บทความล่าสุด

ใบกำกับภาษี

e-Tax Invoice by email มันทำโครตง่าย ทำไมไม่ใช้กัน?

1.สมัครสมาชิกเพื่อใช้งานระบบ e-Tax Invoice by email ได้ที่ http://interapp3.rd.go.th/signed_inter/src_inter/main2.php โดยใช้เอกสารดังนี้ แบบคำขอใช้งาน (ก.อ.01) เมื่อเรากรอกข้อมูลสมัครเราจะได้แบบนี้มาให้ print และเซ็นชื่อสมัคร หนังสือรับรองบริษัทอายุไม่เกิน 6 เดือน สำเนาบัตรประชาชน เอกสารทั้งหมดให้ Scan เป็นไฟล์ภาพหรือ PDF อัพโหลดเข้าระบบเพื่อให้สรรพากรตรวจสอบ (โครตสะดวกไม่ต้องเดินทางไปยื่นเองสารที่กรมสรรพากร) โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้ 1.จัดทำใบกำกับภาษีในรูปแบบ PDF, Word หรือ Excel (นามสกุลไฟล์จะเป็น .pdf, .xls, .xlsx, .doc, .docx) 2.ส่งอีเมล์หาลูกค้าและCC มายังกรมสรรพากรที่อีเมล์ csemail@etax.teda.th เงื่อนไขการส่งเมล์ดังนี้ •1 Email ต่อ 1 ใบกำกับภาษี และขนาดใบกำกับภาษีต้องไม่เกิน 3MB •ไฟล์ใบกำกับภาษีต้องไม่ถูกเข้ารหัสหรือใส่ password •หัวข้ออีเมล ต้องมีรูปแบบและลําดับที่ถูกต้อง ดังนี้ การตรวจสอบใบกำกับภาษี ให้เข้าเว็ปไซต์ https://validation.etax.teda.th/ อัพโหลดไฟล์ใบกำกับภาษีดิจิตอลเพื่อตรวจสอบ

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

อย่าตกแต่งบัญชีด้วยวิธี เอาบุคคลมารับค่าใช้จ่าย

ท่าไม้ตายสุดยอดของนักบัญชียุคนี้ กิจการกำไรเยอะ >>>> หาคนมารับค่าที่ปรึกษา, ค่านายหน้า ความเสี่ยงของการเอาบุคคลธรรมดามารับค่าใช้จ่าย 1.บุคคลธรรมดาที่รับรายได้จากบริษัท เค้าจะต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนสิ้นปีด้วย (ถ้าไม่ยื่นสรรพากรจะตามบุคคลธรรมดามาสอบถามว่ามีเงินได้จริงรึเปล่า)2.จะต้องมีหลักฐานการจ่ายเงินไปที่ผู้รับเงินได้จริง เช่นการโอนเงิน หรือสำเนาเช็คสั่งจ่าย (อ้างว่าจ่ายเงินสดมักไม่รอด)3.บุคคลธรรมดาที่รับเงินได้จะต้องมีความรู้ความสามารถ จริงตามประเภทงานที่ให้บริการ (ไม่ใช่เอาใครก็ได้มารับเงินได้)4.ถ้ามูลค่างานเยอะบัตรประชาชนอย่างเดียวไม่เพียงพอ คุณจะต้องมีสัญญาจ้างงานด้วย (หลักฐานต้องแน่น)

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

บิลเงินสด มันเอามาใช้เป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้มั้ย?

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับขายของออนไลน์ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีมูลค่าเพิ่ม หลักจำง่ายๆ : ใครก็ตามที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีจะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อจดภาษีมูลค่าเพิ่มคุณมีหน้าที่หลักๆดังนี้ 1.เรียกเก็บภาษีขายในอัตรา 7% จากผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ 2.ออกใบกำกับภาษีขายให้กับลูกค้า 3.จัดทำรายงานภาษีซื้อและภาษีขาย พร้อมนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับกรมสรรพากร ไม่เกินวันที่ 15 ของเดือนถัดไป 4.จัดทำสต็อกสินค้า ณ วันที่ 31 มิถุนายน และ 30 ธันวาคม สรุปภาพรวมของภาษีมูลค่าเพิ่ม Note:   1. ถ้าภาษีขาย > ภาษีซื้อ เราจะต้องนำส่งส่วนต่างให้สรรพากรเพิ่ม2. ถ้าภาษีซื้อ > ภาษีขาย เราสามารถขอคืนส่วนต่างจากรมสรรพากรได้หรือ จะยกไปใช้ในเดือนถัดไปก็ได้

