจรเงินสด
วางระบบบัญชี
วางแผนภาษี
ศุลกากร
ส่งสินค้าทางไปรษณีย์
ส่งเสริมการขาย
สต็อกสินค้า
สรุปประเด็นภาษี
ส่วนลดกาาค้าและส่วนลดเงินสด
สวัสดิการพนักงาน
สวัสดิการอาหารพนักงาน
สัญญาขายฝาก
สัญญาซื้อ
สัญญาฝากทรัพย์
สัญญายินยอม
สัญญาเช่า
สัญญาเช่าที่ดิน
สำนักงานบัญชี
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
หนี้สิน
อั่งเปา
อากรแสตมป์
เกษตรกับวิธีเสียภาษี
เครื่องบันทึกการเก็บเงิน
เคลมภาษีซื้อ ค่าอบรม
เงินกู้ยืมกรรมการ
เงินค่าฝึกอบรม
เงินชดใช้ค่าเสียหาย
เงินทดรองจ่าย
เงินบำนาญชราภาพ
เงินบำเหน็จ
เงินปันผล
เงินมัดจำ
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
เงินสมทบประกันสังคม
เงินสำรองจ่าย
เงินเรียกเก็บล่วงหน้าจากการขายสินค้า
เงินได้พนักงาน
เงินได้พึงประเมิน
เช่าซื้อ-ลิสซิ่ง
เบี้ยประกัน
เบี้ยปรับ
เปิดบริษัท
เราเที่ยวด้วยกัน
เลขประจำตัวผู้เสียอากร
เลิกทำธุรกิจ
เสน่หากับภาษ๊
เอกสารการเบิกจ่ายเงิน
เอกสารทางภาษี
เอกสารบัญชี
แจกไฟล์
แรงงานต่างด้าว
โครงการคนละครึ่ง
โทษปรับ
ใบกำกับภาษี
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
ใบลดหนี้
ใบลดหนี้และใบเพิ่มหนี้
ใบสำคัญจ่าย
ใบหุ้น
ใบเสนอราคา
ใบเสร็จรับเงิน