by KKN การบัญชี

สำนักงานบัญชี

เรื่องปกติของสำนักงานบัญชี ที่ทำให้ผู้ประกอบการน้ำตาไหล

1.สำนักงานบัญชีไม่ได้ทำสต็อกสินค้าให้เรา ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะรู้ความจริงว่าสำนักงานบัญชีไม่ได้ทำสต็อกสินค้าให้เรา ก็ตอนที่โดนสรรพากรตรวจแล้วเจ้าหน้าที่ของรายงานเคลื่อนไหวของสินค้าคงเหลือ ส่วนใหญ่ทุกบริษัทจะตกม้าตายโดนสรรพากรปรับก็เพราะไม่ได้จัดทำสต็อก 2.ถ้าไม่อาทิตย์สุดท้ายของการส่งงบการเงิน อย่าหวังว่างานจะเสร็จ ส่วนใหญ่สำนักงานบัญชีจะใช้ระบบ Just in time ที่นิยมของญี่ปุ่นดังนั้นเป็นเรื่องปกติ ที่คุณจะได้รับงบในอาทิตย์สุดท้ายก่อน deadline ส่งงบการเงิน ถ้าสำนักงานไหน Advance หน่อยก็วันสุดท้ายเลยให้ลุ้นกันสนุก 3.ชอบเซอร์ไพรส์ตอนใกล้ส่งงบว่ามีกำไรเยอะ ถ้าผู้ประกอบการใช้บริการสำนักงานบัญชีแล้วหวังว่าสำนักงานบัญชีจะช่วยวางแผนภาษีให้คุณช่างคิดผิดอย่างใหญ่หลวง เพราะสำนักงานบัญชีมีลูกค้าเยอะมาก สำนักงานบัญชีส่วนใหญ่จะรู้ว่าลูกค้าจะต้องเสียภาษีเยอะก็ต้องกำลังปิดงบประจำปี 4.บางสำนักงานบัญชีค่าทำบัญชีถูก แต่ค่าปิดงบแทบร้องขอชีวิต ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักจะสนใจแต่ค่าบริการบัญชีรายเดือนที่ถูก แต่ไม่ได้สอบถามไปถึงพวกค่าปิดงบ ค่าตรวจสอบบัญชี พอถึงเวลาจะต้องปิดบัญชีและให้ผู้สอบบัญชีเซ็นต์งบการเงิน จะพบว่าบางสำนักงานมีค่าปิดงบการเงินมากกว่าค่าทำบัญชีรวมกันทั้งปี

by KKN การบัญชี

ภาษีป้าย

ภาษีป้ายเตรียมปรับขึ้นภาษี 5 เท่า

วันนี้เรามาดูกันว่าภาษีป้ายที่จะปรับใหม่ในอนาคตนี้ มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง มารับชมกันเลยครับ ภาษีป้ายที่คาดว่าจะปรับใหม่ดังนี้ (แบบที่ 1) อักษรไทยล้วน เดิม 3 บาทต่อ 500 ตร.ซม. >> เป็น 10 บาทต่อ 500 ตร.ซม. (แบบที่ 2) อักษรไทยปนอังกฤษหรือภาพ เดิม 20 บาทต่อ 500 ตร.ซม. >> 100 บาทต่อ 500 ตร.ซม. (แบบที่ 3) ไม่มีภาษาไทย หรือ มีภาษาไทยแต่อยู่ใต้ภาษาอังกฤษ 40 บาทต่อ 500 ตร.ซม. >>เป็น 200 บาทต่อ 500 ตร.ซม. (แบบที่ 4) ภาพเคลื่อนที่ 200 บาทต่อ 500 ตร.ซม.

by KKN การบัญชี

กรมสรรพากร

ทำไมภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อโดนสรรพากรตรวจย้อนหลัง ต้องร้องขอชีวิตกัน

ตัวอย่าง: นายเอ ประกอบธุรกิจขายของออนไลน์ในปี 2559 มีรายได้จากการขาย 2.8 ล้านบาท แต่นายเอไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะคิดว่ายังไงสรรพากรก็จับไม่ได้ เมื่อโดนสรรพากรจับได้จะเป็นอย่างไร สรุปภาษีที่ต้องเสียตามกฏหมาย 1.รายได้ส่วนที่เกิน 1.8 ล้านบาท เราจะต้องเสีย VAT 7% ให้กับสรรพากร (2,800,000 – 1,800,000) x 7% = 70,000 บาท2.สรรพากรบอกว่า สรรพากรเป็นคนตรวจเจอเองจะต้องโดนปรับ 2 เท่าของ VAT 70,000 x 2 = 140,000 บาท3.สรรพากรบอกว่า จ่าย VAT ล่าช้าทำให้เสียประโยชน์ขอคิดดอกเบี้ยหน่อย 70,000 x ดอกเบี้ย 1.5% ต่อเดือน (จนกว่าจะมาชำระภาษี)

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

น้ำมันรถ/ค่าเบี้ยเลี้ยง ถือเป็นเงินได้พนักงานหรือไม่

1. ค่าน้ำมันรถ บริษัทจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์ให้กับพนักงานบริษัท ตามจำนวนที่จ่ายจริงในกรณีที่พนักงานใช้รถยนต์ส่วนตัวเดินทางไปทำงานให้บริษัท เมื่อบริษัทจ่ายค่าน้ำมันสามารถเอามาเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทในการคำนวณภาษีได้ และค่าน้ำมันดังกล่าวไม่ถือเป็นเงินได้ของพนักงาน เพราะใช้ในการติดต่องานให้บริษัท บริษัทควรจะทำหลักฐานเพิ่มเติมดังนี้ 1.ระเบียบอนุญาตให้มีการเบิกจ่ายค่าน้ำมัน 2.มีแบบฟอร์มขออนุญาตพร้อมทั้งบันทึกการเดินทางจากไหนไปไหน ระยะทางเท่าใด ทะเบียนรถยนต์ ชื่อเจ้าของรถยนต์ และให้ผู้มีอำนาจอนุมัติ 3.ใบเสร็จค่าน้ำมันที่ระบุทะเบียนรถยนต์ 2. ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเบี้ยเลี้ยง จะต้องเป็นการจ่ายเงินให้แก่พนักงานเพื่อไปปฏิบัติหน้าที่เป็นครั้งคราวเท่านั้น ตามคำสั่งของนายจ้าง ค่าเบี้ยเลี้ยงดังกล่าวไม่ถือเป็นเงินได้พนักงาน สำหรับอัตราค่าเบี้ยเลี้ยง 1.ถ้าให้อัตราเบี้ยเลี้ยงแบบเหมาจ่ายไม่เกินอัตราสูงสุดที่ราชการจ่ายให้กับข้าราชการ ไม่จำเป็นต้องมีเอกสารแนบ 2.ถ้ากรณีที่เกินจากอัตราสูงสุดที่ราชการจ่ายให้กับข้าราชการ จะต้องมีหลักฐานการจ่ายเงินมาพิสูจน์

by KKN การบัญชี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

อยากออกจากระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องทำอย่างไร

ตามมาตรา 85/10 แห่งประมวลรัษฏากรผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วต้องการจะออกจากระบบภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องมียอดขายต่ำกว่า 1.8 ล้านบาทไม่น้อยกว่า 3 ปี ถึงจะมีสิทธิขอให้อธิบดีสั่งถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้

by KKN การบัญชี

ใบเสนอราคา

ใบเสนอราคาต้องติดอากรแสตมป์มั้ย?

เอกสารใบเสนอราคาและใบสั่งซื้อที่มีการลงลายมือชื่อผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง ถือว่าเป็นตราสารจ้างทำของจะต้องติดอากรแสตมป์ ถ้าไม่มีการเซ็นชื่อก็ไม่จำเป็นต้องติดอากรแสตมป์ แต่เวลาขึ้นศาลก็จะถือว่าสัญญาดังกล่าวไม่สมบูรณ์ (ชีวิตต้องเลือกระหว่างเสี่ยงโดนโกงหรือจะต้องติดอากรแสตมป์)

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

มีเงินเหลือในบริษัทเยอะ ทำอย่างไรดี??

1. ทำเป็นเงินให้กรรมการกู้ยืมออกไป *** วิธีนี้มีข้อเสียคือ บริษัทให้กรรมการกู้จะต้องมีการคิดดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมเงิน เมื่อบริษัทมีรายได้ดอกเบี้ยรับถือเป็นเงินได้จะต้องเอาไปรวมในการคำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคล ถ้าดอกเบี้ย รับเยอะก็จะเสียภาษีเยอะขึ้น (เหมือนระเบิดเวลา เพราะไม่ใช่วิธีแก้ไขระยะยาว) 2. จ่ายเงินปันผล การจ่ายเงินปันผลเป็นวิธีที่ดีมากวิธีหนึ่ง เพราะเป็นการแก้ไขปัญหาที่จบจริง ไม่เหมือนกับการนำเงินออกจากบริษัทด้วยวิธีให้เงินกรรมการกู้ยืมแต่ผู้ประกอบการไม่นิยมใช้กันเนื่องจาก ทันทีที่บริษัทจ่ายเงินปันผลจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 10% ของเงินปันผลที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรสรุปวิธีนี้จะต้องเสียภาษี 10% ให้กรมสรรพากรแต่จบปัญหา 3. ทำเป็นเงินโบนัสให้กับเจ้าของ 1) เงินโบนัสที่จ่ายนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีของบริษัท ทำให้บริษัทเสียภาษีลดลงได้มากสุดถึง 20% (ตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของแต่ละบริษัท)2) เจ้าของได้รับเงินโบนัส จะถูกนำไปรวมเป็นเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อเสียภาษีดังนั้นนักบัญชีจะต้องวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับเจ้าของกิจการ เพื่อให้เสียภาษีให้คุ้มค่าที่สุด มันจะมีจุดที่ทำด้วยวิธีนี้แล้วคุ้มค่าต้องไปคำนวนกันเอง

by KKN การบัญชี

สต็อกสินค้า

สินค้าขาด /สินค้าเกินจากรายงานสินค้าคงเหลือ

ผ่านช่วงนับสต็อกประจำปีกันมาแล้ว หลายบริษัทเจอปัญหาสินค้าที่ตรวจนับได้จริงไม่ตรงกับรายงานสินค้าคงเหลือ จะต้องทำยังไงกันดี 1.สินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ สินค้าขาดจากรายงานสินค้า ทางสรรพากรถือเป็นขายสินค้าจะต้องเสียภาษีขายด้วยราคาตลาดของสินค้า ณ วันที่ตรวจพบ จะต้องเสียเบี้ยปรับเป็น 2 เท่าของเงินภาษีที่ต้องเสีย บริษัทสามารถนำ “รายงานตรวจนับสินค้า” ใช้เป็นหลักฐานในการตัดจำนวนสินค้าที่ขาดจากรายงานสินค้าคงเหลือ เพื่อปรับยอดคงเหลือให้ตรงกับความเป็นจริง 2.สินค้าเกินจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ จะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท (สินค้าเกินก็ผิด  T ^ T ) บริษัทสามารถนำ “รายงานตรวจนับสินค้า” ใช้เป็นหลักฐานในการเพิ่มจำนวนสินค้าที่เกินจากรายงานสินค้าคงเหลือ เพื่อปรับยอดคงเหลือให้ตรงกับความเป็นจริง สำหรับสินค้าทีเกินเมื่อขายก็จะต้องเสียภาษีขายด้วย

by KKN การบัญชี

สำนักงานบัญชี

สำนักงานบัญชีรู้ต้นทุนขายได้อย่างไร!!!

เกร็ดความรู้ : สำนักงานบัญชีไม่ได้ทำสต็อกสินค้าให้ลูกค้า เมื่อสำนักงานบัญชีไม่ได้คุมสต็อกให้ผู้ประกอบการจะต้องจัดทำรายงานสินค้าคงเหลือเอง โดยอาจจะใช้ Software เปิดบิลขายที่มีการคุมสต็อกสินค้าเข้ามาช่วยได้ และส่งข้อมูลสินค้าคงเหลือ ณ วันสิ้นรอบบัญชีให้กับสำนักงานบัญชีเพื่อใช้เป็นข้อมูลปิดงบการเงิน สำหรับค่าปรับกรณีไม่ได้จัดทำงานรายงานสินค้าคงเหลือ ตาม 90/1 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท โทษปรับอาจจะไม่สูงแต่สุดท้ายแล้วคุณต้องจัดทำรายงานสินค้าคงเหลือย้อนให้เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรเหมือนเดิมครับ ไม่ใช่จ่ายเงินแล้วไม่ต้องทำนะครับ สำนักงานบัญชีหาต้นทุนขายได้จากการกระทบยอดดังนี้ ต้นทุนสินค้าขาย = สินค้าคงเหลือต้นงวด + ซื้อสินค้าเพิ่มระหว่างปี – สินค้าคงเหลือปลายงวด ตัวอย่างการคำนวน : บริษัท A มีสินค้าคงเหลือต้นปียกมามูลค่า 1,000 บาท ในระหว่างปีมีซื้อสินค้าเพิ่ม 2,500 บาท สิ้นปีนับสินค้าคงเหลือปลายงวดเหลือสิ้นค้ามูลค่า 800 บาท ให้คำนวนหาต้นทุนสินค้าขาย ต้นทุนสินค้าขาย   = 1,000 + 2,500 – 800 = 2,700

by KKN การบัญชี

ผู้ประกอบการ

มาตรการสนับสนุนผู้ประกอบการรายใหม่

คุณสมบัตินิติบุคคลที่สามารถยื่นคำร้องขออนุมัติได้ จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2560 มีทุนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีตามกฎหมาย BOI ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายและผ่านการรับรองโดย สวทช. มีรายได้จากอุตสาหกรรมเป้าหมายมากกว่า 80% ของรายได้ทั้งหมด ยื่นคำขอเป็นกิจการ New start-up ทาง Website สรรพากร กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก้ การขอรับรองธุรกิจเทคโนโลยีจาก สวทช. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นแบบคำขอรับรองฯ พร้อมเอกสารประกอบแบบคำขอรับรองฯ ได้แก่ สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ. 5) ประวัติผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น และ/หรือพนักงานที่มีความสำคัญต่อการอยู่รอดของกิจการ เอกสารระบุความสอดคล้องกับเทคโนโลยีหลักที่ใช้เป็นฐานในกระบวนการผลิต/ให้บริการ แผนธุรกิจ (ถ้ามี) สามารถยื่นแบบคำขอรับรองธุรกิจเทคโนโลยีผ่าน 2 ช่องทาง  ยื่นเอกสารกับ ศูนย์ลงทุน สวทช. ด้วยตนเอง ส่งเอกสารถึง ศูนย์ลงทุน […]

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

“ค่ารับรอง” เอามาเป็นค่าใช้จ่ายบริษัทได้กี่บาท

ค่ารับรอง ก็สามารถเอามาเป็นค่าใช้จ่ายบริษัทได้ แต่……… เอามาเป็นค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 0.3% ของรายได้หรือทุนจดทะเบียน แล้วแต่อะไรจะสูงกว่า และสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท ค่ารับรอง คือพวก ค่าพาลูกค้าไปกินข้าว ค่าที่พัก ค่าดูการแสดง และพาลูกค้าอาบน้ำ การคำนวนค่ารับรอง ข้อมูลสมมุติ •ทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท •รายได้ 1,200,000 บาท*เลือกใช้ฐานรายได้มาคิดค่ารับรองเพราะรายได้ > ทุนจดทะเบียนค่ารับรองที่ใช้ได้ตามกฎหมาย = 1,200,000 x 0.3%= 3,600 บาท**** ดังนั้นค่ารับรองส่วนที่เกิน 3,600 บาทจะเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม เงื่อนไขของค่ารับรอง • เป็นค่ารับรองตามปกติธุริจทั่วไป และบุคคลที่ได้รับการรับรองไม่ใช่ลูกจ้างของกิจการ เว้นแต่ลูกจ้างมีหน้าที่เข้าร่วมการรับรองนั้น (เค้าให้รับรองแขก ไม่ใช่ตัวเอง) • เป็นค่าใช้จ่ายต้องไม่เกินคนละ 2,000 บาทในแต่ละคราวที่มีการรับรอง • เป็นการจ่ายเพื่ออำนวยประโยชน์ให้แก่กิจการ • ค่ารับรองนั้นต้องมีผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งจ่ายค่ารับรอง และมีหลักฐานการจ่ายประกอบ เช่นใบเสร็จรับเงิน

by KKN การบัญชี

ใบกำกับภาษี

ใบกำกับภาษีอย่างย่อบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่

ข้อควรรู้เกี่ยวกับใบกำกับภาษีอย่างย่อ 1.ใบกำกับภาษีซื้ออย่างย่อไม่สามารถขอภาษีซื้อคืนได้ 2.ใบกำกับภาษีซื้ออย่างย่อสามารถนำมาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายได้ โดยมีเงื่อนไขเล็กน้อยคือ ค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะต้องเกี่ยวข้องกับกิจการ ปล. ถ้าอยากปลอดภัยแนะนำใบกำกับภาษีเต็มรูปเถอะครับแม้ตามทฤษฏีจะได้แต่ใช้เยอะๆก็มีเคือง

by KKN การบัญชี

สำนักงานบัญชี

ไม่อยากเสียรู้สำนักงานบัญชี จะต้องทำอย่างไร

สุ่มขอดูใบเสร็จรับเงินค่าภาษีจากสำนักงานบัญชี หรือถ้าให้ดีที่สุดขอเอกสาร Pay slip มาจ่ายค่าภาษีเอง สมัยนี้ยิง Barcode จากแอพมือถือได้เลย ขอดูงบกำไรขาดทุนทุกไตรมาส นอกจากจะได้รู้ว่าสำนักงานบัญชีบันทึกบัญชีให้เราจริงแล้ว ยังจะช่วยให้รู้ผลประกอบการของบริษัทเพื่อวางแผนภาษีแต่เนิ่นๆ ทุกปีขอเอกสารบัญชีคืน พร้อมรายการบันทึกบัญชีทั้งหมด สมุดรายวันเฉพาะ เช่น สมุดรายวันรับเงิน สมุดรายวันจ่ายเงิน สมุดรายวันทั่วไป ทะเบียนทรัพย์สิน งบทดลอง สมุดรายวันแยกประเภททั่วไป เช็คข้อมูลการส่งงบการเงินกับกรมพัฒน์

by KKN การบัญชี

ค่าใช้จ่ายของกิจการ

ลดเงินเดือนพนักงานทำได้หรือไม่

จากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7238 – 7239/2544 การที่จำเลยมีคำสั่งยกเลิกตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายขายซึ่งโจทก์ทำงานอยู่และมีคำสั่งให้โจทก์ไปทำงานในหน้าที่พนักงานขายทั้งให้ลดเงิน เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นโทษแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอม จำเลยย่อมไม่มีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างดังกล่าวได้ตามลำพังเพียงฝ่ายเดียว เนื่องจากมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 20 ไม่มีผลบังคับแก่โจทก์ การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนต่อคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของจำเลยในกรณีร้ายแรง หรือโจทก์ละทิ้งหน้าที่ สรุป ไม่สามารถลดตำแหน่งและเงินเดือนพนักงานได้ ถ้าพนักงานไม่ยินยอม

by KKN การบัญชี

50 ทวิ
Bitcoin
DBD Registered
e-filing
LTF
SME
SMEs
TFRS16
Uncategorized
Voucher
กท.20 ก
กรมสรรพากร
กองทุนรวม
ก่อสร้างอาคารบนที่ดินของกรรมการ
การขอรับบริจาค
การจัดสรรกำไรสะสม
การตัดหนี้สูญ
การบริจาค
การบันทึกบัญชีเงินสดรับ-จ่าย
การประมาณการกำไรสุทธิขาดไป
การลงทุน
การลงประกาศหนังสือพิมพ์
การลดหย่อนบริจาคทั่วไป
การเช่า
กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กิจการร่วมค้า และกิจการค้าร่วม
กิจการเพื่อสังคม
กิจการโรงแรม
ขนส่ง
ขอคืนเงินประกันไฟฟ้า
ขายกิจการ
ขายสินค้าต่ำกว่าทุน
ขายสินค้าส่งออกไปต่างประเทศ
ขายหนังสือแถมคอร์สเรียนออนไลน์
คริปโทเคอร์เรนซี
ความเสี่ยง-ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ความเสี่ยงของกิจการ
ค่าขนส่ง
ค้าขายออนไลน์
ค่าตรวจสุขภาพ
ค่าปรับ
ค่ารักษาพยาบาล
ค่ารับรอง
ค่าสินไหมทดแทน
ค่าเช่า
ค่าเช่ารับล่วงหน้า
ค่าเบี้ยประกันชีวิต
ค่าเสื่อมราคา
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายของกิจการ
ค่าใช้จ่ายทางภาษี
ค่าใช้จ่ายในการอบรม
งบการเงิน
งบการเงินส่วนบุคคล
จดทะเบียน
จดทะเบียนเพิ่มสาขา
จดภาษีมูลค่าเพิ่ม
จัดตั้งบริษัท
จ้างงานผู้สูงอายุ
จ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ
จ้างเด็กจบใหม่
ช้อปดีมีคืน
ดอกเบี้ยค้างรับ
ตราประทับ
ทรัพย์สิน
ทั่วไป
ทำประกันให้พนักงาน
ธุรกรรม
ธุรกิจขนส่ง
บริจาค
บริษัท กับ กรรมการ
บัญชีและภาษี
บิลเงินสด
ประกัน keyman
ประกันCovid-19
ประกันสังคม
ประชุมบริษัท
ประเภทเช็ค
ผลขาดทุน
ผู้ถือหุ้น
ผู้ประกอบการ
พร้อมเพย์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ฟรีแลนซ์
ภ.ง.ด. 1ก
ภ.ง.ด.1 ก
ภ.ง.ด.54
ภ.พ.36
ภาษี
ภาษี e-Service
ภาษีDropship
ภาษีกองทุนตราสารหนี้
ภาษีกับการออกจากงาน
ภาษีการรับมรดก
ภาษีของแพทย์
ภาษีขาย
ภาษีซื้อ
ภาษีซื้อต้องห้าม
ภาษีดอกเบีี้ย
ภาษีที่ดิน
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีนำเข้าสินค้า
ภาษีป้าย
ภาษีฟรีแลนซ์
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีรถยนต์
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีอากร
ภาษีอากรนำเข้า
ภาษีอีเพย์เมนต์
ภาษีเงินปันผล
ภาษีเงินได้จากการรับให้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ภาษีโรงแรม
มาตรการผู้กู้ยืม กยศ.
มูลค่าต้นทุน
ย้ายกิจการ
ยื่นแบบ
ยื่นแบบอย่างไรให้ประหยัดค่าปรับที่สุด
รถยนต์นั่ง
รถแลกเงิน
ระบบรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
ร้านกาแฟ-เสียภาษี
รายจ่ายค่าซ่อมแซม
รายจ่ายจริง
รายจ่ายต้องห้าม
รายได้อื่น
ลดหย่อนทางภาษี
ลดหย่อนภาษี
ลาออกจากงาน
วงจรเงินสด
วางระบบบัญชี
วางแผนภาษี
ศุลกากร
ส่งสินค้าทางไปรษณีย์
ส่งเสริมการขาย
สต็อกสินค้า
สรุปประเด็นภาษี
ส่วนลดกาาค้าและส่วนลดเงินสด
สวัสดิการพนักงาน
สวัสดิการอาหารพนักงาน
สัญญาขายฝาก
สัญญาซื้อ
สัญญาฝากทรัพย์
สัญญายินยอม
สัญญาเช่า
สัญญาเช่าที่ดิน
สำนักงานบัญชี
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
หนี้สิน
อั่งเปา
อากรแสตมป์
เกษตรกับวิธีเสียภาษี
เครื่องบันทึกการเก็บเงิน
เคลมภาษีซื้อ ค่าอบรม
เงินกู้ยืมกรรมการ
เงินค่าฝึกอบรม
เงินชดใช้ค่าเสียหาย
เงินทดรองจ่าย
เงินบำนาญชราภาพ
เงินบำเหน็จ
เงินปันผล
เงินมัดจำ
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
เงินสมทบประกันสังคม
เงินสำรองจ่าย
เงินเรียกเก็บล่วงหน้าจากการขายสินค้า
เงินได้พนักงาน
เงินได้พึงประเมิน
เช่าซื้อ-ลิสซิ่ง
เบี้ยประกัน
เบี้ยปรับ
เปิดบริษัท
เราเที่ยวด้วยกัน
เลขประจำตัวผู้เสียอากร
เลิกทำธุรกิจ
เสน่หากับภาษ๊
เอกสารการเบิกจ่ายเงิน
เอกสารทางภาษี
เอกสารบัญชี
แจกไฟล์
แรงงานต่างด้าว
โครงการคนละครึ่ง
โทษปรับ
ใบกำกับภาษี
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
ใบลดหนี้
ใบลดหนี้และใบเพิ่มหนี้
ใบสำคัญจ่าย
ใบหุ้น
ใบเสนอราคา
ใบเสร็จรับเงิน